ปาเลสไตน์ดินแดนศักสิทธิ์
"ปาเลสไตน์" ตั้งมาจากชื่อเมืองที่อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของดินแดนที่เรียกว่า อัช-ชาม (เป็นดินแดนที่รวมเอาซีเรีย จอร์แดน เลบานอน และปาเลสไตน์) เนื้อที่ของปาเลสไตน์ตามที่ปรากฏในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 27,009 ตารางกิโลเมตร
ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเซียกับทวีปอัฟริกา พรมแดนทางตอนเหนือของปาเลสไตน์ติดต่อกับเลบานอน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับซีเรีย ทางด้านตะวันออกติดกับจอร์แดนและทางตอนใต้ติดต่อกับอิยิปต์
ปาเลสไตน์ในมุมมองอิสลาม· ปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่มีความจำเริญและศักดิ์สิทธิ์
· เป็นสถานที่ซึ่งประกอบไปด้วยมัสยิดอัลอักซอกิบลัตแห่งแรกในการละหมาดของชาวมุสลิม
· เป็นมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นอันดับสามของอิสลาม
· ปาเลสไตน์ยังเป็นดินแดนแห่งการอิสรออฺ(การเดินทางในเวลากลางคืน) และมิอฺร็อจญฺ(การขึ้นไปสู่ฟ้าเบื้องบน)
· เป็นดินแดนของศาสดาทั้งหลาย ศาสดาหลายท่านที่ถูกระบุอยู่ในอัลกุรอานอันสูงส่งได้เจริญเติบโตอยู่ทีนี่และศพของพวกเขาก็ถูกฝังอยู่ในดินแดนแห่งนี้
· ปาเลสไตน์เป็นจุดศูนย์รวมของกลุ่มชนที่ได้รับชัยชนะ(ฏออิฟะฮฺ มันศูเราะฮฺ) ที่ถูกสัญญาไว้ ซึ่งยืนหยัดในสัจธรรมจนกระทั่งถึงวันสิ้นโลก.
คานาอาน: เผ่าพันธ์ชาวปาเลสไตน์
กลุ่มชนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดซึ่งอาศัยอยู่ในปาเลสไตน์และได้จารึกร่องรอยของพวกเขาไว้ในแผ่นดินนี้คือ พวก " คานาอาน" ซึ่งพวกเขาเป็นกลุ่มชนที่มาจากคาบสมุทรอาหรับราว 4,500 ปี ดั้งนั้นปาเลสไตน์จึงเป็นที่รู้จักในตอนต้นว่าเป็น "ดินแดนแห่งคานาอาน" ชาวปาเลสไตน์ในปัจจุบันคือทายาทของชาวคานาอาน
ถึงแม้ว่าปาเลสไตน์จะถูกปกครองโดยชนหลายกลุ่มครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตามแต่ชนพื้นเมืองยังคงอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย พวกเขาจำนวนมากได้เข้ารับอิสลามและได้รับเอาภาษาอาหรับมาเป็นภาษาของพวกเขาพร้อมกับการมาถึงของอิสลาม ดังนั้นเอกลักษณ์แห่งอิสลามของชาวปาเลสไตน์จึงได้ถูกสถาปนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานติดต่อกันในช่วงแห่งประวัติศาสตร์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่การพิชิตของอิสลามในปีที่ 636 แห่งคริสต์ศักราช จวบจนปัจจุบัน
การอ้างสิทธิของชาวยิวแม้ชาวยิวจะเข้าปกครองดินแดนส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์เป็นเวลานานถึง 4 ศตวรรษ(1000-586 ก่อนคริสต์กาล)โดยประมาณแต่พวกเขาก็ไม่ได้ ปกครองดินแดนทั้งหมดของปาเลสไตน์ ต่อมาอำนาจการปกครองของชาวยิวค่อยๆสิ้นสุดลงอันเนื่องจากการเข้ามามีอำนาจของพวกแอสซีเรียน เปอร์เซีย กรีกและโรมัน ในขณะที่ชาวปาเลสไตน์ยังคงตั้งรกรากอยู่ในแผ่นดินของตนเอง 90 ปี ที่ว่างเว้นจากสงครามครูเสดอิสลามได้ปกครองดินแดนแห่งนี้เป็นเวลานานถึง1,200ปี(ปีค.ศ.636-1917) ถือได้ว่าเป็นช่วงของการปกครองที่นานที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งปาเลสไตน์ ในภาคปฏิบัติความสัมพันธ์ระหว่างยิวกับปาเลสไตน์ได้สิ้นสุดลงราว1,800ปีคือตั้งแต่ปีที่135แห่งคริสต์ศักราชจนถึงศตวรรษที่20 ในช่วงเวลาดังกล่าวพวกยิวไม่มีอำนาจทั้งทางด้านการเป็นผู้นำ,ด้านการเมืองหรือแม้แต่อารยธรรมให้เห็นในปาเลสไตน์ แม้แต่ในคำสอนศาสนาก็ห้ามมิให้คนยิวกลับไปยังแผ่นดินปาเลสไตน์ไม่ว่าในกรณีใดๆทั้งสิ้น
ลูกหลานของอิสราเอล(บนี อิสรออีล)ส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับศาสดามูซา(โมเซส)ในการอพยพไปสู่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ ในทำนองเดียวกันชาวยิวส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะกลับจากบาบิโลนไปยังปาเลสไตน์หลังข้อเสนอของจักรพรรดิ์ไซรัสแห่งเปอร์เซียเสนอที่จะรักษาคนเหล่านี้เอาไว้ ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ทั้งหมดจวบจนปัจจุบันจำนวนของประชากรยิวในปาเลสไตน์ไม่เคยมีมากไปกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนประชากรยิวในช่วงที่ดีที่สุดของพวกเขา
ข้อมูลหลักฐานจากการค้นคว้าวิจัยของบรรดานักวิชาการยิว(อย่างเช่นนักวิชาการผู้เรืองนามนายอาเธอร์ คอสต์เลอร์)พบว่าชาวยิวยุคปัจจุบันกว่าร้อยละ 80 ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์กับปาเลสไตน์แต่อย่างใด เช่นเดียวกับที่พวกเขาไม่ได้มีการสืบทอดทางสายโลหิตหรือความผูกพันในความรักที่มีต่อบรรดาลูกหลานของอิสราเอล ที่จริงแล้วชาวยิวส่วนใหญ่ในปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากพวกคาซาร์ (Khazars)หรือที่เรียกกันว่าพวกอัชเคนัซ(Ashkenaz) ซึ่งเป็นชนเผ่าตาตาร์เตอร์กิค (Tatar-Turkic) เก่าแก่โบราณที่อาศัยอยู่แถบตอนเหนือของคอเคซัสและได้เข้ารับศาสนายูดายในช่วงปีที่ 8 แห่งคริสต์ศักราช ดังนั้นสมมุติว่าถ้าหากชาวยิวมีสิทธิ์ที่จะกลับไปสู่บ้านเกิดของตนเองก็คงไม่ใช่ปาเลสไตน์แต่ต้องเป็นรัสเซียตอนใต้อย่างแน่นอน
การอ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ของชาวยิวในปาเลสไตน์ได้จืดจางไปต่อหน้าสิทธิของชาวอาหรับที่มีต่อแผ่นดินของพวกเขา บรรดาลูกหลานชาวปาเลสไตน์ได้ตั้งรกรากและสร้างเมืองมามากว่า1,5oo ปีก่อนที่ชาวยิวจะสถาปนารัฐของพวกเขาขึ้นมา พวกเขายังคงอาศัยอยู่ที่นั่น จนกระทั่งพวกเขาถูกบังคับขับไล่โดยยิวไซออนิสต์ในปี ค.ศ.1948.
จากงานเขียนของ
ดร.มุหเซ็น มูฮัมมัดศอและหฺ
อ. ฮารูน หะยีหมะ แปลขอบคุณ YMTA ที่ส่งบทความให้