กฎว่าด้วยเรื่องการอ้างหลักฐานจากตัวบทศาสนา
  จำนวนคนเข้าชม  6184

 

กฎว่าด้วยเรื่องการอ้างหลักฐานจากตัวบทศาสนา

 

ผู้เขียน ชัยค์ ฮัมด์ อัตตุวัยญีรีย์
 

แปลโดย อบูชีส

 

          ไม่ใช่ทุกคนที่อ้างหลักฐานด้วยกับกุรอานและซุนนะห์ จะนับว่าถูกทั้งหมด แต่ผู้ที่ถูกต้อง ที่อ้างหลักฐานจากตัวบทต้องอ้างให้ถูก ด้วยกับความหมายที่ถูกต้อง ด้วยกับเป้าประสงค์ของอัลลอฮ์ และร่อซูล  ดังนั้นเมื่อคนใดอ้างหลักฐาน ด้วยกับดำรัสของอัลลอฮ์โดยที่ไม่ถูกตามเป้าประสงค์ของพระองค์ สิ่งนี้แหละคือการโกหกที่ยิ่งใหญ่ และเป็นความเลวร้ายที่ใหญ่ยิ่ง เพราะแท้จริงมันคือการโกหกต่ออัลลอฮ์ และนำดำรัสของอัลลอฮ์มาผนวกกฏเกณฑ์ในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น

 

         ฉะนั้นถ้ามีคน ๆ หนึ่งมาและกล่าวว่า คำพูดของท่าน หมายความ อย่างนั้น อย่างนี้ ทั้งที่จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น แน่นอนว่าท่านก็จะกล่าวกับเขาว่า ท่านโกหก จากคำพูดของฉันตรงนี้ ฉันไม่ได้หมายความอย่างนั้นเลย และอย่างไรเล่า ! ที่คนเหล่านั้นเขาต่างโกหกต่ออัลลอฮ์ และร่อซูล  อ้างทั้งดำรัสของอัลลอฮ์และวจนะของท่านร่อซูล  โดยผิดจากเป้าหมายที่แท้จริง

 

          ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งจากกฏเกณฑ์ต่างๆที่จะถูกวางไว้อย่างรัดกุมต่อการอ้างหลักฐานจากตัวบทวะฮ์ยูทั้งสอง (กุรอานและซุนนะห์) เพื่อที่เราจะสามารถแยกแยะสัจธรรมออกจากสิ่งมดเท็จ และระหว่างผู้ที่พูดจริงและพูดเท็จ
 

         คริสเตียนบางคนอ้างหลักฐานต่อมุสลิมบางท่านว่า : ในคัมภีร์ของพวกท่าน มีสิ่งที่ยืนยันว่าแท้จริงอัลลอฮ์ นั้นคือ ตรีเอกานุภาพ คือ แท้จริงแล้วพระเจ้านั้นมีสามองค์ พระบิดา พระบุตร พระจิตร(วิญญาณบริสุทธิ์) ดังที่

อัลลอฮ์ตะอาลา ตรัสไว้ความว่า

 

"แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน(อัลกุรอาน)ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน"

 
سورة الحجر : الآية9،

 

และนี่เป็นการอ้างหลักฐานที่ผิดเพี้ยน เป็นการอ้างหลักฐานอัลกุรอานผิดออกจากเป้าหมายที่แท้จริง
 

 

กฎเกณฑ์ของการอ้างหลักฐานด้วยกับกุรอานและซุนนะห์ จากกฎต่างๆที่ซึ่งนักวิชาการได้วางเอาไว้ มีดังต่อไปนี้
 

กฎที่หนึ่ง : ยอมจำนนโดยสิ้นเชิงต่อดำรัสของอัลลอฮ์และวจนะของท่านร่อซูล 
 

ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลา ตรัสไว้ความว่า

 

“ไม่บังควรแก่ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง เมื่ออัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว

สำหรับพวกเขาไม่มีทางเลือกในเรื่องของพวกเขา”
 

[سورة الأحزاب : الآية 36]

 

          ดังนั้นการยอมจำนนต่อคำสั่งใด คำสั่งหนึ่งของอัลลอฮ์ และร่อซูล  จึงถึอว่าเป็นสิ่งจำเป็น ไม่อนุญาตให้มนุษย์คนใดจะมีอิสระในการเลือกว่าจะทำ หรือไม่ทำ

“ผู้ใดเชื่อฟังร่อซูล แน่นอนเขาก็เชื่อฟังอัลลอฮฺแล้ว”

[سورة النساء : الآية 80]

“และสิ่งใดที่ร่อซูลนำมาให้แก่พวกท่าน พวกท่านก็จงยึดมันไว้”

[سورة الحشر : الآية 7]

“ดังนั้นบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเขา (มุฮัมมัด) จงระวังตัวเถิดว่า เคราะห์กรรมจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา

หรือว่าการลงโทษอันเจ็บปวดจะเกิดขึ้นแก่พวกเขาเช่นกัน”

[سورة النور : الآية 63]

เช่นนี้แหละท่านอิหม่ามอะหมัด ได้กล่าวไว้ว่า ท่านรู้หรือไม่ว่าอะไรคือฟิตนะห์ ? 
 

ฟิตนะห์ ก็คือ การตั้งภาคี

          มีชายคนหนึ่งมาหาท่านอิหม่ามมาลิก ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ อิหม่ามของชาวมะดีนะห์ และกล่าวแก่เขาว่า โอ้อะบาอับดิลละห์ ฉันต้องการจะทำอุมเราะห์ แล้วฉันจะครองเอียะห์รอมได้ที่ไหนครับ ? 

ท่านอิหม่ามกล่าวแก่เขาว่า ท่านจงครองเอียะห์รอมในสถานที่ท่านร่อซูล  เคยครองเอียะห์รอมสิ จากซิลฮุลัยฟะห์ 

เขาก็กล่าวว่า ฉันต้องการจะครองเอียะห์รอมที่มัสยิดนบี 

ท่านอิหม่ามมาลิกตอบเขาว่า ฉันกลัวว่าท่านจะประสบกับฟิตนะห์ 

ชายคนนั้นตอบว่า ฟิตนะห์ที่ฉันจะต้องเดินไปไกลอีกหลายไมล์น่ะสิ 

ท่านอิหม่ามมาลิกจึงตอบไปว่า ฉันกลัวว่าฟิตนะห์ต่อการฝ่าฝืนการกระทำของท่านร่อซูล  จะประสบกับท่าน 

อัลลอฮ์ ตรัสในเรื่องนี้ว่า

         "ดังนั้นบรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของเขา (มุฮัมมัด) จงระวังตัวเถิดว่า เคราะห์กรรมจะเกิดขึ้นแก่พวกเขา หรือว่าการลงโทษอันเจ็บปวดจะเกิดขึ้นแก่พวกเขาเช่นกัน"

          “แท้จริงคำกล่าวของบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกเขาถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า “เราได้ยินแล้ว และเราเชื่อฟังปฏิบัติตาม”

 [سورة النور : الآية 51]

         นี่คือสัญลักษณ์ของการศรัทธา เมื่อถูกเรียกร้องไปสู่อัลกุรอานและซุนนะห์ เขาก็จะกล่าวว่า ฉันได้ยินแล้ว และฉันเชือฟังปฏิบัติตามแล้ว

          “มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า เขาเหล่านั้นจะยังไม่ศรัทธาจนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขาแล้วพวกเขาไม่พบความ คับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขาจากสิ่งที่เจ้าได้ตัดสินใจ และพวกเขายอมจำนนด้วยดี”

[سورة النساء : الآية 65]

และในอายะห์นี้ มีการยืนยันหลายแง่มุม

     ประเด็นแรก : พระองค์อัลลอฮ์ทรงสาบาน ด้วยกับตัวของพระองค์เอง และนี่คือการสาบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอัลกุรอาน ความว่า “มิใช่เช่นนั้นดอก ข้าขอสาบานด้วยพระเจ้าของเจ้าว่า” พวกเขาจะยังไม่ได้รับการศรัทธาอย่างแท้จริง

     ประเด็นที่สอง : “จนกว่าพวกเขาจะให้เจ้าตัดสินในสิ่งที่ขัดแย้งกันระหว่างพวกเขา" เมื่อพวกเขาเกิดการขัดแย้งในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ดังนั้นท่านนบี  คือผู้ที่คอยตัดสินในเรื่องที่มีความขัดแย้งนั้น ไม่ใช่เอาคำพูดของคนใดคนหนึ่งมาตัดสิน

     ประเด็นที่สาม : “แล้วพวกเขาไม่พบความ คับใจใด ๆ ในจิตใจของพวกเขา” พร้อมกันนี้กับการมอบการตัดสินด้วยกับดำรัสของอัลลอฮ์และร่อซูล หัวใจของท่านก็จะยอมจำนน และท่านจะไม่พบความลังเลใดๆในหัวจิตหัวใจของท่านอีก

     ประเด็นสุดท้าย : “และพวกเขายอมจำนนด้วยดี” พวกเขาจะยอมจำนนด้วยกับร่างกายของพวกเขา และยอมจำนนต่อคำสั่ง หากเป็นคำสั่ง เขาก็จะปฏิบัติตาม หรือข้อห้ามเขาก็จะละทิ้ง ด้วยกับสิ่งนี้แหละ ถึงจะได้รับการศรัทธาอย่างแท้จริง

“และอันใดที่พวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องนั้นๆ ดังนั้นการช้ขาดตัดสินย่อมกลับไปหาอัลลอฮฺ”

[سورة الشورى : الآية 10]

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงตอบรับอัลลอฮฺ และร่อซูลเถิด เมื่อเขา ได้เชิญชวนพวกเจ้าสู่สิ่งที่ทำให้พวกเจ้ามีชีวิตชีวาขึ้น”

[سورة الأنفال : الآية 24]

          ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า แน่นอนว่า อัลลอฮ์สั่งใช้ให้เชื่อฟังต่อร่อซูล  มากกว่า สามสิบที่ในอัลกุรอาน และผูกการเชื่อฟังต่อร่อซูล  ไว้กับการเชื่อฟังอัลลอฮ์ และการฝ่าฝืนร่อซูล  ไว้กับการฝ่าฝืนอัลลอฮ์ ดังเช่นได้ผูกระหว่างนามของท่านนบี  ไว้กับพระนามของพระองค์

          ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวว่า ฉันไม่เคยทราบเลยว่า มีคนใดจากเหล่าซอฮาบะห์ และตาบิอีน ที่ได้รายงานฮะดิษจากท่านร่อซูล เว้นแต่ข่าวนั้นจะเป็นที่ยอมรับ และจบลงด้วยกับมัน และยืนยันว่าสิ่งดังกล่าวมันคือ ซุนนะห์

           เมื่อมีชายคนใดมาถามท่านถึงปัญหาหนึ่งใด ท่าน(อิหม่ามชาฟิอีย์)จะตอบว่า : ท่านร่อซูล  ได้ตัดสินปัญหาไว้ เช่นนั้น เช่นนี้ 

   ชายผู้นั้นก็กล่าวแก่ท่านว่า : แล้วท่านล่ะเห็นว่าอย่างไร ? 

          ท่านอิหม่ามชาฟิอีย์ จึงโกรธมาก และตอบเขาว่า : ท่านเห็นฉันกำลังทำการค้าหรือ ? ท่านเห็นฉันอยู่ในโบสถ์กระนั้นหรือ ? ท่านเห็นฉันแต่งกายเหมือนพวกกุฟฟารกระนั้นหรือ ? เมื่อท่านก็เห็นว่าฉันอยู่ในมัสยิดของบรรดามุสลิมีน และฉันก็สวมใส่เครื่องแบบของบรรดามุสลิมีน ผินหน้าไปทางกิบละห์เดียวกับพวกเขา ฉันรายงานฮะดิษ จากท่านนบี  จากนั้นฉันจะพูดด้วยกับสิ่งนั้นรึ ?

         ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า ปรากฏว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่เหลือเกินจากสิ่งที่อัลลอฮ์ทรงโปรดปรานมันแก่พวกเขา ในการยึดมั่นของพวกเขาต่ออัลกุรอานและซุนนะห์ และมันเป็นรากฐานที่เห็นพ้องต้องกันระหว่างเหล่าซอฮาบะห์ และตาบิอีน ขอความดีประสบแด่พวกเขาทั้งหลาย พวกเขาไม่ยอมรับคนใดเป็นอันขาดในการขัดแย้งกับอัลกุรอาน ไม่ว่าจะด้วยกับ ความคิดเห็น จุดยืน สติปัญญา การอนุมาน อารมณ์ความรู้สึกใดๆ

(مجموع الفتاوى) (13/28)

          ปฏิบัติตามชาวสลัฟในการยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ และร่อซูล  แน่แท้ชาวสลัฟ ร่อฮิมะฮุมุลลอฮ์ ปฏิบัติตามทั้งในการดำเนินชีวิตและอิบาดะห์

          ท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ ได้ยืนอยู่หน้าหินดำ และกล่าวว่า "แท้จริงฉันรู้ว่าเจ้าเป็นเพียงหินธรรมดา ไม่ให้โทษและไม่ให้คุณ หากฉันไม่เห็นว่าท่านร่อซูล จูบเจ้า ฉันก็จะไม่จูบเจ้า" หมายความว่า หากเรื่องนี้ย้อนกลับไปหามุมมองของท่านอุมัร ท่านก็รู้ดี และเชื่อมั่นว่า มันเป็นเพียงหินธรรมดา ไม่ให้คุณและให้โทษใดๆ แต่ทว่า ท่านนั้นยอมจำนน และปฏิบัติตามท่านนบี 

          และเช่นเดียวกันกับท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ท่านเห็นว่า ท่านมุอาวิยะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ สัมผัสมุมทุกมุมของกะอ์บะ ท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา จึงกล่าวแก่เขาว่า เพราะอะไรท่านจึงสัมผัสมุมทั้งสองนี้ ที่ท่านร่อซูลไม่เคยสัมผัสมัน ? 

ท่านมุอาวียะห์จึงตอบว่า ไม่มีส่วนใดจากบ้านหลังนี้(กะอ์บะ)จะถูกละทิ้ง 

ท่านอิบนุอับบาสกล่าว่า “โดยแน่นอน ในร่อซูลของอัลลอฮฺมีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว”(อะห์ซาบ 21)

ท่านมุอาวียะห์ จึงกล่าวว่า : ท่านพูดจริงแล้ว

         ท่านสะอี๊ด อิบนุล มุซัยยิบ เห็นชายคนหนึ่ง ละหมาด หลังจากฟะญัรขึ้นแล้ว มากกว่าสองร็อกอะห์ รุกั๊วะ และสุหญูด จำนวนมาก ท่านก็ห้ามเขา เขาเลยถามว่า โอ้ อะบามุฮัมหมัด อัลลอฮ์จะลงโทษฉันเพราะการละหมาดกระนั้นหรือ? 

ท่านกล่าวว่า ไม่หรอก แต่พระองค์จะลงโทษท่านต่อการขัดแย้งกับซุนนะห์

         และร่องรอยในเรื่องนี้มีมากมาย เช่น สิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านอบูบักร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ในเหตุการณ์อิสรออ์ และเมียะร็อจ จากท่านหญิงอาอิชะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ครั้นเมื่อท่านนบี  ได้รับค่ำสั่งให้เดินทางในยามค่ำคืน(อิสรออ์) ไปยังมัสยิดอักซอ ผู้คนก็ต่างพากันพูดต่างๆนาๆในเรื่องนี้ จากเหตุการณ์นี้จึงมีผู้คนจำนวนหนึ่งตกศาสนาจากสิ่งที่เขาได้ศรัทธาและเชื่อ 

       มีกลุ่มหนึ่งจากพวกมุชริกมาหาท่านอบูบักร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ่ พวกเขาถามท่านว่า ท่านเชื่อใหม ว่าเพื่อนของท่านเขายืนยันมาว่า เขาเดินทางค่ำคืนเดียวไปยังบัยตุลมักดิส ? 

ท่านอบูบักรพูดขึ้นว่า เขาพูดอย่างนั้นจริงหรือ ? 

พวกเขาตอบว่า ใช่สิ 

ท่านจึงตอบว่า หากเขาพูดอย่างนั้นจริง ฉันก็เชื่อ 

       พวกเขาเลยพูดกันว่า ท่านเชื่อได้อย่างไร ว่าเขาเดินทางในระยะเวลาเพียงคืนเดียวไปยังบัยตุลมักดิสและกลับมาก่อนรุ่งสาง ? 

       ท่านอบูบักรตอบว่า ฉันเชื่อ ยิ่งกว่านี้ฉันก็เชื่อ ฉันเชื่อเขาในข่าวที่มาจากฟากฟ้า ทั้งเช้าและเย็น

        ด้วยเหตุนี้ท่านจึงถูกเรียกว่า อบูบักร อัศศิกดิ๊ก (ผู้ยืนยันความจริง) นี่คือความเชื่อและยอมจำนนต่อวะฮ์ยูทั้งสอง (อัลกุรอานและซุนนะห์)

        และท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา เมื่อท่านนบี  กล่าวครั้งหนึ่งแก่เหล่าซอฮาบะห์ว่า หากเราปล่อยประตูนี้ไว้แก่เหล่าสตรี ท่านนาเฟียะอ์กล่าวว่า ท่านอิบนุอุมัรก็ไม่เคยเข้าประตูนั้นอีกเลย จนกระทั้งท่านเสียชีวิต

         เมื่อท่านร่อซูล  ได้กล่าวขึ้นมา ระหว่างที่ชายคนหนึ่งขี่วัวของเขา และเขาก็บรรทุกสิ่งของบนหลังของมัน วัวก็หันมายังเขาและกล่าวว่า ฉันไม่ได้ถูกสร้างให้ทำเช่นนี้นะ แต่ทว่าฉันถูกสร้างมาเพื่อทำไร่ 

ผู้คนต่างกล่าวว่า ซุบฮานัลลอฮ์ ทั้งแปลกใจและตกใจ วัวพูดได้ด้วยหรือครับ ? 

ท่านร่อซูล  กล่าวว่า แท้จริงฉันเชื่อ อบูบักร อุมัร ก็เชื่อเช่นนั้น


กฏที่สอง : การปฏิบัติด้วยกับ (หลักฐาน) ที่รัดกุมชัดเจน(มุฮ์กัม) และคลุมเคลือหลายนัยยะ(มุตะชาบิฮาต)


         เราได้รู้ว่าแท้จริงอัลกุรอานของพระองค์อัลลอฮ์นั้น มีทั้ง (หลักฐาน) ที่รัดกุมชัดเจน(มุฮ์กัม) และคลุมเคลือหลายนัยยะ(มุตะชาบิฮาต) ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลา ตรัสไว้ความว่า


          “พระองค์คือผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้า โดยที่ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์นั้นมีบรรดาโฮงการที่มีข้อความรัดกุมชัดเจน ซึ่งโองการเหล่านั้น คือรากฐานของคัมภีร์ และมีโองการอื่นอีกที่มีข้อความเป็นนัย”

         “ส่วนบรรดาผู้ที่ในหัวใจของพวกเขามีการเอนเอียงออกจากความจริงนั้น เขาจะติดตามโองการที่มีข้อความเป็นนัยจากคัมภีร์ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาความวุ่นวาย และเพื่อแสวงหาการตีความในโองการนั้น แลไม่มีใครรู้ในการตีความโองการนั้นได้นอกจากอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ที่มั่นคงในความรู้เท่านั้น โดยที่พวกเขาจะกล่าวว่า พวกเราศรัทธาต่อโองการนั้น “

[سورة آل عمران : الآية 7]

        อัลกุรอาน และวจนะของท่านนบี  มีทั้ง(หลักฐาน)ที่รัดกุมชัดเจน(มุฮ์กัม) และคลุมเคลือหลายนัยยะ(มุตะชาบิฮาต) และจำเป็นจะต้องศรัทธาต่อหลักฐานที่คลุมเครือหลายนัยยะ และปฏิบัติตามสิ่งที่รัดชัดเจน และนำสิ่งที่คลุมเคลือหลายนัยยะ(มุตะชาบิฮาต)ไปสู่สิ่งที่ชัดเจนรัดกุม(มุฮ์กัม) นี่คือแนวทางของอะห์ลุซซุนนะห์

ส่วนแนวทางของบรรดาผู้ตามอารมณ์และอุตริกรรม พวกเขาจะอ้างหลักฐานจากสิ่งที่คลุมเคลือหลายนัยยะ


       ประเภทต่างๆของหลักฐานมุตะชาบิฮาต(คลุมเคลือหลายนัยยะ) และความคลุมเครือหลายนัยยะ แบ่งออกเป็นสองประเภท

     ประเภทแรก : ตะชาบุฮ์ ฮะกีกี เช่น วิธีการของคุณลักษณะต่างๆของอัลลอฮ์ เช่นนี้เรียกว่า ตะชาบุฮ์ ฮะกีกี ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถใช้สติปัญญา และรับรู้ได้ถึงวิธีการจากคุณลักษณะของอัลลอฮ์

     ประเภทที่สอง : ตะชาบุฮ์ นิสบีย์ บางทีตัวบทนี้อาจจะคลุมเครือสำหรับท่าน หรือ สำหรับบางกลุ่ม แต่ทว่า ไม่คลุมเครือกับอีกบางกลุ่ม และด้วยกับสิ่งนี้ เมื่อนำความคลุมเคลือกลับไปสู่มุฮ์กัม หลักฐานต่างๆก็จะชัดเจน และผู้อ้างหลักฐานก็ปลอดภัย เพราะได้นำไปสู่ความหมายที่ต้องการ

 

กฏที่สาม : ไม่มีการขัดแย้งกันของตัวบทและปัญญา


        แท้จริงการขัดแย้งของตัวบทกับปัญญานั้น เป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้ประชาชาตินี้แตกแยก และการปรากฏตัวของพวกอุตริกรรมและผู้หลงผิด และแท้จริงบรรดาบุคคลที่ยึดแนวทางนี้ พวกเขาจะปฏิเสธตัวบทกุรอานและซุนนะห์ ด้วยกับปัญญาของพวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์ กำชับใช้ให้พวกเรานั้นยอมจำนนโดยสิ้นเชิงต่อตัวบททั้งหลาย และไม่มีการตรวจเทียบตัวบทด้วยกับสติปัญญาของเรา และการวิเคราะห์ของเรา(อิจติฮาดบนตัวบท)


         แท้จริงแนวทางของอะห์ลุซซุนนะห์ วัลญะมาอะห์ จะไม่ทำการขัดแย้งตัวบทที่ถูกต้องพร้อมกับสติปัญญาที่ดี ดังนั้นเมื่อมีการขัดแย้งกัน(ระหว่างหลักฐานและสติปัญญา) ปรากฏว่าหลักฐานทางตัวบทนั้นคงไม่ถูกต้อง หรือไม่ก็ หลักฐานทางปัญญานั้นผิดพลาด เมื่ออ้างหลักฐานทางปัญญาถูกต้อง ตัวบทถูกต้อง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ว่าจะขัดแย้งกัน

ตัวอย่างเช่น

ฮะดิษกุดซีย์ที่ถูกต้องและมีการยืนยันว่า แท้จริงอัลลอฮ์ อัซซะวะญัล ตรัสในวันกิยามะห์ว่า

"โอ้ ลูกหลานอาดัม ข้าป่วย แต่เจ้าไม่มาเยี่ยมข้า โอ้ลูกหลานอาดัม ข้าขออาหารจากเจ้า แต่เจ้าไม่ให้อาหารแก่ข้า"

صحيح مسلم2569

 

        ฮะดิษนี้มีปัญหากับชาวบิดอะห์ พวกเขายึดมันเป็นหลักฐานของทัศนะนี้ว่า แท้จริงบทบัญญัตินั้นเป็นไปได้ว่าจะมีการขัดแย้งกับสติปัญญา พวกเขากล่าวอีกว่า ฮะดิษบทนี้ขัดกับสติปัญญา สติปัญญาจะรับได้อย่างไร ที่จะกล่าวพาดพิงความหิวและความเจ็บป่วยแก่อัลลอฮ์ ตะอาลาผู้ทรงสูงส่ง และยิ่งใหญ่ 

        คำตอบ : เป็นไปไม่ได้ และฮะดิษบทนี้ก็เป็นฮะดิษซ่อเฮียะห์ เราขอกล่าวว่า ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใด ฮะดิษบทนี้ซอเฮียะห์ หลักฐานทางปัญญาที่ท่านอ้างก็ถูกต้อง ไม่อนุญาตที่จะอ้างความบกพร่อง จากความหิวโหย และความเจ็บป่วยต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา ผู้ทรงสูงส่ง แต่ปัญหาจริงๆอยู่ในการอ้างหลักฐาน พวกท่านเข้าใจได้อย่างไรว่าฮะดิษบทนี้บ่งบอกถึงการอ้างว่าอัลลอฮ์ สำหรับอัลลอฮ์นั้นมีการหิวโหย และ เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะในประโยคท้ายของฮิษบทนี้มาอธิบายตอนต้นของมัน

"เจ้าไม่รู้ดอกหรือ แท้จริงบ่าวของข้าคนหนึ่งขออาหารจากเจ้า แต่เจ้าไม่ให้อาหารแก่เขา ?

เจ้าไม่รู้ดอกหรือ แท้จริงหากเจ้าให้อาหารแก่เขา เจ้าก็จะพบสิ่งดังกล่าว(ผลบุญ) ณ ที่ข้า”

 صحيح مسلم 2569

       ดังนั้นความหิวและความเจ็บป่วย จึงไม่ถูกอ้างไปยังอัลลอฮ์ ตะอาลา  และฮะดิษบทนี้เป้าหมายแท้จริงแนวทางของชาวอะห์ลิซซุนนะห์ในความเข้าใจตัวบทต่างๆนั้น จะต้องไม่ขัดกับสติปัญญา เมื่อสติปัญญาไม่สามารถรับรู้ถึงความหมายของตัวบท ก็ให้เอาตัวบทนำหน้า เพราะตัวบทได้รับการยืนยันว่าถูกป้องกันจากความผิดพลาด ส่วนสติปัญญานั้นเปลี่ยนแปลงได้ และไม่ได้รับการปกป้องจากความผิดพลาด และสติปัญญานั้นมีความแตกต่างกัน

      ดังนั้นท่านรอซีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ (ขอพระองค์อภัยแก่เรา และเขาด้วยเถิด ) ท่านยอมรับกับประเด็นนี้ ด้วยกับหลักฐานทางปัญญาในที่หนึ่ง หลังจากนั้นก็ยอมรับสิ่งที่ขัดแย้งกัน(กับสติปัญญา) ในอีกที่หนึ่ง  ด้วยกับเหตุนี้จำเป็นที่จะต้องเอาตัวบทนำหน้า เมื่อมีการขัดแย้งกับสติปัญญา


กฎที่สี่ : ความเข้าใจตัวบทหลักฐานที่สอดคล้องกับความเข้าใจของชาวสลัฟซอและห์ ร่อฮิมะฮุมุลลอฮ์

         ตัวบททั้งหลายนั้นไม่ได้มีการนำมาทำความเข้าใจใหม่ ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจสอดคล้องกับสลัฟซอและห์ และเป็นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะทางสติปัญญา หรือทางบทบัญญัติ หรือทางประสาทสัมผัสใดๆที่จะเข้าใจอายะห์ หรือฮะดิษ ซึ่งความเข้าใจใหม่ๆ ที่สลัฟซอและห์ไม่เคยเข้าใจอย่างนั้น

พระองค์อัลลอฮ์ ทรงยกย่องพวกเขาไว้อย่างไร ? พระองค์ตรัสความว่า

“บรรดาบรรพชนรุ่นแรกในหมู่ผู้อพยพ(ชาวมุฮาญิรีนจากมักกะฮ์) และในหมู่ผู้ให้ความช่วยเหลือ(ชาวอันศัอรจากมะดีนะฮ์)"


[سورة التوبة : الآية 100]

และท่านนบี  ได้ยกย่องพวกเขา ในฮะดิษของท่านว่า

“กลุ่มชนที่ดีที่สุดคือยุคของฉัน หลังจากนั้นก็คือยุคต่อจากพวกเขา จากนั้นก็คือยุคต่อจากพวกเขา”


صحيح البخاري الصفحة أو الرقم: 2652

       และเมื่อท่านนบี  ได้บอกว่าแท้จริงประชาชาตินี้จะแตกแยก เหล่าซอฮาบะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม จึงได้ถามถึงกลุ่มที่ปลอดภัย ท่านจึงตอบว่า

«مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِي»     “ผู้ที่อยู่บนแนวทางของฉันและเหล่าซอฮาบะห์ของฉัน”

          และท่านโยงความรอดพ้นด้วยกับแนวทางของท่านและเหล่าซอฮาบะห์ของท่าน และผู้มีสติปัญญาจะกล่าวได้อย่างไรว่า เขาสามารถที่จะเข้าใจตัวบทด้วยกับความเข้าใจใหม่ ที่ชาวสลัฟซอและห์ไม่เคยเข้าใจแบบนี้มาก่อน

        กุรอานถูกประทานมายังกลุ่มชนใด ? กุรอานถูกประทานมาด้วยกับภาษาของพวกเขา พวกเขารู้ดีถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมาของอัลกุรอาน ทว่ากุรอานถูกประทานลงมาเพื่อกำหนดการดำเนินชีวิตของพวกเขา และการกระทำของพวกเขานั้นถูกต้อง พวกเขาอยู่ร่วมในสมัยแห่งการประทานอัลกุรอาน และพวกเขาปฏิบัติตามมัน และพินิจพิจารณาอย่างแท้จริง และเช่นนี้ท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์กล่าวว่า


«مَا أَنَا عَلَيْهِ وَأَصْحَابِي»     “และบนแนวทางของฉันและซอฮาบะห์ของฉัน”


مسند البزار4508

 

          แท้จริงซอฮาบะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม ได้เรียนรู้จากท่านนบี  ถึงความหมายที่แท้จริงของอัลกุรอาน และปรากฏว่าพวกเขาเอาใจใส่ต่อความหมายของอัลกุรอานมากว่าถ้อยคำ และถ่ายทอดสู่ตาบิอีน....  และเช่นนี้หรือ ที่นักวิชาการบางคนเขาไม่หนักใจอันใดเลย ในการที่จะมีใครกล่าวทัศนะหนึ่งที่ไม่เคยมีใครกล่าวมาก่อน !

 


الكاتب: فضيلة الشيخ / حمد التويجري


ที่มา  http://www.assakina.com