ที่มาแห่งภาคผลของความยำเกรง
เรียบเรียงโดย … อิสมาอีล กอเซ็ม
พี่น้องที่รักทั้งหลายจงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ เพราะความยำเกรงเป็นที่มาของความดี และการมีความยำเกรงนั้นจะนำซึงความดีและความสำเร็จทั้งในโลกนี้และโลกหน้า หากมองปัญหาของผู้คนเราจะพบว่า คนเราแต่ละคนมีปัญหามากมาย จนหลายๆปัญหาไม่มีทางออก ไม่ว่าปัญหาที่เกิดกับตัวเราโดยตรงและปัญหาที่เกิดกับคนรอบข้าง แต่มันเกี่ยวข้องกับเรา เช่น เครือญาติ ลูกหลาน เพื่อน ปัญหาเหล่านั้นเข้ามาสร้างความทุกข์ใจ แน่นอนเราต้องการให้ปัญหาเหล่านั้นหมดไป และบางครั้งเราปรึกษาผู้คนมากมายเพื่อต้องการให้ขจัดปัญหาให้ แต่สุดท้ายปัญหาเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ แต่หากหันมาพิจารณาคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ
"และ ผู้ใดยำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงหาทางออกให้แก่เขา และจะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่เขาจากที่ที่เขามิได้คาดคิด"
เราใช้ชีวิตในโลกใบนี้เราอยากหลุดพ้นจากความคับแคบความลำบาก ไม่ว่าหลุดพ้นจากการถูกอธรรม ความขัดสนยากจน ความกังวลใจจากปัญหาชีวิตในรูปแบบต่างๆ ซึงความลำบากที่กล่าวมานั้น หากเทียบความลำบากในโลกหน้าไม่สามารถเทียบกันได้ แต่ด้วยความยำเกรงที่เรามีต่ออัลลอฮฺ นั้นจะสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ทั้งโลกนี้ และโลกหน้า
ดังนั้นสาเหตุที่จะมาปลดเปลื้องความทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ก็คือความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ และการแสดงออกความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ ก็คือการละทิ้งข้อห้ามต่างๆของพระองค์ และการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์ การศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจในศาสนาของอัลลอฮฺ เพื่อขจัดความเขลา ความไม่เข้าใจศาสนา เพราะสาเหตุหนึ่งทำให้ฝ่าฝืนของอัลลอฮฺ และไม่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ สาเหตุเนื่องจากไม่มีความรู้ในศาสนาของอัลลอฮฺ ดังนั้นอีกภารกิจของผู้ศรัทธาทั้งหลายคือ การทุ่มเทความพยายามในการศึกษาหาวิชาความรู้ในศาสนาของอัลลอฮฺ เมื่อเรามีความรู้ในศาสนา ด้วยกับความรู้นั้นจะทำให้เรามีความยำเกรง
และด้วยความยำเกรงนั้นจะเป็นสาเหตุให้จิตใจของเราได้รับแสงสว่างชี้นำจิตใจ ให้เราคิดทำในสิ่งที่ดีๆ มองเห็นสัจธรรมความถูกต้องและปฏิบัติตามแนวทางเหล่านั้น ผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ เขาจะรอดพ้นจากแนวทางที่หลงผิด ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า
"บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! หากพวกเจ้ายำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงให้มีแก่พวกเจ้าซึ่งสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงและความเท็จ"
(สูเราะฮฺ อัล-อันฟาล อายะห์ที่ 29)
และด้วยกับความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ จะเป็นสาเหตุให้อัลลอฮฺ อภัยโทษให้แก่เรา เพราะเมื่อเราได้กระทำความผิดต่ออัลลอฮฺ ภายหลังเราเกิดเกรงกลัวอัลลอฮฺ ขึ้นมา มันก็จะเป็นสาเหตุให้เราสำนึกผิด และอภัยโทษต่ออัลลอฮฺ ในความผิดของเราที่ผ่านมา และเมื่อขออภัยโทษจาก อัลลอฮฺ ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์มันจึงเป็นสาเหตุที่อัลลอฮฺ อภัยโทษแก่เราในความผิดของเรา
คำดำรัสของพระองค์ที่ว่า
يُكَفِّرْ عَنكُمْ سَيِّئَاتِكُمْ وَيَغْفِرْ لَكُمْ وَاللَّهُ ذُو الْفَضْلِ الْعَظِيمِإِن تَتَّقُوا اللَّهَ يَجْعَل لَّكُمْ فُرْقَانًا وَ ( 29 )
" หากพวกเจ้ายำเกรงอัลลอฮฺ พระองค์ก็จะทรงให้มีแก่พวกเจ้าซึ่งสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงและความ เท็จ
และจะทรงลบล้างบรรดาความผิดของพวกเจ้าออกจากพวกเจ้า และจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเจ้าด้วย
และอัลลอฮฺนั้นคือผู้ทรงมีบุญคุณอันใหญ่หลวง"
พวกเรากำลังอยู่ในเดือนรอมาฎอน ซึงเป็นเดือนที่มีความประเสริฐ และการงานที่ดีๆมากมายที่เราถูกใช้ให้ปฏิบัติ เช่น การถือศีลอด การบริจาค การขอดุอา และการขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ การอ่านอัลกุรอ่าน การเลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่ละศีลอด และอีกมากมายที่เป็นความดี ทั้งที่เป็นภาคบังคับ และสมัครใจ อิบาดะห์ทั้งหมดนั้นก็เพื่อสร้างเราให้เป็นผู้หนึ่งที่มีความยำเกรง และเพื่อสอดรับกับจุดประสงค์ของการกำหนดเรื่องถือศีลอดให้แก่บรรดามุสลิม เพื่อต้องการให้มุสลิมที่ทำการถือศีลอด
เมื่อรอมาฎอนผ่านไปเขาจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความยำเกรงอีก 11 เดือนที่เหลือ หาก 11 เดือนที่เหลือเขาสามารถปฏิบัติการงานที่ดี ที่เขาปฏิบัติได้ในเดือนรอมาฎอน ก็แสดงว่าการถือศีลอดของเขาก็บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่อัลลอฮฺ ต้องการ เหมือนคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِن قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ( 183 )
"บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! การถือศีลอดนั้นได้ถูกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว
เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง"
(สูเราะห์ อัลบากอเราะห์ อายะห์183)