อนุญาติให้ละหมาดในห้องที่มีทีวีเปิดอยู่หรือไม่?
  จำนวนคนเข้าชม  3562


อนุญาติให้ละหมาดในห้องที่มีทีวีเปิดอยู่หรือไม่?


 

แปลเรียบเรียง อบูชีส

 


          อนุญาตให้คนใดละหมาดในห้องขณะที่เพื่อนของเขาเปิดทีวีดูอยู่หรือไม่ ? หากเขาเปิดเสียงเบาๆ และรายการทีวีต่างๆนั้นมีคนแต่งกายไม่เรียบร้อย


 

คำตอบ

 

          อัลฮัมดุลิลละห์ การละหมาดในสถานที่มีสิ่งรบกวนผู้ละหมาดในการละหมาดของเขานั้นถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ และมันสร้างความหันเหเขาออกจากการละหมาด และไม่แปลกเลยที่ๆมีทีวีเปิดอยู่นั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเขาเป็นอย่างมาก และเมื่อเขาละหมาดในสถานที่มีทีวีเปิด จิตใจก็ไม่สงบ ถึงแม้จะเปิดเสียงเบาก็ตาม

 

          รายงานจากอะบูดาวุด จากซอฟียะห์ บุตรีของ ชัยบะห์ กล่าวว่า ฉันได้ยิน อัลอัสละมียะห์ กล่าวว่า ฉันกล่าวแก่ท่านอุสมาน สิ่งที่ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวแก่ท่านขณะที่เขาเรียกท่าน 
 

ท่านอุสมานกล่าวว่า ท่านร่อซูล  กล่าวว่า

"ฉันลืมสั่งท่านให้ปิดเขาสัตว์ทั้งสอง เพราะไม่บังควรที่จะมีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของคนละหมาดไว้ในบ้าน"
 

(ท่านอัลบานีย์ กล่าวว่าเป็นฮะดิษซ่อเฮียะห์)

 

ท่านอะบูฮุรอยเราะห์ กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 
 

"ฉันถูกห้ามละหมาด หลังคนพูดคุยกัน และคนนอน" 
 

(ท่านอัลบานีย์กล่าวว่า เป็นฮะดิษ ฮะซัน)

 

จากฮะดิษของอิบนิอับบาส มีใจความว่า

"พวกท่านทั้งหลายอย่าละหมาดหลังคนนอนและคนคุยกัน"
 

(ท่านอัลบานีย์ กล่าวว่า เป็นฮะดิษ ฮาซัน)

 


          ท่าน คิฏอบีย์ กล่าวว่า ส่วนการละหมาดหลังคนคุยนั้น แน่นอน ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์และอิหม่ามอะห์มัดเห็นว่า เป็นสิ่งมักรูฮ์ เพราะดังกล่าวคือ "การพูดคุยกันนั้นเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจให้ผู้ละหมาดออกจากความสงบ"


 

     ท่านอิบนุอุมัรกล่าวเช่นกันว่า "อย่าละหมาดหลังคนพูดคุยกัน ยกเว้น วันศุกร์"

 

     อิหม่ามนาวาวีย์ กล่าวว่า "ส่วนเสื้อผ้าที่มีรูปภาพ หรือ รูปกางเขน หรือสิ่งใดที่หันเหความสนใจของผู้ละหมาด ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ"

 

          และไม่มีความสงบสำหรับคนละหมาดในสถานที่ ๆ มีทีวี เพราะมันคือสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจของเขาออกจากอัลกุรอานไปสู่การฟังเพลงหรือดนตรี โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยมีความสงบในการละหมาดอยู่แล้ว ดังนั้นสมควรต่อผู้ที่ต้องการละหมาดให้เลือกสถานที่ๆไม่มีสิ่งใดมารบกวนในการละหมาดของเขา ไม่ว่าจะเป็นเสียงหรือรูปภาพหรืออื่นจากนี้ที่ดึงดูงความสนใจของผู้ละหมาด

 


          ♦ แต่หากว่าเขาละหมาดในสถานที่ต่างๆที่กล่าวมา การละหมาดของเขาใช้ได้ แต่ถ้าละหมาดในสถานที่ดังกล่าวที่มีสิ่งรบกวน(ที่เป็นรูปภาพหรือเสียงรบกวนบางประการ) แต่ไม่มีผลใดๆต่อการละหมาดของเขา ก็ไม่เป็นไร และไม่เป็นสิ่งทีน่ารังเกียจ

 


           แต่ถ้าหากเขาละหมาดในสถานที่ ๆ มีสิ่งรบกวนและมีผลต่อการละหมาดของเขา ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ(มักโรฮ์)