ความเสี่ยงที่นักธุรกิจมือใหม่ควรเลี่ยง
  จำนวนคนเข้าชม  7120

ความเสี่ยงที่นักธุรกิจมือใหม่ควรเลี่ยง

          1.) ไม่ทำการวิจัยหรือสำรวจตลาด เพื่อดูว่าแนวคิดธุรกิจของเราสามารถพัฒนาหรือโตได้หรือไม่ ถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจที่ขาดไม่ได้  9 ใน 10 นักธุรกิจที่ประสบความล้มเหลวอาจเกิดจากสายป่านไม่ยาวพอ หรือได้บุคคลากรไม่เก่งมาร่วมงาน แต่ 9 ใน 10 ของนักธุรกิจที่ล้มเหลว มาจากไอเดียร์ธุรกิจที่ไม่เวิร์ก ต่อให้เก่งกล้าสามารถแค่ไหนก็"ล้ม"ได้ หากแนวคิดในการทำธุรกิจนั้นมีจุดอ่อนมากมาย

          2.) ประเมินสถานะการพลาดไม่ว่าจะเป็นขนาดของตลาด ช่วงจังหวะเวลา  และการทำส่วนแบ่งตลาด โดยส่วนใหญ่นักธุรกิจหน้าใหม่มักตื่นเต้นที่จะนำเสนอสินค้า หรือบริการ จึงทุ่มลงทุนไปมหาศาลโดยลืมนึกไปว่ามีลูกค้าสักกี่คนที่จะซื้อสินค้าของเรา

         3.) มองโลกในแง่ดีเกินไป นักธุรกิจมือใหม่ มักคำนวณค่าใช้จ่ายต่ำและไปคาดหวังกับยอดขายงามๆ แบบพุ่งกระฉูด ยิ่งไปประกอบกับปัจจัยลบอื่นๆ เช่น จ้างบุคคลากรเกินความจำเป็น และทุ่มค่าใช้จ่ายไปที่สิ่งอำนวยความสะดวกในออฟฟิศมากเกินไป หากยอดขายไม่เป็นดังคาดอนาคตคงไม่รุ่งแน่

         4.) จับคู่กับหุ้นส่วนที่ไม่จำเป็น การมีหุ้นส่วนมากเกินไปเพียงเพื่อต้องการเงินมาลงทุน หากธุรกิจไปได้ดีเพราะมันสมองของคุณ แทนที่ผลกำไรจะตกเป็นของคุณหรือหุ้นส่วนสำคัญบางคน แต่กลับต้องเฉลี่ยให้หุ้นส่วนจำนวนมากมายอย่างน่าเสียดาย และถ้าภายหลังกลับพบว่าแนวคิดไปกันไม่ได้แบบนี้ก็อันตราย

         5.) จ้างคนเพราะเอาสะดวกเข้าว่า โดยไม่คำนึงถึงทักษะและความสามารถ หลายคนใช้วิธีจ้างญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักมาทำงานเพราะเป็นวิธีที่ง่ายดี แต่ถ้าคนเหล่านี้ทำงานไม่เป็น ก็จะกลายเป็นปัญหาทันที ฉะนั้น ยอมเสียเวลาเฟ้นหาคนที่มีความสามารถตรงกับงานแบบ "put the right man on the right job" จะทำให้แบ่งเบาภาระลงได้เยอะ

          6.) ท้อแท้ง่ายเกินไป มักจะชอบตอกย้ำคำพูดและความคิดที่ว่า "เป็นไปไม่ได้" ซึ่งเป็นการบั่นทอนกำลังใจ แทนที่จะมองหาหนทางอื่นในการแก้ไข หรือปรับปรุงเพื่อให้ดีขึ้น ขอให้เชื่อมั่นในตนเอง นักธุรกิจที่ดีจะต้องคิดหาทางออกอยู่เสมอแม้จะเจอกับทางตันแล้วก็ตาม

        7.) ในการบริหารงานมุ่งเน้นไปที่การทำยอดขาย และการขยายขนาดของบริษัทมากกว่าการทำกำไร หลายคนมักจะภาคภูมิใจกับการสร้างอณาจักรธุรกิจให้ใหญ่โต ยิ่งโตเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี แต่นักธุรกิจที่ฉลาดปราดเปรื่องต้องไม่ละเลยการสร้างกำไรให้องค์กรด้วย

         8.) ขาดการวางเป้าหมายทางธุรกิจที่ชัดเจนและในระยะยาว ต้องรู้ว่าคุณให้บริษัทเติบโตในระดับไหน จะได้ประเมินสถานะการถูก เช่น หากจะสร้างบริษัทที่ทำยอดขายเป็นพันล้านเพราะสินค้าตัวนี้ ก็คงต้องใช้พละกำลังเป็นอย่างมาก แต่ถ้าเป็นระดับไม่เกิน 10 ล้านบาทก็จะไปถึงเป้าหมายได้ง่ายกว่า

ที่มา "การเงิน การธนาคาร"