ประตูสู่ความดี ในเดือนรอมาฏอน
รวบรวมโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา
แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงกำหนดให้เดือนรอมาฎอน เป็นหนึ่งในการประกอบอิบาดะด้วยการถือศีลอดและทรงกำหนดให้ชดใช้ศีลอดในวันอื่นสำหรับบุคคลที่ขาดในเดือนรอมาฏอน แน่นอนอัลลอฮ์ทรงตระเตรียมรางวัลที่ยิ่งใหญ่แก่ผู้ศรัทธาทุกคน เหนือนที่ท่านนบี กล่าวเอาไว้เนื่องจากลักษณะและความประเสริฐ ความว่า
من صام يوماً في سبيل الله بعد الله وجهه عن النار سبعين خريفاً
"ใครที่เขานั้นถือศีลอดในหนทางของอัลลอฮ์ พระองค์ให้ใบหน้าของเขานั้นห่างไกลจากไฟนรกถึง 70 ปี"
(บุคคอรีย์ มุสลิม)
เดือนรอมาฎอนจึงเป็นเดือนแห่งความหวังของบรรดาผู้ถือศีลอด ในการที่จะได้เข้าสู่สวรรค์ "อัรรอยยาน " ซึ่งเป็นประตูของบรรดาผู้ถือศีลอดในสวรรค์
จงให้ความสำคัญกับเดือนรอมาฎอน เพราะเดือนนี้เป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่ คือ เดือนแห่งความดี เดือนแห่งการอภัยโทษ ความโปรดปราน
อัลลอฮ์ ตรัสว่า
شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآَنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ
"เดือนรอมาฎอน เป็นเดือนที่อัลกรุอ่านถูกประทานลงมา เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานชี้แจงทางนำที่ถูกต้อง
ใครก็ตามที่เขาเห็น คือ อยู่ในเดือนรอมาฎอน ในหมู่พวกท่าน จงถือศีลอด"
(อัลบากอเราะห์ 185)
1. ความบริสุทธิ์ใจ อัลคิลลาศ
อัลลอฮ์ ตรัสว่า
وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا اللَّهَ مُخْلِصِينَ لَهُ الدِّينَ حُنَفَاءَ وَيُقِيمُوا الصَّلَاةَ وَيُؤْتُوا الزَّكَاةَ وَذَلِكَ دِينُ الْقَيِّمَةِ
“และพวกเขามิได้ถูกบัญชาให้กระทำอื่นใดนอกจากเพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ
เป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ในการภักดีต่อพระองค์ เป็นผู้อยู่ในแนวทางที่เที่ยงตรง”
(สูเราะฮฺ อัล-บัยยินะฮฺ : 5)
2. การกลับเนื้อกลับตัว เตาบะฮ์ ต่ออัลลอฮ์
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
"ใครที่เตาบะฮ์กลับเนื้อกลับตัว ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันตก ถือว่าเขานั้น ได้กลับเนื้อกลับตัวแล้ว"
(บันทึกโดย มุสลิม)
มีสายรายงาน กล่าวว่า
"แท้จริง อัลลอฮ์จะทรงรับการเตาบะฮ์ ของบ่าว ตราบใดที่วิญญาณยังไม่ออกจากร่าง"
(บันทึกโดย ติรมีซีย์)
4. ถือศีลอดด้วยกับความศรัทธาและหวังในผลตอบแทน
ท่านนบี กล่าวว่า
«من صام رمضان إيمانًا واحتسابًا غفر له ما تقدم من ذنبه»
"ใครที่ถือศีลอดด้วยกับความศรัทธาและหวังในผลตอบแทน ความผิดของเขาที่ผ่านมานั้นจะถูกลบล้าง"
(บันทึกโดย อะหมัด ติรมีซีย์)
5. ถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเชาวาล
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«من صام رمضان وأتبعه ستًا من شوال كان كصوم الدهر»
"ใครที่ถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน แล้วตามด้วยบวช 6 วันในเดือนเชาวาล เท่ากับการถือศิลอด 1 ปี"
(บันทึกโดย มุสลิม)
6. ดำรงการละหมาดในยามค่ำคืน ละหมาดตะรอเวียะ ตะฮัจยุญ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
من قام رمضان إيمانًا واحتسابًا غفر له ما تقدم من ذنبه».
"ใครที่ดำรงการละหมาดในเดือนรอมาฎอนด้วยกับความศรัทธาและหวังในผลตอบแทน
ความผิดของเขาที่ผ่านมานั้นจะถูกลบล้าง"
(บันทึกโดย บุคคอรีย์ มุสลิม)
7. ดำรงการละหมาดในยามค่ำคืนของ ลัยลาตุลก็อด
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«من قام ليلة القدر إيمانًا واحتسابًا غفر له ما تقدم من ذنبه»
"ใครที่ดำรงการละหมาดในค่ำคืนของลัยลาตุลก็อดด้วยกับความศรัทธา และหวังในผลตอบแทน
ความผิดของเขาที่ผ่านมานั้นจะถูกลบล้าง"
(บันทึกโดย บุคคอรีย์ มุสลิม)
8. ขมักเขม้นทำอิบาดะฮ์ในช่วงสิบคืนสุดท้าย
รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«كان رسول الله إذا دخل العشر أحيا الليل، وأيقظ أهله، وشد مئزره»
"ปรากฏว่าท่านนบีจะขมักเขม้น ทำอิบาดะฮ์ย่างมากในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมาฎอน
โดยท่านนั้นจะปลุกคนในครอบครัว ถลกผ้า แบบเอาจริงเอาจัง"
(บันทึกโดย บุคคอรีย์ มุสลิม)
9. ทำฮุมเราะห์ในเดือนรอมาฎอน
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«العمرة في رمضان تعدل حجة، أو حجة معي»
"การทำฮุมเราะห์ในเดือนรอมาฎอนเท่ากับเขานั้นได้ ประกอบพิธีฮัจญ์หนึ่งครั้ง
หรือ การให้ทำฮัจญ์พร้อมกับฉัน (หมายถืง ท่านนบี)"
(บันทึกโดย บุคคอรีย์ มุสลิม)
10. การเฮียะติกาฟ คือการพำนักอยู่ในมัสยิด เพื่อทำอิบาดะฮ์
มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«كان رسول الله يعتكف في العشر الأواخر من رمضان].
"ปรากฎว่าท่านนบีนั้นจะพำนักอยู่ในมัสยิดในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมาฎอน"
(บันทึกโดย ติรมีซีย์ )
11. ให้อาหารแก่ผู้ทีถือศีลอด
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า กล่าวว่า
«من فطر صائمًا كان له مثل أجره غير أنه لا ينقص من أجر الصائم شيئًا»
"ใครที่ให้อาหารแก่ผู้ที่ถือศีลอด เขาก็จะได้รับภาคผลเท่ากับคนที่ถือศีลอด
โดยที่ผลบุญนั้นจะไม่บ่กพร่องแต่ประการใด"
(บันทึกโดย ติรมีซีย์)
12. การอ่านอัลกรุอ่าน
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ กล่าวว่า
«اقرءوا القرآن فإنه يأتي يوم القيامة شفيعًا لأصحابه»
"ใครที่อ่านอัลกรุอ่าน แท้จริงมัน(อัลกรุอ่าน)จะมาเป็นสักขีพยามให้แก่เขา ในวันกียามะฮ์"
(บันทึกโดย มุสลิม)
13. การเรียน การสอน อัลกรุอ่าน
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«خيركم من تعلم القرآن وعلمه»
"คนที่ประเสริฐที่สุดในหมู่ของสูเจ้า คือ คนที่ศึกษาและสอนอัลกรุอ่าน"
(บันทึกโดย บุคคอรีย์)
14. การชิกรุลลอฮ์ คือ การรำลึกถึงอัลลอฮ์
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า กล่าวว่า
«ألا أنبئكم بخير أعمالكم، وأزكاها عند مليككم، وأرفعها في درجاتكم، وخير لكم من إنفاق الذهب والفضة، وخير لكم من أن تلقوا عدوكم فتضربوا أعناقهم، ويضربوا أعناقكم؟ قالوا: بلي. قال ذكر الله تعالى
"เอาไหมฉันจะบอกถึงการงานที่ดี การขัดเขลาจิตใจในสิ่งที่ท่านครอบครอง ยกเกียรติของท่าน ดียิ่งกว่าการบริจาคทองและเงิน และดียิ่งกว่าการออกรบแล้วท่านนั้นได้สังหารศัตรู ด้วยการฟันเขาที่คอ"
พวกเขากล่าวว่า "มันคืออะไร ?"
ท่านตอบว่า "การชิกรุลลอฮฺ"
(บันทึกโดย ติรมีซีย์)
15. การขออภัยโทษ
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«من لزم الاستغفار جعل الله له من كل هم فرجًا، ومن كل ضيق مخرجًا، ورزقه من حيث لا يحتسب»
"ใครที่ขออภัยโทษ อัลออฮ์จะทรงขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจให้แก่เขา
และจะประทานทางออกที่ดีให้แก่เขา และปัจจัยยังชีพโดยไม่คาดคิดมาก่อน"
(บันทึกโดย อาบูดาวูด ติรมีซีย์)