การทำงานในสถานเสริมความงาม
  จำนวนคนเข้าชม  3589


การทำงานในสถานเสริมความงาม

 

แปลโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา 

 

คำถาม

          ฮุกุ่มการทำงานในสถานเสริมความงาม ศัลยกรรม เสริมสวย โรงพยาบาล เช่น เป็นล่าม เลขา พนักงานบริการได้หรือไม่ ?

 

คำตอบ

           อาชีพการงานต่างๆนั้นศาสนาอนุมัติให้สามารถหาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานต่างๆ หากว่างาน หรือ อาชีพนั้นไม่ได้ขัดกับหลักการของศาสนา  โดยเฉพาะการใช้ชีวิตของมุสลิมจะต้องระมัดระวังการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ส่วนมากคนเรามักหลงลืมคิดว่า เราทำงานบริสุทธิ์ เช่น พนักงานเสริฟในร้านอาหาร ทำร้านเสริมสวย เป็นพนักงานล่าม ในคลินิก โรงพยาบาลทั่วไป 

 

           สิ่งที่จะทำให้เราต้องระวัง เช่น การเสริฟเหล้า การแปลภาษาให้กับคนที่ต้องการเสริมสวย ศัลยกรรมเพื่อต้องการความสวยงามเท่านั้น เพราะการกระทำเหล่านี้อยู่ในข่ายการส่งเสริมให้ผู้อื่น กระทำสิ่งที่ไม่ดีด้วย

 

ข้อชี้ขาดของการทำงานในรูปแบบนี้ มีดังนี้

 

           ศัลยกรรม เสริมสวยเพื่อลบรอยที่ใบหน้า เกิดจากการป่วยหรือการบกพร่องผิดปกติทางธรรมชาติซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเขาเอง ทางนี้ศาสนาอนุญาตกระทำได้ แต่หากว่าทำเพื่อต้องการศัลยกรรม เสริมสวยในด้านความงามเพียงอย่างเดียว ศาสนาถือว่าการกระทำดังกล่าวนั้นต้องห้าม

 

     เชค อุษัยมีน กล่าวว่า การศัลยกรรมเสริมสวยนั้น แบ่งออก สอง ประเภท คือ ทำเพื่อเสริมสวย และ ทำเพื่อขจัดความบกพร่องของร่างกาย

   ♦ ประเภทที่หนี่ง การทำศัลยกรรมเพื่อเสริมสวย ไม่อนุญาติออย่างเด็ดขาดเพราะท่านนบี ได้สาปแช่งบุคคลเหล่านี้เอาไว้

   ♦ ประเภทที่สอง ที่อนุญาตคือ การศัลยกรรมทำเพื่อขจัดความบกพร่องของร่างกายให้ดูปกติตามธรรมชาติของสัดส่วนของร่างกายคนเราทั่วไป เช่น สายตาเอียง ตาเหล่ หากว่าเขาต้องการรักษาสายตาที่เกิดมาผิดปกติ สามารถทำได้ ศาสนาอิสลามนั้น อนุญาต

 

           ฉะนั้นการกระทำใดก็ตามที่ศาสนาห้าม เช่น ห้ามทำการทำศัลยกรรมเพื่อเสริมสวยเพื่อความงาม หากมีพนักงานที่ เป็นล่าม เลขา คนทำด้วยในเรื่องดังกล่าว ตกอยู่ในฮุกุ่มการส่งเสริมให้กระทำในสิ่งที่ผิดต่อหลักการศาสนาด้วย ถือว่าบาป

 

อัลลอฮฺ กล่าวว่า

وَلَا تَعَاوَنُوا عَلَى الْإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ وَاتَّقُوا اللَّهَ إِنَّ اللَّهَ شَدِيدُ الْعِقَابِ {المائدة:2}،

      “และพวกจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นศัตรูกันและพึงกลัวเกรงอัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรุนแรงในการลงโทษ

 

      ท่านเชค อิสลามอิบนุ ตัยมียะกล่าวว่าหากมีบุคคลใดที่ทำการช่วยเหลือบุคคลอื่นในสิ่งที่ฝ่าฝืนต่ออัลลออฺ ตะอาลา แท้จริง นี้คือการกระทำบาปด้วย เพราะ เขานั้นมีส่วนร่วมกันเรื่องที่ผิดและบาป

 

ดังคำสอนของท่านนบีในเรื่องการเหล้า

"لعن الله شارب الخمر وساقيها وحاملها وعاصرها وبائعها

อัลลอฮฺ ทรงสาปแช่ง คนที่ดื่มเหล้า คนริน คนแบก คนกลั่น คนขาย

 

         ตัวบทหะดีษรวมทั้งหมด จากคนชื้อ คนขาย คนดื่ม คนเสริฟ คนกลั่นเหล้า เพราะอยู่ในรูปแบบของการส่งเสริมให้การกระทำสิ่งที่ไม่ดี

 

 

อ้างอิง จาก อิสลาม เว็ป