ความดีและความชั่ว
  จำนวนคนเข้าชม  23356


ความดีและความชั่ว


 

แปลเรียบเรียง : อับดุลวาเฮด  สุคนธา

 

จากท่าน อัน-เนาวาส อิบนุ สัมอาน เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ จากท่านนบี ﷺ ท่านกล่าวว่า


عَنِ النَّوَّاسِ بْنِ سَمْعَانَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَبِيِّ ﷺ قَالَ :البِرُّ حُسْنُ الخُلُقِ وَالإِثْمُ مَا حَاكَ فِيْ نَفْسِكَ وَكَرِهْتَ أَنْ يَطَّلِعَ عَلَيْهِ النَّاسُ " رَوَاهُ مُسْلِمٌ . 

 

 “ความดีนั้นคือ การมีจรรยามารยาทงดงาม

ส่วนความชั่วนั้น คือ สิ่งที่ทำให้กระสับกระส่ายในตัวท่าน และท่านก็ไม่ชอบให้ใครรู้เห็น” 
 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 


นิยามของคำว่า อัลบัรรฺ หมายถึง คุณลักษณะ หรือ การกระทำที่ดี 


 

อัลลอฮฺ  ทรงกล่าวว่า 


لَّيْسَ الْبِرَّ أَن تُوَلُّوا وُجُوهَكُمْ قِبَلَ الْمَشْرِقِ وَالْمَغْرِبِ وَلَٰكِنَّ الْبِرَّ مَنْ آمَنَ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ وَالْمَلَائِكَةِ وَالْكِتَابِ وَالنَّبِيِّينَ وَآتَى الْمَالَ عَلَىٰ حُبِّهِ ذَوِي الْقُرْبَىٰ وَالْيَتَامَىٰ وَالْمَسَاكِينَ وَابْنَ السَّبِيلِ وَالسَّائِلِينَ وَفِي الرِّقَابِ وَأَقَامَ الصَّلَاةَ وَآتَى الزَّكَاةَ وَالْمُوفُونَ بِعَهْدِهِمْ إِذَا عَاهَدُوا  وَالصَّابِرِينَ فِي الْبَأْسَاءِ وَالضَّرَّاءِ وَحِينَ الْبَأْسِ  أُولَٰئِكَ الَّذِينَ صَدَقُوا  وَأُولَٰئِكَ هُمُ الْمُتَّقُونَ

 

          "หาใช่คุณธรรมไม่ การที่พวกเจ้าผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแต่ทว่า คุณธรรมนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และวันปรโลก และศรัทธาต่อมลาอิกะฮ์ ต่อบรรดาคัมภีร์และนะบีทั้งหลาย

          และบริจาคทรัพย์ทั้งๆ ที่มีความรักในทรัพย์นั้น แก่บรรดาญาติที่สนิทและบรรดาเด็กกำพร้า และแก่บรรดาผู้ยากจนและผู้ที่อยู่ในการเดินทาง และบรรดาผู้ที่มาขอและบริจาคในการไถ่ทาส และเขาได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาต

         และ(คุณธรรมนั้น) คือบรรดาผู้ที่รักษาสัญญาของพวกเขาโดยครบถ้วน เมื่อพวกเขาได้สัญญาไว้ และบรรดาผู้ที่อดทนไนความทุกข์ยาก และในความเดือดร้อน แลละขณะต่อสู่ในสมรภูมิ ชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่พูดจริง และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่มีความยำเกรง "
 

(อัลบะกอเราะ 177)

 


          ในความหมายของโอวาทท่านนบี  บอกว่า มารยาทที่ดีนั้นคือความดี เพราะโดยส่วนมากแล้วการมีมารยาทนั้นถือว่าเป็นคุณลักษณะแห่งความดีทั้งหลาย มันหมายถึง การทำที่ดี ห้ามปรามความชั่วร้าย ทุกๆความดีที่มีต่อตัวเองและคนรอบข้างถือว่าเป็นการมีมารยาทที่ดีดังที่อัลลอฮฺ  ทรงกล่าวว่าชมเชยท่านร่อซูล  ในโองการที่ว่า 


وَإِنَّكَ لَعَلَى خُلُقٍ عَظِيمٍ     "และแท้จริงเจ้านั้น อยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่"

 

         ครั้งเมื่อเรามีจรรยามารยาทที่ดีแล้ว การกระทำออกมาจากสิ่งที่ดีทั้งหลาย แต่เมื่อใดก็ตามหากมีจริยธรรมที่ไม่ดี พฤติกรรมออกมาไม่ดีเช่นกัน และเขาจะไม่ได้รับความดีต่างๆมากมาย


 


นิยามความชั่ว 


 

          ตรงข้ามความดี  คือ สิ่งที่สับสนในทรวงอก ไม่มั่นใจในสิ่งที่ทำ อารมณ์ไม่ตอบรับสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะสิ่งนั้นคือสิ่งที่ไม่ดีเป็นบาป เมื่อเรากระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วไม่อยากให้คนอื่นรับรู้บ่งชี้เห็นว่าสิ่งนั้น คือสิ่งที่ไม่ดี

 

ดั่งที่อัลลอฮฺ  ทรงกล่าวว่า 


قُلْ إِنَّمَا حَرَّمَ رَبِّيَ الْفَوَاحِشَ مَا ظَهَرَ مِنْهَا وَمَا بَطَنَ وَالْإِثْمَ وَالْبَغْيَ بِغَيْرِ الْحَقِّ

 

"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แท้จริงสิ่งที่พระเจ้าของฉันทรงห้ามนั้น คือบรรดาสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ

ทั้งเป็นสิ่งที่เปิดเผยจากมันและสิ่งที่ไม่เปิดเผย และสิ่งที่เป็นบาป และการข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรม"
 

(อัลอะรอฟ 33)

 


         ท่านอิหม่าม เนาวะวีย์กล่าวว่า ความดีคือสิ่งที่ทำแล้วสบายใจ ส่วนความชั่วคือสิ่งที่ทำแล้ว กระวนกระวายในจิตใจ สิ่งที่ทำให้จิตใจไม่สงบ หากว่าหัวใจเกิดความกลัว มั่นใจเลยว่าสิ่งนั้น คือความผิด