ความสำคัญของการละหมาดญะมาอะฮฺ
แปลและเรียบเรียงโดย อับดุลวาเอด สุคนธา
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
มวลการสรรเสริญทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ เราขอสรรเสริญต่อพระองค์ เราขอความช่วยเหลือจากพระองค์ เราขออภัยโทษจากพระองค์ เราขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายในตัวของเรา จากการงานที่เลวร้าย และการตั้งเจตนาไม่ดีที่อยู่ในจิตใจของเรา ผู้ใดก็ตามที่พระองค์ทรงนำทางเขา เขาก็จะไม่หลงทาง และผู้ใดก็ตามที่พระองค์ให้เขาหลงทาง ก็จะไม่มีผู้ใดให้ทางนำแก่เขาได้ เว้นแต่พระองค์เท่านั้น
แท้จริงการละหมาดญะมาอะฮฺนั้น คือเอกลักษณ์ที่ยิ่งใหญ่จากเอกลักษณ์หนึ่งในหลายๆ เอกลักษณ์ของอิสลาม เป็นสิ่งที่มีเกียรติและสูงส่งของศาสนาอิสลาม ด้วยบทบัทญญัติที่อัลลอฮฺตะอาลา ได้ทรงตรัสถึงการละหมาดญะมาอะฮฺ (صَلاَةُالجَمَاعَةِ) เป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติให้กระทำ อัลลอฮฺ ตรัสความว่า
"ในบรรดาบ้าน (หมายถึงมัสยิด) อัลลอฮฺทรงอนุญาติให้เทิดพระเกียรติ และให้พระนามของพระองค์ถูกรำลึกอยู่เสมอ เพื่อที่จะแซ่ร้องสดุดีแด่พระองค์ในนั้น ทั้งในยามเช้าและยามพลบค่ำบรรดาชายผู้ที่การค้าและการขายมิได้ทำให้พวกเขาหันห่างออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์และการดำรงละหมาด"
(อัล นูร อายะ 26-27)
ทุกๆก้าวย่างที่มุสลิมนั้นเดินไปยังมัสยิด พระองค์นั้นจะทรง ให้เขาได้รับภาคผลด้วยกับก้าวหนึ่ง เพิ่มพูนความดีและ อีกข้าวหนึ่ง ลบล้างความผิด ตามความเห็นของปวงปราชญ์การละหมาดญะมาอะฮฺนั้น ถือว่าวาญิบจะต้องไปละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิด มีหลักฐานจากกรุอ่าน และ หะดีษ มากมายบ่งชี้ถึงความสำคัญและจำเป็นการละหมาดญะมาอะฮฺ อัลลอฮฺ ตรัสความว่า
“และเมื่อเจ้าอยู่ในหมู่พวกเขา และเจ้าได้ให้มีการละหมาดขึ้นแก่พวกเขา ดังนั้น กลุ่มหนึ่งจากพวกเขาก็จงยืนละหมาดร่วมกับเจ้า และพวกเขาจงเอาอาวุธของพวกเขาถือไว้ด้วย ครั้นเมื่อพวกเขาก้มลงกราบพวกเขาก็จงไปอยู่เบื้องหลังของพวกเจ้า และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังมิได้ละหมาดก็จงมา และจงละหมาดร่วมกับเจ้า และพวกเขาจงระมัดระวังพร้อมอาวุธของพวกเขา"
(อัน-นิสาอ์ : 102)
นี้คือ โองการบอกถึงความสำคัญของการละหมาดญะมาอะฮฺ วาญิบสำหรับชายมุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ และมีความสามารถทุกคนจะต้องละหมาดญะ 5 เวลาไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือเดินทางในสภาพปลอดภัยหรือ ในสภาพกลัวก็ตาม หากพิจารณาตามหลักฐานข้างต้นที่อัลลอฮฺบอกชัดเจนถึงความจำเป็นในการละหมาดญะมาอะฮฺ ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้นที่จะละทิ้งการละหมาด ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพที่กลัว เผชิญหน้าข้าศึก แล้วอย่างไรเล่า ที่เราจะไม่ไปละหมาดในยามปกติ ยามสบาย อัลลอฮฺตรัสว่า
"และพวกเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาดและจงชำระซะกาต และจงรุกัวะร่วมกับผู้รุกัวะทั้งหลาย"
(อัล-บะเกาะเราะฮ 43)
ในอายะดังกล่าวที่พระองค์บอกความจำเป็นการละหมาดญะมาอะฮฺหลังจากนั้น พระองค์ได้สั่งให้ทำการสูญูดพร้อมกับคนที่สูญูดทั้งหลาย นั้นหมายถึง การละหมาดที่มัสยิดพร้อมกับคนอื่นเป็นญะมาอะฮฺ
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
"การละหมาดที่หนักอึ้งกับพวกมุนาฟิกที่สุด คือ อิชาอ์ และฟัจญ์รฺ และหากพวกเขารู้ถึงรางวัลตอบแทนที่อยู่ในสองละหมาดนี้ แน่นอนว่าเขาจะมาละหมาดถึงแม้จะต้องคลานมาก็ตาม
แน่แท้ฉันปราถนาที่จะให้มีการละหมาดญะมาอะฮ์ โดยถูกจัดขึ้น ต่อมาฉันจะใช้ให้ชายคนหนึ่งให้นำผู้คนละหมาด หลังจากนั้นฉันจะพาบรรดาชายหนุ่มออกไปกับฉัน พวกเขามีฟืนเป็นกำๆ โดยไปยังพวกที่ไม่ไปละหมาด และฉันจะเผาบ้านของพวกเขา"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม)
นี้คือตัวบทหะดีษบอกถึงความจำเป็นในการละหมาดญะมาอะฮฺและได้บอกถึงการละหมาดที่หนักอึ้งกับพวกมุนาฟิกที่สุดจากการละหมาดทั้งหมด คือ อิชาอ์ และฟัจญ์รฺ ท่านนบีได้มีคำสั่งเตือนกับบุคคลประเภทนี้จากกลุ่มคนที่เพิ่งเฉยต่อการละหมาดญะมาอะฮฺ จะเผ่าบ้านของพวกเขาด้วยกับไฟ นี้คือบทลงโทษสำหรับคนมูนาฟิก รวมถึงบุคคลประเภทนี้ บอกถึงโทษของคนที่เพิ่งเฉยต่อการละหมาดญะมาอะฮฺ สมควรเขานั้นจะต้องได้รับโทษทั้งโลกนี้และโลกหน้า
มีรายงานจากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า อิบนุ อุมมุมักตูม ได้ถามท่านเราะซูล ว่ามีชายตาบอดคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้ว กล่าวว่า
" โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ แท้จริง ฉันไม่มีผู้ช่วยประคองฉันเวลาฉันจะไปไปมัสญิด "
หลังจากนั้น เขาจึงขอท่านนบี อนุโลมให้เขาละหมาดที่บ้าน
แล้วท่านก็อนุโลมให้ แต่พอชายคนนั้นหันหลังไปเพื่อจะกลับบ้าน
ท่านนบี ก็เรียกเขามาอีกครั้งแล้วถามว่า "ท่านได้ยินเสียงอะซานเรียกมาละหมาดหรือไม่? "
ชายคนนั้นตอบว่า "ใช่ ได้ยิน "
ท่านนบี ก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้นท่านจำเป็นต้องตอบรับเสียงอะซาน"
(บันทึกโดยมุสลิม)
ในสายรายงานของ สุนันอบู ดาวูด กล่าวว่า
มีชายคนหนึ่ง กล่าวว่า "ฉันตาบอด ที่พักอยู่ห่างไกลมาก ไม่มีใครนำทางแก่ฉันเลย "
ท่านนบี กล่าวกับชายผู้นี้ว่า "ไม่มีข้ออนุโลมให้กับท่าน"
จากคำกล่าวของท่านนบี ที่มีต่อชายตาบอดพร้อมกับบ้านของเขาที่อยู่ห่างไกลมัสยิด และยังไม่มีใครนำทางให้แก่เขาเลยในการมาละหมาดที่มัสยิด
(บันทึกโดยสุนันอาบูดาวูด )
ท่านจงพิจารณาถึงบุคคลที่มีสุขภาพดี มองเห็น ได้ยินการเรียกมาละหมาด อาซาน อย่างไร่เล่าที่เรานั้นจะไม่ตอบรับการไปละหมาดที่มัสยิด จงคิด ?
ท่านนบี กล่าวว่า
"ใครก็ตามที่ได้ยินเสียงอะซาน และเขาไม่มาละหมาดยกเว้นคนที่มีอุปสรรคเท่านั้น"
(บันทึกโดย อิบนุมาญะ)
ตัวบทหะดีษบอกถึงความสำคัญของละหมาดญะมาอะฮฺ ปวงปราช์ให้ความเห็นว่าหากผู้ใดละทิ้งละหมาดญะมาอะฮฺโดยไม่มีความจำเป็น สมควรแก่เขาได้รับโทษและ อัลลอฮฺทรงกริ้วโกรธกับการกระทำดังกล่าว
ท่านนบี ละหมาดศุบฮี ท่านได้ถามขึ้นว่า ชายคนนั้นมาละหมาดหรือไม่
พวกเขาตอบว่า ไม่มีครับ ถึงสามครั้ง พวกกล่าวว่า ยังมิได้ตรวจสอบคนอื่นเลย
ท่านนบี กล่าวว่า การละหมาดที่หนักอึ้งกับพวกมุนาฟิกที่สุด คือ อิชาอ์ และฟัจญ์รฺ และหากพวกเขารู้ถึงรางวัลตอบแทนที่อยู่ในสองละหมาดนี้ แน่นอนว่าเขาจะมาละหมาดถึงแม้จะต้องคลานมาก็ตาม
(อะหมัด อบูดาวูด )
จากความสำคัญของการละหมาดญะมาอะ บรรดาศ่ออาบะต่างให้ความสำคัญอย่างมาก และปฏิบัติตามคำสั่งใช้ตาม กิตาบุลลอฮฺ และ ซุนนะของท่านนบี
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
"การละหมาดในรูปแบบญะมาอะฮฺจะได้รับผลตอบแทนดีกว่าการละหมาดคนเดียวถึงยี่สิบเจ็ดเท่า"
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์)
ท่านนบี ได้กล่าวว่า "เอาไหมหากฉันจะบอกพวกท่านเกี่ยวกับการกระทำที่อัลลอฮฺจะลบล้างความผิดและยกเกียรติ ของพวกท่าน
บรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวว่า ได้ครับท่าน
ท่านนบี จึงบอกว่า พวกเจ้าต้องอาบน้ำละหมาดให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในขณะที่หนาวจัด และเดินไปละหมาดที่มัสยิดให้มากๆ และรอคอยที่จะละหมาดในเวลาต่อไป อย่างนั้นแหล่ะถือว่าเป็นการเฝ้ายาม"
(บันทึกโดยมุสลิม)
แท้จริงมีชายสองคนในหมู่ศ่อฮาบะ อีกคนหนึ่งได้ประคองชายอีกคนหนึ่ง ซึ่งเขานั้นป่วยและไม่สามารถที่จะยืนละหมาดจนกระทั่งให้เขายืนในแถวละหมาดได้
ในหนังสือ ซีรอ อะลาม อัล นุบะละฮ ท่านชะฮีด อิบนุ มูซัยยิบ กล่าวว่า ฉันไม่เคยขาดละหมาดญะมาอะฮฺ เป็นเวลา 40 ปี
ท่าน รอเบี้ย อิบนุ คูซีมมฺ มีคนพาฉันไปละหมาดในขณะที่ฉันนั้นป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีก มีคนบอกกับท่านว่า สำหรับท่านมีข้อยกเว้น ท่านตอบว่า เมื่อฉันได้ยิน เสียงอะซาน อัยยาฮาลัสศ่อลาล จงเร่งรีบมาสู่การละหมาดเถิด หากว่าพวกท่านมีความสามารถจงไปถึงแม้ว่าจะคลานไปก็ตาม
ท่านอับดุลเราะมาน ได้ถามท่าน อิบนุ มะดี ระหว่างฉันกับ ครอบครัว กับการละหมาดญะมาอะฮฺ เขาตอบว่า ไม่ ฉันไม่ทิ้งละหมาด แม้แต่เพียงเวลาเดียว
ท่านอิหม่าม อัซซาฮาบี กล่าวว่า นี้คือ แบบฉบับของชาวสลัฟกับการส่งเสริมประกอบคุณงามความดีให้ความสำคัญต่อการละหมาดญะมาอะฮฺ เราจะได้พบในอัลกรุอ่าน และ ซุนนะของท่านนบี ตลอดจนแบบอย่างของเหล่า ศ่อฮาบะ ยุคของชาวสลัฟ ที่พวกเขาเหล่านั้น ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติละหมาดเป็นญะมาอะฮฺ ในบ้านของอัลลอฮฺ
ท่าน อิบนุ ก็อยยิม กล่าวว่า ใครก็ตามที่พิจารณาแนวทางซุนนะ ท่านจะรับรู้ว่าได้ว่า แท้จริงแล้วการละหมาดที่มัสยิด ถือว่าเป็นฟัรฏูฮัย วายิบต้องจะต้องปฏิบัติ ยกเว้นแต่ ผู้ที่มีอุปสรรค ที่อนุญาตละทิ้งละหมาดวันศุกร์และญะมาอะฮฺได้ หากว่าใครที่ละทิ้งการมาละหมาดที่มัสยิดโดยไม่มีความจำเป็นหรือไม่มีอุปสรรคใดๆเท่ากับเขานั้นได้ละทิ้งญะมาอะฮฺ นี้คือ ความเห็นจากปวงปราช์ทั้งหลาย
จากคำฟัตวาสภาอุลามาของประเทศซาอุเดียอารเบีย กล่าวว่า การทำญะมาอะฮฺที่ถือ ว่าเป็นฟัรฏูฮัย คือ จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนตามกีตาบุลลอฮฺ และซุนนะ
ช่างเป็นเรื่องที่น่าแปลกกับเรื่องการละหมาดสำหรับบุคคลที่เพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่ใจต่อการละหมาดญะมาอะฮฺที่มัสยิด จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมุสลิมทุกคน ต้องเกรงกลัวอัลลอฮ์ ดำรงรักษาเอาไว้ซึ่งการละหมาด ณ ที่บ้านของอัลลอฮ์ ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์ และร่อซูล ตลอดจนบรรดาลูกหลานจะต้องรักษาการละหมาดเพื่อทำให้มีความยำเกรงและนำมาซึ่งความพอพระทัยจากพระองค์
โอ้อัลลอฮฺ ขอต่อพระองค์ประทานความดีงาม และเกียรติอันสูงส่ง เรานั้นมอบหมายด้วยพระนามของพระองค์ และคุณลักษะณ์ที่สูงส่ง ขอพระองค์ทรงทำให้เรานั้นผู้หนึ่งดำรงไว้ซึ่งการละหมาดที่มัสยิดตลอดจนบรรดาลูกหลานของพวกเรา ปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์ อัลลอฮฺเป็นที่เพียงพอสำหรับเราแล้ว อามีน