การสุญูดสะฮฺวี
  จำนวนคนเข้าชม  6181


การสุญูดสะฮฺวี

 


ไชยคฺอับดุลลอฮฺ อิบนุ อับดุรเราะหฺมาน  อิบนุ ซอและหฺ อาล บัสซาม

ถอดความ. ม.สมอเอก  


ตัวบท


عَنْ ُمَحَمَّدِ بْنِ سِيْرِيْنَ عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : صَلَّى بِنَا رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِحْدَى صَلاَتَيِ الْعَشِيِّ ، قَالَ ابْنُ سِيْرِيْن : سَمَّاهَاأَبُوْهُرَيْرِةَ وَلََكِنْ نَسِْتُ أَنَا ، قَالَ : فَصَلَّى بِنَا رَكْعَتَيْنِ ، ثُمَّ َسَلَّمَ ، فَقَامَ إَلَى خَشَبَةٍ مَعْرُوْضَةٍ فِي االْمَسْجِدِ فَاتَّكَأَ عَلَيْهَا كَأَنَّهُ غَضْبَانٌ وَوَضَعَ يَدَهُ اْليُمْنَى عَلَى اْليُسْرَى ، وَشَبَّكَ بَيْنَ أَصَابِعِهِ وَخَرَجَتِ السَّرعَانُ مِنْ أَبْوَابِ الْمَسْجِدِ ، فَقَالُواْ: أَقُصِرَتِ الصَّلاَةُ؟ ، وَفِي اْلقَوْمِ أَبُوْبَكْرٍ وَعُمَرُ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا فَهَابَا أَنْ يُكَلِّمَاهُ ، وِفِي الْقَوْمِ رَجُلٌ- فِي يَدِهِ طُوْلٌ يُقَالُ لَهُ "ذُوْاليَدَيْنِ" ، فَقَالَ: يَارَسُوْلَ اللهِ ، أَنَسِيْتَ أَمْ قُصِرَتِ الصَّلاَةُ ؟ ، فَقَالَ: "لَنْ أَنْسَ وَلَمْ تُقْصَرْ" ، فَقَالَ:"أَكَمَايَقُوْلُ ذُواْليَدَيْنِ؟" ، قَالُواْ : نَعَمْ ، فَتَقَدَّمَ فَصَلَّىَ مَاتَرَكَ  ثُمَّ سَلَّمَ ثُمّ َكَبَّرَوَسَجَدَ مِثْلَ سُجُوْدِهِ أَوْ أََطْوَلَ ثُمَّ رَفَعَ رَأْسَهُ فَكَبَّرَ ، ثُمَّ كَبَّرَوَسَجَدَ مِثْلَ سُجُوْدِهِ أَوْ أَطْوَلَ ثُمَّ رَفَعَ رَأْسَهُ وَكَبَّرَ ، فَرُبَّمَا سَأَلُوْهُ : ثَُمْ سَلَّمَ ؟ قَالَ فَنُبِّئْتُ أَنْ عِمْرَانَ بْنَ حُصَيْنٍ قَالَ : ثُم سَلَّمَ. رواه البخاري . 
 


คำแปล


 

     มีรายงานจากมุฮัมมัด อิบนุ ซีรีน จากอบูฮุรอยเราะฮฺ กล่าวว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้นำเราละหมาดในยามเย็นเวลาหนึ่ง  

อิบนุ ซีรีน กล่าวว่า อบูฮุรอยเราะฮฺ ได้บอกชื่อละหมาดนั้น แต่ทว่า ฉันลืม 

เขากล่าวว่า ท่านนำเราละหมาดสองร็อกอะฮฺ หลังจากนั้น ท่านได้ให้สลาม แล้วลุกขึ้นไปพิงไม้ที่ยื่นออกมาในมัสญิด เหมือนกับว่า ท่านโกรธ เอามือขวาของท่านวางลงบนมือซ้าย ประสานนิ้วมือของท่าน 

ในขณะบรรดาผู้ละหมาดแถวแรกๆได้ออกมาจากประตูมัสญิด แล้วกล่าวว่า มีการย่อละหมาดหรือ ? 

ในหมู่คณะนั้น ก็มีอบูบักร และอุมัรอยู่ด้วย ก็กลัวที่จะไปพูดกับท่าน และในหมู่คณะ ก็ชายคนหนึ่ง-มือของเขาข้อนข้างยาว มีคนเขาเรียกกันว่า ซุลยะไดยนฺ 

เขาก็กล่าวขึ้นว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลลลฮฺ มีการย่อละหมาดหรือ ? 

ท่านก็กล่าวว่า ฉันไม่ได้ลืม และไม่มีการย่อ 

ท่านก็กล่าวว่า เรื่องราวเกินขึ้นเหมือนกับซุลยะไดยนฺกล่าวหรือ ? 

พวกเขากล่าวว่า ใช่ ท่านก้าวไปข้างหน้า แล้วละหมาดในส่วนที่ท่านได้ทิ้งไป ให้สลาม 

หลังจากนั้น ท่านก็ทำตั๊กบีร สุญูดเหมือที่เคยสุญูด หรือยาวกว่า  เงยศีรษะขึ้น แล้วทำตักบีร หลังจากนั้น ทำตั๊กบีร สุญูดเหมือนที่เคยสุญูด หรือยาวกว่า หลังจากนั้น เงยศีรษะขึ้น ทำตั๊กบีร ซึ่งบางที พวกเขาได้ถามเขาหลังจากนั้น ท่านได้ให้สลามหรือ ? 

เขากล่าวว่า ฉัน (อิบนุซีรีน) ก็ได้รับการบอกเล่าว่า อิมรอน อิบนุลหุศอยนฺ กล่าวว่า หลังจากนั้น ท่านได้ให้สลาม”

 

(รายงานโดย อิมามบุคอรีย์)


อธิบายความหมายอัลหะดีษ

           อบู ฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฺ เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอ-ฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้นำบรรดาสาวกของท่านละหมาดบ่าย หรือ อัศรฺ เมื่อท่านละหมาดสองร็อกอะฮฺแล้ว ท่านก็ให้สลาม

เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่สมบูรณ์ จิตใจของท่าน จะไม่มีความสงบสุข นอกจากด้วยการกระทำที่สมบูรณ์เท่านั้น ท่านมีความรู้สึกว่า มันขาดตกบกพร่อง ไม่รู้ว่า สาเหตุของมัน คือ อะไร ? 

ท่านก็ลุกขึ้นไปพิงที่ไม้ในมัสญิด โดยที่จิตใจมีความกังวล และได้ประสานนิ้วมือของท่าน ลักษณะของท่าทางทั้งหมดนี้ มันเป็นเครื่องหมายของความกังวล  ความไม่สุขภายในจิตใจ 

บรรดาผู้ที่ละหมาดอยู่แถวแรกๆ ออกมาจากประตูมัสญิด ในขณะที่พวกเขากระซิบกระซาบ ในหมู่ของพวกเขาในเรื่องที่ได้เกิดขึ้น และมันคือ การละหมาดย่อ ซึ่งเหมือนกับว่า พวกเขาเห็นเป็นเรื่องใหญ่ในการที่นบี จะมีการลืม 

เนื่องจากความเกรงกลัวในท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มีอยู่ในหัวอกของพวกเขา ก็ไม่มีคนหนึ่งคนใด กล้าที่จะมาเปิดประเด็นถามท่านในเรื่องที่สำคัญนี้ จะเป็นอบูบักรฺ และอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ก็ดี 

ยกเว้นชายคนหนึ่ง ที่เขาเรียกกันว่า ธุลยะไดยนฺ ได้เปิดฉากถามท่านนนบียฺ ศ็อลลัลลออฮุอะลัยฮฺวะซัลลัมว่า  ท่านลืม หรือมีการย่อละหมาด ? 
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้กล่าว – ตามความคิดของท่าน - ว่า  ฉันไม่ได้ลืม และไม่มีการย่อละหมาด 

เมื่อนั้นเอง เมื่อธุลยะไดยนฺ รู้ว่า การละหมาดนั้น ไม่ได้มีการย่อ และรู้ว่า ท่านไม่ได้ละหมาด นอกจากสองร็อกอะฮฺเท่านั้น เขารู้ว่า ท่าน ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ลืม เขาก็กล่าวว่า ท่านลืม 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ต้องการที่ให้มีความมั่นใจในความถูกต้องของสิ่งที่ธุยะไดยนฺ บอก  ท่านก็ถามบรรดาผู้คนที่รอบๆตัวท่านว่า เรื่องราว มันเป็นอย่างที่ธุลยะไดยนฺ กล่าวว่า ฉันไม่ได้ละหมาด นอกจากสองร็อกอะฮฺเท่านั้นหรือ ? พวกเขา ก็กล่าวว่า ใช่ 

เมื่อนั้นเอง ท่าน ศ็อลลัลลออฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ก้าวขึ้นไปข้างหน้า และละหมาดในส่วนที่ขาดหายไป ให้สลาม ทำตั๊กบีร และก้มกราบ เหมือการก้มกราบของท่านที่เคยกระทำ หรือยาวกว่า เงยศีรษะของท่านขึ้นจากการก้มกราบ ทำตั๊กบีร และก้มกราบเหมือนการก้มกราบของท่านที่เคยกระทำ หรือยาวกว่า หลังจากนั้นเงยศีรษะขึ้น และทำตั๊กบีร ซึ่งบางทีพวกเขาอาจจะถามเขาว่าหลังจากนั้น ท่านให้สลามหรือ ?

เขากล่าวว่า แล้วฉันได้รับการบอกเล่าว่า อิมรอน บุตรของหุศอยนฺ กล่าวว่า หลังจากนั้น ท่านได้ให้สลาม” 

(รายงานโดย อิมามบุคอรียฺ)


กฎต่างๆ ที่นำออกมาได้จากหะดีษ


     1. การลืมของบรรดานบี  เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เว้นแต่ว่าพวกเขาจะไม่ปล่อยการลืมนั้นไว้ โดยที่ไม่มีการแก้ไข



     2. คติ และข้อคิดต่างๆ ของการลืม ที่เกิดขึ้นตามมาจากการลืมนี้ จากการแจกแจงการตราบัญญัติ และการผ่อนเบาแก่ประชาชาติ ด้วยการอภัยให้ ในการลืมของพวกเขา 



     3. การออกจากการละหมาดก่อนที่จะเสร็จสมบูรณ์(ในขณะที่คิดว่า เสร็จสมบูรณ์แล้ว)นั้น ไม่ถือว่า ขาดตอน หากแต่ละหมาดต่อไปได้ และทำให้ส่วนที่หายไปให้ครบถ้วนสมบูรณ์ 



     4. การพูดในขณะละหมาดของผู้ลืม ไม่ทำให้เสียการละหมาด ซึ่งค้านกับบรรดาผู้รู้บางคน ที่ว่า การกระทำเช่นนั้น ทำให้เสียการละหมาด 



     5. การละหมาดต่อจากที่ลืม ถือว่าใช้ได้ ถึงแม้จะมีการทิ้งช่วงนานก็ตาม 



     6. การเคลื่อนไหวที่ไม่ได้อยู่ในจำพวกของการละหมาด ไม่ทำให้เสียการละหมาด ถึงแม้จะมีมาก เมื่อเกิดจากการไม่รู้ และผู้ลืม 



     7. จำเป็นจักต้องมีการสุญูดเนื่องจากการลืม (สะฮวี) สำหรับผู้ที่ลืมในละหมาด โดยเพิ่ม หรือลดจำนวนร็อกอะฮฺ เพื่อทำให้ละหมาดสมบูรณ์ และใช้มันกดดันไชยฏอน



     8. สะญูดสะฮฺวี จะไม่มีหลายครั้ง  ถึงแม้จะมีเหตุหลายเหตุก็ตาม เพราะท่านนบี ศ็อลลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ให้สลาม ละหมาดไม่ครบ พร้อมกันนั้นท่านก็ทำการสุญูดเพียงสองครั้งเท่านั้น



     9. สุญูดสะฮฺวี จะเกิดขึ้นหลังให้สลาม เมื่อผู้ละหมาดได้ให้สลาม ในณะที่ละหมาดไม่ครบ และสิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นให้กระทำก่อนก่อนให้สลาม ซึ่งก็เป็นความเข้าใจของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของอิมามอบูหะนีฟะฮฺ เป็นการบอกรายละเอียดที่เอานำเอาหลักฐานต่างๆมายืนยัน ซึ่งก็เป็นสิ่งค้านกับผู้ที่กล่าวว่า การทำสุญูดทั้งหมด จะเกิดขึ้นหลังการให้สลาม ซึ่งก็เป็นความเข้าใจของลูกศิษย์ลูกหาของอิมามหะนะฟียฺ หรือทั้งหมดก่อนการให้สลาม ซึ่งก็เป็นความเข้าใจของลูกศิษย์ลูกหาของอิมาชาฟิอียฺ



     10. การลืมของอิมาม มีผลพวงถึงบรรดามะมูมด้วย เพื่อความสมบูรณ์ในการตาม และสิ่งที่เกิดขึ้นในละหมาดของอิมาม จากความขาดตก มีผลพวงถึงบรรดาผู้ตาม  ที่อยู่ด้านหลังอิมามด้วย  


มูลนิธิ ชี้นำสู่สันติสุข