ความดีงามจงประสบแด่บรรดาคนแปลกหน้า
แปลและเรียบเรียงโดย อับดุลวาเอด สุคนธา
ฟิตนะความวุ่นวายนั้น จะเกิดขึ้น ตามที่ท่านนบี บอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ ในช่วงยุคสุดท้าย ความรุนแรงของฟิตนะจะเกิดขึ้นมากมาย จะรุนแรงกว่าฟิตนะที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้อีก ท่านนบี กล่าวเอาไว้ว่า
يأتي على الناس زمان القابض على دينه كالقابض على الجمر
"จะมีประชาชาติในยุคสุดท้ายที่ยึดมั่นในศาสนา เปรียบดั่งกับจับถ่านไฟเอาไว้ในกำมือ "
(บันทึกโดย ติรมีซีย์)
بَدَأَ الْإِسْلَامُ غَرِيبًا وَسَيَعُودُ غَرِيبًا كَمَا بَدَأَ فَطُوبَى لِلْغُرَبَاءِ
"อิสลามได้เริ่มอย่างแปลกหน้า และต่อไปอิสลามก็จะหวนกลับมาสู่ความแปลกหน้าเหมือนที่อิสลามได้เริ่มมาแล้ว
ดังนั้นบรรดาความดีงามอันมากมายจงประสบแก่บรรดาคนแปลกหน้า"
(รายงานโดยมุสลิม)
ท่านอัตติรมีซีย์ได้รายงานจากอัมร์ บิน เอาฟ์ ว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إِنَّ الدِّينَ بَدَأَ غَرِيبًا وَيَرْجِعُ غَرِيبًا فَطُوبَى لِلْغُرَبَاءِ الَّذِينَ يُصْلِحُونَ مَا أَفْسَدَ النَّاسُ مِنْ بَعْدِي مِنْ سُنَّتِي
"แท้จริงศาสนานั้นเริ่มต้นโดยแปลกหน้า และต่อไปศาสนาก็จะหวนกลับมาแปลกหน้าอีกครั้ง ดังนั้นความดีงามอันมากมายจงประสบแด่บรรดาคนแปลกหน้า ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นจะทำการปรับปรุงสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างความเสื่อมเสียจากซุนนะฮ์ของฉันหลังจากที่ฉันได้เสียชีวิตไปแล้ว"
(รายงานโดยอัตติรมีซีย์)
ท่านอะห์มัด ได้รายงานหะดีษถึงท่าน อับดุลลอฮ์ บิน อัมร์ ว่า ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
طُوبَى لِلْغُرَبَاءِ فَقِيلَ مَنْ الْغُرَبَاءُ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ أُنَاسٌ صَالِحُونَ فِي أُنَاسِ سُوءٍ كَثِيرٍ مَنْ يَعْصِيهِمْ أَكْثَرُ مِمَّنْ يُطِيعُهُمْ
"ความดีงามจงประสบแด่บรรดาคนแปลกหน้า "
จึงถูกถามว่า "โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ใครคือบรรดาคนแปลกหน้า?"
ท่านร่อซูลุลลอฮ์ กล่าวว่า "พวกเขาคือคนที่มีคุณธรรมในหมู่ผู้คนชั่วอย่างมากมาย ผู้ที่ฝ่าฝืนพวกเขานั้นมีมากกว่าผู้ที่เชื่อฟังพวกเขา"
( รายงานโดยอิมามอะห์มัด)
ชนิดของความแปลกหน้ามี 2 ชนิดคือ
1. แปลกหน้าเพราะอยู่ต่างแดน ห่างเหินจากครอบครัว ญาติใกล้ชิดและมิตรสหาย หรือเป็นแกะดำในสังคม
2. แปลกหน้าเพราะทัศนคติ ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นความแปลกหน้าที่เราต้องการในบทความนี้ เพราะถึงแม้ว่าจะอาศัยอยู่ในประเทศของตนเอง แต่ทัศนคติและการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกันทำให้รู้สึกแปลกหน้าจากผู้อื่น
ความหมายของผู้แปลกหน้าในตัวบท
1. ผู้แปลกหน้าคือ ผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมจำนวนเล็กน้อยที่อาศัยอยู่ในกลุ่มคนเลวที่มีจำนวนมากกว่า
2. ผู้แปลกหน้าคือผู้ที่ฟื้นฟูสุนนะฮ์ของท่านเราะสูล และเผยแผ่สุนนะฮ์นี้ในหมู่คนผู้อื่นโดยมีหะดีษหนึ่งอธิบายว่า
تِي ويعلِّمونَها الناسمَن الفُرباء يا رسولَ الله ؟ قالَ : الذينَ يحْيون شنَّ
“มีผู้ถามถามท่านว่า แล้วผู้แปลกหน้านั้นคือใคร ?
ท่านตอบว่า " บรรดาผู้ฟื้นฟูสุนนะฮ์ของฉัน และเผยแพร่สุนนะฮ์นี้ในหมู่มนุษย์
มุมินที่อยู่ในยุคสุดท้าย ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นไม่มีญาติที่พักอาศัย เป็นคนแปลกหน้าในถิ่นอาศัย แต่สำหรับผู้ศรัทธานั้น จะต้องอดทน ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น อัลลอฮฺ ตรัสว่า
وَتَوَاصَوْا بِالْحَقِّ وَتَوَاصَوْا بِالصَّبْرِ
"และพวกที่กำชับกับด้วยความจริง และพวกที่กำชับกันด้วยความอดทน"
ขอต่ออัลลอฮฺ ประทานสิ่งที่ดี ตลอดจนการงานที่ดีทั้งคำพูดและการกระทำ วัสลาม
وصلى الله وسلم على نبيا محمد وعلى آله وأصحابه أجمعين