คัมภีร์ฉบับนี้ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ
  จำนวนคนเข้าชม  2651


คัมภีร์ฉบับนี้ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ



 

โดย…. ไชยคฺอับดุรเราะหฺมาน อิบนุ นาศิร อัสสะอฺดียฺ
ถอดความ... ม.ดอนฉิมพลี 


ตัวบท ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮ์ อายะฮฺที่1-7 


بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِألم * ذَلِكَ الْكِتَابُ لاَرَيْبَ فِيْهِ هُدًى لِلْمُتَّقِيْنَ * الَّذِيْنَ يُؤْمِنُوْنَ بِالْغَيْبِ وَيُقْيِمُوْنَ الصَّلاَةَ وَمِمَّارَزَقْنَاهُمْ يُنْفِقُوْنَ * وَالَّذِيْنَ يُؤْمِنُوْنَ بِمَاأُنْزِلَ إِلَيْكَ وَمَاأُنْزِلَ مِنْ قَبْلِكَ وَبِالآخِرَةِ هُمْ يُوْقِنُوْنَ * أُوْلئِكَ عَلَى هُدًى مِنْ رَّبِهِمْ وَأُوْلئَكَ هُمُ الْمُفْلِحُوْنَ 

 

คำแปล

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ  ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเอ็นดูเมตตาเสมอ

 

"คัมภีร์ฉบับนี้ ไม่มีข้อสงสัยใดๆ อยู่ในนั้น เป็นทางนำแก่บรรดาผู้ยำเกรง 
ที่พวกเขาศรัทธาในสิ่งเร้นลับ ดำรงการละหมาด จับจ่ายจากสิ่งที่เราได้ประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา 
และบรรดาผู้ที่ศรัทธาในสิ่งที่อัลลอฮฺได้ประทานลงมาให้แก่พวกเขา และบรรดาผู้ที่มาก่อนหน้าเจ้า 
และมีความเชื่อมั่นในวันปรโลก เหล่านั้นแหละ พวกเขา คือ บรรดาผู้ได้รับความสำเร็จ" 

 

คำอธิบาย

          อักษรย่อ ในตอนต้นของซูเราะฮฺต่าง ๆ สิ่งที่ปลอดภัยที่สุด คือ การไม่ไปเจาะลึกในความหมาย โดยไม่มีหลักฐานทางบทบัญญัติมายืนยัน ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่า อัลลอฮฺ  มิได้ประทานมันลงมาโดยเป็นสิ่งที่ไร้สาระ  หากแต่ต้องมีข้อคิด ที่เราไม่สามรถที่จะรู้ได้ 


          “คัมภีร์ฉบับนี้” คือ คัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่ฉบับนี้ ที่เป็นคัมภีร์ ตามความเป็นจริง ที่ประมวลไว้ซึ่งสิ่งที่คัมภีร์ของบรรดาผู้ที่มาก่อน และบรรดาผู้ที่มาหลังมิได้ประมวลไว้ จากความรู้ที่ยิ่งใหญ่ และความจริงที่ชัดแจ้ง ดังนั้น จึง “ไม่มีข้อสงสัยใดๆอยู่ในนั้น” ไม่มีข้อสงสัยในทุกรูปแบบ การปฏิเสธการมีข้อสงสัย จะทำให้มีสิ่งที่ตรงข้ามกันเกิดขึ้น กล่าวคือ สิ่งที่ตรงข้ามกับการสงสัย คลางแคลงใจ คือ ความแน่นอน ซึ่งคัมภีร์ฉบับนี้ประมวลไว้ซึ่งความรู้ที่ไม่มีการสงสัย และทำให้การสงสัย การคลางแคลงใจหมดไป ซึ่งเป็นหลักที่แจกกแจงให้ทราบว่า การปฏิเสธที่หมายถึง คือ การสรรเสริญเยินยอจักต้องประมวลไว้ซึ่งสิ่งที่ตรงกันขามกัน นั่นคือ ความสมบูรณ์ เพราะการปฏิเสธ คือ การไม่มี และการไม่มีโดยสิ้นเชิง เป็นสิ่งที่ไม่มีการได้รับการชมเชยใด ๆ อยู่แล้วเมื่อมันได้ประมวลไว้ซึ่งความมั่นใจ


          ในขณะที่การนำทางจะไม่ได้รับ นอกจากด้วยความมั่นใจ พระองค์ก็ตรัสว่า  “เป็นทางนำสำหรับบรรดาผู้ยำเกรง” อัลฮุดา คือ สิ่งที่นำทางให้หลุดพ้นจากความหลงผิด และความไม่กระจ่างเกิดขึ้นได้  และสิ่งที่จะนำทางไปสู่การได้เดินอยู่ในหนทางที่เป็นประโยชน์ เกิดขึ้นได้ด้วยคัมภีร์ และพระองตรัสว่า “ทางนำ” (ผู้ถูกระทำถูกลบไป/ไวยากรณ์อรับ) ซึ่งพระองค์มิได้ทรงกล่าวว่า เป็นทางนำเพื่อผลประโยชน์อันนั้น เพื่อผลประโยชน์อันนี้ เพื่อสิ่งนั้น เพื่อสิ่งนี้ เพราะเพื่อต้องการให้ครอบคลุม และเป็นทางนำสำหรับผลประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับโลกนี้ และโลกหน้า ซึ่งพระองค์เป็นผู้ชี้แนะแก่บรรดาบ่าว ในปัญหาหลัก และปลีกย่อยต่าง ๆ เป็นผู้แจกแจงความจริง ให้ชัดแจ้งจากความเท็จ สิ่งที่สมบูรณ์ให้ชัดแจ้งจากสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ และเป็นผู้แจกแจงแก่พวกเขา ถึงวิธีที่พวกเขาจะเดินไป ในหนทางที่ให้ประโยชน์ ในชีวิตแห่งโลกนี้ และโลกหน้า


          พระองค์ ทรงกล่าวไว้ในที่อื่นว่า “เป็นทางนำแก่ผู้คนทั้งหลาย” ซึ่งพระองค์ทรงกล่าวไว้ในลักษณะรวม ในที่นี้ และที่อื่น “เป็นทางนำแก่บรรดาผู้ยำเกรง” เพราะว่าในตัวของคัมภีร์เป็นทางนำแก่มนุษย์ทุกคน ดังนั้น ผู้ประสบกับความทุกข์ยากจะไม่เงยหน้าขึ้นมาดู และจะไม่รับทางนำของอัลลอฮฺ ข้ออ้างหลักฐานต่างๆ จึงเป็นร้ายต่อพากเขา และจะไม่ได้รับประโยชน์ เนื่องจากการรับความทุกข์ยากของพวกเขา ส่วนบรรดาผู้ยำเกรง ที่ได้นำเอาเหตุบทบัญญัติมาปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับการนำทางและมันคือ ความยำเกรง ที่ความเป็นจริง คือ การยึดเอาสิ่งที่จะปกป้องให้พ้นจากการโกรธกริ้ว และการลงโทษของอัลลอฮฺ  ด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ต่าง ๆ ของพระองค์  และการออกห่างสิ่งต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงห้ามไว้  พวกเขาก็ได้อยู่ในทางนำ และได้รับผลประโยชน์ อย่างมากมาย

พระองค์ ตรัสไว้ว่า 

"يَاأَيُّهَاالَّذِيْنَ آمَنُوْا إِنْ تَتَّقُوااللهَ يَجْعَلْ لَكُمْ فُرْقَانًا"

 

“โอ้ บรรดาผู้ทีศรัทธาแล้วทั้งหลาย หากพวกเจ้ายำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงให้มีแก่พวกเจ้า

ซึ่งสิ่งที่จะมาแยกแยะ (ความจริงออกจากความเท็จให้แก่พวกเจ้า) ”  

         ดังนั้น  บรรดาผู้ยำเกรง คือ บรรดาผู้ได้รับประโยชน์จากสัญญาณต่าง ๆ แห่งอัลกุอาน และสัญญาณต่าง ๆ แห่งจักรวาล เพราะว่า การนำทางนั้นมีอยู่สองชนิดด้วยกัน: การนำทางด้วยการแจกแจง และ การนำทางด้วยการประทานความสำเร็จ 


         บรรดาผู้ยำเกรง จะมีการนำทางสองชนิด เกิดขึ้นกับพวกเขา ในขณะที่คนอื่นการนำทาง ด้วยการประทานความสำเร็จ ไม่เกิดขึ้นแก่พวกเขา และการนำทางด้วยการแจกแจง โดยที่ไม่มีการประทานความสำเร็จ ในการนำมันมาปฏิบัตินั้น มันไม่ได้เป็นการนำทางที่แท้จริง ที่สมบูรณ์ 


          หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงบอกถึงลักษณะของบรรดาผู้ยำเกรงว่า พวกเขามีหลักการเชื่อถือ และการงานต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอก เพื่อที่จะรับประกันความยำเกรง พระองค์จึงได้ตรัสว่า “บรรดาผู้ที่ศรัทธาในสิ่งเร้นลับ” 


          ข้อเท็จจริงของการศรัทธานั้น คือ การเชื่ออย่างไม่มีเงื่อนไข ในสิ่งที่บรรดาร่อซูล  ได้บอกไว้ ประมวลไว้ซึ่งการปฏิบัติตามของอวัยวะต่าง ๆ เรื่องการศรัทธานั้น ไม่ได้อยู่ในสิ่งต่าง ๆ ที่เห็นได้ ด้วยการสัมผัส  ซึ่งจะไม่ทำให้ผู้เป็นมุสลิมมีความต่าง ไปจากผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิม แต่ทว่าาอยู่ที่การศรัทธาในสิ่งเร้นลับ ที่เรามองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ 


          การศรัทธาในเรื่องดังกล่าว ด้วยการบอกของอัลลอฮฺ  และการบอกของร่อซูลของพระองค์ ดังนั้น ผู้ศรัทธา จะศรัทธาในทุกสิ่งที่อัลลอฮฺ  ทรงบอกไว้ หรือทุกสิ่งที่ร่อซูลของพระองค์บอกไว้ เขาจะเห็น หรือไม่เห็นก็ตาม  เขาจะเข้าใจ หรือไม่เข้าใจก็ตาม เขาจะคิดได้ หรือคิดไม่ได้ก็ตาม  ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้ออกนอกลู่นอกทาง ที่ปฏิเสธสิ่งที่อยู่ในความเร้นลับต่าง ๆ เพราะสติปัญญาของพวกเขา มีความจำกัดอย่างมาก ไม่สามารถที่จะไปถึงได้ พวกเขาจึงปฏิเสธในสิ่งที่พวกเขาไม่มีความรู้ ในสิ่งนั้น สติปัญญาของพวกเขาจึงเสียไป สมองของพวกเขาจึงบอดไป ในขณะที่สติปัญญา สมองของบรรดาผู้ศรัทธาผู้ มีความเชื่ออย่างจริงจัง ผู้อยู่ในทางนำของพระองค์ เป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด ปราดเปรื่อง

         และสิ่งที่จะเข้าอยู่ในการศรัทธาในสิ่งเร้นลับ คือ สิ่งที่อัลลอฮฺ  ได้ทรงบอกไว้ สิ่งที่อยู่ในความเร้นลับต่าง ๆ ที่ผ่านมา และที่จะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า สภาพต่าง ๆ ของโลกหน้า  ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ลักษณะของอัลลอฮฺ  และวิธีต่าง ๆ  และสิ่งที่บรรดาร่อซูลได้บอกไว้ เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ บรรดาผู้ศรัทธา จะศรัทธาในลักษณะของอัลลอฮฺ  และการมีอยู่ของพระองค์ มีความมั่นใจใน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่เข้าใจก็ตาม 


          หลังจากนั้น พระองค์ ตรัสว่า “และดำรงละหมาด” พระองค์ มิได้ตรัสว่า ทำการละหมาด หรือมาสู่การละหมาด เพราะมันไม่เป็นความพอเพียง แค่การนำเอารูปแบบที่เห็นได้มา ทั้งนี้การดำรงละหมาด จะต้องดำรงทั้งภายนอก ด้วยการทำให้เป็นสิ่งที่จำเป็นหลัก และเงื่อนไขต่างๆ ครบถ้วนสมบูรณ์ และดำรงภายใน ด้วยการให้มีวิญญาณคงอยู่ คือ การมีหัวใจที่จดจ่ออยู่ในการละหมาด ตรึกตรองสิ่งที่เขากล่าว และกระทำไป ซึ่งการดำรงละหมาดอันนี้ คือ สิ่งที่อัลลอฮฺ  ตรัสไว้ว่า


" إِنَّ الصَّلاَةَ تَنْهَى عَنِ الْفَحْشَاءِ وَالْمُنْكَر"

“แท้จริง การละหมาดนั้น จะห้ามไม่ให้ทำความชั่วช้าน่าเกลียด”


         คือ สิ่งที่ผลบุญจะเกิดขึ้นตามมา ดังนั้น จะไม่มีผลบุญเกิดขึ้นแก่มนุษย์ จากการละหมาดของเขา นอกจากสิ่งที่เขามุ่งมั่น และนำเอาสิ่งที่เป็นข้อบังคับ (ฟัรฏู) และสิ่งเสริมข้อบังคับ (นาฟิละฮฺ) มาปฏิบัติ 


          หลังจากนั้น พระองค์ ตรัสว่า “และจับจ่ายจากสิ่งที่เราได้ประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา” ซึ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่างๆ เช่น ซะกาต ค่าใช้จ่ายแก่ภรรยา ญาติพี่น้องที่ใกล้ชิด บรรดาผู้ที่อยู่ในการดูแล และอื่น ๆ ค่าใช้จ่ายที่มีการส่งเสริมให้กระทำ ในหนทางแห่งความดีทั้งหมดจะเข้าอยู่ในนี้ พระองค์มิได้ทรงกล่าวถึงผู้ที่จักต้องจ่ายให้เขา เนื่องจากหนทางต่าง ๆ มีมากมาย  และบรรดาผู้มีสิทธิ์ที่จะได้รับมีหลายประเภท 


          อีกประการหนึ่งค่าใช่จ่ายนั้นเป็นสิ่งที่จะทำให้เกิดความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ  พระองค์ได้ทรงนำเอามา ที่บ่งบอกถึงการเอาบางส่วน เพื่อที่จะเตือนให้พวกเขาได้ทราบว่า พระองค์มิได้ทรงต้องการจากพวกเขา นอกจากส่วนที่เล็กน้อยเท่านั้นจากทรัพย์สินของพวกเขา ไม่เป็นสิ่งให้อันตรายและไม่ได้เป็นสิ่งสร้างภาระให้แก่พวกเขาแต่ประการใด หากแต่พวกเขาจะได้รับประโยชน์ในการจับจ่ายมันไปต่างหาก และพี่น้องของพวกเขาจะได้รับประโยชน์ด้วย 


          ในคำตรัสของพระองค์ ที่ว่า “เราได้ประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา” เป็นการชี้ให้เห็นว่า ทรัพย์สินต่างๆ เหล่านั้น ที่มีอยู่ในมือ มันไม่ได้เกิดขึ้นด้วยกำลังและการครอบครองของพวกเขา หากแต่มันเป็นปัจจัยยังชีพ (ริซกี) จากอัลลอฮฺ  ที่พระองค์ได้ประทานให้ อีกทั้งยังได้ทรงให้พวกเจ้าได้มีความโดดเด่นกว่าหลายคน จากบรรดาบ่าวของพระองค์ ดังนั้น พวกเจ้าจงขอบคุณพระองค์ ด้วยการจ่ายบางส่วนที่พระองค์ได้ประทานให้แก่พวกเจ้า และช่วยเหลือบรรดาพี่น้องของพวกเจ้าที่มีความอัตคัด ขัดสน


          บ่อยครั้งที่พระองค์ จะทรงรวมระหว่างการละหมาด และการจ่ายซะกาต ไว้ด้วยกันในอัลกุรอาน เพราะว่า การละหมาดประมวลไว้ซึ่งการประทานสิ่งที่ดี ให้แก่บรรดาบ่าวของพระองค์ ดังนั้น จุดศูนย์กลางของความผาสุกของบ่าวนั้น คือ การมีความบริสุทธิ์ใจที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขา และการใช้ความอุตุสาหะในการสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บรรดาบ่าวทั้งปวง เช่นเดียวกันจุดศูนย์กลางของความทุกข์ยากของบ่าว คือ การไม่มีสองสิ่งนี้อยู่ในตัว เขาจะไม่มีความบริสุทธิ์ใจ และไม่มีการทำความดี 


         หลังจากนั้น พระองค์ ตรัสว่า “และบรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อสิ่งที่ได้ถูกประทานลงมายังเจ้า” ซึ่งก็ได้แก่กุรอาน และซุนนะฮฺ พระองค์ ตรัสไว้ว่า 


"وَأَنْزَلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ"

”และพระองค์ได้ประทานคัมภีร์ และแบบฉบับลงมาให้เจ้า" 


          ดังนั้น บรรดาผู้ที่ยำเกรงจะศรัทธาในทุกสิ่งที่ท่านร่อซูล  ได้นำมา พวกเขาจะไม่แยกระหว่างบางสิ่งที่พระองค์ได้ประทานลงมายังท่าน โดยศรัทธาในบางส่วน และไม่ศรัทธาในอีกบางส่วน ด้วยการปฏิเสธ หรือตีความไปเป็นอย่างอื่น ที่ไม่ตรงตรงกับสิ่งที่อัลลอฮ์  และร่อซูลของพระองค์  ต้องการ เหมือกับที่พวกผู้ทำอุตริกรรมบางคนได้กระทำ ที่พวกเขาเฉไฉตัวบทต่างๆที่บ่งบอกถึงสิ่งที่ตรงกันข้ามกับคำกล่าวของพวกเขา ที่เมื่อสรุปแล้วได้ความว่า มีการไม่เชื่อในความหมาย  ถึงแม้พวกขาจะเชื่อในคำตรัส ซึ่งก็เท่ากับว่า พวกเขาไม่ศรัทธาอย่างแท้จริง 


          คำตรัสของพระองค์ที่ว่า “และสิ่งที่เราได้ประทานลงมาก่อนหน้าเจ้า” มันประมวลไว้ซึ่งการศรัทธาต่อคัมภีร์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ประมวลไว้ซึ่งการศรัทธาต่อบรรดาร่อซูล และสิ่งที่คัมภีร์ต่างๆเหล่านั้นได้ประมวลไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์เตารอฮฺ อินญีล และซะบูร ซึ่งเป็นความเฉพาะของบรรดาผู้ศรัทธา พวกเขาศรัทธาต่อคัมภีร์ที่ลงมาจากฟากฟ้าทั้งหมด บรรดาร่อซูลทุกท่าน โดยที่พวกเขาจะไม่แยก ระหว่างคนหนึ่งคนใดจากพวกเขา 


          หลังจากนั้น พระองค์ ตรัสว่า   “และพวกเขามีความเชื่อมั่นในวันปรโลก”  คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น หลังจากที่ได้ตายไปแล้ว มีการกล่าวถึงโดยเฉพะ หลังจากที่กล่าวโดยทั่วไป เพราะว่า การศรัทธาต่อวันสิ้นโลก เป็นหลักใหญ่ของการศรัทธาประการหนึ่ง และเป็นตัวผลักดันที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในการให้มีความปรารถนา ความยำเกรง และการกระทำที่เชื่อมั่น คือ การมีความรู้ที่ดี ที่ไม่มีการสงสัยใดๆ ในการปฏิบัติ

          “พวกเขาเหล่านั้น” คือ บรรดาผู้มีลักษณะที่ได้รับการสรรเสริญเยินยอเหล่านั้น “อยู่ในหนทางจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา” คือ อยู่ในทางนำอันยิ่งใหญ่ เพราะการที่ไม่มีอะลิฟกับลาม (ไวยากรณ์) มันบ่งบอกถึงการยกย่องให้เกียรติ และทางนำใดที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าที่ประมวลไปด้วยหลักการเชื่อมั่นที่ถูกต้อง และการงานต่าง ๆ ที่เทียงตรง การนำทางที่แท้จริง คือ การนำทางของพวกเจ้าโดยเฉพาะ ในขณะที่การนำทางของคนอื่น ที่ไม่เหมือนกัน มันเป็นความหลงผิด 

          การได้นำเอา อะลา (ไวยากรณ์) มาไว้ในที่นี้ บ่งบอกถึงการการมีอำนาจ และในความหลงผิดได้นำเอา ฟี (ไวยากรณ์) มาไว้คำตรัสของพระองค์ที่ว่า “และแท้จริง หรือท่านทั้งหลายอยู่ในทางนำ หรืออยู่ในความหลงผิดอย่างชัดแจ้ง” เพราะว่าทางนำนั้น เป็นผู้ที่มีการแสดงอำนาจในทางนำ เชิดชู และผู้ที่อยู่ในความหลงผิด เป็นผู้ที่จมปลัก และเป็นต่ำต้อยน้อยหน้า 

           หลังจากนั้น พระองค์ ตรัสว่า “และพวกเขาเหล่านั้นแหละ คือ บรรดาผู้ได้รับความสำเร็จ” ได้รับชัยชนะ ได้รับในสิ่งที่ต้องการ ได้รับความปลอดภัยจากสิ่งที่หวาดกลัว การได้รับชัยชนะจะเกิดขึ้นในหมู่ของพวกเขาโดยเฉพาะ เพราะว่าไม่มีหนทางที่จะไปถึงความสำเร็จถ้าเดินอยู่ในเส้นทางอื่น มันเป็นทางแห่งความลำบากยาก ความหายนะ และความขาดทุน ที่จะนำเดินบนเส้นทางดังกล่าว ไปสู่ความหายนะ ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระองค์ได้ทรงกล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของผู้ศรัทธาที่แท้จริง พระองค์ก็ได้ทรงกล่าวถึงลักษณะของพวกผู้ปฏิเสธ ที่แสดงถึงการปฏิเสธของพวกเขาออกมา ฝ่าฝืนดื้อดึงต่อท่านร่อซูล 



มูลนิธิ ชี้นำสู่สันติสุข