เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดและเดือนรอมาฎอน
  จำนวนคนเข้าชม  4118


เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอดและเดือนรอมาฎอน
 

โดย ยะห์ยา หัสการบัญชา

อัลลอฮ์  ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ 

"บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้น ได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว

เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง"

(ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 183)

 

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ،قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: قَدْ جَاءَكُمْ رَمَضَانُ شَهْرٌ مُبَارَكٌ افْتَرَضَ اللهُ عَلَيْكُمْ صِيَامَهُ، يُفْتَحُ فِيهِ أَبْوَابُ الْجَنَّةِ، وَيُغْلَقُ فِيهِ أَبْوَابُ الْجَحِيمِ، وَيُغَلُّ فِيهِ الشَّيَاطِينُ، فِيهِ لَيْلَةٌ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ مَنْ حُرِمَ خَيْرَهَا فَقَدْ حُرِمَ (قال الألباني : صحيح.)

 

          "เดือนรอมาฏอนได้มาถึงพวกท่าน ซึ่งเป็นเดือนอันดีงามที่อัลลอฮ์ ได้บัญญัติให้พวกท่านถือศีลอด เป็นเดือนที่ประตูสวรรค์ทุกบานจะถูกเปิด และประตูนรกทุกบานจะถูกปิด และบรรดาชัยฏอนจะถูกล่ามโซ่ เป็นเดือนที่มีอยู่คืนหนึ่งประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน ผู้ใดที่ไม่ได้ตักตวงในการกระทำความดีในคืนนั้น เขาผู้นั้นจะไม่ได้รับความดีงามทั้งหมดจากคืนนั้น (คือผู้ที่ขาดทุนที่แท้จริง) “

 ท่านเชคอัลอัลบานีย์กล่าวว่าเป็นหะดีษซอเฮี๊ยะหฺ

 

عن عائشة رضي الله عنها: وما رأيت رسول الله صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ :وَمَا رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- اسْتَكْمَلَ صِيَامَ شَهْرٍ قَطُّ إِلاَّ رَمَضَانَ ، وَمَا رَأَيْتُهُ فِى شَهْرٍ أَكْثَرَ صِيَامًا مِنْهُ فِى شَعْبَانَ متفق عليه

 

          " ฉันไม่เคยเห็นท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดทั้งเดือนอย่างครบถ้วน ยกเว้น เดือนรอมาฏอน และฉันไม่เคยเห็นท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ถือศีลอดในเดือนใดมากกว่าเดือน ชะอ์บาน"  

(บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม)

 

เราควรต้อนรับเดือนรอมาฏอน อย่างไร ?

♣ ขอลุแก่โทษแด่อัลลอฮ์  ด้วยการกลับเนื้อกลับตัวอย่างจริงจัง

♣ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ในการขวนขวายทำความดี 

♣ ขอดุอาต่ออัลลอฮ์  ให้พระองค์ ให้เราได้รับความสำเร็จในการทำความดีงามต่างๆในเดือนนี้

♣ หมั่นทำความดีงามต่างๆให้มาก

 

เราจะได้รับอะไรบ้างจากเดือนรอมาฎอน ?

عن أبِي هُرَيْرَةَ رضي الله عنه، قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم: قَالَ اللهُ : كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعِمِائَةِ ضِعْفٍ. قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ : إِلاَّ الصَّوْمَ فَإِنَّهُ لِى وَأَنَا أَجْزِى بِهِ، يَدَعُ طَعَامَهُ وَشَهْوَتَهُ مِنْ أَجْلِى ، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ فَرْحَةٌ عِنْدَ فِطْرِهِ ، وَفَرْحَةٌ عِنْدَ لِقَاءِ رَبِّهِ ، وَلَخُلُوفُ فِيهِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ ، الصَّوْمُ جُنَّةٌ الصَّوْمُ جُنَّةٌ ) (وفي رواية"وَإِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ فَلاَ يَرْفُثْ وَلاَ يَصْخَبْ، فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ أَوْ قَاتَلَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي امْرُؤٌ صَائمٌ،") متفق عليه

 

อัลลอฮ์ ได้ตรัสไว้ว่า

          "ทุกๆการกระทำความดีของมนุษย์นั้น จะถูกตอบแทนผลบุญตามที่เขากระทำไว้ตั้งแต่ สิบเท่า ไปจนถึง เจ็ดร้อยเท่า

           ยกเว้น การถือศีลอด เพราะการถือศีลอดนั้นเป็นกรรมสิทธ์ของข้า และข้าจะตอบแทนผลบุญให้เขาตามที่ข้าทรงประสงค์(คือ ผลบุญของการถือศีลอดนั้นไม่ตายตัวเหมือนกับอิบาดะห์อื่น) เขาได้อดอาหาร เครื่องดื่ม และละทิ้งอารมณ์ความใคร่ใฝ่ตํ่า(ความต้องการทางเพศ)เพื่อข้า 

          ฉะนั้นหากท่านถือศีลอด จงอย่าพูดจาหยาบคาย และอย่าทะเลาะเบาะแว้ง หากผู้หนึ่งผู้ใดทำร้ายท่าน จงกล่าวว่า ฉันถือศีลอด

และผู้ที่ถือศีลอดจะรู้สึกดีใจ 2 ครั้งด้วยกัน 

ครั้งแรก ในขณะที่เขาละศีลอด 

ครั้งที่สอง เมื่อเขาได้พบกับพระองค์อัลลอฮ์ 

          และ กลิ่นปากของผู้ถือศีลอดหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียง ณ ที่อัลลอฮ์  และการถือศีลอดนั้นเป็นเกราะป้องกัน(ให้พ้นจากความชั่วต่างๆ) 

( บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม)

 

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ، عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ: " مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ " متفق عليه.

"ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอนด้วยความศรัทธายิ่ง และหวังผลตอบแทน

เขาผู้นั้นจะได้รับการอภัยโทษในความผิดที่ได้ก่อไว้ก่อนหน้านี้ทั้งหมด" 

 

(บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์ และ มุสลิม) 

قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: ورَمَضَانُ إِلَى رَمَضَانَ مُكَفِّرَاتٌ مَا بَيْنَهُمَا إِذَا اجْتُنِبَتِ الْكَبَائِرُ. رواه مسلم وغيره

 

          " และระยะเวลาระหว่าง การถือศีลอดของเดือนรอมาฏอนของแต่ละปี ไปจนถึงเดือนรอมาฏอนปีถัดไป สิ่งนี้จะมาลบล้าง ความผิดให้แก่ผู้ศรัทธาในช่วงระยะเวลานั้น หากว่าเขาออกห่างจากการทำบาปใหญ่ " 

(บันทึกโดยอิมามมุสลิมและผู้รู้ท่านอื่น)

 

          ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลายจงขวนขวายและตักตวงกระทำความดีในเดือนนี้กันให้มากๆเถิดเพื่อที่เราจะได้เป็นหนึ่งจากชาวสวรรค์ที่ได้เข้าสู่สรวงสวรรค์ทางประตู "อัรร็อยยาน" ดังที่มีระบุเอาไว้ในหะดีษของท่านนบี  บทหนึ่งว่า 

قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : إِنَّ فِي الْجَنَّةِ بَابًا يُقَالُ لَهُ الرَّيَّانُ يَدْخُلُ مِنْهُ الصَّائِمُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، لَا يَدْخُلُ مَعَهُمْ أَحَدٌ غَيْرُهُمْ، يُقَالُ: أَيْنَ الصَّائِمُونَ، فَيَدْخُلُونَ مِنْهُ، فَإِذَا دَخَلَ آخِرُهُمْ أُغْلِقَ فَلَمْ يَدْخُلْ مِنْهُ أَحَدٌ )متفق عليه

 

          " แท้จริง ในสวนสวรรค์ จะมีประตูบานหนึ่ง ที่ถูกขนานนามว่า อัร ร็อยยาน ซึ่งในวันกียามะห์ ผู้ที่ถือศีลอดเท่านั้นที่จะได้เข้าสวรรค์จากประตูบานนี้ และเมื่อบรรดาผู้ที่ถือศีลอดได้เข้าไปทุกคนแล้ว ประตูบานนี้ก็จะถูกปิด และจะไม่มีผู้ใดได้เข้าไปอีก” 

 

(บันทึกโดยอิมามบุคอรีย์และมุสลิม)

 

          ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆแต่แฝงไว้ด้วยคุณประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการชี้แนะให้กับบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์  ได้มีการตื่นตัวและใช้ชีวิตในเดือนรอมาฎอนอันประเสริฐนี้ด้วยการทำความดีงามอย่างจริงจัง อย่าให้เดือนนี้ผ่านพ้นไปโดยที่ท่านเป็นคนหนึ่งจากบรรดาผู้ที่ขาดทุนอย่างแท้จริงในโลกนี้และโลกหน้า 

 

           ท้ายนี้ขอให้พระองค์อัลลอฮ์  ประทานความสำเร็จให้กับเราและท่านทั้งหลายได้มีชีวิตยืนยาวจนถึงเดือนรอมาฎอนและได้ตักตวงกระทำความดีอย่างมากมาย ตลอดจนมีอายุยืนยาวไปจนถึงเดือนรอมาฎอนในปีต่อๆไป โดยกลับไปหาพระองค์อัลลอฮ์  ในสภาพที่ได้รับการอภัยโทษและได้อยู่ในสวรรค์อันสถาพรของพระองค์อย่างนิจนิรันดร์ อามีน