การลงซูญูดในละหมาด ด้วยกับสองมือ หรือ สองเข่า ?
แปลโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา
มีความเห็นต่างในเรื่องการเอามือลงก่อนหรือว่าเข่าลงก่อนในขณะกำลังทำการสูญูดในขณะละหมาด
♦ ทัศนะของ อบูอานีฟะ ซาฟีอีย์ และอิหม่ามอะหมัด มีความเห็นความว่า ผู้ใดละหมาดควรจะเอาหัวเข่าลงก่อนมือทั้งสองข้าง เวลาลุกขึ้นก็ให้ยกมือก่อนเข่าทั้งสอง จากการรายงานอิหม่ามติรมีซีย์ ส่วนมากของปราช์ผู้รู้ได้ปฏิบัติกัน
มีหลักฐานจาก วาอิลบินฮะญัร ฉันได้เห็นท่านรสูลลุ้ลลอฮ์
رأيت رسول الله (صل الله عليه وسلم) إذا سجد وضع ركبتيه قبل يديه، وإذا نهض رفع يديه قبل ركبتيه ".
“เมื่อท่านได้ซูญูด ท่านได้วางเข่าทั้งสองของท่านก่อนสองมือของท่าน แล้วเมื่อท่านได้ลุกขึ้นท่านได้ยกสองมือของท่านก่อนมือทั้งสอง”
(อาบูดาวูด ติรมีซีย์ อิบนุมาญะ อิหม่ามดารอกุดนีย์)
ท่านบัยอากีม กล่าวในผู้รายงานตัวหะดีษนี้ว่า มีท่านซาริก ผู้รายงานที่ไม่ค่อยแข็งแรง ส่วนชัยคฺอัล-อัลบานีย์ หลักฐานตัวบทนี้อ่อน แต่ทว่า ท่านอิหม่ามอิบนุก็อยยิมให้น้ำหนักในตัวบทนี้ด้วยการเลือกเอาเข่าลงก่อนมือทั้งสองข้างมี ผู้รู้ท่านอื่นๆ เช่น อิบนุตอยมียะ เชค อับดุลอาซีซ บิน บาส เชคอุษัยมีน เชค ซอแหละ อัลเฟาซาน
♦ ทัศนะอิหม่ามมาลิก แต่อัลเอาซาอีย์และมาลิกกล่าวว่า : ให้วางมือทั้งสองก่อนหัวเข่าทั้งสอง มีตัวบทหลักฐาน จาก ท่านอาบีย์ฮุรัยเราะห์ กล่าวว่า: ท่านรสูล ได้กล่าวว่า
إذا سجد أحدكم فلا يبرك كما يبرك البعير، وليضع يديه قبل ركبتيه ".
“เมื่อคนหนึ่งจากพวกท่านได้ทำการซูญูด ดังนั้นอย่าได้คุกเข่าเสมือนการคุกเข่าของอูฐตัวผู้ และจงวางมือทั้งสองก่อนเข่าทั้งสอง”
(อาบูดาวูด ติรมีซีย์ นาซาอี ซอเฮี้ยะ ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ อิหม่ามนะวะวีย์ เป็นสานรายงานที่มีความน่าเชื่อถือ)
ผู้รู้ท่านอื่นๆ เช่น เชคสุลัยมาน ฮัรรูฮัยลี เชค มูฮัมหมัด มุตตาร ซังกีตี้
ท่านเชคมุตตารมีความเห็นว่า หลักฐานบอกถึงสำนวนของการปฏิบัติของท่านนบี นั้นมีความแข็งกว่าการกระทำ เลยยึดเอาการพูดเป็นฐานที่แข็งแรงกว่า
ส่วนท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ ท่านตอบว่า : ส่วนการละหมาดด้วยทั้งสองอย่าง (เอามือวางก่อนหรือเอาหัวเข่าวางลงก่อน) นั้นเป็นที่อนุญาตโดยการเห็นพ้องของบรรดานักวิชาการ หากผู้ละหมาดประสงค์ ก็วางหัวเข่าทั้งสองข้างลงก่อนมือทั้งสอง และหากประสงค์ก็ให้วางมือทั้งสองลงก่อนแล้วก็ตามด้วยหัวเข่าทั้งสอง และการละหมาดของเขาก็ถือว่าใช้ได้ในสองสภาพนั้น โดยการเห็นพ้องของบรรดานักวิชาการ แต่พวกเขามีความขัดแย้งกันในสิ่งที่ประเสริฐกว่า (อัล-อัฟฎ้อล)...”
(มัจญ์มูอะฮฺ อัล-ฟะตาวา ดารุลวะฟาอฺ )