การจัดการดูแลของขวัญของลูก
  จำนวนคนเข้าชม  2250


การจัดการดูแลของขวัญของลูก


 

อุมมุ อุ้ลยา แปลและเรียบเรียง

 

        ของขวัญที่ลูกได้รับตั้งแต่วันแรกที่ลูกเกิดนั้น ถือเป็นสิทธิ์ของลูก (ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทองหรือของกินของใช้ –ผู้แปล-) และไม่ถือว่ามารดาเป็นผู้ปกครอง (วลี) หรือผู้มีสิทธิ์อันชอบธรรมในทรัพย์สินของบุตร ตราบใดที่บิดาของเด็กยังคงอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่อนุมัติให้ผู้เป็นมารดาใช้จ่ายหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของบุตร นอกจากต้องได้รับอนุญาตจากผู้เป็นบิดาของบุตรก่อน และหากได้รับอนุญาตแล้ว ก็ไม่ถือเป็นความผิดแต่อย่างใดในการที่เธอจะใช้สอย บริจาคหรือจัดการดูแลทรัพย์สินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตรแทน

 

         สิทธิอันชอบธรรมในทรัพย์สินของผู้เป็นบุตรนั้นอยู่ที่บิดาไม่ใช่ที่มารดา ไม่ว่าบุตรจะเป็นชายหรือหญิงก็ตาม ¹ ส่วนสิทธิอันชอบธรรมของมารดาคือการเป็นผู้ดูแลเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และอยู่ประจำใกล้ชิดกับบุตรในวัยเยาว์ นักวิชาการบางท่านมีความเห็นว่า มารดาก็มีสิทธิ์เหมือนบิดา เธอสามารถใช้สอยทรัพย์สินของบุตรได้หากเธอมีความจำเป็นที่ต้องใช้มัน

 

มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ว่า : ท่านร่อซู้ล  กล่าวว่า :
 

“แท้จริง บรรดาบุตรหลานของพวกท่านนั้น คือของขวัญของอัลลอฮฺที่พระองค์ โปรดประทานให้แก่พวกท่าน

พระองค์ทรงประทานลูกสาวให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และประทานลูกชายให้แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์

ดังนั้น ทั้งตัวของพวกเขาและทรัพย์สินของพวกเขา จึงเป็นสิทธิ์ของพวกท่าน เมื่อพวกท่านมีความประสงค์”

(บันทึกโดยท่านอัลฮากิมและอัลบัยหะกียฺ อิหม่ามอัลอัลบานียฺระบุว่า ศ่อเฮี๊ยะฮฺ)

อีกหะดีษหนึ่งรายงานโดยท่านญาบิร อิบนิ อับดุลลอฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ ระบุว่า 

มีชายคนหนึ่งบอกกับท่านร่อซู้ล  ว่า : “แท้จริง ฉันมีเงินทองและลูก แต่พ่อของฉันมีความต้องการในทรัพย์สินของฉัน” 

ท่านร่อซู้ล  กล่าวตอบว่า : “ตัวท่านและทรัพย์สินของท่านเป็นสิทธิของบิดาของท่าน”

(บันทึกโดยอิมามอิบนิ มาญะฮฺ และอิมามอบูดาวู๊ด)

          อนึ่ง บิดาใช่ว่าจะสามารถใช้สอยทรัพย์สินเงินทองของบุตรได้ตามอำเภอใจ การนำไปใช้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้คือ ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนแก่บุตร ต้องไม่ใช้สอยในสิ่งที่บุตรมีกำลังความความจำเป็นที่จะต้องใช้มันอยู่ และต้องไม่เอาทรัพย์สินจากลูกคนหนึ่งเพื่อนำไปให้กับลูกอีกคนหนึ่ง ²



 


1. เชคอิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮู้ลลอฮฺ มัจมูอุ้ล ฟตาวา 25/211

2. เชค ซอและห์ เฟาซาน อัลเฟาซาน ฮะฟิศ่อฮุ้ลลอฮฺ ฟตาวา อิสลามียะฮฺ 4/108-109

เวปไซด์อ้างอิง 

https://www.facebook.com/Cairosalafia/?fref=nf - 
http://goo.gl/pt3l8c 
http://www.saaid.net/Doat/Najeeb/f132.htm