หลักการโฆษณา(รีวิวสินค้า)ในอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  4347


หลักการโฆษณา(รีวิวสินค้า)ในอิสลาม

 

แปลโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          การประกอบธุรกิจ หลายอย่างจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น การโฆษณาถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ การโฆษณามีหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาผ่านหน้าหนังสือพิมพ์,ป้ายคัตเอาต์,โทรทัศน์,โทรศัพท์ smartphone จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ (ขายของได้ดียิ่งขึ้น)

          ในยุคเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเรา เกิดคำศัพท์ใหม่ด้านการโฆษณาที่เรียกว่ารีวิว (review)

          ผู้รีวิวอาจรีวิวสินค้า ได้ในหลายหัวข้อเช่น วัตถุประสงค์การใช้งาน,สรรพคุณ,วิธีการใช้งานประโยชน์ของการใช้งาน ราคาและอาจรวมถึงเพิ่มแรงจูงใจให้ลูกค้าด้วย จะมีค่าจ้างเป็นสิ่งตอบแทนสำหรับผู้ที่รับจ้างในการทำโฆษณา หรือเรียกว่า การรีวิวสินค้านั้นๆ

 

     ตามหลักการในอิสลามนั้น การโฆษณาแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

♣ หนึ่ง การโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า ตามความจริงของสินค้านั้น

♣ สอง การโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า ปกปิดความจริงของสินค้านั้น โฆษณาเกินความเป็นจริง ชวนเชื่อต่างๆนานา เพื่อทำยอดขาย

 

          การโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า ตามความจริงของสินค้านั้น อิสลามส่งเสริมให้ผู้ขายบอกวัตถุประสงค์ของการใช้งาน,สรรพคุณ,วิธีการใช้งานประโยชน์ของการใช้งานจริง อย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา การกระทำในรูปแบบนี้ อนุญาต และศาสนาส่งเสริมในเรื่องดังกล่าวด้วย

 

อัลลอฮ์ ตรัสว่า

وَأَحَلَّ اللَّهُ الْبَيْعَ   “และอัลลอฮ์นั้นทรงอนุมัติการค้าขาย” 

(อัลบากอเราะอายะที่ 275)

อัลลอฮ์ ตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَكُم بَيْنَكُم بِالْبَاطِلِ إِلَّا أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ ۚ وَلَا تَقْتُلُوا أَنفُسَكُمْ ۚ إِنَّ اللَّهَ كَانَ بِكُمْ رَحِيمًا

          “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้า ในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่พวกเจ้า และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ

(อัล นิซา 29)

และพระองค์ ตรัสอีกว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا أَوْفُوا بِالْعُقُود

บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงรักษาบรรดาสัญญา ให้ครบถ้วนเถิด

( อัลมาอิดะ1)

 

ความเข้าใจของตัวบทหลักฐาน

 

          โดยความเข้าใจทั้งหมดนั้น การทำธุระกิจต่างๆในด้านแสวงหาปัจจัยยังชีพถือว่าสิ่งที่อนุญาตในศาสนา ยกเว้นจะมีตัวบทหลักฐานมาสั่งห้ามไม่ให้ทำ ฉะนั้นการการโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า ถือว่า อนุญาตทำได้

 

قَالَ اجْعَلْنِي عَلَىٰ خَزَائِنِ الْأَرْضِ ۖ إِنِّي حَفِيظٌ عَلِيمٌ

เขากล่าวว่าได้โปรดแต่งตั้งฉันให้ควบคุมการคลังของประเทศ แท้จริงฉันเป็นผู้ชื่อสัตย์ผู้รู้” 

(ยูซูฟ 55)

อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งท่านนบียูซูฟเป็นผู้ว่าการคลังสินค้า ฉะนั้นการทำโฆษณาหรือ รีวิวสินค้าเป็นเรื่องที่อนุญาต

 

รายงานจากท่าน อบี ฮูรอยเราะ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

مَرَّ عَلَى صُبْرَةِ طَعَامٍ فَأَدْخَلَ يَدَهُ فِيهَا ، فَنَالَتْ أَصَابِعُهُ بَلَلًا ، فَقَالَ : " مَا هَذَا يَا صَاحِبَ الطَّعَامِ ؟ " ، قَالَ : أَصَابَتْهُ السَّمَاءُ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، قَالَ : " أَفَلَا جَعَلْتَهُ فَوْقَ الطَّعَامِ كَيْ يَرَاهُ النَّاسُ ، مَنْ غَشَّ ، فَلَيْسَ مِنِّي

     ท่านร่อซูล ได้เดินผ่านกองข้าว และท่านเอามือจุ่ม หรือล้วงไปในกองข้าวนั้น ปรากฎว่ามือของท่านนั้นเปียกชุ่ม 

     ท่านร่อซูล กล่าวว่า นี้มันคืออะไรกัน 

     เจ้าของอาหาร ตอบว่า ฝนมันตกลงมา ครับ ท่านร่อซูล

     ท่านร่อซูลบอกว่า แล้วทำไมเจ้าไม่เอามันมาวางด้านบนล่ะ เพื่อว่าคนอื่นจะได้เห็น และแน่นอน ใครที่ฉ้อโกง เขาไม่ใช่พวกเรา

( มุสลิม)

          แน่นอน ท่านนบี  มิได้รังเกียจคนขายของนั้น แต่ท่านตำหนิวิธีการขายของเขาในการนำเสอนลูกค้า ในการปกปิดสิ่งที่ไม่ดีของสินค้า ฉะนั้นการขายของหรือทำโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า ห้ามหมกเม็ด ปกปิดสินค้า หากว่าใครกระทำการปกปิดของที่มีตำหนิ เข้าข่ายการหลอกลวง และทำการโฆษณาหรือ รีวิวสินค้าแบบชวนเชื่อ หลอกลวง ตรงนี้เราสามารถรับรู้การว่าจ้างรับงานโฆษณาหรือ รีวิวสินค้าเป็นที่อนุญาต

 

          การโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า ปกปิดความจริงของสินค้านั้น โฆษณาเกิดว่าความเป็นจริง ชวนเชื่อต่างๆนานา เพื่อทำยอดขาย ถือว่า เข้าข่ายการฉ้อโกง หมกเม็ดปกปิด หลอกลวงต่อลูกค้า อิสลามถือว่า การกระทำนี้ ไม่อนุญาตอย่างเด็ดขาด

 

อัลลอฮฺตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَأْكُلُوا أَمْوَالَكُم بَيْنَكُم بِالْبَاطِلِ إِلَّا أَن تَكُونَ تِجَارَةً عَن تَرَاضٍ مِّنكُمْ ۚ وَلَا تَقْتُلُوا أَنفُسَكُمْ ۚ إِنَّ اللَّهَ كَانَ بِكُمْ رَحِيمًا

          “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! จงอย่ากินทรัพย์ของพวกเจ้า ในระหว่างพวกเจ้าโดยมิชอบ นอกจากมันจะเป็นการค้าขายที่เกิดจากความพอใจในหมู่พวกเจ้า และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ

(อัล นิซา 29)

          ฉะนั้นการทำโฆษณาหรือ รีวิวสินค้า ด้วยปกปิดความจริงของสินค้านั้น โฆษณาเกิดว่าความเป็นจริงถือว่า ผู้ขายนั้นเอาทรัพย์สินผู้อื่นโดยมิชอบ ด้วยการชวนเชื่อและหลอกลวงผู้ชื้อ

 

มีตัวบทหะดีษบันทึกโดย อิหม่าม บุคครี จากท่าน อับดุลลอฮฺ บิน อะบี เอาฟา กล่าวว่า

أَنَّ رَجُلًا أَقَامَ سِلْعَةً فِي السُّوقِ ، فَحَلَفَ لَقَدْ أَعْطَى بِهَا مَا لَمْ يُعْطَ لِيُوقِعَ فِيهَا رَجُلًا مِنَ الْمُسْلِمِينَ

     มีชายคนหนึ่ง ประกาศด้วยการโฆษณาสินค้าของตัวเองในตลาดว่าขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แน่นอน สินค้านี้ดีที่สุด ไม่มีใครที่จะให้สินค้านี้ดีไปกว่าฉันอีกแล้วเพื่อต้องการให้ผู้อื่นมาสนใจในสินค้าของเขา

อัลลอฮฺ จึงได้ประทานอายะนี้ลงมา

الَّذِينَ يَشْتَرُونَ بِعَهْدِ اللَّهِ وَأَيْمَانِهِمْ ثَمَنًا قَلِيلًا أُولَٰئِكَ لَا خَلَاقَ لَهُمْ فِي الْآخِرَةِ وَلَا يُكَلِّمُهُمُ اللَّهُ وَلَا يَنظُرُ إِلَيْهِمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ وَلَا يُزَكِّيهِمْ وَلَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ

          “แท้จริงบรรดาผุ้ที่นำสัญญาของอัลลอฮ์ และการสาบานของพวกเขาไปขายด้วยราคาอันเล็กน้อยนั้น ชนเหล่านี้แหละไม่มีส่วนได้ใด แก่พวกเขาในปรโลก และอัลลอฮ์จะไม่ทรงพูดแก่พวกเขา และจะไม่ทรงมองดูพวกเขาในวันกิยามะฮ์ และทั้งจะไม่ทำให้พวกเขาสะอาดด้วย และพวกเขาจะได้รับโทษอันเจ็บแสบ

( อาลาอิมรอน อายะ 77)

          ฉะนั้นการสาบานเพื่อจะให้ลูกค้าสนในในสินค้านั้น ถือว่า เข้าข่ายการหลอกลวงอย่างชัดเจน เช่นเดียวกับการทำ การรีวิวสินค้า เพื่อเพิ่มยอดขายในลินค้านั้น

 

รายงานจากท่าน อบี ฮูรอยเราะ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

مَرَّ عَلَى صُبْرَةِ طَعَامٍ فَأَدْخَلَ يَدَهُ فِيهَا ، فَنَالَتْ أَصَابِعُهُ بَلَلًا ، فَقَالَ : " مَا هَذَا يَا صَاحِبَ الطَّعَامِ ؟ " ، قَالَ : أَصَابَتْهُ السَّمَاءُ يَا رَسُولَ اللَّهِ ، قَالَ : " أَفَلَا جَعَلْتَهُ فَوْقَ الطَّعَامِ كَيْ يَرَاهُ النَّاسُ ، مَنْ غَشَّ ، فَلَيْسَ مِنِّي

     ท่านร่อซุลได้เดินผ่าน กองข้าว และท่าน เอามือจุ่ม หรือ ล้วงไปในกองข้าวนั้น ปรากฎว่ามือของท่านเปียกชุ่ม 

     ท่านร่อซูล จึงกล่าวว่า สิ่งนี้มันคืออะไรกัน 

     เจ้าของอาหาร เขาตอบว่า ฝนมันตกลงมา ครับ ท่านร่อซูล

     ท่านร่อซูลบอกว่า แล้วทำไมเจ้าไม่เอามันมาวางด้านบนล่ะ เพื่อว่า คนอื่นจะได้เห็น และแน่นอนใครที่ฉ้อโกง เขาไม่ใช่พวกเรา 

(มุสลิม)

          ท่านนบี  ได้ตำหนิการนำเสอนสินค้าของผู้ขายโดยใช้วิธีปกปิดข้อตำหนิเพื่อไม่ให้ลูกค้านั้นรับทราบ เอาสินค้าที่ดีไว้หน้าร้านแต่ เวลาลูกค้าจะชื้อ หยิบของที่ไม่ได้ใส่ให้ลูกค้า การกระทำนี้ถือว่ามีความผิดเ ข้าข่ายฉ้อโกง

 

รายงานจากท่าน อุมัร ท่านนบี  กล่าวว่า

نهى النبي r عن النَّجْشِ   “ห้ามการขายแบบการขึ้นราคาสินค้า (การประมูล)”

( บุคครีย์)

 

ท่านอิบนุ อะญัรกล่าวว่า 

♦ การขายแบบหน้าม้า หมายถึง การเรียกร้องให้ลูกค้ามีความสนใจในสินค้านั้น และพยามเพิ่มราคาสินค้าแต่กลับไม่ต้องการสินค้า คือ ไม่ชื้อสินค้า และ ไม่อยากให้ผู้อื่นได้ด้วย การกระทำแบบนี้ คล้ายการโฆษณาสินค้าแบบหลอกลวงผู้ชื้อ

 

♦ การซื้อขายด้วยการปั่นราคา (นะญัช) คือ การขึ้นราคาสินค้า (การประมูล) โดยผู้ที่ไม่ประสงค์จะซื้อสินค้า การซื้อขายประเภทนนี้ก็ถือว่าต้องห้ามเช่นกัน เพราะจะทำให้ผู้ซื้อคนอื่นๆได้รับความเสียหาย (จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า) และเป็นการฉ้อโกงพวกเขา

 

♦ บรรดาผู้รู้และปราช์ทั้งหมด ห้ามจากการขายสินค้าในรูปแบบหลอกลวง ปกปิดสินค้านั้น โดยเฉพาะการโฆษณาหรือ รีวิวสินค้าไม่เป็นความจริงๆ

 

          ฉะนั้นในสังคมปัจจุบันเรามักจะเห็นอย่างแผร่หลาย การชื้อขายบนโลกโซเชียลมีเดียด้วยการว่าจ้างผู้ที่อยากจะรีวิวสินค้า สิงที่เห็นได้ชัด คือ การรีวิวสินค้าด้านความงาม ปัจจุบันมีการเข้ามารีวิวสินค้าเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะ สตรีมุสลิมะฮ์ และบางครั้งสินค้าไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวอ้าง ซึ่งเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเกินกว่าเหตุ บางครั้งว่าจ้างสตรี ที่มีความงามอยู่แล้ว หน้าตาสวย ผิวสวย ซึ่งผู้ขายมองว่าจะเป็นตัวเพิ่มยอดขายได้อย่างดี

 

          โอ้มุสลิมะทั้งหลาย จงระวังในเรื่องการโฆษณาที่หลอกลวงไม่เป็นจริง เพราะทรัพย์สินที่ได้มานั้นเข้าข่ายการกินทรัพย์ของผู้อื่นโดยมิชอบ และการนำสตรี มาทำการโฆษณาทำให้เกิดฟิตนะฮ์บนสื่อออนไลน์ นำไปสู่การพูดคุยที่ไม่เหมาะสมอย่างมากมาย

 

 

จากหนังสือ الفروق الفقهية في نوازل المعاملات