ใคร คือแบบอย่างในเรื่องศาสนา
  จำนวนคนเข้าชม  4966

 

ใคร ? คือแบบอย่างในเรื่องศาสนา

 

แปลเรียบเรียง … อบูชีส

 

ท่านร่อซูล  และเหล่าซอฮาบะห์ และเหล่ากัลยาณชนที่ดีงาม พวกเขาทั้งหลายคือ แบบอย่างในเรื่องศาสนา

 

          ♣ ท่านร่อซูล  ท่านคือแบบอย่างในด้านศาสนา หลังจากนั้นก็คือเหล่าซอฮาบะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม เพราะแท้จริงแล้วท่านร่อซูล ได้อบรมพวกเขา และท่านได้จากไปในสภาพที่พอใจในพวกเขาทั้งหลาย และอัลลอฮ์ ทรงรับรองแก่พวกเขา ในการแบกรับศาสนา ความรู้ การปฏิบัติ แน่นอนว่าพวกเขาได้ถ่ายทอดอัลกุรอาน และซุนนะห์ของท่านนบี  และปฏิบัติตามสิ่งที่สอดคล้องกับกุรอานและซุนนะห์ และไม่เคยปรากฏว่าพวกเขาจะใช้อารมณ์และอุตริกรรมในเรื่องศาสนาเลย

 

          ♣ แท้จริงสัจธรรมและทางนำได้วนเวียนอยู่กับบรรดาพวกเขา ไม่ว่าพวกท่านจะย่างกายไปที่ใด และพวกท่านไม่เคยรวมตัวกันอยู่บนความหลงผิด ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอื่นที่แตกแยกไป และบรรดาผู้ที่ยึดตัวบุคคคล และสัญลักษณ์ของกลุ่มต่างๆ ซึ่งบางทีก็อาจจะรวมตัวกันอยู่บนความหลงผิด

 

          ♣ หลังจากนั้นคือ กัลยาณชน จาก ตาบิอีน (ผู้ที่ทันยุคซอฮาบะห์ และเป็นผู้ศรัทธา และตายในสภาพผู้ศรัทธา) และยุคหลังจากนั้น คือ ตาบิอิต ตาบิอีน (ผู้ศรัทธาที่เจริญรอยตามลูกศิษย์ของเหล่าซอฮาบะห์ ) และบรรดาผู้นำสัจจธรรม ในยุคสามร้อยปีแรกที่มีความประเสิรฐ พวกเขาคือแบบอย่างหลังจากนั้น เพราะพวกเขาอยู่บนแนวทางของท่านนบี  และหนทางของเหล่าซอฮาบะห์ พวกเขาไม่เคยปรับเปลี่ยน หรือ เปลี่ยนแปลงจากเหล่าซอฮาบะห์เลย

 

          ♣ บนแนวทางนี้ ที่บรรดาผู้รู้แห่งศาสนา และเหล่าอะห์ลิซซุนนะห์ได้เดินอยู่บนมัน จวบจนถึงทุกวันนี้ และตลอดไปจนถึงวันกิยามะห์ ยึดมั่นด้วยกับสิ่งที่มาจากอัลกุรอานและซุนนะห์ของท่านนบี  เห็นพ้องต้องกันกับร่องรอยของท่านนบี  และเหล่าสะลัฟซอและห์ (กัลยาณชนยุคสามร้อยปี) อัลฮัมดุลิลละห์ หนทางของพวกเขา (ซอฮาบะห์ สะลัฟซอและห์ และเหล่าผู้รู้ที่เจริญรอยตามพวกเขา) มันคือหนทางแห่งปวงผู้ศรัทธา

          พระองค์อัลลอฮ์  ทรงสัญญาว่าจะลงโทษใครก็ตามที่ตามอื่นจากนี้ และทรงทำให้การตามอื่นจากหนทางนี้เป็นการฝ่าฝืนต่อร่อซูล  และถูกลงโทษในไฟนรก ขอต่ออัลลอฮ์  ให้พวกเรารอดพ้นด้วยเถิด ดังที่อัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า

 

"และผู้ใดที่ฝ่าฝืนร่อซูล หลังจากที่คำแนะนำอันถูกต้องได้ประจักษ์แก่เขาแล้ว

และเขายังปฏิบัติตามที่มิใช่ทางของบรรดาผู้ศรัทธานั้น เราก็จะให้เขาหันไปตามที่เขาได้หันไป

และเราจะให้เขาเข้านรกญะฮันนัม และมันเป็นกลับอันชั่วร้าย"

          และด้วยกับสิ่งดังกล่าว ก็เป็นที่ยอมรับว่า แท้จริงการด่าทอเหล่าซอฮาบะห์ และชาวสะลัฟซอและห์ และการใส่ร้ายป้ายสีพวกเขา ก็เท่ากับว่าเป็นการใส่ร้ายต่อศาสนาที่ท่านนบี  ได้นำมา เสมือนว่าเขานั้นหลอกลวงแก่ประชาชาตินี้ และปวงมุสลิมทั้งหลาย เพราะพวกเขาผู้ที่ด่าทอได้ทิ่มแทงผู้ที่ดีที่สุดและเป็นแบบอย่างแห่งประชาชาติ 

          บรรดาผู้ตามอารมณ์ และพวกอุตริกรรม และพวกสร้างความแตกแยกตั้งแง่ที่จะทิ่มแทงเหล่าซอฮาบะห์ และผู้เจริญรอยตามพวกเขา จากตาบิอีน และกัลยาณชนยุคต้น(สามร้อยปีแรก) หรือ บางคณะที่ตามรอยทางที่ดี ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้


รากฐานของศาสนา คือ กุรอาน และ ซุนนะห์

          แนวทางที่ถูกต้อง คือ แนวทางของชาวสลัฟซอและห์ อะห์ลุซซุนนะห์ วัลญะมาอะห์ ได้ยืนหยัดอยู่บน รากฐานของศาสนา คืออัลกุรอาน และซุนนะห์ และอิจมาอ์ (โครงสร้างของมันอยู่บนกุรอานและซุนนะห์) และการตามแนวทางอื่นจากนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่โมฆะ และด้วยกับการเสียชีวิตของท่านร่อซูล  ถือว่าเป็นการสิ้นสุดของวะฮ์ยูที่มาจากอัลลอฮ์  และพระองค์ได้ทำให้ศาสนาสมบูรณ์แล้ว ดังที่พระองค์ตรัสไว้ความว่า

"วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า

และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า

และข้าได้เลือก อิสลาม ให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว"

 [المائدة: 3]

ท่านร่อซูล  แน่นอนว่าท่านได้เผยแผ่สาร์น และบรรลุตามหน้าที่ของท่านแล้ว ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า

«تركت فيكم شيئين لن تضلوا بعدهما: كتاب اللَّه وسنتي، ولن يتفرقا حتى يردا عليّ الحوض». [صحيح الجامع الصغير: 2934

"ฉันได้ทิ้งสองสิ่งไว้แก่พวกท่าน พวกท่านจะไม่มีวันหลงทางหลังจากมันทั้งสอง

นั่นคือ อัลกุรอาน และซุนนะห์ของฉัน

และทั้งสองจะไม่มีวันแตกแยกกัน จนกว่าทั้งสองจะนำกลับมายังฉันอีกที่บ่อน้ำ"

          ศาสนาที่ถูกต้องนั้น จะยืนหยัดอยู่บนการยอมจำนนต่ออัลลอฮ์  และการยอมจำนนอยู่บนการเชื่อมัน และปฏิบัติตาม และการปฏิบัติตามท่านร่อซูล  มันคือศาสนาของอัลลอฮ์  ที่พระองค์ประทานแก่ร่อซูลของพระองค์  ด้วยกับวะฮ์ยู และทรงทำให้มันสมบูรณ์แบบ และไม่อนุญาตให้คนใดอุตริสิ่งใดๆ ขึ้นมาอีก โดยเชื่อมั่นว่าสิ่งนั้นมันคือศาสนา แท้จริงท่านร่อซูล  ได้กล่าวไว้ว่า

«من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد». [متفق عليه

"ผู้ใดที่อุตริกรรมขึ้นมาในศาสนาของเรา โดยที่ไม่มีรูปแบบมาจากเรา สิ่งนั้นไม่ถูกตอบรับ"

ดังนั้นศาสนานี้ ทั้งหมด คือ หลักการยึดมั่น และบทบัญญัติ ไม่อนุญาตนำมาปฏิบัติใช้ เว้นแต่ ต้องมาจากสิ่งที่เป็นวะฮ์ยูเท่านั้น


          หลักการยึดมั่นนั้น คือ รากฐานของศาสนา และตัวชี้วัดต่างๆของมัน คือ รากฐานต่างๆ ที่หลักการยึดมั่นได้รับจากสัจธรรม นั่นคือ อัลกุรอาน และซุนนะห์ และอิจมาอ์ของชาวสลัฟ นี่แหละคือรากฐานของศาสนา และจึงได้มีแขนงต่าง ๆ แยกออกมาจากกฎที่ยิ่งใหญ่ ดังต่อไปนี้

          1. เมื่อความเข้าใจของผู้คนมีความแตกต่างกันต่อตัวบทของศาสนา แท้จริงความเข้าใจของชาวสลัฟ (ซอฮาบะห์ และตาบิอีน และผู้เจริญรอยตามพวกเขา) นั่นคือ หลักฐาน และนี่คือคำพูดที่แยกแยะในประเด็นความเชื่อและประเด็นอื่นๆ เพราะพวกเขาคือผู้ที่ดีที่สุดของประชาชาตินี้ และรู้ดีที่สุด และบริสุทธิ์ที่สุด แน่นอนว่าอัลลอฮ์  และร่อซูลของพระองค์ได้สั่งใช้เราให้เจริญรอยตามพวกเขา และกลับไปยังพวกเขา และขู่สำทับสำหรับผู้ที่ตามแนวทางอื่นจากพวกเขา


          2. และจำเป็นต่อเขา แท้จริงแล้ว แนวทางสลัฟในการยอมรับหลักการยึดมั่นนั้นอยู่บนกุรอานและซุนนะห์ ซึ่งมันคือ สิ่งที่รู้ที่สุด และปลอดภัยที่สุด และมีเหตุผลมากที่สุด สิ่งดังกล่าวจะถูกปฏิบัติตามด้วยกับร่องรอยของพวกเขาที่ถูกบันทึกไว้ในตำรับตำรา และในซุนนะห์ และการปฏิบัติทั้งหลาย


          3. หลักการยึดมั่นนั้น เป็นสิ่งที่หยุดอยู่บนตัวบท ไม่อนุญาติให้ถ่ายทอดโดยไม่ใช้สิ่งที่มาจากวะฮ์ยู เพราะแท้จริงมันคือ สิ่งเล้นลับ ความคิดของมนุษย์ สติปัญญา ความรู้ของพวกเขา ไม่สามารถรู้โดยรอบได้


          4. หลักการยึดมั่นนั้นเป็นสิ่งเล้นลับในรายละเอียดต่างๆ สติปัญญาจึงไม่สามารถรับรู้ได้โดยเอกเทศ ไม่ล้อมรอบด้วยกับความสงสัย ไม่รับรู้ด้วยกับประสาทสัมผัส และความรู้ด้านต่างๆของมนุษย์ และอื่นๆ


          5. ทุกคนที่พยายามรับรองหลักความเชื่อ และดึงข้อมูลมาใช้โดยที่ไม่ได้มาจากรากฐานทางบทบัญญัติ แน่นอนแล้วเขาได้โกหกต่ออัลลอฮ์  และกล่าวถึงอัลลอฮ์  โดยปราศจากความรู้ 


        6. แท้จริงแล้วอะกีดะห์นั้น ถูกวางรากฐานอยู่บนการยอมจำนน ต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา และปฏิบัติตามท่านร่อซูล 

          ท่านอัซซุฮ์รี่ กล่าวว่า "สาร์นนั้นมาจากอัลลอฮ์  ยังท่านร่อซูล  คือผู้เผยแผ่ และจำเป็นต่อเราที่จะต้องยอมจำนน"

[البخاري [ ] 13/508]


          7. เหล่าซอฮาบะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม และผู้นำแห่งชาวตาบิอีน และผู้เจริญรอยตามพวกเขา ตาบิอิต ตาบิอีน และผู้รู้แห่งซุนนะห์ ชาวสลัฟซอและห์ พวกเขาทั้งหลายอยู่บนทางนำของท่านร่อซูล แนวทางของพวกเขา คือแนวทางแห่งมวลผู้ศรัทธา (สะบีลุลมุอ์มินีน) และร่องรอยของพวกเขาก็คือ ซุนนะห์ และหนทางที่เที่ยงตรง

          ท่านเอาซาอีย์ กล่าวว่า "จำเป็นที่ท่านจะต้องยึดแนวทางของผู้ที่อยู่ก่อนหน้าท่าน (ชาวสลัฟ) มาดแม้นว่าผู้คนจะปฏิเสธท่าน และท่านจงระวังแนวคิดของผู้คน(ทั่วไป) ถึงแม้ว่าพวกเขาจะพูดจาเลิศหรูเพียงใดแก่ท่าน ดังนั้นการงานนั้นจะชัดเจน ในขณะที่ท่านอยู่บนหนทางที่เที่ยงตรง"



รากฐานของผู้ปฏิบัติตามอารมณ์

          ส่วนผู้ปฏิบัติตามอารมณ์ แน่นอนว่าพวกเขาแตกออกจากแนวทางของเหล่าชาวสลัฟ ในรากฐานที่ได้รับมาทั้งทางศาสนาและหลักการยึดมั่น ความโน้มเอียงและรากฐานต่างๆของพวกเขานั้นมีหลากหลาย และทำให้เป็นส่วนหนึ่งจากรากฐานของศาสนา จึงรับเป็นหลักการยึดมั่น :

     1. สติปัญญาต่างๆ และอารมณ์ ความคิดเฉพาะบุคคล และความสงสัย คลางแคลง มันคือ การกระซิบกระซาบของเหล่าชัยฏอน และจากบรรดาผู้นำของพวกเขา และใครก็ตามที่ตามความสงสัย และคล้อยตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ

     2. ปรัชญา และยืนหยัดอยู่บนแนวความคิดของพวกนอกรีต และบรรดาผู้ตั้งภาคี จากผู้เปลี่ยนแปลงศาสนาตัวเอง และชาวกรีก พวกอินเดีย และพวกปฏิเสธการฟื้นคืนชีพ และอื่นๆ และปรัชญานั้นคือ การตั้งข้อสงสัย เป็นการโกหก และเป็นการคาดเดาในสิ่งที่ไม่รู้(เร้นลับ)

     3. หลักการยึดมั่นต่างๆของประชาชาติอื่น และรากฐานทั้งหลาย เช่น ตำราของชาวคัมภีร์ และทัศนะต่างๆของพวกเขา และพวกบูชาไฟ และพวกเปลี่ยนแปลงศาสนาของตน และศาสนาทั้งหลายที่บูชาเทวรูป

     4. การปลอมแปลง และการโกหก ณ ที่รอฟิเฏาะห์ และพวกซูฟี และกลุ่มต่างๆส่วนมาก รากฐานนั้นคือ พวกนอกรีต และหัวหน้าของพวกอุตริกรรม พวกเขาใส่ร้ายท่านนบี ใส่ร้ายซอฮาบะห์ และเหล่าตาบิอีน และผู้นำแห่งทางนำ และผู้คนทั้งหลาย และยังกุฮะดิษต่างๆ ผู้รายงาน ด้วยกับสายรายงานที่คลุมเครือ และขัดแย้งกัน

     5. การเห็นสิ่งเล้นลับ ความฝัน การเปิดเผยสิ่งเล่นลับ การรู้ด้วยญาณวิเศษ ณ ที่กลุ่มซูฟี และรอฟิเฏาะห์ รากฐานของมันคือ อารมณ์ และ การกระซิบของชัยฏอน

     6. ความเป็นนัยแอบแฝง(มีหลายนัยยะในคำเดียว) คำแปลก(คำที่ความหมายคลุมเครือ ผู้คนไม่นิยมใช้) สิ่งที่อยู่นอกกฎ(นอกเหนือจากกฎที่นักวิชาการได้วางเอาไว้ หรือขัดกับหลักที่นักวิชาการได้วางเอาไว้ ) จากตัวบทต่างๆทางบทบัญญัติ และด้านภาษา และทัศนะต่างๆของผู้คน(ที่ยังคลุมเคลือ)

     7. การยึดติดอยู่บนทัศนะของผู้คน โดยไม่นำเสนอบทบัญญัติทางศาสนา หรือ ยึดทัศนะ โดยถือว่าทัศนะของพวกเขาไร้สิ่งผิดพลาด และยกย่องพวกเขา(จนเกินเลย)

 


ที่มา : http://midad.com