สิบความดี แด่ มุสลิมะฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  5545


สิบความดี แด่ มุสลิมะฮฺ

 

แปลและ เรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          โอ้ มุสลิมะฮฺ ทั้งหลาย ฉันขอถามเธอ หนึ่งคำถาม ซึ่งเป็นคำถามที่ง่ายมาก เธอต้องการให้ร่างกายของเธอนั้น เป็นเชื้อเพลิงไฟนรกหรือไม่ ?

          คำตอบของเธอนั้น แน่นอนต้องตอบว่าไม่อย่างเต็มปาก ขอสาบานว่า ฉันจะไม่ให้ร่างกายของฉันนั้นเป็นเชื้อเพลิงของไฟนรกอย่างแน่นอนเพราะฉะนั้น ทำไมเล่า เธอนั้นจึงไม่ปกป้องตัวของเธอ ให้รอดพ้นจากไฟนรกซึ่งมีความร้อนหลายเท่าของความร้อนในโลกนี้ แม้กระทั่งความร้อนของไฟในโลกนี้ เธอก็ไม่สามารถทนมันได้จากการเผาไหม้เพียงเล็กน้อย นับประสาอะไรกับไฟในโลกอาคีเราะห์

 

     โอ้ พี่น้อง มุสลิมะฮฺ ทั้งหลาย พวกเธอทั้งหลาย จงพิจารณา ถึงการงานต่างๆ ความดีนี้เป็นดั่งอาภรณ์คอยปกป้องจากความร้อนของไฟนรกในวันกียามะฮฺ

     โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ ทรงปกป้องให้รอดพ้นจากไฟนรก และ ให้เรานั้น ได้เข้าสวนสวรรค์ด้วยเถิด อามีน

 

สิบ ข้อเตือนใจ สำหรับ สตรีมุสลิมะฮฺ เร่งรีบสู่ความดี

 

ข้อที่หนึ่ง พวกเธอจะต้องรักษาเวลาละหมาดอย่างเคร่งครัด 

 

     การละหมาดที่สมบูรณ์และมีความประเสริฐที่สุด คือ การละหมาดที่ถูกต้องทุกประการ ทั้งรูปแบบ เวลาและการปฏิบัติอย่างมีสมาธิที่ดี

          มุสลิมะฮฺที่ละหมาดไม่ตรงตามเวลา โดยเจตนาและไม่มีเหตุผลใด ที่พอจะยอมรับได้ หรือทำการละหมาดแบบไม่มีความตั้งใจ เป็นการปฏิบัติที่ไม่พึงประสงค์ในอิสลาม ยิ่งกว่านั้นพวกเธอจะอยู่ในกลุ่มซาฮูน (ผู้ที่ละเลยต่อการละหมาด) ซึ่งอัลลอฮ์ ทรงสัญญาไว้ว่าจะลงโทษด้วยความหายนะและความวิบัติ

     ดังที่อัลลอฮ์ ตรัสในอัลกุรอานความว่า

{ فَوَيْلٌ لِّلْمُصَلِّينَ الَّذِينَ هُمْ عَن صَلَاتِهِمْ سَاهُونَ )

"ดังนั้นความหายนะจงมีแด่บรรดาผู้ทำการละหมาด คือ ผู้ที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา

(ซูเราะฮฺ อัลมาอูน : 4-5 )

 

          อัลลอฮฺไม่ได้บอกว่าพวกเขาละทิ้งการละหมาด แต่กลับกล่าวว่า คนที่ละหมาดแต่เขาละเลยต่อเวลาของมัน ค่อยละหมาดจนกว่างานจะเสร็จ อัลลอฮฺทรงเตือน จงระวังความหายนะอย่างแน่นอนกับบุคคลเหล่านี้ ซึ่งมีระบุในหะดีษว่า 

     มีผู้ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าศาสนกิจอะไรที่ประเสริฐที่สุด?

     ท่านตอบว่าการละหมาดตรงต่อเวลา หลังจากนั้นก็คือการทำดีต่อพ่อแม่ และหลังจากนั้นก็คือการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ

(รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

 

          พวกเธอทั้งหลาย จะต้องรับผิดในวันกียามะฮ์ คือการละหมาด หากการละหมาดดีการงานอื่นก็ดีไปด้วย หากมันเสียการงานอื่นก็เสียตามไปด้วย พวกเธออย่าได้ทำให้มันกลายเป็นฝุ่นที่ไร้ประโยชน์

 

     มีรายงานดังต่อไปนี้จากท่านอิบนู อับบาส รอฏิยัลลอฮู อันอูมา ได้กล่าวว่า ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า

اغْتَنِمْ خَمْسًا قَبْلَ خَمْسٍ: شَبَابَكَ قَبْلَ هَرَمِكَ وَصِحَّتَكَ قَبْلَ سَقَمِكَ وَغِنَاكَ قَبْلَ فَقْرِكَ وَفَرَاغَكَ قَبْلَ شُغُلِكَ وَحَيَاتَكَ قَبْلَ مَوْتِكَ 

          “จงฉวยโอกาสกระทำ ห้าประการ ก่อนอีกห้าประการจะมาถึง วัยหนุ่มของท่าน ก่อนความชราจะมาหา สุขภาพที่ดีของท่าน ก่อนความเจ็บป่วยจะมาหา ความร่ำรวยของท่าน ก่อนความยากจนจะมาหา เวลาว่างของท่าน ก่อนภาระที่ยุ่งได้มาหา การมีชีวิตของท่านก่อนความตายจะมาหา สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวน ในวันกิยามะฮฺ คือ เรื่องของสิทธิต่าง ๆของพระองค์อัลลอฮฺ ซึ่งคือการละหมาด และเรื่องแรกที่จะถูกสอบสวนจากสิทธิของบ่าวก็คือ เรื่องของเลือดเนื้อและชีวิต"

 

ท่านนบี กล่าวว่า

"أَوَّلُ مَا يُحَاسَبُ بِهِ الْعَبْدُ الصَّلاَةُ وَأَوَلُ مَا يُقْضَى بَيْنَ النَّاسِ فِى الدِّمَاءِ"

          “สิ่งแรกที่บ่าวจะถูกสอบสวน คือ การละหมาด และสิ่งแรกที่จะถูกตัดสินระหว่างมนุษย์ด้วยกันคือ เรื่องของเลือดเนื้อชีวิต

(บันทึกโดยท่านอันนะซาอีย์)

 

ข้อที่สอง พวกเธอจะต้องรักษาเวลาละหมาดศุบฮิ 

 

          ส่งเสริมให้พวกเธอรักษาเวลาละหมาดศุบฮิ ตั้งนาฬิกาปลุกเหมือนที่เธอนั้นตื่นไปทำงานในยามดึก ปลุกคนในครอบครัว สามี ลูกๆ พ่อแม่ จงอดทนต่อการทำความดี อย่าได้ละเลย อัลลอฮฺทรงเตรียมรางวัลไว้อย่างแน่นอนและเป็นการตอบรับคำสั่งของพระองค์ที่ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า :

وَأْمُرْ أَهْلَكَ بِالصَّلَاةِ وَاصْطَبِرْ عَلَيْهَا لَا نَسْأَلُكَ رِزْقًا َحْنُ نَرْزُقُكَ وَالْعَاقِبَةُ لِلتَّقْوَىٰ

          “และจงใช้ครอบครัวของเจ้าให้ทำการละหมาด และจงอดทนในการปฏิบัติ เรามิได้ขอเครื่องยังชีพจากเจ้า เราต่างหากเป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่เจ้าและบั้นปลายนั้นสำหรับผู้ที่มีความยำเกรง

(ตอฮา 20 : 132) 

ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า 

(مَنْ صَلّى الصُبحَ فَهوَ فيْ ذِمَة الله) 

ใครก็ตามละหมาดศุบฮี แท้จริงเขานั้นได้รับการปกป้องจากอัลลอฮฺ

 

ข้อสาม พวกเธอจะต้องรักษาอิบาดะเป็นสุนนะฮ์ต่างๆ 

 

          ละหมาดสุนนะฮฺ สองร็อกฮะของละหมาดฟัรฏูห้าเวลา ละหมาดร่อวาติบ คือละหมาดสุนัตก่อน และหลัง ละหมาดฟัรฎู ซึ่งท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมได้ละหมาดสุนัตในแต่ละวันจำนวน สิบร็อกอัต

مَا مِنْ عَبْدٍ مُسْلِمٍ يُصَلِّي لِلَّهِ كُلَّ يَوْمٍ ثِنْتَيْ عَشْرَةَ رَكْعَةً تَطَوُّعًا غَيْرَ فَرِيضَةٍ إِلَّا بَنَى اللَّهُ لَهُ بَيْتًا فِي الْجَنَّةِ )

บ่าวคนใดละหมาดสุนนะฮฺร่อวาติบในวันหนึ่งสิบสองร็อกอัต อัลลอฮฺทรงสร้างบ้านแก่เข้าหลังหนึ่งในสวนสวรรค์” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

          ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวเช่นกันว่าจากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ رَكْعَتَا الْفَجْرِ خَيْرٌ مِنْ الدُّنْيَا وَمَا فِيهَا 

สองร็อกอะฮ์ (ก่อน) ซุบฮิ ประเสริฐกว่าดุนยา และสิ่งที่อยู่ในดุนยา” 

(รายงานโดยมุสลิม) 

     ดังคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม 

( إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَمَدَّكُمْ بِصَلاةٍ وهي الْوِتْرُ جَعَلَهُ اللَّهُ لَكُمْ فِيمَا بَيْنَ صَلاةِ الْعِشَاءِ إِلَى أَنْ يَطْلُعَ الْفَجْرُ )

          “แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงยืดเวลาละหมาดหนึ่งให้แก่พวกท่าน นั่นก็คือละหมาดวิตร์ พระองค์ทรงกำหนดแก่พวกเจ้า ในช่วงระหว่างละหมาดอิชา ไปจนถึงแสงอรุณขึ้น

 

     จากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

أَوْصَانِي خَلِيلِي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِثَلَاثٍ بِصِيَامِ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ وَرَكْعَتَيْ الضُّحَى وَأَنْ أُوتِرَ قَبْلَ أَنْ أَرْقُدَ

          "มิตรสนิทของฉัน ได้กำชับฉันสามประการ คือ ถือศีลอด 3 วันของทุกเดือน สองรอกะอัตละหมาดุฮา และให้ฉันละหมาดวิตร์ก่อนที่ฉันจะนอน

(รายงานโดยมุสลิม)

 

          นี้คือความดีงามต่างๆที่พระองค์ทรงให้ ฉะนั้นพวกเธอทั้งหลายจงรีบเร่งทำความดีเป็นเสบียงในโลกหน้า การละหมาดเพิ่มพูนความดี ทำให้ตาชูหนักขึ้น ลบล้างความผิด เพราะการกระทำทั้งหมดของมวลมนุษย์จะถูกนำมาตรวจชั่งดูความดี 

فَمَن يَعْمَلْ مِثْقَالَ ذَرَّةٍ خَيْرًا يَرَهُ وَمَن يَعْمَلْ مِثْقَالَ ذَرَّةٍ شَرًّا يَرَهُ 

ผู้ใดที่ทำดีหนักเท่าผงธุลีเขาย่อมจะได้เห็นมัน และผู้ใดที่ทำชั่วหนักเท่าผงธุลีเขาก็ย่อมจะได้เห็นมัน

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัซ-ซัลซะละฮฺ : 7-8)

 

ข้อสี่ บทซิกิรยามเช้าและยามเย็น 

 

     ท่านนบีจะนั่ง(ซิกรุลลอฮฺ)ในที่ที่ท่านได้ทำการละหมาดหลังจากที่ท่านได้(เสร็จสิ้น)นมาซซุบฮิ จนตะวันขึ้น 

«لأَنْ أَقْعُدَ أَذْكُرُ اللهُ ، وَأُكَبِّرُهُ ، وَأَحْمَدُهُ ، وَأُسَبِّحُهُ ، وَأُهَلِّلُهُ حَتّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ أَحَبَّ إلَيَّ مِنْ أَنْ أَعْتَقَ رَقَبَتَيْنِ أَوْ أَكْثَرَ مِنْ وَلَدِ إِسْمَاعِيْل» 

      จากอบู อุมามะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า 

          แน่แท้แล้ว ถ้าฉันได้นั่ง(ที่ละหมาด)และฉันได้ซิกิร ตักบีร ตะห์มีด ตัสบีห์ และตะฮฺลีลต่อพระองค์อัลลอฮฺ กระทั่งตะวันขึ้น ย่อมเป็นสิ่งที่ฉันรักยิ่งกว่าการปล่อยทาสสองคนหรือมากกว่านั้น จากทาสที่เป็นลูกหลานของนบีอิสมาอีล” 

(หะดีษ หะสัน บันทึกโดย อะห์มัด )

 

     และมีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

«يَنْزِلُ رَبُّنَا تَـبَارَكَ وَتَعَالَى كُلَّ لَيْلَةٍ إلَى سَمَاءِ الدُّنْيَا حِيْنَ يَبْقَى ثُلُثُ اللَّيْلِ الآخِرُ يَـقُولُ: مَنْ يَدْعُونِي فَأَسْتَـجِيبَ لَـهُ؟ مَنْ يَسْأَلُنِي فَأُعْطِيَـهُ؟، مَنْ يَسْتَغْفِرُنِي فَأَغْفِرَ لَـهُ؟» 

           “แท้จริงอัลลอฮฺจะลงมาสู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งในทุกๆคืนในช่วงหนึ่งในสามสุดท้ายของคืน แล้วพระองค์จะกล่าวว่า มีผู้ใดวิงวอนขออะไรจากข้าไหม ? แล้วข้าจะตอบรับคำขอนั้น มีผู้ใดขออะไรจากข้าไหม ? แล้วข้าจะให้เขาในสิ่งที่เขาขอ มีผู้ใดที่ขออภัยโทษต่อข้าไหม ? แล้วข้าจะอภัยให้แก่เขา

 (มุตตะฟะกุน อะลัยฮฺ โดยมีบันทึกในอัล-บุคอรีย์ สำนวนนี้เป็นของท่าน และมุสลิม)

 

          มีคนถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่าการละหมาดใดที่ประเสริฐที่รองลงมาจากละหมาดห้าเวลา? ท่านตอบว่า

«أَفْضَلُ الصَّلاةِ بَـعْدَ الصَّلاةِ المَكْتُوبَةِ، الصَّلاةُ فِي جَوْفِ اللَّيْلِ»

 “การละหมาดที่ประเสริฐที่สุดรองลงมาจากละหมาดห้าเวลาคือการละหมาดในช่วงท้ายของกลางคืน

 (บันทึกโดยมุสลิม)

 

ข้อห้า รักษาการถือศีลอดสุนนะฮฺ ต่าง ๆ 

 

- การถือศีลอดในเดือนเชาวาล 6 วัน

     ดังมีรายงานจากอะบีอัยยูบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ أَتْبَعَهُ سِتًّا مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ"

          " ผู้ใดถือศีลอดเดือนรอมฎอนแล้วถือศีลอดติดตามอีก 6 วันของเดือนเชาวาล เสมือนกับว่าเขาถือศีลอดตลอดปี

(บันทึกโดย : อัลญะมาอะฮฺ นอกจากอัลบุคอรียฺ และอันนะซาอียฺ)

 

- การถือศีลอด 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ

     ดังมีรายงานจากอะบีก็ตาดะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

سُئِلَ النَّبِي عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَرَفَةَ فَقَالَ: يُكَفِّرُ السَّنَةَ الْمَاضِيَةَ وَالْبَاقِيَةَ قَالَ وَسُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَاشُورَاءَ ؟ فَقَالَ يُكَفِّرُ السَّنَةَ الْمَاضِيَةَ 

         " การถือศีลอดวันอะร่อฟะฮฺเป็นการลบล้างความผิดสองปี คือในปีที่ผ่านมาและปีต่อไป และการถือศีลอดวันอาชูรออฺ (วันที่ 10 ของเดือนมุหัรรอม) เป็นการลบล้างความผิดในปีที่ผ่านมา

(บันทึกโดย : อัลญะมาอะฮฺ นอกจากอัลบุคอรียฺ และอัตติรมิซียฺ)

 

- การถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี 

     ดังมีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

تُعْرَضُ الأَعْمَالُ يَوْمَ الاِثْنَيْنِ وَالْخَمِيسِ فَأُحِبُّ أَنْ يُعْرَضَ عَمَلِي وَأَنَا صَائِمٌ

          " แท้จริงการงานต่างๆนั้นจะถูกนำเสนอทุกๆวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ดังนั้น ฉันชอบที่จะให้การงานถูกเสนอด้วยการที่ฉันนั้น ถือศีลอด” 

(มุสลิม)

 

- การถือศีลอด 3 วันของทุกๆเดือนอิสลาม 

     จากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

أَوْصَانِي خَلِيلِي صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِثَلَاثٍ بِصِيَامِ ثَلَاثَةِ أَيَّامٍ مِنْ كُلِّ شَهْرٍ وَرَكْعَتَيْ الضُّحَى وَأَنْ أُوتِرَ قَبْلَ أَنْ أَرْقُدَ

          "มิตรสนิทของฉันได้กำชับฉันสามประการ คือ ถือศีลอด 3 วันของทุกเดือน สองรอกะอัตละหมาดุฮา และให้ฉันละหมาดวิตร์ก่อนที่ฉันจะนอน

(รายงานโดยมุสลิม)

 

- การถือศีลอดเดือนมุฮัรรอม ยืนยันวันอาชูรออฺ (วันที่ 9,10,11) แต่ยืนยันในความประเสริฐด้วยถ้อยคำอันชัดเจน  

          ท่านนบีถูกถามถึงการถือศีลอดในวันอาชูรออฺ ท่านตอบว่าลบล้างความผิดตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

ข้อหก พวกเธอมีหน้าที่รับผิดชอบและดูแลคนในครอบครัว 

 

รายงานจาก อิบนิ อุมัร จากท่านนบี กล่าวว่า :

     “ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้ปกครอง และทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง

     และทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง

     ผู้นำประเทศเป็นผู้ปกครอง สามีเป็นผู้ปกครองครอบครัว ภรรยาเป็นผู้ปกครองบ้านเรือนของสามีและลูกๆ

     ดังนั้น ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้ปกครอง และทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบต่อผู้ที่อยู่ใต้การปกครอง

(บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)

 

ข้อเจ็ด ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิด แต่งตัวเรียบร้อย ไม่รัดรูป หรือเห็นสัดส่วน 

 

ในการแต่งกายของสตรีมุสลิมะฮฺ มีดังนี้

1. จะต้องปกปิดร่างกายทั้งหมด

2. เครื่องสวมใส่จะต้องไม่ทำให้ดูสวย หรือตกแต่งให้สวยสะดุดตา

3. จะต้องไม่มีกลิ่นหอมจรุงใจ

4. จะต้องไม่รัดรูปร่าง ให้ใช้แบบกว้างๆ หลวมๆ

5. จะต้องไม่บาง โปร่งใส

6. จะต้องไม่เหมือนกับเครื่องแต่งกายของผู้ชาย

7. จะต้องไม่เป็นเครื่องแต่งตัวที่เป็นแฟชั่นโด่งดัง

8. จะต้องไม่เป็นเครื่องแต่งตัวของพวกผู้ปฏิเสธ(กาเฟร์)โดยเฉพาะ

 

อัลลอฮ์ ได้ตรัส ความว่า

         " โอ้นะบีเอ๋ย ! จงกล่าวแก่บรรดาภริยาของเจ้า และบุตรสาวของเจ้า และบรรดาหญิงของบรรดาผู้ศรัทธา ให้พวกนางดึงเสื้อคลุมของพวกนางลงมาปิดตัวของพวกนาง นั่น เป็นการเหมาะสมกว่าที่นางจะเป็นที่รู้จัก เพื่อที่พวกนางจะไม่ถูกรบกวน และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้อภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ"

(ในซูเราะฮ์ อัลอะหซาบ อายะฮ์ ที่ 59)

 

 

ข้อแปด ห้ามสตรีใส่น้ำหอมออกนอกบ้าน 

 

          ฮะดีสที่มีรายงานจากท่านอบีมูซา อัลอัชอารีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุแจ้งว่า ท่านร่อซูลลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัม กล่าวว่า 

أَيُّمَا امْرَأَةٍ اسْتَعْطَرَتْ فَمَرَّتْ عَلَى قَوْمٍ لِيَجِدُوا مِنْ رِيحِهَا فَهِيَ زَانِيَة 

เมื่อสตรีคนใดใส่น้ำหอมและเดินผ่านกลุ่มคน เพื่อให้ได้กลิ่นหอมจากตัวเธอ ก็เท่ากับนางเป็นผู้ทำซินา “ 

(บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ อัลฮากิมและ อิบนิฮิบบาน)

 

ข้อเก้า การห้ามเสียงเพลงและเครื่องดนตรี 

 

อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า 

وَمِنَ النَّاسِ مَنْ يَشْتَرِي لَهْوَ الْحَدِيثِ لِيُضِلَّ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ بِغَيْرِ عِلْمٍ

และจากมวลมนุษย์มีผู้ที่ซื้อคำพูดที่ไร้สาระ เพื่อเขาจักได้หลงไปจากทางของอัลลอฮฺโดยปราศจากความรู้

(ลุกมาน/6)

 

          ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่าแท้จริงอัลลอฮฺทรงห้ามประชาชาติของฉันในเรื่องสุรา, การพนัน, มิซร์ (เครื่องดื่มที่หมักจากข้าวโพด), กูบะฮฺ (กลอง), และกินนีน (กีต้าร์อฺรับชนิดหนึ่ง) โดยพระองค์ยังเพิ่มการนมาซวิตร์ให้แก่ฉันอีก “ 

(บันทึกโดยอะหฺมัด)

 

ข้อสิบ ดุนยาคือ ทางผ่าน 

 

          ชีวิตในดุนยา เป็นดั่งนักเดินทางต้องเก็บเกี่ยว ตระเตรียมเสบียงให้พร้อมในโลกนั้น เพื่อวันที่อัลลอฮ์ ซุบฮานาฮูว่าตะอาลา ทรงตอบแทน วันที่ทรัพย์สินและบุตรไม่อำนวยประโยชน์ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงลดความสำคัญและดูเบาต่อชีวิตในโลกนี้ ด้วยการที่พระองค์ตรัสความว่า

 

          “แท้จริงการมีชีวิตในโลกนี้มิใช่อื่นใด เว้นแต่เป็นการละเล่นและการสนุกสนานร่าเริง และเครื่องประดับและความโอ้อวด ระหว่างพวกเจ้า และการแข่งขันกันสะสมในทรัพย์สินและลูกหลาน

 

ท่านร่อซูล ได้มีวจนะกับท่าน อับดุลลอห์ อิบนุอุมัร ร่อดิยั้ลลอฮุอันฮุมา ท่านกล่าวว่า

 

كُنْ في الدُّنْيَا كَأَنَّكَ غَرِيْبٌ اَوْ عَابِرُ سَبِيْلٍ

 

"ท่านจงอยู่ในโลกนี้ ประหนึ่งว่าท่านเป็นดั่งคนจร หรือผู้เดินทางเถิด"

 

 

 

อ้างอิง เว็ป صيد الفوائد