การสวมใส่แหวนในอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  40381


การสวมใส่แหวนในอิสลาม

 

แปลและเรียบเรียง โดย อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

     ♦ ตามมติของปราช์ทั้งหลาย อนุญาติสตรีสวมใส่แหวนที่ทำมาจากทองและห้ามสำหรับผู้ชาย ในหนังสือ อิสติซการของอิม่ามอิบนุ อับดุลดัร

     ♦ ท่าน อิหม่าม นะวะวีย์ กล่าว่า เศาะเฮี้ย มุสลิม มติของปราช์ อนุญาติมุสลิมนั้นโดยเฉพาะสตรีนั้นสามารถสวมใส่แหวนทองได้ และห้ามสำหรับบรรดาผู้ชาย

จากท่านอบูมูสา อัลอัชอารีย์เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า

فِي الذَّهَبِ وَالْحَرِيرِ إِنَّ هَذَيْنِ حَرَامٌ عَلَى ذُكُورِ أُمَّتِي حِلٌّ لِإِنَاثِهَا

"เสื้อผ้าไหม และทองคำถูกห้ามสำหรับเพศชายซึ่งเป็นอุมมะฮฺของฉัน แต่อนุญาตให้สำหรับสตรีของพวกเขา

(บันทึกโดยติรฺมิซีย์ 1642 และนะสาอีย์)

 

     ในหนังสือของ อิดายะ ว่า การสวมใส่แหวนทองนั้นเป้นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ชาย สมัยก่อนยังมีร่องรอยการสวมใส่และมีตัวบทที่อนุญาตสวมใส่แหวนทองได้ เพราะมีรายงานหะดีษมาจากบรรดาศ่ออาบะด้วย ต่อมามีตัวบทลงมายกเลิกในเรื่องนี้

 

· ท่านอิหม่าม เฏาะฮาวีย์ กล่าวว่า มีการยืนยันร่องรอยการสวมใส่แหวนในยุคก่อน ซึ่งการสวมใส่ดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่อนุญาต ต่อมามีตัวบทลงมาห้าม

 

· ท่าน อิหม่าม นะวะวีย์ กล่าวว่า ไม่น่ารังเกียจที่จะสวมใส่แหวนที่ทำมาจาก ไข่มุก พลอย เพรช และ ทับทิม

 

· ท่านอิบนุ ฮัซมิน กล่าวว่า การประดับประดา ด้วย เงิน ทับทิม พลอย ถือว่าเป็นที่อนุญาตทั้งผู้ชายและผู้หญิง

 

· ท่าน อิบนุ มุฟลิฮฺ กล่าวว่า อนุญาตตกแต่งด้วย อัญมณี และหินทุกประเภท เช่น ทับทิม

 

ฮุกุ่มการสวมใส่แหวนที่ทำมาจากเหล็ก บรรดาผู้รู้มีความเห็นที่แตกต่างกัน ดังนี้

 

     ♣ มัซฮับ ฮานาฟี การสวมใส่แหวนเหล็กนั้นถือว่า ต้องห้ามสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ในหนังสือ อัลอิดายะ ไม่อนุญาตสวมใส่เว้นแต่ แหวนที่ทำมาจากเงินเท่านั้น ส่วนที่ทำมาจากกิน เหล็ก ทองเหลือง ถือว่า ฮะหรอม ต้องห้าม

 

     ♣ มัซฮับ มาลีกียะ และ ฮัมบาลี การสวมใส่ แหวนทำมาจากเหล็ก ทองเหลือง ตะกั่ว ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจทั้งผู้ชายและผู้หญิง เพราะท่านนบีนั้น ห้าม สตรีสวมใส่แหวนจากเหล็ก การห้ามตรงนี้หมายถึง น่ารังเกียจ

 

     ♣ ท่านอิม่าม ฮัมบาลี กล่าวว่า มักรุฮ น่ารังเกียจ ทั้งผู้ชายและผู้หญิงใส่แหวนเหล็ก

 

     ♣ มัซฮับของอิหม่าม ชาฟีอีย์ กล่าวว่า อนุญาติสวมใส่แหวนที่ทำมาจากเหล็ก หรือ ทองแดงได้ เพราะท่านนบีกล่าวว่า

الْتَمِسْ وَلَوْ خَاتَمًا مِنْ حَدِيدٍ

จงหา ถึงแม้ว่าจะเป็นแหวนที่ทำมาจากเหล็กก็ตาม

 

     ♣ ท่านเชค บินบาซกล่าวว่า อนุญาตในการสวมใส่แหวนหรือ นาฬิกา ที่ทำมาจากเหล็ก เพราะท่านนบีกล่าวว่า

الْتَمِسْ وَلَوْ خَاتَمًا مِنْ حَدِيدٍ

จงแสวงหา ถึงแม้ว่าจะเป็นแหวนที่ทำมาจากเหล็กก็ตาม

 

สภาฟัตวาของประเทศซาอุเดียอารเบีย

 

           อนุญาตสำหรับผู้ชานสวมใส่แหวนเงิน เช่น ทำมาจากหิน พลอย แต่ทว่า ห้ามสวมใส่แหวนที่ทำมาจากทอง 

           ท่านเชค เฟาซานกล่าวว่า ไม่อนุญาติสำหรับผู้ชายสวมใส่แหวนทำมาจากทองคำ ส่วนแหวนที่ทำมาจากสิ่งอื่นนั้นถือว่าอนุญาต เช่นพวก เพชร พลอย หิน แม้ว่ามันมีเป็นของมีค่าก็ตาม

"المنتقى من فتاوى الفوزان" (95 /7)

 

การสวมใส่แหวนมือขวาหรือ มือซ้าย

 

อนุญาติในการสวมใส่แหวนทั้งมือขวาและ มือซ้าย เพราะมีสานรายงานจากท่านนบีว่า

" أن النبيصلى الله عليه وسلمكَانَ يَلْبَس خَاتَمه فِي يَمِينه "

ท่านนบีนั้นจะสวมใส่แหวนทางด้านขวามือ

( อบูดาววูด)

 

มีรายงานจากท่าน อับดุลอฮฺ อิบนุ ยะฟัร กล่าวว่า

( كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَتَخَتَّمُ فِي يَمِينِهِ )

ปรากฏว่า ท่านนบีนั้นจะสวมใส่แหวนทางด้านขวา

( อิหม่าม อะหมัด)

 

มีรายงานท่านอนัส กล่าวว่า

كان خاتم النبي صلى الله عليه وسلم في هذه، وأشار إلى الخنصر من يده اليسرى.

ปรากฏว่าท่านนบีนั้นสวมใส่แหวนทางด้านซ้ายที่นิ้วก้อย

(มุสลิม)

 

ท่านอิหม่ามนะวะวีย์กล่าวว่า ซุนนะของท่านนบีในการสวมใส่แหวนนั้นคือ นิ้วก้อย

كَانَ الْحَسَن وَالْحُسَيْن يَتَخَتَّمَانِ فِي يَسَارهمَا

มีรายงานว่า ท่านฮาซันและฮุเซนนั้นสวมใส่แหวนทางด้านซ้ายมือของเขาทั้งสอง 

(ติรมีซีย์)

 

     ♣ ท่านเชค อิหม่าม อัลบานีย์กล่าวว่า ส่วนมากท่านนบีนั้นจะสวมใส่แหวนทางด้านขวา และหากจะสวมใส่ทางด้านซ้ายมือถือว่าอนุญาต เพราะมีหลักฐานยืนยันทั้งสอง

 

     ♣ ท่าน อิบนุอะยัร อัลฮัยซามีย์ กล่าวว่าการสวมใส่มือขวานั้นดีกว่าเพราะมีตัวหะดีษมากมายที่รายงานเรื่องนี้ 

 

     ♣ ส่วนมากคนเมืองมาดีนะฮ์ เช่น ท่านอบูบัก ท่านอูมัร และตาบีอีนคนอื่น จะสวมใส่แหวนทางด้านขวามือ (หนังสือ ฟัตฮุลบารี)

 

     ♣ ท่านอิบนุ ก็อยยิม กล่าวว่า การสวมใส่ทั้งมือขวาและมือซ้ายถือว่าถูกต้องเพราะมีตัวบทหะดีษเหมือนกัน 

 

ฮุกุ่มการสวมใส่ ทางด้านนิ้วชี้และนิ้วกลาง

 

รายงานจากท่าน อิม่ามมุสลิม ในเศาะเฮี้ยของท่าน หะดีษท่านอาลี กล่าวว่า

" نَهَانِي رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ أَتَخَتَّمَ فِي إِصْبَعِي هَذِهِ أَوْ هَذِهِ ، قَالَ : " فَأَوْمَأَ إِلَى الْوُسْطَى ، وَالَّتِي تَلِيهَا " ،

ท่านนบีห้ามฉันการส่วมใส่ทางด้านนี้หมายถึง นิ้วชี้และนิ้วกลาง

(มุสลิม)

 

ท่านอิหม่าม นะวะวีย์กล่าวว่า ห้ามสวมใส่แหวนจากนิ้วกลางและนิ้วชี้ ในสำนวนตัวบทนี้ หมายถึงการห้ามแบบให้ละทิ้ง หรือหลีกห่าง

 

อิหม่ามกุรตุบีย์กล่าวว่า การห้ามในตัวบทนั้นหมายถึงนิ้วชี้และนิ้วกลาง

 

อิหม่าม อิบนุ ฮัซมินกล่าวว่า ห้ามสวมใส่แหวนจากนิ้วชี้และนิ้วกลาง

 

ท่าน อิบนุ มุฟลิฮ ฮัมบาลีย์กล่าวว่า น่ารังเกียจผู้ชายนั้นสวมใส่แหวนที่นิ้วชี้และนิ้วกลาง

 

ท่านอบู มาอาลีย์ กล่าวเช่นกัน น่ารังเกียจ ใส่ที่นิ้วโป้ง

 

ท่านอิหม่าม นะวะวีย์กล่าวว่า สำหรับสตรีมุสลิมะฮ์นั้น อนุญาติสวมใส่แหวนได้ทุกนิ้วของนาง ส่วนสำหรับผู้ชายนั้น ซุนนะสวมใส่นิ้วก้อย

 

ท่านเชคอุษัยมีนกล่าวว่า การสวมใส่ทั้งนิ้วนางและนิ้วก้อยถือว่าอนุญาติ

 

ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ ประเสริฐสุดการใส่ทางด้านมือขวา (หนังสือ อัลมัจมั่ว)

 

ท่านเชคอุษัยมีนกล่าวว่า ที่ถูกต้องสามารถใส่ได้ทั้งสองมือ ขวาและซ้าย (หนังสือ  الشرح الممتع)

 

 


ΔΔΔΔΔΔΔΔΔΔΔΔ