ส่วนหนึ่งของการสังหารหมู่ที่ปฏิบัติการโดยยิวต่อพี่น้องปาเลสไตน์
1. การสังหารหมู่ที่ ดีร์ยาซีนกลุ่มก่อการร้ายยิวที่นำโดย นายเบกิน นายชารอน และเดวิด เบนกูเรียน ได้บุกจู่โจมหมู่บ้าน ดีร์ยาซีน ซึ่งมีประชากรจำนวน 600 คน ท่ามกลางความเงียบสงัดในคืนหนึ่ง ขณะที่ทุกคนกำลังหลับสนิท กลุ่มก่อการร้ายยิวก็ได้บุกจู่โจมทุกครัวเรือน พวกเขาได้เข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยมแม้กระทั่งเด็กเล็ก ผู้หญิง แม้กระทั่งสัตรีมีครรภ์ก็ถูกคว้านท้องอย่างอนาถ ใบหูและนิ้วมือของผู้หญิงถูกเฉือนตัดไปเพราะต้องการปล้นสะดมตุ้มหูและแหวนที่นางสวมใส่ ชาวยิวได้กราดยิงชาวบ้านตั้งแต่ตี 2 เที่ยงคืนจนกระทั่งเที่ยงวันรุ่งขึ้น ทำให้ผู้คนเสียชีวิตจำนวน 360 คน เหยื่อการก่อการร้ายในครั้งนี้ส่วนมากแล้วคือ เด็ก สตรีและคนแก่เฒ่า
2. การสังหารหมู่ที่ กุฟร์ กอซิม (29/10/1956)ทหารก่อการร้ายยิวได้บุกจู่โจมหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อกุฟร์ กอซิม พร้อมประกาศห้ามพลเมืองออกจากบ้าน ผู้ใดที่กลับบ้านช้ากว่าที่กำหนดก็ถูกยิงทิ้งอย่างทารุณ กระสุนของพวกเขาไม่แยกแยะระหว่างเด็กเล็ก สตรี คนแก่คนเฒ่า ทหารก่อการร้ายยิวได้ฆ่าพลเมืองทั้งหมด 49 คนและบาดเจ็บจำนวนมาก
3. การสังหารหมู่ที่หมู่บ้านกิบยะฮฺ (14/10/1953)กิบยะฮฺ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณ 200 คน หน่วยก่อการร้ายยิวจำนวน 600 คนพร้อมอาวุธหนัก ที่นำโดย นายชารอน ได้บุกจู่โจมหมู่บ้านนี้เป็นเวลานานถึง 32 ชั่วโมงติดต่อกัน เป็นผลให้บ้านเรือนจำนวน 56 หลังพังย่อยยับ มัสยิดและโรงเรียนถูกถล่มราบคาบ ผู้เสียชีวิตทั้งชายหญิงและเด็กๆจำนวน 67 คน และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
4. การสังหารหมู่ที่มัสยิดอัลอักซอ
หน่วยก่อการร้ายยิวได้บุกโจมตีมัสยิดอัลอักซอและเข่นฆ่าพี่น้องมุสลิมที่กำลังละหมาดในมัสยิด อัลอักซอจำนวน 3 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 , 1996 และ 2000 ตามลำดับ
การฆาตกรรมในปีคศ. 1990 เกิดขึ้นก่อนละหมาดซุฮริเพียงเล็กน้อย สาเหตุมาจากกลุ่มก่อการร้ายยิวจำนวนหนึ่งได้เข้ามาบริเวณมัสยิดอัลอักซอและได้วางศิลารากฐานสร้างโดมสุไลมานตามความเชื่อของพวกเขา ทำให้มุสลิมที่อยู่บริเวณนั้นไม่พอใจและขัดขวางการกระทำดังกล่าว กลุ่มก่อการร้ายยิวจึงบุกเข้าไปในมัสยิดอัลอักซอและกราดยิงใส่ผู้ที่กำลังละหมาดทำให้มีผู้เสียชีวิต 21 คน บาดเจ็บ 150 คน ถูกจับ 270 คน
สำนักข่าวฝรั่งเศสได้รายงานว่า เลือดของเหยื่อการก่อการร้ายได้ไหลเป็นแนวยาวกว่า 200 เมตร ผู้บาดเจ็บได้แหวกว่ายในทะเลเลือด ผู้คนล้มตายและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก มันเป็นภาพที่น่าเวทนาและเศร้าสลดเหนือคำบรรยาย
สำหรับการ ฆาตรกรรมที่มัสยิดอัลอักซอครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อ 28 /9/2000 หลังจากที่ชาวมุสลิมได้ประท้วงนายชารอน พร้อมด้วยทหารก่อการร้ายของเขาที่เข้ามาเยือนมัสยิดอัลอักซอ เวลาประมาณ 9.00 น.ในเช้าวันศุกร์ ชาวมุสลิมนับหมื่นได้รวมตัวกันที่มัสยิดอัลอักซอเพื่อละหมาดวันศุกร์ ในขณะที่ทหารก่อการร้ายยิวนับหมื่นคนได้ปิดล้อมมัสยิดอัลอักซอ ก่อนที่ชาวมุสลิมจะละหมาดวันศุกร์เสร็จ ทหารยิวจำนวน 250 คน ได้บุกเข้าไปในมัสยัดอัลอักซอและกราดยิงผู้ที่กำลังละหมาดอย่างบ้าคลั่ง เป็นผลให้ 7 คนเสียชีวิตและ 250 คนบาดเจ็บสาหัส หลังจากนั้นเกิดการปะทะอย่างรุนแรงระหว่าง 2 ฝ่าย หน่วยก่อการร้ายยิวได้ใช้เฮลิคอปเตอร์กราดยิงเข้าไปในมัสยิด พวกเขาได้ปิดล้อมโรงพยาบาลในบริเวณอัลกุดส์ เพื่อสกัดกั้นไม่ให้ผู้บาดเจ็บถูกลำเลียงเข้าไปในโรงพยาบาล
5. การสังหารหมู่ที่มัสยิดอิบรอฮีมี ที่หมู่บ้านอัลคอลีลฆาตกรรมอันน่าสยดสยองนี้เกิดขึ้นวันที่ 15 รอมฎอน 1414 (1994) ขณะที่ชาวมุสลิมกำลังละหมาดซุบฮิและกำลังก้มสุญูด ทันใดก็มีเสียงกำปนาทกึกก้องด้วยเสียงปืนและระเบิดที่หน่วยก่อการร้ายยิวได้กระหน่ำยิงผู้ที่กำลังละหมาด เป็นเหตุให้คร่าชีวิตและบาดเจ็บสาหัสจำนวน 350 คน พวกเขาได้ล้อมมัสยิดอิบรอฮีมีและไม่อนุญาตให้ผู้คนเข้าออกได้ เพื่อสกัดฝูงชนมิให้ปฐมพยาบาลเหยื่อกระสุนที่อยู่ในมัสยิด หน่วยก่อการร้ายยิวได้กราดยิงมุสลิมที่พยายามเข้ามาช่วยเหลือพี่น้องที่อยู่ในมัสยิด พวกเขาได้เข่นฆ่าพี่น้องมุสลิมแม้กระทั่งขณะนำศพไปยังสุสานหรือช่วงที่พี่น้องมุสลิมรวมตัวเพื่อบริจาคโลหิตแก่ผู้บาดเจ็บ
6. การสังหารหมู่ที่ค่ายอพยพศ็อบรอ และชาติลลาปฏิบัติการอันป่าเถื่อนนี้เป็นผลจากความร่วมมือระหว่างยิวกับชาวคริสเตียนที่เลบานอน โดยการนำของนายชารอน รัฐมนตรีว่าการสงครามของรัฐก่อการร้ายอิสราเอล เกิดขึ้นในเข้าตรู่วันที่ 15/9/1982 โดยที่กองกำลังผสมระหว่างยิวและคริสเตียนได้บุกจู่โจมผู้อพยพทั้ง 2 แห่งที่ ศ็อบรอ และ ชาติลลา การปฏิบัติการอันป่าเถื่อนนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง พวกเขาได้ปิดล้อมค่ายผู้อพยพพร้อมทั้งจู่โจมด้วยสารพัดอาวุธเป็นผลให้มี ผู้เสียชีวิต 3,500 คน เหยื่อคนหนึ่งที่รอดชีวิตเล่าว่าหน่วยก่อการร้ายได้ใช้มีด ฟันแทงเหยื่อผู้เคราะห์ร้าย พวกเขาได้ขุดหลุมขนาดใหญ่และกลบผู้คนทั้งๆ ที่มีชีวิต พวกเขาได้บุกเข้าไปยังห้องนอนและเข่นฆ่าไม่เว้นลูกเล็กเด็กแดง แม้กระทั่งหญิงมีครรภ์ก็ถูกคว้านท้องอย่างสยดสยอง ในขณะที่รถทหารจำนวนหนึ่งได้เข้าไปเหยียบย่ำเต้นท์ที่มีผู้คนอาศัยอยู่จนราบเป็นหน้ากลอง
นี่คือเสี้ยวหนึ่งของมหกรรมการก่อการร้ายของยิวที่มีต่อพี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์ นับตั้งแต่การก่อตั้งรัฐอันธพาลอิสราเอลเมื่อปี ค.ศ. 1948 พี่น้องมุสลิมปาเลสไตน์ยังไม่เคยหลับตาพักผ่อนจากการทำลายล้างที่รุนแรงและเหี้ยมโหดที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ พวกเขาไม่มีสิทธิที่จะใช้ชีวิตเยี่ยงมนุษย์แม้กระทั่งในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง พวกเขาถูกไล่ล่าจองล้างจองผลาญ แม้กระทั่งต้องกระเสือกกระสนเข้าพำนักในศูนย์อพยพที่มีสหประชาชาติเป็นผู้ดูแลอุปถัมภ์ ซึ่งก็กลายเป็นสุสานดีๆนี่เอง คำสุภาษิตที่ว่าหนีเสือปะจระเข้ ดูเหมือนว่าจะน้อยไปสำหรับชะตาชีวิตของชาวปาเลสไตน์
รัฐอันธพาลอิสราเอล ไม่ผิดอะไรกับคนบ้าคลั่ง ไร้สติ ซาดิสม์ แต่ที่น่าตกใจมากกว่านี้ เด็กบ้าคนนี้ได้รับการเอาใจใส่และดูแลเป็นอย่างดีจากผู้เป็นพ่อคือสหรัฐอเมริกา ทุกครั้งที่เด็กบ้าคนนี้ไปอาละวาดแสดงความป่าเถื่อนต่อพี่น้องชาวปาเลสไตน์ และสังคมโลกพากันรุมประณาม เราจะเห็นว่าจะมีคุณพ่อใจทรามคอยชมดูอยู่ห่างๆ และพร้อมปกป้องลูกเกเรของตนอยู่เสมอ มีรายงานยืนยันว่า ระหว่างปี 1972 ถึง1996 สหรัฐอเมริกาใช้สิทธิวีโต้ในที่ประชุมสหประชาชาติจำนวน 30 ครั้งเพื่อยับยั้งมิให้สังคมโลกประณามรัฐบาลทมิฬอิสราเอลตามมติสหประชาชาติ นายเบนกูเรียน เคยกล่าวว่า มติสหประชาชาติหรือมติที่ประชุมใดๆ ขอให้ถือเป็นนวนิยายในตำราที่ถูกบันทึกในกระดาษเท่านั้น ไม่มีทางที่จะสร้างแรงกดดันต่ออิสราเอล ใดๆ ทั้งสิ้น และอิสราเอลไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเหล่านั้น
ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2552 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 14 ประเทศได้ประณามการโจมตีของรัฐอันธพาลอิสราเอล พร้อมสั่งให้มีการหยุดยิงและถอนทหารจากฉนวนกาซ่าโดยทันที มีประเทศเดียวเท่านั้นที่ได้แสดงจุดยืนอย่างเสมอต้นเสมอปลายเกี่ยวกับเหตุการณ์อันเลวร้ายนี้ด้วยการงดออกเสียง เข้าข้างลูกเกเรของตนอย่างน่าเกลียดและไร้ยางอายที่สุด ประเทศนั้นคือสหรัฐอเมริกา ผู้สถาปนาตนเองเป็นตำรวจโลกและผู้ปราบปรามก่อการร้ายทั่วโลกยกเว้นรัฐอันธพาลอิสราเอล
7. การเผามัสยิดอัลอักซอแผนการอันชั่วร้ายประการหนึ่งของหน่วยก่อการร้ายยิวคือแผนการทำลายมัสยิดอัลอักซอเพื่อสร้างโดมสุไลมานตามความเชื่อที่พวกเขาอุปโลกน์ขึ้นมา
การเผามัสยิดอัลอักซอเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 1969 โดยเด็กหนุ่มคริสเตียนได้เข้าไปจุดไฟเผามัสยิดอัลอักซอทำให้แท่นมิมบัรศอลาหุดดีนถูกไฟไหม้ และเนื้อที่มัสยิดประมาณ 1,500 ตร.ม. ได้รับความเสียหาย รัฐบาลอิสราเอลได้จับกุมหนุ่มคริสเตียนคนนั้น และแสดงละครตบตาว่าหนุ่มคนนี้เป็นคนที่มีสติไม่สมประกอบ จึงปล่อยตัวไป มีรายงานยืนยันว่าขณะที่ไฟไหม้มัสยิดอัลอักซอนั้น น้ำประปาถูกตัดขาดและไม่มีใครสามารถมาดับไฟได้แม้กระทั่งรถดับเพลิงประจำเมืองกุดส์
พลันที่ยิวประกาศเป็นประเทศอิสราเอลตามสนธิสัญญาบัลฟอร์เมื่อปีค.ศ.1917 แรบไบ คนหนึ่งพร้อมด้วยสมาชิกไซออนิสต์ได้ยื่นหนังสือต่อรัฐบาลอังกฤษ เพื่อเข้าไปครอบครองเมืองกุดส์ โดยมีวัตถุประสงค์ทำลายมัสยิดอัลอักซอและสร้างโดมสุไลมานแทนที่
เมื่อปีค.ศ.1930 แรบไบชาวโรมาเนีย ชื่อโรซันเบอร์กได้ส่งหนังสือถึงประธานสภาชะรีอะฮฺอิสลาม และประธานผู้พิพากษาแห่งปาเลสไตน์โดยเรียกร้องให้ส่งมอบมัสยิดอัลอักซอแก่ยิว เพื่อจะได้สร้างโดมสุไลมานและศาสนสถานยิวอื่นๆ แทนที่ เหตุการณ์ครั้งนี้สร้างความโกรธแค้นแก่ชาวปาเลสไตน์เป็นอย่างมาก
เมื่อปีค.ศ. 1967 เดวิด เบนกูเรียนได้ประกาศอย่างอหังการว่า ไม่มีความหมายใดๆ สำหรับอิสราเอลหากปราศจากกุดส์ และไม่มีคุณค่าใดๆ สำหรับกุดส์หากไม่สามารถกระชากสถานที่สร้างโดมอิสมาอีลจากคนอาหรับ
ชาวยิวแอบอ้างว่าสถานที่สร้างมัสยิดอัลอักซอและมัสยิมโดม(ทรงแปดเหลี่ยม)ในปัจจุบันนั้น เคยเป็นที่ตั้งของโดมสุไลมาน ดังนั้นพวกเขาจึงใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะทำลายทั้งสองมัสยิดดังกล่าว เพื่อสร้างโดมสุไลมานแทนที่
มีคนถามนักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอลคนหนึ่ง เกี่ยวกับผลสุดท้ายของมัสยิดโดมและมัสยิดอัลอักซอ จะเป็นเช่นไรหากมีการสร้างโดมสุไลมานขึ้นมาแทนที่ นักประวัติศาสตร์คนนั้นตอบว่า จะต้องมีการศึกษาต่อไป แต่บางทีอาจเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จนสามารถทำลายมัสยิดของชาวมุสลิมก็เป็นได้
นอกจากนี้ หน่วยก่อการร้ายยิวโดยเฉพาะหน่วยราชการลับ Mossad เป็นหน่วยที่มีชื่อเสียงด้านทารุณกรรมนักโทษที่ผิดวิสัยของมนุษย์ โดยเฉพาะนายชารอน ที่เป็นจอมซาดิสม์ซึ่งหัวเราะอย่างบ้าคลั่งในทุกครั้งที่เขาเห็นการทารุนกรรมของเหยื่อ
ที่มา : จากหนังสือ"ปาเลสไตน์ แผ่นดินที่ไร้ประชาชน เพื่อทรชนผู้ไม่มีแผ่นดิน"
ผู้เขียน : มัสลัน มาหะมะ
الكاتب : مرسلان محمد
สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา