ห้ามสตรีใส่น้ำหอมออกนอกบ้าน
  จำนวนคนเข้าชม  13493


ห้ามสตรีใส่น้ำหอมออกนอกบ้าน

 

          เรื่องการห้ามสตรีใส่น้ำหอมออกนอกบ้านมีฮะดีสที่กล่าวถึงเรื่อนี้หลายฮะดีษแต่ในเอกสารอันดับนี้จะขอหยิบยกมาเพียงสามฮะดีษให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาคือฮะดีสที่รายงาน คือฮะดีษที่หนีงรายงานโดยท่านอบีมูซา อัลอัซอารีย์และฮะดีสที่สองและสามรายงานโดยท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ

 

ฮะดีสที่หนึ่ง

عَنْ أَبِيْ مُوسَى الأَشعَرِي رَضِىَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ الله صَلى الله عَلَيْهِ وَسَلمَ 

أَيُّمَا امْرَأَةٍ اسْتَعْطَرَتْ فَمَرَّتْ عَلَى قَوْمٍ لِيَجِدُوا مِنْ رِيحِهَا فَهِيَ زَانِيَةٌ

رواه البيهقي والحاكم وابن حبان

 

ความหมายฮะดีษ  

     มีรายงานจากท่านอบีมูซา อัลอัชอารีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุแจ้งว่า ท่านร่อซูลลุลลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัม กล่าวว่า

”เมื่อสตรีคนใดใส่น้ำหอมและเดินผ่านกลุ่มคนเพื่อให้ได้กลิ่นหอมจากตัวเธอก็เท่ากับนางเป็นผู้ทำซินา “ 

(บันทึกโดย อัลบัยฮะกีย์ อัลฮากิมและ อิบนิฮิบบาน)

 

ฮะดีษที่สอง

عَنْ أَبِىْ هُريْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قاَلَ : قاَلَ رَسُوْلُ اللهِ صلَّى اللهُ عٓلٓيْهِ وَسَلّٓمَ :

( أَيُّماَ اِمْرَأَةٍ تَطَيَّبَتْ ثُمَّ خَرَجَتْ إلىَ المَسجِدِ لَمْ تُقْبَلْ لَهَا صَلاَةٌ حَتَّى تَغْسِلَ)

رَوَاهُ ابن ماجه 

     มีรายงานจากอบีฮุรอยเราะห์ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่า ท่านร่อซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัม กล่าวว่า 

“สตรีที่ใส่เครื่องหอมแล้วออกไปมัสยิด ละหมาดของนางจะไม่ถูกตอบรับ

จนกว่านางจะอาบน้ำชำระล้างเครื่องหอมนั้นให้หมดเสียก่อน”

(บันทึกโดย อิบนิ มาญะฮ)

ประวัติผู้รายงานฮะดีษ

          ท่านอบูมูซา อัลอัชอะรีย์ เป็นศ่อฮาบะฮฺคนสำคัญคนหนึ่งของท่านร่อซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัม ท่านมาจากตระกูลอัลอัชอะรีย์ ซึ่งอยู่ในประเทศเยเมน ท่านอพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่มักกะฮฺพร้อมกับหมู่คณะของท่าน ท่านเป็นผู้หนึ่งที่เข้ารับอิสลามในรุ่นแรกๆ เมื่อท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัมประกาศศาสนาอิสลาม ท่านได้อพยพไปยังอบิสซิเนีย(ประเทศเอธิโอเปียในปัจจุบัน)และอพยพกลับมาหาท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัม ที่มะดีนะฮฺ เมื่อทราบว่าท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัมได้อพยพไปยังนครมะดีนะฮฺแล้ว

 

          ท่านอบูมูซา อัลอัชอารีย์ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นผู้นำทัพในการทำสงคราม เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อครั้งที่มุสลิมยกทัพพิชิตอิรักและแนวรบด้านเปอร์เซีย ท่านเองเป็นแม่ทัพ ที่ยกไปพิชิตเมืองอะฮฺว๊าซ (ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน)และต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงประจำเมืองสำคัญๆทางใต้ของอิรักในปัจจุบัน ทุกคนคงจำชื่อของท่านได้ดีในเหตุการณ์อัตตะฮฺกีม ที่ท่านได้เป็นตัวแทนของท่านอิหม่าม อาลี อิบนิ อบีฎอลิบ ไปเจราจากับท่านอัมรฺ อิบนุล อ๊าซ แต่ภายหลังจากการตัดสิน เหตุการณ์ดังกล่าว ท่านก็ปลีกตัวออกไปไม่ยอมยุ่งกับเรื่องดังกล่าวอีก และใช้ชีวิตอยู่ที่นครมักกะฮฺจนสิ้นชีวิตที่นั้น 

 

คำอธิบายฮะดีษ

          อิสลามยอมรับว่า ชายและหญิงมีความเสมอภาคกัน แต่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาทรงให้แต่ละเพศมีลักษณะพิเศษเป็นการเฉพาะ ดังเช่นให้ชายเป็นผู้เลี้ยงดูหญิง ให้ผู้ชายมีหน้าที่ของตน ให้ผู้หญิงมีหน้าที่ของตนดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

 “ชายที่ทำดีจะได้เข้าสวรรค์ หญิงที่ทำดีก็จะได้เข้าสวรรค์” 

          ในโลกอาคิเราะฮ์ชายและหญิงจะได้รับผลตอบแทนเสมอกัน อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงให้บัญญัติศาสนาของพระองค์เป็นเรื่องละเอียดให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ของของตนที่มีอยู่

 

          จากฮะดีษทั้งหมดข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า อิสลามให้สิทธิและหน้าที่แก่ชายหญิงแตกต่างกัน เช่น ให้หญิงมีสิทธิสวมใส่ทองและผ้าไหมได้ แต่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ชาย เมื่อหญิงอยู่ในบ้านก็มีสิทธิใส่น้ำหอมได้ แต่เมื่อออกจากบ้านห้ามใส่น้ำหอมเป็นต้น ทำไมอิสลามจึงห้ามเช่นนั้น คำตอบคือ เพราะอิสลามไม่เหมือนกับศาสนาอื่นๆ บัญญัติอิสลามมีมาเพื่อที่จะป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น มิใช่มาเพื่อคอยแก้ปัญหา 

 

          ดังเช่นเรื่องซินา อิสลามไม่ได้บอกว่าอย่าทำซินา แต่อิสลามบอกไว้ลึกซึ้งกว่า อย่าเข้าใกล้ซินา เพื่อเป็นการขจัดสิ่งต่างๆ ที่จะนำไปสู่การทำซินา (กลิ่นน้ำหอมที่ใส่จะเป็นสื่อเย้ายวนให้เพศตรงข้ามอยากมีเพศสัมพันธ์กับนาง) เมื่อเราทราบว่านี่คือบัญญัติศาสนา เราก็น่าจะรู้ดีด้วยว่า อิสลามให้เกียรติเรา อิสลามไม่ได้ห้ามสตรีใส่น้ำหอมแต่อนุญาตให้ใส่ได้แต่ในบ้าน ห้ามมิให้ใส่น้ำหอมเพื่อให้ผู้อื่นซึ่งไม่ใช่สามี บิดา หรือลูก ได้สูดดมเพราะบางทีอาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีงามเกิดขึ้น

         การที่อิสลามสอนเช่นนี้ เท่ากับเป็นการห่วงใยสตรี ห่วงในฐานะที่จะรักษาเกียรติและรักษาชีวิตของสตรี เพราะในทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นสังคมใด ณ ที่ไหน จะพบว่าอาชญากรรมทางเพศกำลังระบาดมากยิ่งขึ้น และสตรีก็นับว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมดังกล่าว และเพศหญิงก็ตกเป็นฝ่ายที่ขาดทุนในที่สุด

 

          การออกนอกบ้านของสตรีนั้น อิสลามไม่ได้ห้าม แต่การออกไปนั้นต้องมีจุดมุ่งหมายอันมีคุณประโยชน์ เช่น การออกไปเรียนหนังสือ ไปทำฮัจญ์ ไปละหมาดที่มัสยิด แต่ที่อิสลามห้ามได้แก่ ออกไปอย่างไร้จุดหมาย และแต่งตัวออกนอกขอบเขตศาสนา ไม่รักษาเกียรติของตนเอง อิสลามจึงกำหนดให้สตรีแต่งตัวให้เรียบร้อยถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา คลุมศีรษะ ไม่ใส่เครื่องหอมเมื่อออกนอกบ้าน การที่อิสลามห้ามเช่นนี้ก็เพราะสตรีเป็นที่สนใจของเพศตรงข้าม และเป็นที่หมายปองของคนชั่วจ้องที่จะหาทางที่จะทำลายเกียรติของสตรีอยู่แล้ว 

          สตรีในสมัยท่านร่อซูลลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัม นั้นเคยออกไปละหมาดที่มัสยิดและกลับเข้าบ้านของพวกนาง โดยไม่มีผู้ใดรู้ว่าใครเป็นใคร เพราะพวกนางแต่งตัวปกปิดมิดชิดเรียบร้อย แต่สตรีในบ้านเราเมื่อออกจากมัสยิดยังไม่ทันพ้นบันไดมัสยิด ก็ถลกตะละกงเสียแล้ว 

 

          ตามบันทึกของท่านอิหม่ามบุคอรีย์ เมื่อท่านนบีละหมาดและให้สลามเสร็จแล้วนั้น ก่อนที่ท่านจะหันหน้ากลับมายังมะมูม ท่านจะหยุดพักสักครู่หนึ่ง “เพื่อให้ผู้หญิงออกจากมัสยิดไปเสียก่อน” ประเด็นนี้ผู้ที่เป็นสุภาพสตรีน่าจะเข้าใจมิใช่ว่าอิสลามคิดไม่ดีหรือมองในแง่ร้าย หากอิสลามคิดไม่ดีทำไมอัลลอฮฺ จึงกำชับบรรดาภรรยาของท่านนบีเกี่ยวกับเรื่องการพูดจากับชายอื่น หรือการแต่งกายให้มิดชิด ทั้งๆที่พวกเธอเหล่านั้นเป็นผู้หญิงผู้บริสุทธิ์ปราศจากความผิดทั้งหลายทั้งปวง 

 

          ครั้งหนึ่งมีชายตาบอดคนหนึ่งมาหาท่านร่อซูลที่บ้านท่านร่อซูล ท่านจึงบอกภรรยาของท่านให้เข้าบ้าน

ภรรยาของท่านร่อซูลจึงพูดขึ้นว่า ชายคนนั้นเป็นชายตาบอด มองไม่เห็น

แล้วท่านร่อซูล จึงกล่าวแก่ภรรยาของท่านว่าแล้วเธอตาบอดกระนั้นหรือ !

 

          ฮะดีษนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่าขนาดมัสยิดเป็นสถานที่กระทำอิบาดะฮ์ต่ออัลลอฮฺ ยังต้องปฏิบัติตนจนถึงขั้นนี้แล้วนับประสาอะไรเล่ากับการที่ผู้สตรีออกไปทำงานนอกบ้าน ไปตลาด ฯลฯ ขอให้เราเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีว่าอิสลามรักห่วงใยให้เกียรติสตรีเพียงใด มีใครบ้างไหมที่เป็นห่วงเป็นใยลูกของเขายิ่งไปกว่าท่านนบี ห่วงใยประชาชาติของท่าน

 

ฮะดีษที่สาม  

“สตรีมุสลิมคนใดใส่น้ำหอมแล้วเดินผ่านกลุ่มชน เพื่อให้ได้กลิ่นน้ำหอมจากตัวเธอก็เท่ากับนางเป็นผู้ทำซินา “

 

          การที่ท่านรอซูล กล่าวเช่นนี้นั้นเป็นคำตักเตือนที่มีความหมายอันลึกซึ้งสำหรับสตรีผู้ศรัทธา เพราะบรรดาผู้ศรัทธารู้ดีว่า ซินาเป็นบาปใหญ่มีโทษเท่ากับการทำชิริก ดังที่พระองค์ตรัสไว้ มีความว่า 

และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอต่อพระเจ้าอื่นใดร่วมกับอัลลอฮฺ และไม่ฆ่าชีวิตใดที่อัลลอฮฺทรงห้าม นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรม

และพวกเขาไม่ทำซินาและผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาจะได้พบกับความผิดอันมหันต์

 (อัลฟุรกอน 25:68)

 

          เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าการที่สตรีใส่น้ำหอมออกนอกบ้านไม่ว่าจะไปมัสยิดหรือที่อื่นใดนั้น ไม่นับเป็นผู้มีลักษณะของผู้ศรัทธา เพราะสตรีออกจากบ้านไปมัสยิดนั้นเพื่ออะไร ไปทำอิบาดะห์ต่ออัลลอฮฺใช่หรือไม่ ถ้าจะไปทำอิบาดะห์เพื่อพระองค์ ก็สมควรที่สตรีต้องคำนึงเอาไว้ด้วยว่า ผู้ที่จะทำการเคารพอิบาดะห์ต่ออัลลอฮฺนั้น จะต้องเป็นผู้ที่เชื่อฟังปฏิบัติตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ มิใช่เป็นผู้ฝ่าฝืนดื้อดึงหรือละเมิดบทบัญญัติศาสนาของพระองค์แต่ประการใดทั้งสิ้น 

 

           จากฮะดีษที่สองและสามสอนให้เขาคำนึงถึงผลร้านอีกด้านหนึ่งของสตรีที่ใส่เครื่องหอม เพราะอัลลอฮ์ไม่ทรงรับการละหมาดของสตรีที่ใส่เครื่องหอม ตราบใดที่เธอไปละหมาดที่มัสยิดในลักษณะดังกล่าว อย่างไรก็ตามฮะดีสนี้เปิดทางให้สตรีกลับเนื้อกลับตัว ไม่ให้พบกับสภาพดังกล่าว โดยให้ชำระล้างขจัดบริเวณที่เปื้อนน้ำหอมนั้นเสีย ด้วยวิธีการล้างให้เกลี้ยงหรืออาบน้ำดังที่ฮะดีษที่สามระบุไว้ว่า 

“...จงอาบน้ำชำระล้างน้ำหอมเสียก่อนเสมือนกับว่านางได้อาบน้ำญะนาบะฮฺ”

การอาบน้ำชำระล้างร่างกายดังกล่าวนี้ไม่ใช่แค่การอาบน้ำละหมาดแต่เป็นการอาบน้ำญะนาบะฮฺให้ทั่วตัว 

 

สรุปสิ่งที่ได้รับจากฮะดีษทั้งสามมีดังนี้

     1.ห้ามสตรีใส่น้ำหอม ออกนอกบ้าน ไม่ว่าจะไปมัสยิดหรือที่อื่นๆ

     2. ให้สตรีที่ใส่น้ำหอมรีบอาบน้ำเพื่อชำระล้าง กลิ่นน้ำหอมออกจากร่างกายเสีย

     3. สตรีที่ใส่น้ำหอมไปมัสยิด เท่ากับเป็นผู้ทำซินา อัลลอฮฺจะไม่ทรงรับการละหมาดของนางจนกว่านางจะอาบน้ำชำระล้างกลิ่นน้ำหอมออกให้หมดเสียก่อน

     4.อิสลามปิดประตูที่จะนำไปสู่ความชั่ว

     5. ฮะดีษทั้งสามเป็นการบ่งชี้ถึงความพยายามของอิสลามที่จะรักษาเกียรติและชีวิตของสตรีเอาไว้โดยมิให้ทำตัวยั่วยวนในทางที่ไม่สมควร

 

อัล อิศลาห์สมาคม บางกอกน้อย