กฎเกณฑ์ตัดสินการเป็นผู้ปฏิเสธแก่บุคคลอื่น
  จำนวนคนเข้าชม  2271


กฎเกณฑ์ตัดสินการเป็นผู้ปฏิเสธแก่บุคคลอื่น

 

แปลโดย อิสมาอีล กอเซ็ม

 

          อยากทราบถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สามารถจะตัดสินบุคคล คนหนึ่งว่า เป็นผู้ปฏิเสธ หรือเป็นผู้ที่ทำความชั่ว เพื่อให้ได้รอดพ้นจากการกระทำที่เป็นการอุตริ ซึ่งได้เกิดขึ้นอย่างมากมายในยุคปัจจุบัน จากการกระทำของกลุ่มต่างๆ และมีหนังสืออะไรที่พอจะแนะนำให้ฉันอ่านบ้าง ซึ่งฉันยังเป็นนักศึกษาอยู่ ?

 

มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ

ประการแรก :
 

          การตัดสินชี้ขาดว่า ในเรื่องการปฏิเสธ หรือ การทำความชั่ว ไม่ได้เป็นหน้าที่ของพวกเรา แต่ว่าเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ และรอซูล ของพระองค์ และการจะชี้ขาดใครว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นเป็นข้อชี้ขาดทางบทบัญญัติ ซึ่งจะต้องนำกลับไปสู่กิตาบุลลอฮฺ และอัซซุนนะห์ และในการจะตัดสินใครว่าเป็นผู้ปฏิเสธจะต้องมีหลักฐานยืนยันชัดเจนที่สุด ไม่สามารถตัดสินใครว่าเป็นผู้ปฏิเสธ หรือเป็นคนชั่ว นอกจากต้องมีหลักฐานระบุจาก อัลกุรอาน และอัซซุนนะห์ ถึงการปฏิเสธของเขา และถึงการเป็นคนชั่วของเขา

          รากฐานเดิมๆในการเป็นมุสลิมของคนคนหนึ่งให้ตัดสินตามการแสดงออกภายนอกที่เห็น คือความเป็นอิสลาม และความน่าเชื่อถือ หากจะตัดสินว่าการเป็นมุสลิมของเขาหมดไป ก็ต้องมีหลักฐานทางบทบัญญัติมาระบุในเรื่องนั้น ไม่อนุญาตให้มักง่ายในการตัดสินคน คนหนึ่งว่าเขาเป็นผู้ปฏิเสธ หรือเป็นคนชั่ว 

เนื่องจากการมักง่ายในการตัดสินจะนำมาซึ่งอันตรายสองประการด้วยกันคือ 

     1. เป็นการใส่ร้ายต่ออัลลอฮ์ ในการตัดสินชี้ขาด ใส่ร้ายผู้ที่เราได้ตัดสินชี้ขาดเขาว่าเป็นผู้ปฏิเสธ ซึ่งในความเป็นจริงเขาไม่ได้มีคุณลักษณะอย่างนั้น

     2. หากพี่น้องของเขาไม่ได้เป็นตามที่เขาได้ตัดสินชี้ขาด ข้อชี้ขาด(ฮุกุม)นั้นก็กลับมาหาตัวของเขาเอง (หมายถึงหากฮุกุมที่เขาตัดสินไม่มีในตัวของพี่น้องของเขา ก็แสดงว่าฮุกุมกลับมาหาตัวเขาเอง)

          ในหนังสือซอเอียะ อัลบุคอรีย์ หมายเลขหะดีษที่ ๖๑๔๐ และในหนังสือ ซอเอียะมุสลิม (หมายเลขหะดีษที่๖๐) มีรายงานจากท่าน อับดุลลอฮฺ อิบนุ ฮุมัร รอฎิยัลลอฮู อันฮูมา แท้จริงท่านนบี  ได้กล่าวว่า

 " เมื่อชายคนใดได้ตัดสินพี่น้องของเขาว่า ได้ปฏิเสธศรัทธา แน่นอนกฏเกณฑ์การตัดสินว่าเป็นผู้ปฎิเสธต้องมีคนใดจากทั้งสองนั้น"

 และในบางรายงาน

" หากไม่ใช่เหมือนที่กล่าว การตัดสินนั้น(ตัดสินเป็นกาเฟร) ก็ต้องตกอยู่กับเขา "

 

ประการที่สอง :

          จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาก่อนที่จะมีการตัดสินชี้ขาดมุสลิมคนใดว่า เขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา หรือเป็นคนทำความชั่ว ให้พิจารณาสองประการดังต่อไปนี้

     หนึ่ง : หลักฐานที่มีระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่มีปรากฏในอัลกุรอาน หรือในอัซซุนนะห์ ที่ได้ระบุถึงคำพูดการกระทำที่ได้เป็นเหตุให้เขาต้องเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา

     สอง : หากเงื่อนในการเป็นผู้ปฏิเสธครบถ้วนทุกเงื่อนไข ก็ตัดสินแก่ผู้ที่พูดหรือกระทำในสิ่งที่ทำให้เขาต้องเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ตามนั้น


          ปัจจัยต่างๆที่มาห้ามมิให้สามารถตัดสินบุคคลคนหนึ่งว่าเป็นผู้ปฏิเสธ เงื่อนไขที่สำคัญดังต่อไปนี้
 

     1. บุคคลที่ทำในสิ่งที่เป็นเหตุให้เขาต้องเป็นผู้ปฏิเสธนั้น จะต้องมีความรู้ในสิ่งที่เขาได้ทำการฝ่าฝืนนั้น มันจะทำให้เขาต้องกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา หรือเป็นคนชั่ว เนื่องจากคำดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า

( وَمَنْ يُشَاقِقِ الرَّسُولَ مِنْ بَعْدِ مَا تَبَيَّنَ لَهُ الْهُدَى وَيَتَّبِعْ غَيْرَ سَبِيلِ الْمُؤْمِنِينَ نُوَلِّهِ مَا تَوَلَّى وَنُصْلِهِ جَهَنَّمَ وَسَاءَتْ مَصِيراً ) النساء/115

          "และผู้ใดที่ฝ่าฝืนร่อซูล หลังจากที่คำแนะนำอันถูกต้องได้ประจักษ์แก่เขาแล้ว และเขายังปฏิบัติตามที่มิใช่ทางของบรรดาผู้ศรัทธานั้น เราก็จะให้เขาหันไปตามที่เขาได้หันไป และเราจะให้เขาเข้านรกญะฮันนัม และมันเป็นทางกลับอันชั่วร้าย"

وقوله : ( وَمَا كَانَ اللَّهُ لِيُضِلَّ قَوْماً بَعْدَ إِذْ هَدَاهُمْ حَتَّى يُبَيِّنَ لَهُمْ مَا يَتَّقُونَ إِنَّ اللَّهَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ ) التوبة/115

          " และอัลลออ์นั้นจะไม่ทรงให้กลุ่มชนใดหลงผิด หลังจากที่พระองค์ได้ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้แก่พวกเขาแล้ว นอกจากจะป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่พวกเขาจะยำเกรงเท่านั้น แท้จริงอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ทุกสิ่ง" 

     และด้วยเหตุนี้บรรดานักนักวิชาการ จะไม่ตัดสินแก่ผู้ที่รับอิสลามใหม่ ที่เขาได้ปฏิเสธสิ่งที่เป็นฟัรฎู จนกว่าเขาได้รับการชี้แจงในเรื่องนั้นเสียก่อน
 

     2. ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ห้ามไม่ให้ตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธ หรือตัดสินว่าเขาเป็นคนชั่ว ก็คือการกระทำที่ไม่ได้เป็นความสมัครใจ เช่น ถูกบังคับให้กระทำโดยที่ไม่ได้เต็มใจ ในกรณีดังกล่าวมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน

           ส่วนหนึ่งจากการบังคับขู่เข็ญให้กระทำ โดยเขาทำไปเพราะถูกบังคับโดยไม่ได้เกิดจากความเต็มใจ ในลักษณะนี้ไม่อาจจะตัดสินเขาว่าเป็นผู้ปฏิเสธได้ เนื่องด้วยคำดำรัสอัลลอฮ์ ตาอาลาดังต่อไปนี้ 

؛ لقوله تعالى : ( مَنْ كَفَرَ بِاللَّهِ مِنْ بَعْدِ إِيمَانِهِ إِلَّا مَنْ أُكْرِهَ وَقَلْبُهُ مُطْمَئِنٌّ بِالْأِيمَانِ وَلَكِنْ مَنْ شَرَحَ بِالْكُفْرِ صَدْراً فَعَلَيْهِمْ غَضَبٌ مِنَ اللَّهِ وَلَهُمْ عَذَابٌ عَظِيمٌ ) النحل/106

          "ผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์หลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว(เขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์ และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์"

قال تعالى : ( ولَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ فِيمَا أَخْطَأْتُم بِهِ وَلَكِن مَّا تَعَمَّدَتْ قُلُوبُكُمْ وَكَانَ اللَّهُ غَفُوراً رَّحِيماً ) الأحزاب/5

          "ไม่เป็นที่น่าตำหนิแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าผิดพลาดในเรื่องนั้น แต่สิ่งที่จิตใจของพวกเจ้ามีความมุ่ง หมายต่างหาก และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ"
 

     ♦ ส่วนหนึ่งที่จะมาห้ามไม่ให้ตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ก็คือ มีสิ่งที่มาทำให้เขาลืมตัวมาครอบงำความคิด โดยที่ไม่รู้ว่าพูดอะไรออกไป บางครั้งสาเหตุอาจจะเกิดจากความดีใจสุดขีด หรือเศร้าใจ หรือกลัว และในทำนองดังกล่าว หลักฐานในเรื่องนี้ ได้มีการรายงานยืนยันในหนังสือ ซอเอียะมุสลิมหมายเลขหะดีษที่ (๒๗๔๔)
 

     มีรายงานจากท่านอะนัส บิน มาลิกรอฎิยัลลอฮูอันฮู ท่านรอซูลุลลอฮ์  ได้กล่าวว่า

         "อัลลอฮฺนั้นจะดีใจที่สุดในการที่บ่าวของพระองค์ได้กลับตัวสำนึกผิดยังพระองค์ เป็นการดีใจยิ่งกว่าการดีใจของชายคนหนึ่งในหมู่พวกเจ้าที่เขาได้ขี่อูฐของเขาในแผ่นดินทะเลทราย แล้วอูฐนั้นได้หนีไปจากเขา โดยที่บนหลังอูฐนั้นมีอาหารเครื่องดื่มของเขา แล้วเขาก็หมดหวังจากมัน(ในการกลับมาของมัน) เขาจึงไปยังต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วได้เอนตัวลงนอนตะแคงในร่มไม้นั้น ด้วยความสิ้นหวังจากอูฐของเขา ในขณะที่เขาครุ่นคิดอยู่นั้น ปรากฏว่าอูฐนั้นได้มายืนอยู่ตรงหน้าเขา แล้วเขาก็รีบจับเชือกของมันไว้ หลังจากนั้นเขาได้กล่าวออกมาด้วยกับความดีใจสุดขีด โอ้อัลลอฮฺ ท่านคือบ่าวของฉัน และฉันเป็นพระเจ้าของท่าน ความผิดพลาดเกิดเนื่องจากความดีใจสุดขีด"

          ส่วนหนึ่งจากปัจจัยต่างๆที่มาห้ามไม่ให้ตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธ ก็คือการกระทำที่เกิดจากความพยายามที่จะเข้าใจตัวบท หมายความว่า เขามีข้อคลุมเครือบางอย่างซึ่งเขายึดมั่นอยู่ และมั่นใจว่ามันเป็นหลักฐานที่ถูกต้อง หรือ ไม่สามารถจะเข้าใจหลักฐานทางบทบัญญัติ ในรูปแบบที่ถูกต้องได้ ดังนั้นการตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธจะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากได้มีการพิสูจน์แล้วว่า มันเป็นการกระทำที่เกิดจากการเจตนา และมีความรู้ในเรื่องนั้น
 

ท่านอิบนู ตัยมียะห์ รอฮิมาอุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า ในหนังสือ มัจมัวะฟาตาวา ๒๓/๓๔๙ 

          "สำหรับอิหม่ามอะหมัด ขออัลลอฮฺได้ทรงพอพระทัยต่อท่าน ท่านอิหม่ามได้ขอดุอาให้อัลลอฮฺได้โปรดเมตตาต่อพวกเขา (หมายถึงบรรดาคอลีฟะห์ที่ได้รับอิทธิพลจากทัศนะของพวกอัลญะมียะห์ที่พวกเขาได้อ้างว่า อัลกุรอานคือสิ่งที่ถูกสร้างโดยที่บรรดาคอลีฟะห์สนับสนุนทัศนะที่ว่าอัลกุรอาน คือสิ่งที่ถูกสร้าง มัคลูค) และท่านอิหม่ามอะหมัดยังได้ขออภัยโทษให้แก่พวกเขา เนื่องจากอิหม่ามอะหมัดรู้ดีว่า เขาไม่สามารถชี้แจงให้เข้าใจว่า พวกเขา(บรรดาคอลีฟะห์)ได้โกหกใส่รอซูล โดยที่บรรดาคอลีฟะห์นั้นไม่ได้ปฎิเสธในสิ่งที่รอซูลได้นำมา แต่ได้ตีความและได้เข้าใจผิด และได้ไปเลียนแบบผู้ที่ได้กล่าวคำพูดดังกล่าวแก่พวกเขา"

 

ท่านอิบนูตัยมียะห์กล่าวไว้ในหนังสือมัจมัวะฟาตาวา เล่มที่ ๑๒/หน้าที่ ๑๘๐

         "สำหรับการตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธ(กาเฟร) ที่ถูกต้องแล้ว สำหรับบุคคลใดที่ใช้หลักวินิจฉัย จากประชาชาติมูฮัมหมัด โดยมีเจตนาที่จะแสวงหาความจริง และเกิดความผิดพลาดก็ไม่สามารถตัดสินว่าเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา แต่ว่าความผิดพลาดของเขาได้รับการอภัยโทษ และสำหรับบุคคลได้รับการชี้แจงในสิ่งที่รอซูล ได้นำมา แล้วยังฝ่าฝืนไม่ยอมรับหลังจากที่ทางนำนั้นได้ถูกอธิบายชัดเจนแล้ว แล้วไปปฏิบัติตามแนวทางของบรรดาผู้ที่ไม่ได้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ หากเป็นเช่นนั้นเขาก็อยู่ในสถานะผู้ปฏิเสธศรัทธา(กาเฟร) และใครที่ปฏิบัติตามอารมณ์ของตัวเองและมีความบกพร่องในการแสวงหาความจริง และได้พูดในสิ่งที่ไม่มีความรู้ หากเป็นเช่นนั้นเขาเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนเป็นผู้ที่ทำบาป หรือไม่ก็เป็นผู้ที่ทำความชั่ว "
 

ท่านอิบนูตัยมียะห์ รอฮิมาอุลลอฮฺได้กล่าวไว้เล่มที่ ๓/หน้าที่ ๒๒๙

          "ใครที่ได้นั่งร่วมกับฉันเป็นประจำเขาจะทราบดีว่า แท้จริงฉันนั้นเป็นบุคคลที่ให้ความสำคัญมากที่สุดในการห้ามปราม เรื่องการที่จะไปตัดสิน(ฮุกุม)ใครเป็นการเจาะจง ในการตัดสินให้บุคคลเป็นผู้ปฏิเสธ(กาเฟร)หรือตัดสินบุคคลให้เป็นคนชั่ว(ฟาซิก) หรือเป็นคนที่ฝ่าฝืนทำชั่ว เว้นแต่เมื่อเขาได้รู้โดยที่ได้มีการนำหลักฐานมาชี้แจงบอกกล่าวเสียก่อน และใครที่ยังฝ่าฝืนหลังจากรับรู้การชี้แจง บางครั้งเขาก็เป็นผู้ปฏิเสธ บางครั้งเขาเป็นคนชั่ว คนฝ่าฝืน และแท้จริงฉันมั่นใจว่าอัลลอฮ์ จะทรงอภัยโทษให้แก่ประชาชาตินี้ ครอบคลุมความผิดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นของคำพูด และที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ และบรรดาชนสลัฟยังคงมีการโต้เถียงกันหลายๆประการในประเด็นต่างๆ และไม่เคยปรากฏว่ามีใครจากพวกเขาได้ตัดสินคนหนึ่งคนใดว่าเป็นผู้ปฏิเสธ เป็นคนชั่ว คนฝ่าฝืน"
 

ท่านอิบนู ตัยมียะห์ ได้นำตัวอย่างต่างๆมากล่าวไว้ว่า

          "ฉันได้อธิบายชี้แจงจากสิ่งที่ได้รายงานมาจากชนสะลัฟและบรรดาอิหม่ามผู้ทรงความรู้ หากการที่จะใช้คำพูด ในการไปตัดสินบุคคลอื่นว่าเป็นผู้ปฏิเสธ เช่นการกล่าวว่า คนนั้นกล่าวเช่นนั้น ดังนั้นเขามีสิทธิ์ที่จะพูด แต่ในการพูดนั้นจำเป็นต้องมีการแยกส่วนระหว่างการพูดแบบรวมๆไม่มีการเจาะจงแก่บุคคลใด หรือ การพูดที่มีการเจาะจง"
 

ท่านอิบนูตัยมียะห์ พูดต่อไปว่า

          "การตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งจากสัญญาณร้าย ถึงแม้บางครั้งคำพูดของคนคนหนึ่งเป็นการปฏิเสธในสิ่งที่รอซูล ได้กล่าวไว้ เพราะว่าบางครั้งบุคคลที่ปฏิเสธเป็นบุคคลที่เพิ่งรับอิสลามใหม่ๆ หรือเขาเติบโตในชนบทที่ห่างไกล หรือสืบเนื่องจากไม่มีความรู้ ซึ่งเราไม่สามารถไปตัดสินให้เขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาได้ จนกว่าได้มีการนำหลักฐานมาชี้แจงแก่เขาเสียก่อน หรือบางครั้งเขาอาจจะไม่ได้ยินตัวบทดังกล่าว หรือได้ยินตัวบทแต่เขาไม่มั่นใจ หรือมีการนำเสนอตัวบทให้แก่เขา แต่ที่เขามีตัวบทอื่นอยู่แล้ว และก็ได้พยายามทำความเข้าใจแต่เกิดความผิดพลาด และฉันนำมากล่าวเป็นประจำ หะดีษหนึ่งในซอเอียะทั้งสอง(บุคอรีและมุสลิม) ที่เกี่ยวกับชายคนหนึ่งซึ่งเขาได้กล่าวว่า 

          "หากฉันได้เสียชีวิตลง พวกเจ้าจงเผาฉันด้วย หลังจากนั้นเก็บฉันด้วย(เก็บเถ่าถานที่เผา) หลังจากนั้นให้นำไปทิ้งในทะเล ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ หากอัลลอฮฺได้กำหนดให้แก่ฉัน แน่นอนพระองค์จะลงโทษฉันเป็นการลงโทษที่ไม่เคยลงโทษผู้ใดมาก่อนในโลกนี้ "

ดังนั้นพวกเขาจึงได้ทำตามคำสั่งเสีย

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า "อะไรที่ทำให้เจ้าต้องทำเช่นนั้น ? "

เขาตอบว่า "ฉันกลัวต่อท่าน " 

อัลลอฮ์ จึงได้อภัยให้แก่เขา

          การที่ชายคนนี้สงสัยในเรื่องการกำหนดของอัลลอฮฺ ในเรื่องที่อัลลอฮฺ จะให้เขาฟื้นขึ้นมาเมื่อเขาได้เป็นปุยผง หากว่าเขามีความเชื่อว่าอัลลอฮ์ ไม่สามารถที่จะให้เขากลับฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง แน่นอนเขาเป็นผู้ปฏิเสธโดยมติของบรรดามุสลิม แต่ว่าเขาไม่มีความรู้ว่าการปฏิเสธการกำหนดของอัลลอฮฺ เป็นการปฏิเสธ และเขาเป็นผู้ศรัทธาที่กลัวว่าอัลลอฮฺ จะลงโทษเขา (หมายถึงการที่เขามีคำสั่งให้เผาเมื่อเสียชีวิต สาเหตุก็เนื่องจากกลัวอัลลอฮฺ ไม่ได้เกิดจากการปฏิเสธการกำหนดสภาวะของอัลลอฮฺ) แล้วอัลลอฮฺ ได้อภัยโทษให้แก่เขา"

          ดังนั้นผู้ที่พยายามทำความเข้าใจในตัวบท(อัลมูตาเฮาวิล) จากบรรดานักวินิจฉัยเรื่องศาสนา โดยที่พยายามที่ปฏิบัติตามท่านรอซูลุลลอฮ์ สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับการอภัยโทษ(จากความผิดพลาด)

          ประโยชน์ที่ได้รับในช่วงท้ายๆของหนังสืออัลกอวาฮิด อัลมุสลา ของท่านเชค อิบนู อุซัยมันรอฮิมาอุลลอฮฺ และประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มจากหนังสือของท่าน เรื่องการตัดสินบุคคลอื่นว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความชัดเจนมายืนยัน และอันตราย และความผิดพลาดในเรื่องนี้มันมากมายนัก จำเป็นสำหรับบรรดานักศึกษา โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา ที่เขาจะต้องปกป้องตัวเองจากการเข้าไปยุ่งเกี่ยวในเรื่องดังกล่าว หน้าที่ของเขาคือ การทุ่มเทเอาใจใส่ในเรื่องของการหาความรู้ที่มีประโยชน์ ที่จะมาปรับปรุงตัวของเขาทั้งเรื่องการมีชีวิตในโลกนี้ และการมีชีวิตในโลกหน้า

 

ประการที่สาม :
 

           ก่อนที่เราจะแนะนำท่านเกี่ยวกับหนังสือต่างๆ เราขอตักเตือนให้พยายามในการศึกษาโดยรับความรู้จากบรรดาผู้รู้ที่เป็นอะลุซซุนนะห์ เพราะว่าการรับความรู้จากผู้รู้ซุนนะห์นั้น เป็นแนวทางที่ง่ายดาย แต่มีเงื่อนไขว่า ท่านจะต้องรับความรู้จากผู้รู้ที่เชื่อถือได้ในความรู้และในศาสนาของเขา และการปฏิบัติของเขาต่อซุนนะห์ และผู้รู้ท่านนั้นห่างไกลจากการปฏิบัติตามอารมณ์ และการอุตริ

ท่านมูฮัมหมัด อิบนู ซีรีน รอฮิมาอุลลอฮฺได้กล่าวว่า

"แท้จริงความรู้นั้นคือ ศาสนา ดังนั้นพวกท่านจงพิจราณาจากบุคคลที่พวกท่านเอาศาสนาจากพวกเขา"

( บันทึกโดย มุสลิม จากหนังสือ บทนำของซอเอียะมุสลิม)

          หากไม่เป็นการสะดวกในการที่จะไปยังสถานที่ให้ความรู้ของผู้รู้ ก็สามารถใช้ประโยชน์จากม้วนเทปซีดี หรือเวปไซต์อิสลามก็ยิ่งเป็นการง่าย อัลหัมดูลิลลาฮฺ ท่านสามารถเอาประโยชน์จากนักศึกษาบางคน ที่พวกเขาเอาใจใส่ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติศาสนา และเอาใจใส่ในการปฏิบัติตามซุนนะห์ และพวกเขาถูกยอมรับ อินชาอัลลอฮฺ

 

ประการที่สี่ :

          สำหรับหนังสือต่างๆ ที่สมควรได้รับความสนใจ และนำมาศึกษาเรียนรู้ ดังนี้

          หนังสือตัฟซีร ก็คือ ตัฟซีร เชค อิบนุ ซะฮดฺ ตัฟซีร อิบนู กะซีร และ สี่สิบหะดีษของอิหม่ามอันนาวาวีย์ และเลือกเอาหนังสือที่มาอธิบายสี่สิบหะดีษ ที่สมควรให้ความสนใจ หนังสือ ญามิอุลอูลูม วัลหิกัม ของอิบนู รอญับ และต่อจากนั้น หนังสือหะดีษ ริยาฎุซซอลีหีน และหากจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมหนังสือริยาฎุซอลีหีน ก็คือหนังสือมาอธิบายโดย เชค อิบนู อุซัยมีน รอฮิมาอุลลอฮฺ 

          สำหรับหนังสือที่เกี่ยวกับอากีดะห์(หลักความเชื่อ) สมควรเอาใจใส่ หนังสือ กิตาบุตเตาฮีด ของท่าน เชค มูฮัมหมัด อิบนู อับดิลวะฮาบ โดยหาหนังสือที่อธิบายแบบง่ายๆ สรุปๆ และ หนังสือ อัลอากีดะห์ อัลวาซิตียะห์ ของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนู ตัยมียะห์ และเพิ่มเติมด้วยหนังสืออื่นๆที่มีประโยชน์ในเรื่องนี้(อากีดะห์) เช่น หนังสือ ตะห์กีก กาลิมะห์ อัตเตาฮีด ของท่าน อิบนู รอญับ และ หนังสือ อัตตัวะฟาตุล อิรอกีย์ ฟิลอะมาลุลกูลูบ ของท่าน อิบนู ตัยมียะห์

           และให้เพิ่มเติมด้วยกับ หนังสือ ซาดุลมาอาด ของ อิบนุลก็อยยิม รอฮิมาอุลลอฮฺ และอีกมากมายจากหนังสือ ของท่านอิบนุลก็อยยิม เช่น หนังสือ อัลวาบิล อัซซีบ และหนังสือ อัดดาฮฺ วัดดาวาฮฺ

          นี่คือ หนังสือต่างๆ สำหรับผู้ที่เป็นนักศึกษาในช่วงต้นๆ ของการศึกษา ที่ต้องไปศึกษาเรียนรู้ โดยเฉพาะหากท่านมีคนที่ช่วยท่านในการอ่านและทำความเข้าใจ ท่านคงจะได้รับความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือที่มีประโยชน์เหล่านี้ ทีละน้อย อินชาอัลลอฮฺ วัลลอฮู อะลัม

 

อิสลามคำถามคำตอบ หมายเลขคำถามที่ 85102