การศึกษาในอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  17733


การศึกษาในอิสลาม

 

สมศักดิ์ มูหะหมัด

 

           ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างมาก ดังที่พระองค์อัลลอฮ์  ประทาน 5 อายะฮ์แรกของคัมภีร์อัลกุรอานโดยเกี่ยวข้องกับการอ่าน การเขียน การเรียนรู้และการสอน รองลงมาจากการยืนยันถึงการเป็นพระเจ้าผู้ทรงสร้างผู้ทรงบังเกิด ขณะเดียวกัน พระองค์ก็ทรงเทิดเกียรติผู้มีความรู้ไว้ ในซูเราะฮ์อัลมุญาดะละฮ์ (58) อายะฮ์ที่ 11 ว่า

 

อัลลอฮ์ ทรงเทิดเกียรติบรรดาผู้ศรัทธาจากพวกสูเจ้าและบรรดาผู้ที่ได้รับความรู้หลายชั้น

และอัลลอฮ์ เป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้าปฏิบัติ

 

          จากอายะฮ์อัลกุรอานแสดงว่า ศาสนาอิสลามได้ใช้ให้มุสลิมไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก ผู้ชายหรือผู้หญิง ผู้มีฐานะหรือด้อยฐานะ ผู้มีตำแหน่งหน้าที่หรือประชาชนทั่วไป ได้แสวงหาวิชาความรู้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ สถานที่ใด จะในระบบหรือนอกระบบหรือตามอัธยาศัย อันเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

การศึกษาในอดีต 

 

          มุสลิมในยุคแรกไม่มีสถานที่แน่นอนเพื่อใช้เป็นสถานศึกษา ท่านนบีมุฮัมหมัด ได้อบรม สั่งสอนบรรดาซ่อฮาบะฮ์ นครมักกะฮ์ ในสถานที่ตามโอกาสที่เหมาะสม บางครั้งท่านก็นัดแนะให้บรรดาซ่อฮาบะฮ์มารวมกัน สถานที่แห่งหนึ่ง แล้วท่านก็ทำการสั่งสอน เช่น บริเวณใกล้กับบัยตุลลอฮ์ ต่อมาอัลอัรกอม อิบนิอับติมะนาฟ หรืออิบนิอบิลอัรกอม เป็นผู้เข้ารับอิสลามเป็นคนที่ 7 ได้อนุญาตให้ใช้บ้านของท่านซึ่งอยู่ อัศศอฟาปัจจุบันเป็นสถานอบรมบรรดาซ่อฮาบะฮ์ของท่านนบี  ทำให้บ้านของท่านมีชื่อว่า บ้านอิสลาม (บัยตุลอิสลาม) บ้านหลังนี้ท่านอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ ประกาศเข้านับถือศาสนาอิสลาม

 

มัสยิดสถานศึกษาอย่างเป็นทางการแห่งแรก 

 

          อาคารแห่งแรกที่ศาสนาอิสลามให้ความสนใจคือ การสร้างมัสยิด มีรายงานว่า ท่านนบี  ได้อพยพจากนครมักกะฮ์ไปยังนครมะดีนะฮ์ และพักที่ตำบลกุบาอ์เป็นแห่งแรก บรรดานักประวัติศาสตร์มีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับสถานที่พักของท่านนบี  บางท่านกล่าว่า ท่านนบี  พักอยู่กับ บนี อัมร์ อิบนิเอาฟ์ บางท่านกล่าวว่า ท่านนบี  พักอยู่กุลโฆม อิบนิฮัดม์ บางท่านกล่าวว่าพักอยู่กับชะอด์ อิบนิคอยสะมะฮ์ แต่ทัศนะแรกแข็งแรงกว่า ท่านนบี  พักอยู่กับบนีเอาฟ์ เป็นเวลา 14 คืน ระหว่างนั้น ท่านได้สร้างมัสยิกุบาอ์ ซึ่งเป็นมัสยิดหลังแรกที่สร้างขึ้นในอิสลาม คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า เป็นมัสยิดที่สร้างขึ้นบนความตักวา (ความยำเกรง) หลังจากนั้นท่านก็เดินทางเข้าสู่นครมะดีนะฮ์และได้สร้างมัสยิดนบี

 

          มัสยิดเป็นศาสนสถานเพื่อปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์  ท่านร่อซูล  เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่มุสลิมในยุคต่อๆ มาในการใช้มัสยิดในบริบทต่างๆ นอกจากการปฏิบัติอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮ์ เช่น เป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการประกอบความดีและการเสริมสร้างความตักวา เป็นสถานศึกษาอบรมอัลกุรอานและศาสนาอิสลาม เป็นที่ประชุมเพื่อปรึกษาหารือในสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมุสลิม เป็นสถานที่พักพิงของผู้ยากจนและผู้เดินทาง เป็นต้น 

 

          สรุปแล้ว มัสยิดจึงมีบทบาทสำคัญทั้งทางด้านศาสนาและสังคม ด้วยการที่มีการใช้มัสยิดเป็นสถานศึกษาควบคู่ไปกับการปฏิบัติอิบาดะฮ์ จึงทำให้มัสยิดทั่วไปเป็นสถานศึกษาอัลกุรอานและศาสนาภาคบังคับให้แก่เยาวชนซึ่งเรียกว่าฟัรฎูอีน ให้การอบรมศาสนบัญญัติและจริยธรรมให้แก่ผู้สนใจทั่วไป จึงทำให้เยาวชนและมุสลิมทั่วไปมีความผูกพันอยู่กับมัสยิด มัสยิดจึงกลายเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจอย่างแท้จริง

 

กุตตาบ 

 

          กุตตาบ หมายถึง สถานศึกษาสำหรับเด็ก ซึ่งแยกออกมาจากมัสยิด คำพหูพจน์ของกุตตาบ คือ กะตาตีบ แบ่งออกเป็น

           กุตตาบอุมูมีย์ คือ สถานที่ศึกษาสำหรับเยาวชนทั่วไป โดยมุ่งเน้นให้เด็กๆ รู้จักการอ่านและ การเขียนภาษาอาหรับเบื้องต้นและอัลกุรอาน ท่องจำอัลกุรอาน และสั่งสอนหลักศาสนาอิสลามภาคบังคับ (ฟัรฎูอีน 

           ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญต่อการศึกษาของเยาวชน ดังจะเห็นได้จากการที่บรรดามุสลิมจับ เชลยศึกชาวกุเรซในสงครามบัดร์ (ปี ..2) ได้ 70 คน ท่านนบี  ได้ปรึกษากับบรรดาซ่อฮาบะฮ์และ ลงมติให้ญาติพี่น้องของเชลยศึกมีฐานะให้นำเงินมาไถ่ตัว สำหรับเชลยศึกที่ไม่มีฐานะก็ให้สอนเด็กๆ มุสลิมในนครมะดีนะฮ์จำนวน 10 คน ให้อ่านออกเขียนได้ ก็จะได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ ขณะเดียวกันท่าน ก็กำชับให้บรรดาผู้ปกครองเยาวชนได้ทำการสอนบุตรหลานของเขาให้สามารถอ่านเขียนหนังสือได้

 

          กุตตาบกุซูรีย์ ในเมื่อกุตตาบอุมูมีย์ เป็นสถานศึกษาสำหรับเด็กๆ โดยทั่วไป ดังนั้น จึงมีกุตตาบ กุซูรีย์ เพื่อใช้เป็นสถานศึกษาของลูกหลานของค่อลีฟะฮ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสำนักค่อลีฟะฮ์ และหน่วยงานสำคัญของอาณาจักรอิสลาม เพื่อให้เด็กๆ เหล่านี้ได้มีความรู้มีประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งค่อลีฟะฮ์ และบริหารงานที่สำคัญของอาณาจักรในอนาคต

 

         นอกจากบุตรหลานของค่อลีฟะฮ์และเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่จะได้เรียนรู้ด้านภาษาอาหรับ ท่องจำคัมภีร์อัลกุรอานและหลักบัญญัติศาสนาดังเช่นเด็กๆ ที่ศึกษาในกุตตาบอุมูมีย์แล้ว พวกเขายังจะได้รับการสั่งสอนอบรมทางด้านจรรยามารยาท วิธีการบริหารจัดการ การฝึกฝนในการประลองยุทธ์และการต่อสู้ เพื่อทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งและร่างกายมีความแข็งแกร่ง ผู้ที่ทำการสอนอยู่ในกุตตากุซูรีย์ เรียกว่ามุอัตติบ (ผู้อบรม)” และผู้ที่ทำการสอนในกุตตาบอุมุมีย์มุอัลลัม (ครู)” บางครั้งผู้ที่เป็นผู้มุอัตติบจะพักค้างอยู่ในสำนักค่อลีฟะฮ์ เพื่อติดตามดูพฤติกรรมของลูกศิษย์

 

ทำเนียบ

 

          นบีมุฮัมมัด  ได้นั่งอยู่ในมัสยิด เพื่ออบรมสั่งสอนบรรดาศ่อฮาบะฮ์ตามบัญญัติที่ท่านได้รับวะฮีย์มาจากอัลลอฮ์ วงเรียนของท่านเปิดกว้างแก่ทุกคนที่ปรารถนาจะแสวงหาวิชาความรู้ แบบอย่างเช่นนี้ บรรดาศ่อฮาบะฮ์ผู้ทรงคุณวุฒิต่างประพฤติปฏิบัติสืบมา ทั้งจากระบบการศึกษาที่ได้พัฒนาไปในยุคของอาณาจักรอะมะวีย์และอาณาจักรอับบาซียะฮ์ 

 

           โดยที่บรรดาค่อลีฟะฮ์ได้สร้างทำเนียบเพื่อเป็นสถานพำนัก และแต่งตั้งนายหน้าห้อง เพื่ออนุญาตให้ผู้ที่คอลีฟะฮ์อนุญาตเข้าไปพบกับท่าน ขณะเดียวกัน ก็ได้จัดให้ตึกหนึ่งของทำเนียบเป็นสถานศึกษาในยุคของอาณาจักรอะมะวียะฮ์ นับตั้งแต่ค่อลีฟะฮ์คนแรก คือ มุอาวียะฮ์ อิบนิลอบีซุฟยาน ท่านได้เชิญนักวิชาการ นักวรรณกรรม นักประวัติศาสตร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะ วิเคราะห์ปัญหา และประเด็นต่างๆ ทางวิชาการ เมื่อถึงยุคของอาณาจักรอับบาซียะฮ์ ทำเนียบค่อลีฟะฮ์และจวนผู้ปกครองได้กลายเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการและวัฒนธรรม

 

บ้านของนักวิชาการ 

 

          แม้ว่า มัสยิดจะมีบทบาทสำคัญในการเป็นสถานศึกษาและมีการสร้างกุตตาบมากมาย เพื่อเป็นสำนักเรียนของบรรดาเยาวชน นักวิชาการบางคนก็ได้ใช้บ้านของท่านเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วย

 

ร้านขายหนังสือ 

 

          ผู้ที่จำหน่ายหนังสือและผู้ที่คัดลอกหนังสือมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้ ดังนั้น ร้านขายหนังสือจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่วิชาความรู้ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงสมัยปัจจุบัน บางครั้งก็ทำหน้าที่ในการคัดสำเนาหนังสือ แลกเปลี่ยนหนังสือ นำเอาหนังสือเก่ามาเข้าปกใหม่ บางครั้งร้านขายหนังสือกลายเป็นสถานที่พบปะสังสรรค์ระหว่างนักวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะซึ่งกันและกัน บางทีก็มีการนำหนังสือเก่ามาตรวจชำระหรือมาอธิบายและขยายความเพิ่มเติม

 

การจัดการศึกษาอิสลามอย่างเป็นระบบ 

 

         การศึกษาอิสลามได้พัฒนาไปอย่างกว้างขวาง จากการศึกษาที่บ้านมาเป็นการศึกษาที่มัสยิด จากกุตตาบมาเป็นการศึกษาตามสำนักเรียน จากสำนักเรียนในทำเนียบค่อลีฟะฮ์มาเป็นศูนย์รวมทางการศึกษา ต่อจากนั้นก็มีการสร้างโรงเรียนและสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ จึงทำให้โรงเรียนกลายเป็นสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังจากนั้นก็มีการต่อยอดทางการศึกษาระดับสูง คือ ระดับวิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นสูง ศูนย์การศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางวิชาการ จึงทำให้นักเรียน นักศึกษา มีความรู้กว้างขวางมากขึ้น

 

โรงเรียน 

 

           เมื่อนบีมุฮัมมัด  ทำหน้าที่ในการสั่งสอนอบรมบรรดาศ่อฮาบะฮ์ มัสยิดนบีในนครมะดีนะฮ์ จึงเป็นสถานที่สำคัญในการศึกษา บรรดาศ่อฮาบะฮ์ต่างมุ่งมาทำการศึกษากับท่าน หลังจากที่ท่านถึงแก่กรรม ผู้ทำหน้าที่ในการสืบทอดวิชาความรู้ต่อจากท่านในเมืองมะดีนะฮ์ คือ บรรดาศ่อฮาบะฮ์ ขณะเดียวกันก็มี ศ่อฮาบะฮ์บางคนเดินทางออกไปใช้ชีวิตตามหัวเมืองต่างๆ เช่น เมืองมักกะฮ์ เมืองดามัสกันในซีเรียน กรุงเยรูซาเล็มในปาเลสไตน์ เมืองกูฟะฮ์ เมืองบัศเราะในอิรัก เมืองฟุสฏอฏในอียิปต์ เป็นต้น

 

          การที่อาณาจักรอิสลามได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเข้านับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น บางคนยังคงยึดติดอยู่กับหลักความเชื่อและประเพณีปฏิบัติเดิมๆ จึงทำให้เกิดแนวความคิดและกลุ่มความเชื่อมากมายเข้ามาปะปนในศาสนาอิสลาม เช่น กลุ่มความเชื่อทางอะกีดะฮ์ แนวปฏิบัติวิชาฟิกฮ์ หลักวิชาตะเซาวุฟ นอกเหนือไปจากการนำประมวลวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี แพทยศาสตร์ แนวความคิดทางปรัชญา ดรรกวิทยา ฯลฯ เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรอิสลาม ด้วยการที่วิชามีเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นจะต้องทำการศึกษาอย่างเป็นระบบ จึงมีการสร้างสถานศึกษาขึ้นใหม่ โดยมีชื่อว่า โรงเรียน

 

          โรงเรียนแห่งแรกที่ถูกสร้างในอาณาจักรอิสลาม คือ โรงเรียนนิซอมีอะฮ์ สร้างในปี .. 459 โดยเสนาบดีเชื้อชาติซัลยูกตุรกีชื่อ นิซอมุลมะลิก ซึ่งเป็นไปตามคำยืนยันของบรรดานักบันทึกเช่น อิบนิคอลกาน และอัซซะฮะบีย์ แต่อีมาม อัซซุบกีย์มีความเห็นว่า โรงเรียนมีมาก่อนสมัยนิซอมุลมะลิก แต่ทว่า ซอมุลมะลิกได้ให้ความสนใจในการจัดระบบโรงเรียนเป็นอย่างมาก 

 

          ด้วยการที่มุสลิมให้ความสนใจในการศึกษาวิชาฟิกฮ์ จึงมีการสร้างโรงเรียนเพื่อสอนวิชาฟิกฮ์ในมัซฮับเฉพาะ เช่น มัซฮับหะนฟีย์ มัซฮับมาลิกีย์ มัซฮับซาฟิอีย์ มัซฮับฮัมบะลีย์ ในยุคต่อมามีการจัดแบ่งระดับการเรียนออกเป็นระดับก่อนวัยเรียน ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศึกษาตอบปลายดังเช่นในปัจจุบัน

 

สถาบันการศึกษาชั้นสูง 

 

           การศึกษาในระดับโรงเรียนอาจเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประมวลวิชาทั่วไปโดยยังไม่แยกแยะเจาะลึกในการเรียนวิชาเฉพาะ ต่อมาจึงได้มีการจัดระบบการศึกษาในระดับสูงขึ้น โดยเรียกชื่อว่า สถาบันการศึกษาชั้นสูง หรือวิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย เป็นที่น่าสังเกตว่า มหาวิทยาลัยอิสลามหลายแห่งมีพื้นฐานมาจากการศึกษาในมัสยิด เช่น 

♦ มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัรในกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ปัจจุบันมีรากฐานมาจากการศึกษาในมัสยิดญามีอุลอัซฮัร (สร้างในปี .. 353 – .. 970) 

♦ มหาวิทยาลัยซัยตูน ในประเทศตูนิเซีย มีรากฐานมาจากการศึกษาในมัสยิดญะญามิอ์อัซซัยตูนะฮ์ สร้างในปี .. 732 -.. 1283) 

♦ มหาวิทยาลัยอัล กุรอวิยิน ในเมืองฟาส ประเทศโมร็อคโค มีรากฐานมาจากการศึกษาในมัสยิดญามิอฺอัล กุรอวิยีนสร้างในฮิจเราะฮ์ศตวรรษที่ 3 หรือคริศตรวรรษที่

♦ มหาวิทยาลัยคอร์โตว่า ในเมืองคอร์โดว่า แคว้นเอ็นดาลูเซีย ประเทศสเปน สร้างโดยค่อลีฟะฮ์อับดุรเราะห์มาน อัตตาดิส (ตาย .. 173 – .. 788)

 

          ระบบการศึกษาขั้นสูงในสมัยก่อนเป็นไปในรูปวงเวียนโดยที่เชคประจำวิชาจะนั่งอยู่ที่เสาต้นหนึ่ง นักศึกษาก็จะนั่งล้อมรอบฟังการบรรยายของเชคตามหนังสือที่กำหนด เมื่อจบเล่มก็จะมีการสอบ ส่วนมากจะเป็นการสอบปากเปล่า การออกหนังสือรับรองการศึกษา ผู้เป็นเชคจะเขียนรับรองคุณวุฒิของนักศึกษา ลงในปริญญาบัตรแล้วเซ็นชื่อกำกับ ปริญญาบัตรของนักศึกษาบางคนอาจจะมีลายเซ็นของเชคเพื่อรับรองคุณวุฒิถึง 20 คน

 

           บรรดามุมินผู้มีฐานะในสมัยก่อนได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยที่พวกเขาได้ทำการวะกัฟที่ดิน เรือกสวน ไร่นา อาคารบ้านเรือน เพื่อเก็บผลประโยชน์มาอุดหนุนค่าใช้จ่ายของเชคผู้บริหารการศึกษาและบรรดานักศึกษา เช่น ที่สถาบันอัล อัซฮัร สำหรับนักศึกษาต่างถิ่นและนักศึกษาต่างชาติจะมีการจัดที่พักให้โดยมีเชคทำหน้าที่ดูแลที่พักเรียนว่ารุวากและความเป็นอยู่ของนักศึกษา แบ่งเป็นภาคของแต่ละสัญชาติ เชครุวากตุรกี ก็จะดูแลนักศึกษาที่เดินทางมาจากประเทศตุรกีและประเทศยุโรปใกล้เคียง เชค รุวากชาม ก็จะดูแลนักศึกษาที่เดินทางมาจากประเทศซีเรีย เลบานอน ปาเลสไตน์ จอร์แดน เชครูวากอินโดนีเซีย จะดูแลนักศึกษาที่เดินทางจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย เป็นต้น

 

หอสมุด 

 

           ด้วยศาสนาอิสลามให้ความสนใจด้านการอ่านและการเขียนจึงทำให้มุสลิมในสมัยอดีตให้ความสนใจในการบันทึกคัดลอกตำราต่างๆ อย่างมากมาย ดังเช่น การบันทึกอัลกุรอานในยุคแรก ซึ่งบันทึกลงในหนังสัตว์ โคนก้านอินผลัม แผ่นกระดูกสัตว์ แผ่นหิน ฯลฯ ต่อมาจึงมีการบันทึกลงในแผ่นกระดาษ 

 

          บรรดาผู้แสวงหาวิชาความรู้ในอดีตได้คัดลอกตำราที่นักวิชาการได้เขียนไว้ โดยถ่ายทอดกันต่อๆ ทำให้วิชาการศาสนาอิสลามและของมุสลิมได้แพร่หลายออกไป และเพื่อให้บรรดานักศึกษาได้รับประโยชน์จากตำราดังกล่าวจึงให้มีการวะกัฟตำราที่บันทึกไว้ให้กับมัสยิดบ้าง ให้กับสถานศึกษาบ้าง ต่อมาจึงได้มีการสร้างหอสมุดขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้ามาศึกษาวิชาความรู้ได้โดยง่าย 

 

          นักวิชาการบางคนก็ได้สร้างห้องสมุดของตัวเอง เช่น อิมามอิบนิ ฮิบบาน เป็นต้น นอกจากหอสมุดจะเป็นสถานที่รวบรวมตำราต่างๆ ก็ยังจัดให้มีแผนกคัดลอกตำรา แผนกแปลตำราจากภาษาอื่นมาเป็นภาษาอาหรับ ดังเช่น ดารุลฮิกมะฮ์ที่สร้างขึ้นเพื่อการนี้ในสมัยค่อลีฟะฮ์อัล มะมูน แห่งอาณาจักรอับบาซิยะห์

 

บทสรุป

          นี่คือจุดเริ่มต้นของการเผยแพร่วิชาความรู้ในอิสลาม และการพัฒนาการศึกษาอิสลาม ซึ่งเป็นต้นแบบของการศึกษาในปัจจุบันที่ส่งเสริมให้มนุษย์ได้ใช้เวลาในการเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดแล้วนำความรู้มาทำประโยชน์ให้แก่ตัวเองและสังคม

 

 

วารสาร มุสลิม กทม.