บาปใหญ่ คืออะไร ?
  จำนวนคนเข้าชม  13239


บาปใหญ่ คืออะไร ?


 

อธิบายโดย เชคซอแหละฮ์ บิน เฟาซาน อิบนุ อับดุลลอฮฺ อัลเฟาซาน
แปลโดย อับดุลวาเฮด  สุคนธา


إنَّ الحمد لله نحمده، والصلاة والسلام على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين. أما بعد

 

          มวลการสรรเสริญ เป็นสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺ พระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอความสุขความจำเริญ และความสันติ จงประสบแด่ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วาน และมิตรสหายของท่าน

 

          อิหม่ามชัยคุอิสลาม มูฮัมหมัด บิน อับดุลวะฮ้าบ (เราะฮิมะฮุลลอฮฺ)  ท่านได้ประพันธ์หนังสือมากมายเกี่ยวกับการอธิบายหลักศรัทธา คำสั่งใช้ สั่งห้าม และ อธิบายสิ่งที่เป็นชีริกต่อพระองค์ อธิบายบาปต่างๆที่ทำให้บกพร่องในเรื่องการศรัทธาต่ออัลลอฮฺ  ทุกเรื่องกล่าวมาแล้ว อยู่ในขบวนการตักเตือนพี่น้องมุสลิมทั้งหมด และการเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ ตะอะลา การปรับปรุงแก้ไข้สิ่งที่ผิดบนหน้าพื้นแผ่นดินนี้คือ แนวทางของบรรดาร่อซูล ( อะลัยอิมุสลาม)

 


          ในการใช้ชีวิตของมนุษย์โดยแน่นอนเขานั้นจะกระทำ ปฏิบัติ เคลื่อนไหว ไม่ว่าการทำความดี ความชั่ว โดยแน่แท้ อัลลอฮฺ ทรงส่งบรรดาร่อซูลลงมาเพื่อเรียกร้องมนุษย์ไปสู่ความดี ห้ามปรามในเรื่องความชั่ว พระองค์ทรงสร้างสวนสวรรค์เพื่อตอบแทนผู้ประกอบคุณงามความดี เชื่อฟังปฏิบัติตาม และสร้างนรกไว้สำหรับคนที่ฝ่าฝืน ดื้อดึง 


 

อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า 
 

"หรือบรรดาผู้ที่กระทำความชั่ว คิดหรือว่าเราจะทำให้พวกเขาเป็นเช่นกับบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย

ให้เท่าเทียมกันทั้งในเวลามีชีวิตของพวกเขา และการตายของพวกเขา สิ่งที่พวกเขาตัดสินนั้นมันชั่วแท้ ๆ"
 

 "จะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เช่นบรรดาผู้บ่อนทำลายในแผ่นดินกระนั้นหรือ?

หรือว่าจะให้เราปฏิบัติต่อบรรดาผู้ยำเกรง เช่นบรรดาคนชั่วกระนั้นหรือ?"

 

          อัลลอฮ์ ทรงแยกระหว่างคนดีกับคนไม่ดีด้วยการกระทำของบ่าว และพระองค์ไม่ทรงอธรรมต่อบ่าวคนใด ทรงเพิ่มความดี ให้มีเกียรติและมีความเมตตาแก่ผู้ที่ทำดี และพระองค์ทรงตอบแทนคนชั่วด้วยการตอบแทนเท่าที่เขาทำ 

 

พระองค์ตรัสว่า
 

          "ผู้ใดที่นำความดีมา เขาก็จะได้รับสิบเท่าของความดีนั้น และผู้ใดนำความชั่วมาเขาจะไม่ถูกตอบแทน นอกจากเท่าความชั่วนั้นเท่านั้น และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรม"

 


ความชั่วนั้นจะไม่เพิ่มแต่อย่างใด นี้แหละ คือความยุติธรรมของพระองค์อัลลอฮฺ ตะอะลา อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า 


 

          "แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอธรรมแม้เพียงน้ำหนักเท่าผงธุลี และถ้ามันเป็นสิ่งที่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์ก็จะทรงเพิ่มพูนความดีนั้นเป็นทวีคูณ และทรงให้จากที่พระองค์ ซึ่งรางวัลอันใหญ่หลวง"

          การเพิ่มพูนความดีคือ ความเมตตาจากพระองค์ ส่วนการตอบแทนความผิด เท่ากับสิ่งที่เขากระทำนั้นคือ ความยุติธรรม

 

 

การเชื่อฟัง(อัล-ตออัต)มีสอง ประเภท
 

1. การเชื่อฟัง(อัล-ตออัต) วายิบทำได้ผลบุญ ถ้าไม่ทำถือว่ามีโทษ
 

2. การเชื่อฟัง(อัล-ตออัต) มุสตะฮับ ทำได้ผลบุญ ถ้าไม่ทำถือว่า มามีโทษ


 

บาป แบ่งออก หลายประเภท 
 

♦ บาปถึงขั้นปฏิเสธ (การตั้งภาคี ชีริก)
 

♦ บาปใหญ่ (การฆ่าคน ทำซีนา)

♦ บาปเล็ก (ทำร้ายคนอื่น ฉ้อโกง)


          บาปถึงขั้นปฏิเสธ (การตั้งภาคี ชีริก) การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ถือเป็นบาปที่รุนแรงที่สุด คนกระทำบาปใหญ่การตั้งภาคี อัลลอฮฺไม่ทรงอภัยโทษเว้นแต่คนที่เตาบะฮ์ กลับเนื้อกลับตัวก่อนที่เขาจะเสียชีวิต หากเขาเสียชีวิตในสภาพมีภาคีต่ออัลลอฮฺ จะต้องตกนรกตลอดกาล 


อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า 

"แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับ พระองค์"

หากว่าบาปใหญ่ที่ไม่ใช่เรื่องของการตั้งภาคี อันนี้ อยู่ในความประสงค์ของพระองค์ หากพระองค์ทรงประสงค์ทรงอภัยโทษ หรืองทรงลงโทษ พระองค์ทรงกล่าวว่า 

"แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์

แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ "


บาปเล็ก จะถูกลบล้างด้วยการกระทำอิบาดะต่างๆ เช่น การละหมาดห้าเวลา ดังพระองค์ทรงกล่าวว่า

"และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ตามปลายช่วงทั้งสองของกลางวัน และยามต้นจากกลางคืน

แท้จริงความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลายนั่นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก"

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า

          “การละหมาดห้าเวลา จากวันศุกร์ถึงวันศุกร์ และจากรอมฎอนถึงรอมฎอน ล้วนเป็นการลบล้างบาปความผิดที่เกิดขึ้นในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ตราบใดที่เขาหลีกเลี่ยงการกระทำบาปใหญ่”

(รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

          ความผิดถูกลบล้างด้วยการเตาบะฮฺ กลับเนื้อกลับตัว แน่นอน อัลออฮฺ ทรงส่งเสริมบ่าวให้รีบเร่งการเตาบะฮ์ กลับตัวด้วยความจริงใจ และอิสติฆฟารฺ ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา นี่คือสิ่งที่ลบล้างความผิดของบ่าวผู้หนึ่ง หากเป็นบาปใหญ่ กุฟุร ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ แล้วเขากลับเนื้อกลับตัวด้วยการทำคุณงามความดี พระองค์จะทรงยกโทษแก่เขา เพราะประตูแห่งการอภัยโทษถูกเปิดตลอดเวลา 

จากอับดุลลอฮฺ บิน อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

“แท้จริงอัลลอฮฺทรงตอบรับการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของบ่าวของพระองค์ตราบใดที่วิญญานยังออกไม่ถึงลูกกระเดือก” 

(บันทึกโดยอัต-ติรฺมิซียฺ)

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า  

          "วันที่สัญญาณบางอย่างแห่งพระเจ้าของเจ้ามานั้น จะไม่อำนวยประโยชน์แก่ชีวิตหนึ่งชีวิตใด ซึ่งการศรัทธาของเขาโดยที่เขามิได้ศรัทธามาก่อน หรือมิได้แสวงหาความดีใด ๆ ไว้ในการศรัทธาของเขา จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่า พวกท่านจงรอกันเถิด แท้จริงพวกเราก็เป็นผู้รอคอย"


บาปแบ่งออก สอง ประเภท

1. บาปใหญ่  

2. บาปเล็ก


          บาปใหญ่ ทุกบาปที่อัลลอฮฺทรงกล่าวเอาไว้จะถูกลักษณะดังต่อไปนี้ เช่น ลงโทษด้วยนรก การสาปแช่ง การกริ้วโกรธ การลงโทษอันเจ็บปวด นี้คือ บาปใหญ่ตามที่ท่านอิบนุ อับบาส กล่าวเอาไว้มาการยืนยันจากผู้รู้ ปราชญ์หลายท่าน เช่น ท่านอิบนุตัยมียะและคนอื่นๆ


          หนังสือที่แต่งเกี่ยวกับบาปใหญ่ เช่น หนังสือ กิตาบุลกะบาอิรฺ หมวดสารบัญ , อิหม่ามอัซซะฮะบียฺ (เราะฮิมะฮุลลอฮฺ) อัซวาญีร อัน อิคติรอฟ อัลกะบาอิรฺ อิหม่าม อิบนุ ฮะญัร อัยตะมีย์

          บาปใหญ่ ดังที่กล่าวมาแล้วคือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ปฏิเสธต่อพระองค์ ซึ่งจะไม่ได้รับการอภัยโทษจากพระองค์เว้นแต่ด้วยการเตาบะฮ์เท่านั้น หากเขาตายในสภาพมีชีริก เขาจะตกนรกตลอดกาล อัลลอฮฺ กล่าวว่า 


إِنَّ اللّهَ لاَ يَغْفِرُ أَن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُونَ ذَلِكَ لِمَن يَشَاء وَمَن يُشْرِكْ بِاللّهِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيدًا 

"แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์

แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ "


إِنَّهُ مَن يُشْرِكْ بِاللَّهِ فَقَدْ حَرَّمَ اللَّهُ عَلَيْهِ الْجَنَّةَ وَمَأْوَاهُ النَّارُ وَمَا لِلظَّالِمِينَ مِنْ أَنصَارٍ

"แท้จริง ผู้ใดให้มีภาคีแก่อัลลอฮ์ แน่นอนอัลลอฮ์จะทรงให้สวรรค์เป็นที่ต้องห้ามแก่เขา

และที่พำนักของเขานั้นคือนรก และสำหรับบรรดาผู้อธรรมนั้นย่อมไม่มีผู้ช่วยเหลือใด ๆ"


             หากว่าเป็นบาปใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งภาคี เช่น การฆ่าคน ทำซีนา จะถือว่าบุคคลนั้นบกพร่องในเรื่องอิหม่าน เรียกว่าอิหม่านไม่สมบูรณ์ ในความเชื่อของอะฮลุซซุนนะฮวัลญะมาอะฮ์จะไม่ตัดสินว่าบุคคลนั้นตกศาสนา กุฟุร ด้วยหลักฐานที่ว่า อัลลอฮฺ กล่าวว่า


 إِنَّ اللّهَ لاَ يَغْفِرُ أَن يُشْرَكَ بِهِ وَيَغْفِرُ مَا دُونَ ذَلِكَ لِمَن يَشَاء وَمَن يُشْرِكْ بِاللّهِ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً بَعِيدًا 

"แท้จริง อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้เป็นภาคีกับพระองค์

แต่พระองค์จะทรงอภัยโทษให้ซึ่งสิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ "


         บัญญัติของอัลลอฮฺในเรื่องบาปใหญ่ เช่น การขโมย ทำผิดประเวณี  ดื่มเหล้า ฆ่าโดยเจตนา สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นบนถนนหนทาง อัลลอฮฺทรงคาดโทษเอาไว้แล้วในหลักศาสนาอิสลาม แม้ว่าจะเป็นต่างศาสนิกก็จะถูกลงโทษเหมือนกันทั้งหมด เช่นการฆ่าผู้ตกศาสนา ครั้งเมื่อเขาถูกลงโทษในโลกนี้ ในโลกหน้าเขานั้นจะไม่ถูกลงโทษอีก



กลุ่มคอวาริญ  

          มีความเข้าใจว่าใครกระทำบาปใหญ่ ถือว่าเขานั้นตกศาสนา จะพำนักในนรกตลอดกาล ซึ่งกลุ่มนี้เขาไม่ได้แยกระหว่าง บาปใหญ่เป็นชีริกกับบาปใหญ่ไม่เป็นชีริก หรือไม่แยกระหว่าง บาปใหญ่ บาปเล็ก ขออัลลอฮ์ทรงคุ้มครองให้รอดพ้นจากกลุ่มนี้ด้วย

          กลุ่มนี้เชื่อว่าการทำบาปใหญ่ตกศาสนาทั้งหมด ตกนรกตลอดกาล เพราะพวกเขาเชื่อในเรื่อง อัลวะอีด บทลงโทษอย่างเดียว โดยการละทิ้งเรื่อง อัลวะดุ คือการให้อภัยโทษ อิสติฆฟารฺขออภัยโทษ เชื่อในหลักฐานบางส่วน และละทิ้งบางส่วน เพราะกลุ่มนี้ไม่มีความเข้าใจในอัลกรุอ่านและซุนนะฮ์อย่างแท้จริง โดยใช้ความเข้าใจส่วนตัวไม่กลับไปพิจารณาถึงความเข้าใจของปวงปราชญ์ทั้งหลาย นี้คือผลของการละทิ้งผู้รู้ ผลพวงทำให้เขานั้นหลงทาง


กลุ่มมั๊วตะชิละฮฺ 

          มีความเข้าใจว่า ใครกระทำบาปใหญ่ ถือว่าออกจากคำว่า อิหม่าน ศรัทธา แต่ไม่ตกศาสนา คือ อยู่ในระหว่างของสภาพ  ไม่ใช่มุมิน ไม่ใช่กาเฟร แต่ใครเสียชีวิตโดยไม่กลับเนื้อกลับตัว เขานั้นตกนรกตลอดกาล 

          ข้อแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ คือ กลุ่มคอวาริญ และ กลุ่มมั๊วตะชิละฮฺ มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องการผลตอบแทนในโลกหน้าคือนรก แต่แตกต่างกันในเรื่องฮุ่กุ่มในโลกนี้ กลุ่มคอวาริญ ตกศาสนา , กลุ่มมั๊วตะชิละฮฺ ไม่ตก อยู่ในระหว่างสองสภาพ 


กลุ่มมุรญีอะฮฺ 

          มีความเข้าใจว่า การกระทำบาปนั้นไม่มีผลต่อการอิหม่านในจิตใจ เพราะอิหม่านนั้นสถิตในหัวใจ คือ การเชื่อที่มีอยู่แล้วในหัวใจ อิหม่านจะไม่เพิ่มและไม่ลด แม้ว่าจะทำบาปก็ตาม บ่าวนั้นยังคงเป็นมุมินผู้ศรัทธาเหมือนเดิม และเชื่อว่าการปฏิบัติไม่ส่งผลต่อการศรัทธาในจิตใจ เพราะอิหม่านคือการเชื่อด้วยหัวใจเท่านั้น 

บางคนเชื่อว่า อิหม่าน คือ การเชื่อด้วยใจ กล่าวด้วยลิ้นเพียงพอ

บางคนเชื่อว่า อิหม่าม รู้อย่างเดียวโดยไม่ต้องเชื่อ ถือว่าเพียงพอเหมือนที่กลุ่มญะมียะฮฺอ้าง


กลุ่มกัรรอมียะฮฺ 

          มีความเข้าใจว่า อิหม่าน นั้นกล่าวด้วยลิ้นปราศจาก การเชื่อ ถือว่าเพียงพอแล้ว