มารยาท ในการใช้อินเตอร์เน็ต
  จำนวนคนเข้าชม  10834


มารยาท ในการใช้อินเตอร์เน็ต

 

อัลดุลวาเฮด สุคนธา เรียบเรียง

 

          อินเทอร์เน็ตทำให้การสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว ทำให้มีบทบาทและสำคัญเพิ่มมากขึ้นใช้ชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน เช่นเดียวกัน ก็มีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบมากมาย

 

          มุสลิมจะต้องรู้จักการใช้ อินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องและจะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับมารยาท ข้อปฏิบัติตามหลักการของอิสลาม เพื่อให้การใช้งานเครือข่ายร่วมกับผู้อื่นเกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ และเรื่องมารยาทต่างๆ

 

♦ เริ่มด้วยการกล่าว "บิสมิลละฮฺ" (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ)

 

          "บิสมิลละฮฺ" (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ) เป็นการเริ่มต้นที่ดีของการกระทำสิ่งต่างๆ ดังนั้นเราจึงควรเริ่มต้นด้วยบิสมิลละฮฺ วลีศักดิ์สิทธิ์นี้ถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของอิสลาม ที่มุสลิมจะกล่าวอยู่เป็นเนื่องนิจ เวลาเราเข้าใช้สื่อออนไลน์อินเตอร์เน็ต เช่น เฟสบุก อีเมล์ ควรเริ่มด้วยการด้วยพระนามอัลลอฮฺและขอความคุ้มครองจากพระองค์ บรรดาผู้รู้ส่งเสริมกล่าวเวลาเริ่มกิจการงานหนึ่ง งานใด เพื่อความศิริมงคลและขอความคุ้มครองจากมารร้าย

           "บิสมิลละฮฺ" (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ) เป็นคุณสมบัติที่ให้ความเจริญ เมื่อกล่าว "บิสมิลละฮฺ" หมายถึงเราจะทำสิ่งต่างๆ ด้วยพระนามของพระองค์

 

♦ ลดสายตาต่ำจากสิ่งที่ต้องห้าม เห็น คลิป รูปภาพ

 

          อินเตอร์เน็ต คือความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ที่ประทานให้มนุษย์ แต่ในเวลาเดียวกันมันคือดาบสองคมทั้งดีและไม่ดี เช่น ผู้ที่เรียกร้องไปสู่หนทางที่หลงผิด กลุ่ม ชีอะ หรือผู้ที่ต้องการบิดเบือนศาสนาอิสลาม จำพวกคลิป เสียงดนตรีและ ภาพลามกอนาจารต่างๆ การพูดสนทนาที่ไร้สาระมากมาย ฉะนั้นจะต้องพยามใช้อินเตอร์เน็ตอย่างระมัดระวังและอยู่ในขอบเขตของศาสนา

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

﴿ وَاللَّهُ يُرِيدُ أَنْ يَتُوبَ عَلَيْكُمْ وَيُرِيدُ الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الشَّهَوَاتِ أَنْ تَمِيلُوا مَيْلًا عَظِيمًا [النساء: 27]

     “และอัลลอฮฺ ทรงปรารถนาที่จะอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า และบรรดาผู้ที่ปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำนั้นปรารถนาที่จะให้พวกเจ้าเอนเอียงออกไปอย่างมากมาย

 

﴿ وَالَّذِينَ لَا يَشْهَدُونَ الزُّورَ وَإِذَا مَرُّوا بِاللَّغْوِ مَرُّوا كِرَامًا

และบรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระ พวกเขาผ่านไปอย่างมีเกียรติ

 

﴿ وَإِذَا سَمِعُوا اللَّغْوَ أَعْرَضُوا عَنْهُ وَقَالُوا لَنَا أَعْمَالُنَا وَلَكُمْ أَعْمَالُكُمْ سَلَامٌ عَلَيْكُمْ لَا نَبْتَغِي الْجَاهِلِينَ [القصص: 55]

     “และเมื่อพวกเขาได้ยินเรื่องไร้สาระ พวกเขาก็ผินหลังออกห้างไปจากมัน และกล่าวว่าการงานของเราก็จะได้แก่เรา และการงานของพวกท่านก็จะได้แก่พวกท่าน ศานติแด่พวกท่าน เราจะไม่ขอร่วมกับพวกงมงาย

 

♦ จะต้องมีความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ขณะใช้อินเตอร์เน็ต

 

           ในขณะเราใช้อินเตอร์เน็ตในห้องคนเดียวมักจะมีความอ่อนไหวได้ง่าย สามารถเข้าไปเปิดดูคลิปต่างๆที่ไม่เหมาะสมโดยไม่มีใครเห็น ฉะนั้นมุสลิมที่เข้มแข็งจะต้องระวังจากจิตใจที่อ่อนแอ พยายามรำลึกถึงอัลลอฮฺ อยู่เสมอว่า แท้จริงพระองค์ทรงมองเห็นการกระทำของเราตลอดเวลา ดังที่อัลลอฮฺกล่าวถึงลักษณะของคนกลับกลอกว่า

 

﴿ يَسْتَخْفُونَ مِنَ النَّاسِ وَلَا يَسْتَخْفُونَ مِنَ اللَّهِ وَهُوَ مَعَهُمْ إِذْ يُبَيِّتُونَ مَا لَا يَرْضَى مِنَ الْقَوْلِ وَكَانَ اللَّهُ بِمَا يَعْمَلُونَ مُحِيطًا

     “พวกเขาจะปกปิดให้พ้นจากมนุษย์ได้ แต่พวกเขาจะปกปิดให้พ้นจากอัลลอฮฺนั้นไม่ได้ โดยที่พระองค์ร่วมอยู่ด้วย กับพวกเขาขณะที่พวกเขาวางแผนกันเวลากลางคืน ซึ่งคำพูดที่พระองค์ไม่ทรงพอพระทัย และอัลลอฮฺนั้นทรงล้อม ไว้เสมอซึ่งสิ่งที่พวกเขากระทำกัน

 

รายงานหะดีษจากท่าน เซาบาน จากท่านนบี  กล่าวว่า 

     “เพิ่งรู้เถิดว่า มีกลุ่มชนหนึ่งจากประชาชาติของฉัน พวกเขามาในวันกียามะ ความดีเท่ากับภูเขาสูงตระง่า และอัลลอฮฺทรงทำให้มันกลายเป็นฝุ่นที่ปลิวว่อน

     ท่านเซาบานกล่าวกับท่านนบีว่าจงบอกลักษณะกลุ่มชนนี้ ว่า เป็นอย่างไร เพื่อว่าพวกเรานั้นจะไม่เป็นหนึ่งในกลุ่มชนนั้น ซึ่งพวกเราไม่รู้

     ท่านนบี  กล่าวว่าพวกเขาคือพี่น้องของพวกท่าน สีผิวเดียวกับพวกท่าน พวกเขาปฏิบัติในยามค่ำคืนเหมือนพวกท่าน แต่ทว่าพวกเขานั้นกระทำบาป ความหายนะจะประสบแก่พวกเขา

(อิบนุมาญะฮ์)

 

อัลลอฮ์ ได้ตรัสในซูเราะห์ อัรเราะฮ์มาน อายะฮ์ที่ 46 ความว่า 

และสำหรับผู้ที่ยำเกรงต่อการยืนหน้าพระพักตร์แห่งพระเจ้าของเขา(เขาจะได้)สวนสวรรค์สองแห่ง

(สำหรับตนเองและสำหรับครอบครัวด้วย)

 

♦ จะต้องยำเกรงต่ออัลลอฮฺทั้งในที่ลับและเปิดเผย

 

หะดีษ ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า 

      “จงห่างไกลจากสิ่งสกปรกโสมมสิ่งที่ผิดหลักการศาสนาทั้งหลายที่อัลลอฮฺ ได้ห้ามไว้ และเมื่อผู้ใดได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากสิ่งที่ห้ามดังกล่าวก็จงปกปิดมันไว้ (เพราะอัลลอฮฺให้ปกปิดเรื่องนั้นมิให้ผู้อื่นรู้ยกเว้นตัวเขาเอง)

(อะห์มัด)

     จากอบูซัรรฺ (ญุนดุบ บินญุนาดะฮฺ) และอบูอับดุรเราะฮฺมาน (มุอ๊าซ บินญะบัล) ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา จากท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

(( اتَّقِ اللهَ حَيْثُمَا كُنْتَ ، وَأَتْبِعِ السَّيِّئَةَ الْحَسَنَةَ تَمْحُهَا ، وَخَالَقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ ))

     “จงยำเกรงอัลลอฮฺไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด และจงตามหลังความชั่วด้วยการทำดี มันย่อมลบล้างได้ และจงคบเพื่อนมนุษย์ด้วยกริยามารยาทที่ดีงาม

หะดีษนี้บันทึกโดยติรมิซีย์ ซึ่งกล่าวว่าเป็นหะดีษหะซัน และในต้นฉบับบางเล่ม (ของติรมิซีย์) กล่าวว่า เป็นหะดีษหะซันเศาะฮีฮฺ

 

♦ จะต้องตรวจสอบข่าวและข้อมูล

 

           มารยาท ที่สำคัญของการ ใช้ อินเตอร์เน็ตจะต้องตรวจสอบข่าวและข้อมูล ที่มาและแหล่งข้อมูลว่ามีความเชื่อถือและจริงเท็จแค่ไหน เพื่อป้องกันจากการใส่ร้ายและการกล่าวหาผู้อื่นโดยมิชอบ อัลลอฮ์กล่าวว่า

 

﴿ يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا إِنْ جَاءَكُمْ فَاسِقٌ بِنَبَأٍ فَتَبَيَّنُوا أَنْ تُصِيبُوا قَوْمًا بِجَهَالَةٍ فَتُصْبِحُوا عَلَى مَا فَعَلْتُمْ نَادِمِينَ [الحجرات: 6]،

     “โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ! หากคนชั่วนำข่าวใดๆ มาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด หาไม่แล้วพวกเจ้าก็จะก่อเคราะห์กรรมแก่พวกหนึ่งโดยไม่รู้ตัว แล้วพวกเจ้าจะกลายเป็นผู้เสียใจในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไป

 

           เราเห็นบ่อยครั้งจากข่าวโคมลอย การเท็จที่มันแพร่กระจายในเว็ปไซด์ อินเตอร์เน็ต ฉะนั้นหากผู้ใดนำข่าวที่ไม่มีมูลความจริงและนำไปบอกต่อๆ เข้าข่ายการโกหก หลอกลวงผู้อื่น ฉะนั้นผู้ที่เป็นมุสลิมผู้ศรัทธาจะต้องตรวจสอบแหล่งข้อมูลให้ดีเสียก่อนที่จะนำไปเผยแพร่

 

♦ จะต้องใช้อินเตอร์เน็ตตามความจำเป็นและเหมาะสม

 

           ความสำคัญและคุณค่าของเวลา และได้ประกาศว่ามนุษย์ทุกคนจะต้องถูกสอบสวนเกี่ยวกับการใช้เวลาของเขาในวันกิยามะฮฺ ท่านมุอาซ บินญะบัล เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

 

«لاَ تَزُولُ قَدَمَا عَبْدٍ يَوْمَ الْقِيَامَةِ حَتَّى يُسْأَلَ عَنْ أَرْبَعٍ : عَنْ عُمُرِهِ فِيمَا أَفْنَاهُ، وَعَنْ جَسَدِهِ فِيمَا أَبْلاَهُ، وَعَنْ مَالِهِ مِنْ أَيْنَ اكْتَسَبَهُ وَفِيمَا وَضَعَهُ، وَعَنْ عِلْمِهِ مَاذَا عَمِلَ فِيهِ»

 

     “ในวันกิยามะฮฺสองเท้าของบ่าวแต่ละคนจะไม่เคลื่อนจนกว่าเขาจะถูกสอบสวนเกี่ยวกับ 4 ประการ

1. เกี่ยวกับอายุของเขาว่า เขาใช้หมดไปในทางใด

2. เกี่ยวกับร่างกายของเขาว่า เขาใช้งานทางใด

3. เกี่ยวกับทรัพย์สินของเขาว่า เขาได้มาอย่างไรและใช้จ่ายไปในทางใด

4. เกี่ยวกับความรู้ของเขาว่า เขานำมันไปปฏิบัติอย่างไร

(บันทึกโดยอัฏเฏาะบะรอนียฺ ชัยคฺอัล-อัลบานีย์กล่าวว่า เป็นหะดีษเศาะฮีหฺลิฆ็อยริฮฺ)

 

          ท่านนบี  ได้แจ้งอีกว่า เวลานั้นคือความโปรดปราน (นิอฺมะฮฺ) ของอัลลอฮฺประเภทหนึ่งที่มีต่อทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างมา ดังนั้น ผู้เป็นบ่าวจึงเป็นต้องขอบคุณ (ชุกูร) ในความโปรดปรานดังกล่าว หากไม่แล้ว ความโปรดปรานที่มีก็จะถูกเพิกถอนและสูญหายไปในที่สุด การขอบคุณในความโปรดปรานของเวลากระทำได้ด้วยการใช้มันในหนทางที่เกิดการภักดีต่ออัลลอฮฺ และใช้ประโยชน์จากมันด้วยกับการทำอามัลที่ดี

 

ท่านนบี  ได้กล่าวเรื่องนี้ว่า

«نِعْمَتَانِ مَغْبُونٌ فِيهِمَا كَثِيرٌ مِنْ النَّاسِ الصِّحَّةُ وَالْفَرَاغُ»

     “ความโปรดปราน (นิอฺมะฮฺ) สองประการที่มนุษย์ส่วนมากมักจะปล่อยให้สูญเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ นั่นคือ การมีสุขภาพที่ดีและการมีเวลาว่าง

( บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)

ท่านอิบนุลเญาซีย์กล่าวว่า

          “มนุษย์จำเป็นต้องทราบถึงความประเสริฐและคุณค่าของเวลาที่มีอยู่ ดังนั้น เขาก็จะไม่ปล่อยให้เสี้ยวหนึ่งของช่วงเวลาสูญเสียไปในหนทางที่ไม่ก่อให้เกิดความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ และเขาจะดำเนินเวลาของเขาให้หมดไปกับความดีงามตลอดไปทั้งจากคำพูดและการกระทำ และเจตนาของเขาให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี โดยไม่รู้สึกอ่อนล้าและท้อแท้ในสิ่งที่ร่างกายของเขาสามารถกระทำได้

 

♦ หลีกห่างการเล่นเกม ชิงโชค ชิงรางวัล การโหวตท้ายผล การเล่นการพนัน ต่างๆนาน และสิ่งไร้สาระมากมาย

 

           มุสลิมทุกคนควรจะต้องระมัดระวัง การมีส่วนร่วมในการใช้อินเตอร์เน็ต เช่น การเล่นเกม การโหวตท้ายผลกีฬา จะต้องละทิ้งสิ่งที่ไร้สาระในชีวิตประจำวันของเราทุกคน

 

มีรายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านรอซูล กล่าวว่า :

من حسن اسلم المرء تركه ما لايعنيه

“”ส่วนหนึ่งจากความสวยงามของการเป็นมุสลิมของบุคคลหนึ่งก็คือ การที่เขาละเว้นจากสิ่งที่ไร้สาระ””

อีกรายงานหนึ่งระบุว่า :

من إيمان المرء تركه ما لايعنيه

““ส่วนหนึ่งจากการศรัทธาของบุคคลหนึ่งก็คือ การที่เขาละเว้นจากสิ่งที่ไร้สาระ” “

(บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ และอิบนุมาญะห์)

 

♦ จงระวังคำพูดแบบ ไม่ยังคิด ไม่ทันคิด

 

รายงานท่านอบูฮูรอยเราะฮ์ ท่านนบี  กล่าวว่า

"سَيَأْتِي عَلَى النَّاسِ سَنَوَاتٌ خَدَّاعَاتُ، يُصَدَّقُ فِيهَا الْكَاذِبُ، وَيُكَذَّبُ فِيهَا الصَّادِقُ، وَيُؤْتَمَنُ فِيهَا الْخَائِنُ، وَيُخَوَّنُ فِيهَا الْأَمِينُ، وَيَنْطِقُ فِيهَا الرُّوَيْبِضَةُ"، قِيلَ: وَمَا الرُّوَيْبِضَةُ؟ قَالَ: "الرَّجُلُ التَّافِهُ يتكلم فِي أَمْرِ الْعَامَّةِ"

 

       มียุคหนึ่งมาถึงมีแต่ผู้คนหลอกลวง บิดพลิ้ว คนโกหกหลายคนพูดจริง และคนพูดจริงกลายเป็นคนโกหก และคนที่รับการไว้วางใจกลายเป็นคนบิดพลิ้ว คนที่บิดพลิ้วกลายเป็นคนได้รับการไว้วางใจ การพูดในแบบของคนเลี้ยงแกะ

มีคนถามขึ้นมาว่าอะไรการพูดแบบของคนเลี้ยงแกะ

ท่านนบีกล่าวว่าชายที่ชอบพูดแบบไม่ยังคิด นึกจะพูดก็พูด

( อะหมัด ซ่อเฮี้ยะ อัลนาบีย์)

 

          มนุษย์ส่วนมากที่ใช้การสนทนาต่างๆนานาบนโลกโลกโซเชียล อินเตอร์เน็ต จะต้องระมัดระวังการใช้คำพูดในเรื่องต่างๆ บางทีมันอาจทำลายความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้นๆ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องใช้คำพูดเกิดประโยชน์และชักจูงไปสู่ความดีงามต่างๆ หรือ สนทนาเพื่อเสริมการเรียนรู้ซึ่งกันและกันในประเด็นต่างๆของศาสนา

 

﴿ وَقُلْ رَبِّ زِدْنِي عِلْمًا

และจงกล่าวเถิดข้าแต่พระเจ้าของข้า พระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วย

 

﴿ وَالْبَاقِيَاتُ الصَّالِحَاتُ خَيْرٌ عِنْدَ رَبِّكَ ثَوَابًا وَخَيْرٌ مَرَدًّا

"และการงานที่ดีที่ยั่งยืนนั้นดียิ่ง ที่พระเจ้าของเจ้าในการตอบแทนรางวัล และดียิ่งในการกลับ(ไปสู่พระองค์)

 

♦ จะต้องใช้สื่อ อินเตอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและสังคม

 

          มุสลิมจะต้องใช้อินเตอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและสังคม เช่น ใช้เพื่อการศึกษาหาความรู้ ค้นคว้างานวิจัย อ่านบทความศาสนา ฟัตวาต่างๆ แม้กระทั่งการใช้ทำธุรกิจซึ่งถูกต้องตามหลักการของศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการการทำงานเผยแพร่ศาสนาอิสลามบนโลกออนโลน์ซึ่งเป็นสื่อที่มีความสำคัญและบทบาทอย่างมากในโลกปัจจุบันนี้

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

قُلْ هَٰذِهِ سَبِيلِي أَدْعُو إِلَى اللَّهِ عَلَىٰ بَصِيرَةٍ أَنَا وَمَنِ اتَّبَعَنِي وَسُبْحَانَ اللَّهِ وَمَا أَنَا مِنَ الْمُشْرِكِينَ

     “จงกล่าวเถิด(มูฮำหมัด) นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮอย่างประจักษ์แจ้งทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน และมหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮ ฉันมิได้อยู่ในหมู่ตั้งภาคี

(ยูซูฟ : 108)