อย่าลืมความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  8033


อย่าลืมความโปรดปรานของอัลลอฮฺ


เรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา


          บ่าวผู้ศรัทธา ต้องรำลึกถึงความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่างทั้งหลายและสมควรบ่าวนั้นจะต้องรู้จักการขอบคุณต่อสิ่งที่พระองค์ทรงโปรดปราน
 

อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า 


ذَٰلِكَ بِأَنَّ اللَّهَ لَمْ يَكُ مُغَيِّرًا نِّعْمَةً أَنْعَمَهَا عَلَىٰ قَوْمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُوا مَا بِأَنفُسِهِمْ  وَأَنَّ اللَّهَ سَمِيعٌ عَلِيمٌ

 

          "นั่นก็เพราะว่า อัลลอฮฺมิได้ทรงเป็นผู้เปลี่ยนแปลงความกรุณาใด ๆ ที่พระองค์ประทานมันแก่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดจนกว่าพวกเขาจะได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในตัวของพวกเขาเอง และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้”
 

(อันฟาล 53)


وَإِذْ تَأَذَّنَ رَبُّكُمْ لَئِن شَكَرْتُمْ لَأَزِيدَنَّكُمْ  وَلَئِن كَفَرْتُمْ إِنَّ عَذَابِي لَشَدِيدٌ

 

"และจงรำลึกขณะที่พระเจ้าของพวกเจ้าได้ประกาศว่า หากพวกเจ้าขอบคุณ ข้าก็จะเพิ่มพูนให้แก่พวกเจ้า

และหากพวกเจ้าเนรคุณ แท้จริงการลงโทษของข้านั้นสาหัสยิ่ง”
 

(อิบรอฮีม 7)
 

การรำลึกต่อความโปรดปรานนำมาซึ่งการเพิ่มพูนริสกีต่างๆมากมาย

ท่านอิหม่าน อาลี ร่อดิยัลลอฮุอันฮุ 


إِنَّ النِّعْمَةَ مَوْصُولَةٌ بِالشُّكْرِ ، وَالشُّكْرُ مُتَعَلِّقٌ بِالْمَزِيدِ ، وَهُمَا مَقْرُونَانِ فِي قَرْنٍ ، وَلَنْ يَنْقَطِعَ الْمَزِيدُ مِنَ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ حَتَّى يَنْقَطِعَ الشُّكْرُ مِنَ الْعَبْدِ 
    

          "แท้จริง ความโปรดปรานถูกประทานลงมาอันเนื่องจากการขอบคุณ และการขอบคุณเกี่ยวข้องการการเพิ่มพูน สองอย่างนี้ต้องควบคู่กัน การเพิ่มพูนจากอัลลอฮฺยังไม่ขาดสายจนกว่าบ่าวนั้นจะตัดขาดการขอบคุณต่อพระองค์"

หนังสือ شعب الإيمان للبيهقي

ท่านอบู ด้ารดะฮฺ กล่าวว่า

 
اذْكُرِ اللَّهَ فِي السَّرَّاءِ يَذْكُرُك فِي الضَّرَّاءِ

"พวกท่านจงรำลึกถึงอัลลอฮฺในยามสุขสบาย แล้วพระองค์ จะรำลึกถึงท่านในยามทุกข์ยาก"

 


จงเป็นผู้ที่มีความอ่อนโยน 


اذْهَبَا إِلَىٰ فِرْعَوْنَ إِنَّهُ طَغَىٰ  فَقُولَا لَهُ قَوْلًا لَّيِّنًا لَّعَلَّهُ يَتَذَكَّرُ أَوْ يَخْشَىٰ

"เจ้าทั้งสองจงไปหาฟิรเอาน์ แท้จริงเขายะโสโอหังมาก แล้วเจ้าทั้งสองจงพูดกับเขาด้วยคำพูดที่อ่อนโยน

บางทีเขาอาจจะรำลึกขึ้นมา หรือเกิดความยำเกรงขึ้น"

(ตอฮา 43)

          ให้มีความสุภาพอ่อนโยนในการพูด ออกห่างคำพูดหยาบคาย เพราะโดยธรรมชาติคนเรานั้นชอบการพูดจาอ่อนหวาน นิ่มนวลสุภาพ น่าฟังและเป็นที่สนใจของคนรอบข้าง ตัวอย่างเช่น อัลลอฮฺทรงบัญชาให้ท่านนบี มูซา ท่านนบีฮารูนไปหาฟิรเอาน์ ผู้โอหังต่อพระองค์ พระองค์ทรงบอกกับท่านนบีทั้งสองให้คำพูดที่นิ่มนวล แม้ว่าเขานั้นจะเป็นคนโอหังต่อพระเจ้าก็ตาม

พระองค์กล่าวว่า 


فَبِمَا رَحْمَةٍ مِّنَ اللَّهِ لِنتَ لَهُمْ  وَلَوْ كُنتَ فَظًّا غَلِيظَ الْقَلْبِ لَانفَضُّوا مِنْ حَوْلِكَ  فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاسْتَغْفِرْ لَهُمْ وَشَاوِرْهُمْ فِي الْأَمْرِ  فَإِذَا عَزَمْتَ فَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ  إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُتَوَكِّلِينَ 

          "เนื่องด้วยความเมตตาจากอัลลอฮ์นั่นเอง เจ้า(มุฮัมมัด) จึงได้สุภาพอ่อนโยนแก่พวกเขา และถ้าหากเจ้าเป็นผู้ประพฤติหยาบช้า และมีใจแข็งกระด้างแล้วไซร้ แน่นอนพวกเขาก็ย่อมแยกตัวออกไปจากรอบ ๆ เจ้ากันแล้ว ดังนั้นจงอภัยให้แก่พวกเขาเถิด และจงขออภัยให้แก่พวกเขาด้วย และจงปรึกษาหารือกับพวกเขาในกิจการทั้งหลาย ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายแด่อัลลอฮ์เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักใคร่ผู้มอบหมายทั้งหลาย"

(อะลาอิมรอน 159)

وَقُولُوا لِلنَّاسِ حُسْنًا     "และจงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์อย่างดี" 

(อัลบะกอเราะ 83)

มีรายงานจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :


يَا عَائِشَةُ إِنَّ اللَّهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ، وَيُعْطِي عَلَى الرِّفْقِ مَا لاَ يُعْطِي عَلَى الْعُنْفِ، وَمَا لاَ يُعْطِي عَلَى مَا سِوَاهُ

“โอ้ อาอิชะฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้อ่อนโยนและทรงโปรดปรานความอ่อนโยน

และประทานบนความอ่อนโยนในสิ่งที่ไม่ประทานบนความแข็งกร้าว และสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากมัน” 

(บุคอรีย์ : และมุสลิม)

ท่านอิหม่าม อาลี ร่อดิยัลลอฮุ กล่าวว่า


مَنْ لانَتْ كَلِمَتُهُ وَجَبَتْ مَحَبَّتُهُ "     "ใครที่นิ่มนวลในคำพูด แน่นอน เขาจะเป็นคนที่ถูกรัก"

          การมีคำพูดที่ดี สวยงาม อ่อนโยน คือมารยาทของอิสลามและ อาวุธเอาที่จะครองใจคน ฉะนั้นนี้คือสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบันที่ต้องนำมาใช้ในการสอน การบรรยาย หรือ การตักเตือน  ควรนำแบบอย่างในหลักคำสอนอิสลามมาใช้เพราะนี้คือสัจธรรม ที่อิสลามดำรงไว้อย่างสวยงาม