ถ้อยคำ อิมาม อัลฮาซัน อัลบัศรียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ 3
  จำนวนคนเข้าชม  4557

ถ้อยคำ อิมาม อัลฮาซัน อัลบัศรียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ 3

 

แปลและเรียบเรียง อุมมุอุ้ลยา 



ลูกหลานอาดัมเอ๋ย... !
ท่านจะยังไม่มีวันได้พบกับอีหม่านที่แท้จริง
จนกว่าท่านจะไม่ตำหนิติติงคนอื่น ในข้อตำหนิที่ตัวท่านเองยังมีอยู่
จงเริ่มจากตัวท่านเสียก่อน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตัวท่านเองให้ดีก่อน
เมื่อท่านปรับปรุงข้อเสียใดในตัวท่าน ท่านก็จะพบว่ายังคงมีข้อเสียอื่นๆ อีก (เรื่อยไป)
จนทำให้ท่านต้องพันผูกอยู่กับตนเองตลอดเวลา (ไม่มีเวลาเสาะหาข้อเสีย ข้อตำหนิของคนอื่น)




 

"การนอบน้อม (อัตตะวาฎั๊วะ) คืออะไรหรือครับท่านอะบาสะอี๊ด?" 

"คือ การที่บุคคล ออกจากบ้านไป โดยที่ไม่ว่าเขาจะเจอกับมุสลิมคนไหน

เขาก็คิดเสมอว่า คนๆ นั้นดีกว่าเขา"
 

- ท่านอัลฮาซัน อัลบัศรียฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ –



 

 


พึงทราบเถิดว่า ท่านไม่อาจจะรักอัลลอฮฺ ได้เป็นอันขาด
 

 จนกว่าท่านจะรักการฏออะฮฺ(เชื่อฟัง)ต่อพระองค์



 

 


พึงระวังคนที่นำคำพูดคนอื่นมาเล่าให้ท่านฟัง...

เพราะเขาก็จะนำคำพูดของท่านไปเล่าให้คนอื่นฟังเช่นกัน...


 

 


การขออภัยโทษของเรา ยังคงปรารถนาการขออภัยโทษซ้ำ
(เนื่องเพราะการขออภัยโทษที่ขาดความจริงใจ)





 

 


ท่านทั้งหลายพึงเสาะแสวงหาความหวานชื่นรื่นรมย์ใน ๓ ประการเถิด

 

 ในการละหมาด
 ในการรำลึก
 และในการอ่านอัลกุรอ่าน




 

ลูกสาวนับเป็นความดีงาม  ส่วนลูกชายนับเป็นความโปรดปราน(เนี๊ยะมะฮฺ)
 

ความดีงามจะได้รับการตอบแทน  ส่วนความโปรดปรานจะได้รับการสอบสวนคิดบัญชี



 

 

แท้จริง ส่วนหนึ่งของการกระทำอันเป็นการหักหลังหลอกลวงก็ คือ
การที่ท่านบอกความลับของพี่น้องของท่าน (ให้ผู้อื่นฟัง)
 

(อัศศ็อมตฺ วะอาดาบ อัตติลาวะฮฺ)




 


ใครที่แสวงหาวิชาความรู้ โดยปรารถนาสิ่งที่อยู่ ณ ที่อัลลอฮฺ 

การแสวงหาวิชาความรู้นั้น เป็นการดีสำหรับเขายิ่งกว่าการที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเสียอีก

(ชัรฮฺ อัลบัฆวียฺ 1/279)




 


ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท คือ ความรู้ด้วยกับลิ้น และความรู้ด้วยกับหัวใจ 

 ความรู้ของหัวใจ หมายถึงความรู้ที่มีประโยชน์ 
 ส่วนความรู้ของลิ้น คือหลักฐานของอัลลอฮฺที่มีต่อลูกหลานอาดัม (เป็นหลักฐานมัดตัวยืนยันความผิดของตัวเอง)

(อัลคุชัวะ ฟิศ ศ่อลาต 26)




เมื่อครูผู้สอนไม่ยุติธรรมกับเด็กๆ  เขาจะได้รับการบันทึกไว้ (ว่ามันเป็น) หนึ่งในการก่ออธรรม

(กิตาบุ้ลอิยาล 241)

 

 



# # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # # #