ความกลัวต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา
อะลีอับดุรเราะห์มานอัล-หซุัยฟีย์
ความกลัวต่ออัลลอฮฺ คือแขนงหนึ่งจากแขนงของเตาฮีด ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ส่วนความกลัวที่มีต่อสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ ก็คือแขนงหน่ึงจากแขนงของการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา
แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงสั่งใช้ให้มีความกลัวต่อพระองค์ และทรงห้ามไม่ให้มีความกลัวต่อสิ่งอ่ืนจากพระองค์ ซึ่งอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ ได้ดำรัสถึงเร่ืองนี้ว่า
"แท้จริง ชัยฏอนนั้นเพียงขู่ได้เฉพาะบรรดาผู้ท่ีปฏิบัติตามมันเท่านั้น
ดังนั้น พวกเจ้าจงอย่ากลัวพวกเขา และจงกลัวข้าเถิด หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา”
(สูเราะฮฺอาลอิมรอน : 175)
และอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ ได้ดำรัสอีกว่า
“ดังนั้น พวกเจ้าจงอย่ากลัวมนุษย์แต่จงกลัวข้าเถิด และจงอย่าแลกเปล่ียนบรรดาโองการของข้ากับราคาอันเล็กน้อย”
(สเูราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ:44)
และพระองค์ได้ดำรัสอีกว่า
“และเฉพาะข้าเท่านั้นท่ีพวกเจ้าต้องเกรงกลัว”
(สูเราะฮฺอัล -บะเกาะเราะฮฺ : 40)
มีรายงานจากท่านอนัส บินมาลิกเราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวเทศนา (คุฏบะฮฺ) แก่พวกเรา ซ่ึงท่านได้กล่าวว่า
“หากพวกท่านรู้ในส่ิงท่ีฉันรู้ แน่นอนพวกท่านจะหัวเราะ ให้น้อยและร้องไห้ให้มาก (เม่ือได้ยินเช่นนั้น )
บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านเราะสูลุลลอฮฺ จึงปิดหน้าของพวกเขาพร้อมกับมีเสียงสะอื้น จากการร้องไห้ได้ยินออกมา”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 4621และมสุลิม หมายเลข 2359)
ความกลัว หมายถึง การที่หัวใจมีความตะหนี่ ตระหนก และสั่นไหว ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเนื่องจากความกลัวต่อการลงโทษของอัลลอฮฺ ที่มีต่อการกระทำสิ่งที่ต้องห้าม หรือการละทิ้งสิ่งที่วาญิบ หรือความบกพร่องจากการกระทำในสิ่งที่ส่งเสริม (มุสตะหับ) และมีความวิตกกังวลว่าอัลลอฮฺจะไม่ทรงตอบรับอะมัลท่ีดี ดังนั้น จิตใจจึงพยายามฉุดรั้งมันจากการกระทำสิ่งท่ีต้องห้าม และรีบเร่งในการทำความดีงาม
คำว่า “อัล-ค็อชยะฮฺ, อัล-วะญัล, อัร-เราะฮฺบะฮฺ และอัล-ฮัยบะฮฺ” นั้นคือคำท่ีมีความหมายที่คล้ายคลึงกันซึ่งมัน ไม่ได้หมายความว่า “ความกลัว” เสมอไป แต่ “อัล-ค็อชยะฮฺ” นั้นจะมีความหมายเฉพาะเจาะจงยิ่งกว่า “อัล-เคาฟฺ” เพราะ “อัล-ค็อชยะฮฺ”นั้นคือการกลัวต่ออัลลอฮฺ ด้วยกับการรู้ถึงคุณลักษณะของพระองค์ ญัลละวะอะลา ดังที่พระองค์อัซซะวะญัลละ ได้ดำรัสว่า
“แท้จริง บรรดาผู้ท่ีมีความรู้จากปวงบ่าวของ พระองค์เท่านั้นที่เกรงกลัวอัลลอฮฺ”
(สูเราะฮฺฟาฏิร : 28)
มีบันทึกในหนังสือ “อัศ-เศาะฮีหฺ” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
“ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริงฉันเป็นผู้ที่มีความยำเกรง(ตักวา)ต่ออัลลอฮ์ มากกว่าพวกท่าน
และเป็นผู้ท่ีมีความเกรงกลัว(ค็อชยะฮฺ)ต่อพระองค์มากกว่าพวกท่าน”
(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 1108)
อัล-วะญัล หมายถึง การท่ีหัวใจสะทกสะท้านและหวาดหวั่น เนื่องจากมีการกล่าวถึงผู้ที่เขากลัว ต่ออำนาจและ การลงโทษของผู้นั้น
อัร-เราะฮฺบะฮฺ หมายถึง การหนีจากสิ่งท่ีไม่ปรารถนา
อัล-ฮัยบะฮฺ หมายถึง ความกลัวที่มาพร้อมกับการยกย่องเทิดทนูและการให้เกียรติ
ซึ่งอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา สมควรอย่างยิ่งที่ จะต้องเกรงกลัว และสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องยกย่องเทิดทูน รวมถึงหลีกห่างจากความโกรธกริ้วของพระองค์ (สมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องเกรงกลัวพระองค์ในทุกมิติและความหมายที่กล่าวมา)
ท่านอิมาม อิบนุลก็อยยิม เราะหิมะฮุลลอฮฺตะอาลา ได้กล่าวว่า
“อัล-เคาฟ์ นั้นสาหรับผู้ศรัทธาทั่วไป ส่วน อัล-ค็อชยะฮฺ สำหรับบรรดานักวิชาการผู้มีความรู้ และอัล-ฮัยบะฮฺ นั้นสำหรับคนท่ีรักพระองค์ และ อัล-อิจญ์ลาล นั้นสำหรับคนที่ใกล้ชิดพระองค์ ซ่ึงเท่าที่บุคคลหน่ึงมีความรู้ และรู้จักอัลลอฮฺ มากเพียงใด เขาก็จะมีอัล-เคาฟ์ และอัล-ค็อชยะฮ์ ต่ออัลลอฮ์ มากเท่านั้น”
(มะดาริญสุสาลกิีน:508)
อัลลอฮฺ ทรงให้สัญญาต่อผู้ท่ีกลัวพระองค์ โดยความกลัวท่ีมีต่อพระองค์ ทำให้เขาสามารถหักห้ามจากกิเลส ตัณหาทั้งหลาย และนำเขาไปสู่การจงรักภักดีต่อพระองค์ ซึ่งพระองค์ทรงให้สัญญาผลตอบแทนด้วยกับสิ่งที่ดีเลิศที่สุด อัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
“และสำหรับผู้ท่ียำเกรงต่อการยืนหน้าพระพักตร์ แห่งพระเจ้าของเขา (เขาจะได้) สวนสวรรค์สองแห่ง
ดังนั้น ด้วยบุญคุณอันใดเล่าแห่งพระเจ้าของเจ้าทั้งสอง ที่เจ้าทั้งสองปฏิเสธ
(สวนสวรรค์สองแห่งนั้น แผ่กิ่งก้าน เขียวชอุ่มและผลไม้หลายชนิด)”
(สูเราะฮฺ อัร-เราะหฺมาน :46-48)
หมายถึง “ก่ิงก้านท่ีเขียวชอุ่ม” ซึ่งท่านอะฏออ์ ได้ أه أف هنان กล่าวว่า “คือกิ่งก้านของผลไม้หลากหลายชนิด”(ตัฟสีร อิบนุกะษีร : 7/502)
อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ดำรัสอีกว่า
“และส่วนผู้ท่ีหวาดหวั่นต่อการยืนเบื้องหน้าพระเจ้าของเขา และได้หน่วงเหนี่ยวจิตใจจากกิเลสต่างๆ
ดังนั้น สวนสวรรค์ก็จะเป็นที่พำนักของเขา”
(สูเราะฮฺอัน -นาซิอาต:40-41)
อัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา ได้ดำรัสว่า
“และบางคนในหมู่พวกเขาจะหันหน้าเข้าหากัน สอบถามซึ่งกันและกัน
พวกเขากล่าวว่า แท้จริง แต่ก่อนนี้ (ในโลกดุนยา) พวกเราอยู่กับครอบครัวของเราเป็นผู้มีความวิตกกังวล
ดังนั้น อัลลอฮฺได้ทรงโปรดปรานแก่เรา และได้ทรงปกป้องเราให้พ้นจากการลงโทษแห่งลมร้อน
แท้จริง ก่อนหน้านี้เราได้วิงวอนต่อพระองค์ แท้จริง พระองค์นั้นเป็นผู้ทรงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”
(สูเราะฮฺอัฏ-ฏูร :25-28)
อัลลอฮฺ ได้แจกแจงว่า ผู้ใดท่ีกลัวพระองค์ พระองค์ก็จะ ให้เขารอดพ้นจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย และจะทรงคุ้มครองเขาจากส่ิงนั้น และจะประทานความโปรดปรานให้แก่เขาด้วยกับการให้ผลตอบแทนที่ดีงาม
มีรายงานจากท่านอิบนุอบีหาติม จากท่านอับดุลอะซีซ (อิบนุ อบีเราวาด) ได้เล่าว่า มีรายงานถึงเราว่า ท่านเราะสูลลุลอฮฺ ได้อ่านอายะฮฺนี้
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก
เพราะ เชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และก้อนหิน”
(สูเราะฮฺอัต-ตะหฺรีม:6)
ซึ่งในขณะนั้น มีบรรดาเศาะหาบะฮฺบางท่านร่วมอยู่ด้วย และในจำนวนนั้นก็มีชายชราคนหน่ึง
ชายชราคนนั้นจึงถามว่า “โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ก้อนหินในนรกญะฮันนัม เหมือนก้อนหินในโลกนี้หรือไม่?”
ท่านนบี จึงกล่าวว่า “ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ แน่นอนที่สุดก้อนหินก้อนเดียวในนรกญะฮันนัม ใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกนี้เสียอีก”
ทันใดนั้นชายชราคนนั้น ก็ล้มลงหมดสติ ท่านนบี จึงได้วางมือของท่านบนหน้าอกของเขา ในขณะท่ีเขากำลังมีชีวิตอยู่
แล้วท่านนบี ก็เรียกเขาว่า “โอ้ชายชราเอ๋ย จงกล่าว ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ”
ชายชราคนนั้นก็ได้กล่าวตาม ท่านนบี จึงแจ้งข่าวดีแก่เขาด้วยการได้เข้า สวนสวรรค์
เมื่อเห็นเช่นนั้น เศาะหาบะฮฺบางท่านจึงกล่าวว่า “โอ้ ท่านเราะสลูลุลอฮฺ พวกเราจะได้รับสิ่งนั้นด้วยไหม”
ท่านนบี ได้กล่าวว่า “ใช่แล้ว” เพราะอัลลอฮฺ ตะอาลาได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
“น่ันสาหรับผู้ท่ีกลัวต่อการเผชิญหน้าข้า และกลัว ต่อสัญญาการลงโทษของข้า”
(สูเราะฮฺอิบรอฮีม:14) (ตัฟสีร อิบนกุะษีร:8/168 และตัฟสีร อิบนิอบีหาติม: 7/2238)
ชาวสะลัฟ ก่อนหน้านี้พวกเขาต่างมีความกลัวต่อ อัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา และต่างพยายามทำอะมัลท่ีดี และ มีความหวังต่อความเมตตาของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลละ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้การใช้ชีวิตของพวกเขาเป็นไปด้วยดี ทรัพย์สินของพวกเขาก็เป็นส่ิงท่ีดี และการงานของพวกเขาก็มีความบริสุทธ์ิ
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ / Islamhouse