การ ระงับ ลิ้น
แปลและเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา
การควบคุมและระงับตัวเองให้รอดพ้นจากสิ่งที่เป็นบาป ถือว่าเป็นคุณลักษณะหนึ่งผู้ศรัทธา ซึ่งอัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า
وَلْيَسْتَعْفِفِ الَّذِينَ لَا يَجِدُونَ نِكَاحًا حَتَّىٰ يُغْنِيَهُمُ اللَّهُ مِن فَضْلِهِ
“และบรรดาผู้ที่ยังไม่มีโอกาสแต่งงาน ก็จงให้เขาข่มความใคร่ จนกว่าอัลลอฮฺจะทรงให้พวกเขาร่ำรวยขึ้นจากความโปรดปรานของพระองค์ “
(ซูเราะห์นูร อายะที่ 33)
จากมารยาทของท่านนบีสอนให้มุสลิม มีคุณลักษณะดังนี้
“ท่านนบี สั่งใช้ให้พวกเรานั้น ดำรงการละหมาด การทำทาน การระงับจิตใจ การรักษาสัญญา”
( บุคคอรีย์)
การระงับนั้นแบ่งออกสามประเภทด้วยกัน
· การะงับลิ้น
· การระงับ การมอง และ อวัยวะเพศ
· การระงับ จากอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องห้าม
การระงับลิ้น
สิ่งที่สำคัญที่สุดเรานั้นจะต้องระมัดระวังจากการพูดจาไร้สาระ การนินทา การใส่ร้าย การดาท่อ การเย้ยหยัน และการดูถูกเหยีดหยามผู้อื่น
โองการห้ามเยาะเย้ยผู้อื่น
อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ لَا يَسۡخَرۡ قَوۡمٞ مِّن قَوۡمٍ عَسَىٰٓ أَن يَكُونُواْ خَيۡرٗا مِّنۡهُمۡ وَلَا نِسَآءٞ مِّن نِّسَآءٍ عَسَىٰٓ أَن يَكُنَّ خَيۡرٗا مِّنۡهُنَّۖ ﴾
“โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยนั้นอาจจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย
และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยสตรีอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยนั้นอาจจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ยก็ได้”
(อัล-หุญุรอต: 11)
โองการห้าม ตั้งนามชื่อผู้อื่น
อัลลอฮฺ ตะอาลาตรัสว่า
﴿ وَلَا تَلۡمِزُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَلَا تَنَابَزُواْ بِٱلۡأَلۡقَٰبِۖ ﴾
“และพวกเจ้าอย่าได้ตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง (หมายถึงพี่น้องมุสลิมด้วยกัน)
และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ไม่ชอบ "
(อัล-หุญุรอต: 11)
พระองค์ตรัสว่า
﴿ بِئۡسَ ٱلِٱسۡمُ ٱلۡفُسُوقُ بَعۡدَ ٱلۡإِيمَٰنِۚ وَمَن لَّمۡ يَتُبۡ فَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلظَّٰلِمُونَ ﴾
"ช่างเลวทรามจริง ๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาจะเรียกกันว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนภายหลังจากที่ได้มีการศรัทธากันแล้ว และผู้ใดไม่สำนึกผิด ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้อธรรม”
(อัล-หุญุรอต: 11)
พระองค์ก็ทรงห้ามมิให้มองพี่น้องมุสลิมในแง่ร้าย อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ ٱجۡتَنِبُواْ كَثِيرٗا مِّنَ ٱلظَّنِّ إِنَّ بَعۡضَ ٱلظَّنِّ إِثۡمٞۖ ﴾
“โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พวกเจ้าจงปลีกตัวให้พ้นจากส่วนใหญ่ของการสงสัย
แท้จริงการสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป"
(อัล-หุญุรอต: 12)
โองการ ห้ามนินทา ว่าร้ายพี่น้องมุสลิม
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَلَا يَغۡتَب بَّعۡضُكُم بَعۡضًاۚ أَيُحِبُّ أَحَدُكُمۡ أَن يَأۡكُلَ لَحۡمَ أَخِيهِ مَيۡتٗا فَكَرِهۡتُمُوهُۚ ﴾
“และบางคนในหมู่พวกเจ้าอย่านินทาซึ่งกันและกัน คนหนึ่งในหมู่พวกเจ้านั้นชอบที่จะกินเนื้อพี่น้องของเขาที่ตายไปแล้วกระนั้นหรือ พวกเจ้าย่อมเกลียดมัน"
(อัล-หุญุรอต: 12)
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
« لَا تَحَاسَدُوْا، وَلَا تَنَاجَشُوْا، وَلَا تَبَاغَضُوْا، وَلَا تَدَابَرُوْا، وَلَا يَبِعْ بَعْضُكُمْ عَلىَ بَيْعِ بَعْضٍ، وَكُوْنُوْا عِبَادَ اللهِ إِخْوَانًا »
“พวกท่านจงอย่าอิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน อย่าเพิ่มราคาสินค้าโดยที่ท่านเองไม่ต้องการซื้อ (เพื่อเป็นหน้าม้าให้ผู้ขายได้รับประโยชน์) อย่าได้โกรธเคืองซึ่งกันและกัน อย่าได้ขัดแย้งกันเอง อย่าได้ขายของตัดหน้ากัน และพวกท่านจงเป็นบ่าวของอัลลอฮฺที่มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน”
(บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 2564)
ท่านนบี สอนเอาไว้ว่า
كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَصْمُتْ
“ใครที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันโลกหน้า จงพูดในสิ่งที่ดี หรือไม่ก็นิ่งเงียบเสีย”
( ติรมีซีย์)
ท่านนบี ถูกถามว่า มุสลิมคนใดประเสริฐที่สุด
مَن سَلِمَ المسلمونَ مِن لِسانِه ويَدِه
ท่านนบี ตอบว่า “บุคคลที่พี่น้องของเขานั้น ปลอดภัยจากลิ้นและมือของเขา”
( ติรมีซีย์)
ฉะนั้นบุคลิกภาพของมุสลิมที่ดี เราจะต้องไม่ทำร้ายพี่น้องของเรา ด้วยลิ้นและน้ำมือของเราต่อพี่น้องมุสลิมด้วยกัน ไม่นินทาว่าร้าย ด่าท่อ สาปแช่ง เยาะเย้ย ดูถูก อธรรมต่างๆนานา แน่นอนหากเรากระทำในสิ่งที่ไม่ดีเหล่านี้ต่อพี่น้องของเรา ในวันกียามะฮ์นั้น จะต้องถูกสอบสวนทุกการกระทำ
อัลลอฮ์ ตรัสว่า
وَلَا تَقْفُ مَا لَيْسَ لَكَ بِهِ عِلْمٌ إِنَّ السَّمْعَ وَالْبَصَرَ وَالْفُؤَادَ كُلُّ أُولَٰئِكَ كَانَ عَنْهُ مَسْئُولًا
“และอย่าติดตามสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น แท้จริงหู และตา และหัวใจ ทุกสิ่งเหล่านั้นจะถูกสอบสวน “
(อิสเราะ อายะทิ่ 36)
ท่านนบี สอนเอาไว้อีกว่า
من يتكفل لي ما بين لحييه وما بين رجليه أتكفل له بالجنة
“ใครรับประกันแก่ฉันว่า สามารถปกป้องสิ่งที่อยู่ระหว่างขนทั้งสอง (ปาก และระหว่างขาทั้งสอง คือ อวัยวะเพศ) ฉันจะรับประกันสวรรค์ให้แก่เขาเช่นกัน”
( ติรมีซีย์)
ท่าน อัมรุบนุน ฮาช กล่าวว่า
“คำพูดเปรียบดัง ยาตัวหนึ่ง หากท่านพูดน้อยมันคือประโยชน์ หากว่าพูดมาก มันมีพิษที่จะฆ่าท่าน”
♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣ ♣