คุณลักษณะของนักเผยแผ่ในศาสนาอิสลาม
เรียบเรียงโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา
นักทำงานศาสนาทุกคนไม่ใช่ว่าจะต้องมีความรู้อย่างเดียวแล้วสามารถนำมาสอนก็ได้ แต่สิ่งสำคัญไม่น้อยเลยนั้นคือการเรียนรู้คุณสมบัติที่แท้จริงของท่านนบี ว่า ท่านศาสดาของเรานั้นมีแบบอย่างในการเรียกร้องเชิญผู้คนอย่างไรบ้าง จะต้องมีความรู้ ทั้งด้านหลักความเชื่อ การอีบาดะฮฺ อิริยาบถ และในทุกๆการเคลื่อนไหวของเขา กระทั่งสามารถแสดงบทบาทของนักเผยแพร่ศาสนาสู่อัลลอฮฺ
อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า
﴿ لَقَدْ جَاءَكُمْ رَسُولٌ مِنْ أَنْفُسِكُمْ عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُمْ بِالْمُؤْمِنِينَ رَءُوفٌ رَحِيمٌ ﴾
“แท้จริงมีร่อซูลคนหนึ่งจากพวกท่านเองได้มาหาพวกท่านแล้ว เป็นที่ลำบากใจแก่เขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใย เป็นผู้เมตตา ผู้กรุณาสงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา “
(เตาบะฮ์ 128)
لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِيهِمْ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِّمَن كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الْآخِرَ
“โดยแน่นอน ได้มีแบบอย่างอันดีงามในพวกเขาสำหรับพวกเจ้าแล้ว”
( มุตะอินะ อายะ 6)
นักเผยแพร่ศาสนาต้องมีมารยาทต่อสิ่งเขาได้เรียกร้อง ในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแสดงมารยาทที่ดีต่อศาสนิกอื่น นักทำงานศาสนาในบ้านเราที่อ้อมล้อมไปด้วยสังคมพี่น้องต่างศาสดา สิ่งดังกล่าวถือเป็นการเรียกร้องสู่ศาสนาอิสลามที่ทรงอิทธิพลกว่ารูปแบบอื่นๆ
มารยาทอย่างหนึ่งของนักเผยแพร่ศาสนา เช่น อดทน อดกลั้น มีเมตตา รับฝังความคิด คำพูดของคนอื่น มีหิกมะฮฺ(วิทยปัญญา) เป็นต้น เรามีท่านศาสนามูฮัมหมัดเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด เพราะท่านเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดในเรื่องด้านมารยาท และท่านบีได้ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง
พระองค์อัลลอฮฺ ได้กล่าวชื่นชมท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า :
«وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ»
“และแท้จริงเจ้านั้น คือผู้ที่ตั้งมั่นอยู่บนอุปนิสัยอันยิ่งใหญ่”
(อัล-เกาะลัม : 4)
ท่านอบู อัด-ดัรดาอ์เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ ได้รายงานคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า :
«مَا مِنْ شَىْءٍ أَثْقَلُ فِى الْمِيزَانِ مِنْ حُسْنِ الْخُلُقِ»
“ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักตาชั่ง(ความดีชั่วในวันกิยามัต) ยิ่งไปกว่าการมีอุปนิสัยที่ดี"
(บันทึกโดยอบู อัต-ติรมิซีย์)
การทำงานเผยแพร่อิสลามสำหรับนักเผยแพร่ศาสนานั้น ต้องมีองค์ประกอบหลายๆอย่างด้วยกัน จึงจะนำไปสู่เป้าหมายและประสบความสำเร็จ ได้แก่
♣ มีจรรยามารยาทที่ดี
ถ้อยคำอ่อนโยน อดทน อดกลั้น สุภาพ นอบน้อม เอื้ออาทร นิ่มนวลกับคนรอบข้าง จากคุณลักษณะเหล่านี้ จะนำไปสู่การทำงานที่ดียิ่ง และประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม
อัลลอฮฺ ตรัสความว่า
فَبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللَّهِ لِنتَ لَهُمْ وَلَوْ كُنتَ فَظًّا غَلِيظَ الْقَلْبِ لَانفَضُّوا مِنْ حَوْلِكَ فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاسْتَغْفِرْ لَهُمْ وَشَاوِرْهُمْ فِي الْأَمْرِ
“เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว”
(ซูเราะฮฺอาละอิมรอน อายะฮฺ159)
♣ มีความอ่อนโยน ไม่แข็งกร้าว
จำเป็นสำหรับนักทำงานเผยแผ่อิสลาม ทุกคนที่จะต้องปฏิบัติต่อผู้คนด้วยความสุภาพอ่อนโยน ไม่ว่าจะเป็นการพูดจา และการปฏิบัติตน
มีรายงานจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
يَا عَائِشَةُ إِنَّ اللَّهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ، وَيُعْطِي عَلَى الرِّفْقِ مَا لاَ يُعْطِي عَلَى الْعُنْفِ، وَمَا لاَ يُعْطِي عَلَى مَا سِوَاهُ
“โอ้ อาอิชะฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้อ่อนโยนและทรงโปรดปรานความอ่อนโยน และทรงประทานบนความอ่อนโยนในสิ่งที่ไม่ประทานบนความแข็งกร้าว และสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากมัน”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย และมุสลิม)
ท่านรอซูล กล่าวว่า “ไม่ใช่ผู้ศรัทธา(มุอฺมิน) ผู้ซึ่งด่าทอ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น ผู้ที่สาปแช่งมาก ผู้ที่หยาบคาย ผู้ที่ลามก”
จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
«يَسِّرُوا وَلاَ تُعَسِّرُوا ، وَسَكِّنُوا وَلاَ تُنَفِّرُوا»
“พวกเจ้าจงทำให้ง่าย อย่าทำให้ยาก และจงทำให้สบายใจ อย่าทำให้ตื่นตระหนก”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :
«فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاصْفَحْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ»
“ดังนั้น เจ้าจงยกโทษให้พวกเขา และจงอย่าถือสา แท้จริงแล้วอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้ที่ทำความดี”
(อัล-มาอิดะฮฺ : 13)
♣ ต้องมีหิกมะฮฺ
คือ การมีความประณีตบรรจงในการงานต่างๆ กล่าวคือการจัดวางตำแหน่งของกิจการงานต่างๆ ตามสถานะความเหมาะสมข และวางมันในที่ของมัน (อย่าเอาแก้วน้ำร้อนไปเทใส่แก้วน้ำเย็น เพราะมันจะทำให้ภาชนะนั้นแตกร้าว) เรียกง่ายๆ วางของไม่ถูกที่
อัลเญาฮารีย์ได้กล่าวว่า “ความรู้ และความเข้าใจ “คือ การตั้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ถูกสถานที่ และเวลาหรือถูกกาละเทศะ
การดะอฺวะฮฺในหนทางของอัลลอฮ จำเป็นต้องกระทำด้วยหิกมะฮฺและวิธีการที่ดี ที่เต็มไปด้วยความอ่อนโยน ในขณะที่นำเสนอสัจธรรม และมีสติปัญญา มีวิจารณญาณ วิทยปัญญา ความรู้ลึกซึ้ง ประสบการณ์ที่เพียงพอ ดังที่อัลลอฮสุบหานะฮุวะตะอาลา ตรัสว่า
ادْعُ إِلَىٰ سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُم بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِمَن ضَلَّ عَن سَبِيلِهِ وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ ﴾
“จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง”
(อันนะหลฺ 125)
เมื่อใดที่การเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์ดำเนินไปด้วยความแข็งกระด้างและรุนแรง ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นมากกว่าการก่อประโยชน์อย่างแน่นอน ซึ่งอัลลอฮฺกำชับให้คัดสรรคำพูดที่ดี ที่ไพเราะ
พระองค์ตรัสกับท่านนบี ว่า
وَإِذَا خَاطَبَهُمُ الْجَاهِلُونَ قَالُوا سَلَامًا
“และเมื่อพวกเขาโง่เขลากล่าวทักทายพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า ศานติ หรือสลาม”
( ฟรุกอน อายะ 63)
และพระองค์ตรัสว่า
وَقُولُوا لِلنَّاسِ حُسْناً “และพวกเจ้าทั้งหลายจงพูดจากับมนุษย์ด้วยดี”
(อัลบากอเราะ 83)
ท่านนบี ก็ได้ถ่ายทอดคำสอนของอัลลอฮฺโดยท่านได้กล่าวว่า
وَالكَلِمَةُ الطَّيِّبَةُ صَدَقَةٌ “คำพูดที่ดี และไพเราะเป็นทาน ”
(บันทึกโดยอิหม่ามอัลบุคอรีย์ และมุสลิม)
♣ จะต้องมีความรู้และความเข้าใจต่อสภาพกลุ่มคนนั้นๆ
นักทำงานศาสนาทุกๆคน จะต้องให้ความสำคัญและเข้าใจต่อสภาพของกลุ่มคนที่ทำการเรียกร้องมาสู่อัลลอฮฺ ถือว่าเป็นหนึ่งในคุณลักษณะที่จำเป็นจะต้องมีในการลงสนามเพื่อศาสนาของอัลลอฮฺ เพราะการศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มที่จะเรียกร้องมาสู่อัลลอฮฺ ทำให้เราสามารถดำเนินงานได้อย่างง่ายดาย เรียนรู้วิธีการพูด การจูงใจคน รักษาสิทธิและหน้าที่ของพวกเขาเหล่านั้น
แน่นอนคนที่เราจะทำการเรียกร้องมาสู่ศาสนาของพระองค์นั้นมีหลายระดับที่ปะปนกันไป เช่น คนมีความรู้ คนทำผิด คนโง่เขลา คนเป็นต่างศาสนิก คนที่เขาต่อต้านอิสลาม การให้ความสำคัญและเอาใจใส่ต่อพวกเขาในด้านต่างๆ สิทธิหน้าที่ และจะต้องให้เกียรติในเรื่องที่เขานับถือและเชื่อในศาสนาของเขา เช่น อย่าไปดาท่อศาสนาของเขา หรือใส่ร้ายป้ายสีในพระเจ้าที่พวกเขานับถือ เพราะนั้นคือการดูถูกเหยีบยามในศาสนาของเขา เพราะหากเรามุสลิม หรือนักทำงานศาสนาไปล้อเลียน หรือดาท่อคนศาสนาอื่น ผลที่มันจะตามมานั้นคือ สิ่งที่พวกเขาจะทำกับเราคือ การดาท่อศาสนา และดาท่ออัลลอฮฺ พระเจ้าของเราเช่นกัน ฉะนั้นอัลลอฮฺ กล่าวว่า
وَلَا تَسُبُّوا الَّذِينَ يَدْعُونَ مِن دُونِ اللَّهِ فَيَسُبُّوا اللَّهَ عَدْوًا بِغَيْرِ عِلْمٍ كَذَٰلِكَ زَيَّنَّا لِكُلِّ أُمَّةٍ عَمَلَهُمْ ثُمَّ إِلَىٰ رَبِّهِم مَّرْجِعُهُمْ فَيُنَبِّئُهُم بِمَا كَانُوا يَعْمَلُونَ
“และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่า บรรดาที่พวกเขาวิงวอนขอ อื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด โดยปราศจากความรู้
ในทำนองนั้นแหละ เราได้ให้สวยงามแก่ทุกชาติ ซึ่งการงานของพวกเขา และยังพระเจ้าของพวกเขานั้น คือการกลับไปของพวกเขา
แล้วพระองค์ก็จะทรงบอกแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน”
( อัลอาม 108)
ท่านอิบนุกะซีรกล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงห้ามต่อท่านศาสดามูฮัมหมัดและบรรดาผู้ศรัทธาจากการด่าท่อต่อพระเจ้าของฝ่ายผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาเพราะหากว่ามีการด่าท่อแน่นอนว่าสิ่งที่มันจะตามมานั้นคือผลเสียมากกว่า ที่พวกเขานั้นจะด่าท่อพวกท่านและพระองค์”
นักทำงานศาสนาทุกๆคนจะต้องนำเสนอเรื่องราวของอิสลามตามความเหมาะสมและสภาพของคนในชมชุนและสถานที่ให้ความรู้ และความเข้าใจ การตั้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ถูกสถานที่ และเวลาหรือถูกกาลเทศะ เพราะนี้คือการเปิดช่องให้พวกเขานั้นเปิดใจที่ศึกษาหลักคำสอนของอิสลาม
แน่นอนเลยว่า การศึกษาและวิเคาระห์วิธีการทำงานศาสนาต่อกลุ่มนั้นๆ ถือว่าเป็นกลยุทธ์การเผยแพร่อิสลามอย่างดีทีเดียว เพราะมันส่งผลต่อการตอบรับของกลุ่มชนนั้น เราสามารถที่จะรู้วิธีการทำเสนอหลักคำสอนอย่างถูกต้องตามความเหมาะสมของพวกเขา
องค์ประกอบในการทำเผยแผ่อิสลาม
♦· มีความรู้ในหลักการศาสนาอย่างถ่องแท้
♦· มีความบริสุทธิ์ใจ
♦· อดทน
♦· มีความเข้าใจสภาพของกลุ่มนั้นๆ เช่น คนมีหลายระดับ คนโง่ คนรู้ คนทำผิด คนเป็นมุสลิมใหม่ คนต่อต้านอิสลาม
♦· การเลือกใช้สำนวน วาจา อย่างเหมาะสม
♦· จะต้องรักษาสิทธิของพวกเขา เช่น ในเรื่องศาสนาที่เขานับถือ พระเจ้าของเขา
♦· จะต้องมีมารยาทที่ดีงาม ใช้คำพูดสุภาพ อ่อนโยน
♦· อย่าพูดให้มุสลิมฟังอย่างเดียว ควรที่จะให้ความรู้เป็นกลาง มุสลิมใหม่สามารถเข้าใจได้ง่าย
ท่านอิหม่าม อิบนุ ก็อยยิม แบ่งมนุษย์เป็นสองจำพวก
กลุ่มคนประเภทที่หนึ่ง ที่จะได้รับประโยชน์การเรียกร้องสู่อัลลอฮฺ(มุสลิม) มีสองจำพวก
· หนึ่ง มุสลิมที่มีการศรัทธาอย่างมาก คือ กลุ่มคนที่มีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้ว แค่เพียง ตักเตือนและชี้แนะพวกเขา กลุ่มคนเหล่านี้มีความครัทธาและเข้าใจหลักการอย่างมากสามารถจะปฏิบัติได้เลยเมื่อมีคำสอนของศาสนาแก่พวกเขา
· สอง มุสลิมที่มีศรัทธาอ่อน คือ กลุ่มยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตามหลักการได้เลย เรียนรู้ รับรู้แต่ยังปฏิเสธในบางเรื่อง ยังไม่สามารถปฏิบัติได้ทั้งหมด หรือบางครั้งยังกระทำความผิดอยู่ จะต้องใช้รูปแบบต่างๆสร้างอิหม่านให้แก่เขา เช่น ยกอุทาหรณ์ เรื่องการลงโทษ ชาวนรกและชาวสวรรค์แต่จะต้องให้สำนวนการตักเตือนที่สุภาพ ไม่ใช่ เอานรกไปไห้เขาอย่างเดียว สำทับเพื่อให้เขานั้น สำนึกผิดและกลับเนื้อกลับตัว
กลุ่มคนประเภทที่สอง คนไม่ยอมรับและต่อต้านศาสนาอิสลาม มีสองจำพวก
· กลุ่มคนที่มีความรู้ในหลักการศาสนาจะใช้การโต้ตอบกลับมา ฉะนั้น ผู้ที่ทำงานจะต้องใช้ทักษะที่ดีกว่าและฉลาดกว่าในการโต้ตอบด้วยสำนวน วาจา เพราะพวกเขามักใช้สติปัญญาในการเข้าใจและวิเคาระห์
· กลุ่มที่ไม่มีความรู้และความเข้าใจ มักจะใช้วิธีการตอบโต้แบบไร้สติปัญญา ไม่มีเหตุผล ต่อต้านสุดโต่ง
หากเราพิจารณาสิ่งที่อัลลอฮฺ ตรัสเอาไว้มากมาย เช่น
﴿ ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ إِنَّ رَبَّكَ هُوَ أَعْلَمُ بِمَنْ ضَلَّ عَنْ سَبِيلِهِ وَهُوَ أَعْلَمُ بِالْمُهْتَدِينَ ﴾
“จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า
แท้จริงพระเจ้าของพระองค์และพระองค์ทรงรู้ดียิ่งถึงบรรดาผู้ที่อยู่ในทางที่ถูกต้อง”
(อันนะหลฺ 125)
وَلَا تُجَادِلُوا أَهْلَ الْكِتَابِ إِلَّا بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ إِلَّا الَّذِينَ ظَلَمُوا مِنْهُمْ وَقُولُوا آمَنَّا بِالَّذِي أُنزِلَ إِلَيْنَا وَأُنزِلَ إِلَيْكُمْ وَإِلَٰهُنَا وَإِلَٰهُكُمْ وَاحِدٌ وَنَحْنُ لَهُ مُسْلِمُون
“และพวกเจ้าอย่าโต้เถียงกับพวกอะฮ์ลุลกิตาบเว้นแต่ด้วยวิธีที่ดีกว่า นอกจากบรรดาผู้อธรรมในหมู่พวกเขา
และพวกเจ้าจงกล่าวว่า เราศรัธทาในสิ่งที่ถูกประทานแก่เราและสิ่งที่ได้ถูกประทานแก่พวกท่าน
และพระเจ้าของเราและพระเจ้าของพวกเขาเป็นเอกะ และเราเป็นผู้นอบน้อมต่อพระองค์“
(อังกะบูต 46 )