ถ้อยคำบรรพชน 3 อิบนิกอยยิม
  จำนวนคนเข้าชม  1961

ถ้อยคำบรรพชน 3

อุมมุ อุ้ลยา แปลและเรียบเรียง

ถ้อยคำ อิมาม อิบนิล ก็อยยิม อัลเญาซียะฮฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ

 



ตราบใดที่่บ่าวนึกคิดกับอัลลอฮฺ  ในแง่ดี หวังต่อพระองค์ในแง่ดี มอบหมายต่อพระองค์อย่างจริงใจ 
 

แน่นอน อัลลอฮฺ  จะไม่ทรงทำให้เขาผิดหวังเป็นอันขาด



 

 



แท้จริงแล้ว คนโฉดเขลาเบาปัญญา คือ . . . . .

 

คนที่หัวใจ  และจิตวิญญาณของเขาได้ตายไปแล้ว แม้ว่าร่างกายจะยังคงมีชีวิตอยู่ก็ตาม 
 

เรือนร่างของเขาจึงเสมือนกับ หลุมศพที่ยังเดินโลดแล่นอยู่บนหน้าแผ่นดิน



 



การสูญเสียเวลา น่าหวาดกลัวยิ่งกว่า ความตาย

 

เพราะการสูญเสียเวลา ได้ตัดขาดท่านจากอัลลอฮฺ และโลกอาคิเราะฮฺ
 

ส่วนความตาย เพียงตัดขาดท่านจากโลกดุนยาและครอบครัวเท่านั้น





4 ประการที่ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย คือ

- พูดมาก
- นอนมาก
- ทานมาก
- มีเพศสัมพันธ์มาก

 



หัวใจที่ยังคงมีชีวิตชีวา คือ หัวใจที่เมื่อพบความน่ารังเกียจ น่าชิงชังใดๆ จิตใจจะหลีกหนี ไม่ชอบ และไม่มอง

โดยสัญชาตญาณของมัน ซึ่งตรงกันข้ามกับ “หัวใจที่ตายด้าน”





ความรักที่ทรงคุณค่า มีอยู่ด้วยกันสามประการคือ

 การรักอัลลอฮฺ 
 การรักเพื่อพระองค์
 รักในสิ่งที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ภักดีต่ออัลลอฮฺ และออกห่างจากการฝ่าฝืนพระองค์



 



คนดีจะอยู่ในความผาสุก (สรวงสวรรค์) แม้ว่าพวกเขาจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่รันทดยากลำบาก 
 

และดุนยาเป็นที่คับแคบอึดอัดสำหรับพวกเขาก็ตาม 

ส่วนคนชั่วจะอยู่ในอเวจี แม้ว่าในดุนยา จะมีความสุขความสบายมากมายก็ตาม

(อัดดาอฺวัดดะวาอฺ 459)



วันศุกร์ คือ วันแห่งการทำอิบาดะฮฺ

 

(ความประเสริฐของ) วันศุกร์ (เมื่อเทียบกับวันอื่นๆ แล้ว) เสมือนกับเดือนรอมฎอน (ที่ประเสริฐกว่าเดือนอื่นๆ)
 

และช่วงเวลาที่ดุอาอฺจะได้รับการตอบรับนั้น เสมือนกับค่ำคืน ลัยละตุ้ลก็อดร์ในเดือนรอมฎอน



 



คนที่ทำทาน อัลลอฮฺ  จะประทานให้แก่เขา ในสิ่งทีพระองค์มิได้ประทานให้แก่ผู้ที่ระงับ (ไม่ทำทาน) 
 

และจะทรงทำให้เขามี บุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย ริซกีย์ จิตใจ 

และปัจจัยต่างๆ ในการใช้ชีวิตอย่างกว้างขวาง สะดวกสบาย 

อันเป็นผลตอบแทนให้เขา จากการกระทำของเขา





ใครที่ละเลยการสั่งสอนสิ่งที่ยังประโยชน์กับลูก และปล่อยลูกอย่างไร้จุดหมาย เขาได้ทำผิดอย่างมหันต์แล้ว
 

เพราะส่วนมากความเสื่อมเสียที่เกิดกับเด็กนั้น เป็นผลพวงมาจากบุพการี

จากการที่พ่อแม่ละเลย ไม่ให้ความสำคัญ ไม่สอนสั่ง ทั้งในเรื่องฟัรฎูและซุนนะฮ์

เด็กๆ จึงละเลย ไม่ใส่ใจต่อเรื่องเหล่านี้ตั้งแต่เยาว์วัย

พวกเขาจึงไม่สามารถยังประโยชน์แก่ตัวเอง และไม่สามารถยังประโยชน์แก่บุพการีเมื่อเติบใหญ่







♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊♣◊