แนวคิดทางการเมืองของกลุ่มอิควาน
  จำนวนคนเข้าชม  8832

 

แนวคิดทางการเมืองของกลุ่มอิควาน

 

แปลและเรียบเรียง อ.อิสฮาก พงษ์มณี

 

แนวคิดแบบสังคมนิยม

 

มุฮำหมัดฆ่อซาลี กล่าวว่า " อิสลามคือพี่น้องร่วมศาสนา เป็นสังคมนิยมในเรื่องดุนยา" 
 

(อิสลามกับสังคมนิยม หน้า 183)

 

          มุสตอฟาอัสสิบาอี ผู้นำอิควานฯ ในซีเรีย เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งโดยให้ชื่อว่า อิสลามคือ สังคมนิยม หรือ อิชติรอตีกี้ยุ้ลอิสลาม  มุฮำหมัดฆ่อซาลี กล่าวไว้ว่า " การบรรลุเป้าหมายต่างๆเหล่านั้น (หนึ่งในนั้นก็คือ การจัดระเบียบสังคมมุสลิม) ต้องอาศัยการลอกแบบบางส่วนจากสังคมนิยมในยุคใหม่ เหมือนดังที่เคยลอกแบบบางส่วนมาจากระบอบประชาธิปไตย" 
 

(อัลอิสลาม อัลมุฟตะรออะลัยฮฺ หน้า 66)


 

กล่าวหาสังคมมุสลิมโดยรวมว่าเป็นกาเฟร

 

          ซัยยิดกุฏุบ กล่าวว่า "ปัจจุบันนี้หาได้มีประเทศมุสลิมเลยในโลก และหาได้มีสังคม ที่เป็นมุสลิมที่มีกฏเกณฑ์ของสังคมตั้งมั่นอยู่บนบทบัญญัติของอัลเลาะห์และความเข้าใจแบบอิสลาม" 
 

(ซิลาลุ้ลกุรอ่าน เล่ม4 หน้า 2122)

 

        เขายังกล่าวอีกว่า "มนุษยชาติโดยรวม ซึ่งรวมถึงบรรดาผู้ที่กล่าวว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์ บนหออะซานทั่วทุกมุมโลก พวกเขากล่าวโดยไร้เป้าหมาย ปราศจากโลก แห่งความเป็นจริง พวกนี้มีบาปหนาและจะต้องได้รับโทษรุนแรงในวันกิยามะห์ เพราะพวกนี้หลุดออกจากศาสนาสู่การเคารพคนด้วยกันหลังจากที่ครั้งหนึ่งเคยอยู่ในศาสนาของอัลเลาะห์" 
 

(ซิลาลุ้ลกุรอ่าน เล่ม2 หน้า 1057)


ชื่นชมชีอะห์-บิดอะห์ แต่กล่าวหาซุนนะห์

ด๊อกเตอร์ยูซุบกอรฎอวี กล่าวว่า 

         " อีหร่านซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชีอะห์ 12 อิหม่าม ขบวนการเคลื่อนไหวของอิหม่ามโคมัยนีได้เริ่มขึ้น เป็นขบวนการที่ปกครองโดยผู้รู้ แทนการรอคอยอิหม่ามที่ยังไม่ปรากฏ(ชีอะห์ศรัทธาเรื่องการรอคอยอิหม่ามคนที่สิบสองจะ กลับมาปกครองโดยธรรม) ท่านได้ต่อสู้กับทรราช (ซาร์) และความเสื่อมทรามของเขา ท่านได้รับความทุกข์ยากเพื่อหนทางดังกล่าวดังที่เห็น ..." 

(อุมมะตุนา บัยน่า กอรนัยน์ หน้า 72)

สะอี๊ดฮะวา นับเป็นผู้นำคนสำคัญของอิควาน ฯ อีกคนหนึ่งที่ชื่นชมแนวทางที่เป็นบิดอะห์ทางความเชื่อ เขากล่าวว่า 

          "หลายยุคสมัยที่ผ่านมา สำหรับบรรดามุสลิมมีผู้รู้ผู้นำในทุกด้าน ผู้นำในด้านหลักการศรัทธาเชื่อมั่น ผู้นำในด้านฟิกห์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ผู้นำในด้านตะเศาวุฟ (วิธีปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลส นับเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากยุคของร่อซูลุ้ลเลาะห์ - ผู้แปล)และวิธีการมุ่งสู่อัลเลาะห์ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้นำทางด้านหลักการศรัทธาเชื่อมั่นได้แก่อะบุลฮะซัน อัลอัชอะรีและอะบูมันซูร อัลมาตุรีดี่" 

(เญาลาตุ ฟิ้ล ฟิกฮัยนฺ อัลกะบี้ร วัศศ่อฆีร หน้า 22  หลักอะกีดะห์ของท่านทั้งสองเป็นหลักการที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งเป็นการผสมผสานปัญญาเข้ากับหลักการศาสนา และไม่ใช่เป็นหลักความเชื่อมั่นของคนในยุคซะละฟุซซอและห์ ที่จริงแล้วท่า นอะบุ้ลฮะซันอัลอัชอะรี่ ได้กลับไปยึดถือหลักศรัทธาตามแบบซะละฟุซซอและห์ในช่วงปลายชีวิต ของท่าน สิ่งที่เป็นหลักฐานในเรื่องนี้ได้ชัดเจนก็คือหนังสือของท่านที่ชื่อว่า อัลอิบานะห์ฟี-อุศู้ลลิดดิ ยานะห์)

          อาเอดอัลกอรนี่ นักพูดรุ่นใหม่ของซาอุฯ มีความโน้มเอียงไปทางแนวคิดแบบอิควานฯ เขาได้ชื่นชมผู้นำของอิควาน ฯ ในแต่ละยุคแม้จะมีหลักความเชื่อที่ผิดเพี้ยนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น ซัยยิดกุฏุบ อะบุ้ลฮะซันอัลเมาดูดี่ มุฮำหมัด อะห์หมัดรอชิด 

         ท่านเชคอับดุลมาลิก ร่อมะฎอนี่ อัซ ซะละฟี กล่าววิจารณ์เชคอาเอด อัลกอรนี่ ไว้ว่า "นี่หรือคือผู้ยึดมั่นในซุนนะห์และเดินตามแบบอย่างของซะลัฟ เขาทำกันอย่างนี้หรือ" 

(มะดาริกุ้ลนะซอร หน้า 147 ของเชค อัลดุลมาลิก ร่อมะฎอนี่)

ฏอริก อัซซุวัยดาน หนึ่งในแกนนำของอิควาน ฯ ในยุคปัจจุบัน กล่าวว่า 

        " จุดร่วม ระหว่าง (ซุนนะห์และชีอะห์) มีมากมายเหลือเกิน ส่วนจุดต่างนั้นมีน้อยมาก ขอยกตัวอย่างเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่พี่น้องชาวชีอะห์ภาคภูมิใจ นั่นก็คือการให้เกียรติและให้ ความยิ่งใหญ่ต่ออะห์ลุลบัยต์ (ครอบครัวและ สายตระกูลของนบี) อะลัยฮิสสลาม เมื่อได้วิเคราะห์ประเด็นนี้จากแนวทางของชาวซุนนะห์ ปรากฏว่าพวกเขาก็ยกย่องให้เกียรติแก่อะห์ลุลบัยต์เช่นกัน แต่ก็ด้อยกว่าการยกย่องให้เกียรติของชีอะห์ 

         ฉันกล้าพูดเช่นนี้ต่อพี่น้องชาวซุนนะห์โดยไม่ลังเล เพราะจำเป็นที่พวกเขาจะต้องรัก เทิดทูน และให้ความยิ่งใหญ่ต่ออะห์ลุลบัยต์ ฉันพูดเช่นนี้หาใช่เป็นการเอาใจ แต่มันคือศาสนา ศาสนาที่ปรากฏในกิตาบุ้ลเลาะห์และซุนนะห์ของนะบี และต้องปรากฏในทางปฏิบัติที่ชัดเจน ส่วนเราชาวซุนนะห์ เรารักและให้เกียรติอะห์ลุลบัยต์น้อยเกินกว่าที่ควรเป็น ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องแสดงออกในเรื่องดังกล่าวให้มากกว่านี้" 

(วาเกี๊ยะอ์ วะมุอาละญาต ด๊อกเตอร์ ฏอริก อัซซุวัยดาน คำพูดเช่นนี้คงไม่ต้องการคำอธิบายใดๆ มันเป็นการกล่าวหาทั้งคนในยุคอดีตและปัจจุบันที่ยึดมั่นอยู่ในแนวทางของซุนนะห์ว่าบกพร่องใน เรื่องการให้ความรักต่ออะห์ลุลบัยต์ และเป็นการชื่นชมชีอะห์อย่างเห็นได้ชัดเจน ขอถามว่าบิดอะห์ ใดใหนจะเท่าบิดอะห์ของชีอะห์)

          อุมัร ตะละมัซซานี่ ก็นับเป็นผู้นำอิควาน ฯ อีกคนหนึ่งที่ยืนยันว่า อิควานฯ ไม่ตำหนิ ปฏิวัติอิสลามในอีหร่าน เขากล่าวว่า " ฉันไม่พบว่ามีสมาชิกอิควาน ฯ คนใดในโลกประณามอีหร่าน (หลังการปฏิวัติ) "

(วารสาร คริสต์เนท ฉบับ 16/12/1984 บทสัมภาษณ์ผู้นำอิควาน ฯ ภายใต้หัวข้อเรื่อง "มุสลิมภาคสนาม")

ซัลมาน เอาดะห์ นักพูดรุ่นใหม่ของซาอุฯ ที่โน้มเอียงไปในทางแนวคิดแบบอิควานกล่าว ไว้ว่า 

          " โอ้พี่น้องทั้งหลาย นักเคลื่อนไหวอิสลามในยุคสมัยนี้มีอยู่ในทุกส่วน หากท่านมอง ไปในด้านการดะอ์วะห์สู่อัลเลาะห์ ท่านก็จะพบว่ามีวีรบุรุษที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง และมีผลต่อสังคมของเขาอย่างใหญ่หลวง ชื่อที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะได้แก่ เชคฮะซัน อัลบันนา เชคอะบุลอะอ์ลา อัลเมาดูดี่ และท่านอื่นๆ ที่เป็นนักสร้างสรรค์ในยุคใหม่ และ หากมองในด้านวัฒนธรรมและนักคิด เราก็จะพบบุคคลเช่นท่านอาจารย์ซัยยิดกุฏุบและ มุฮำหมัดกุฏุบ เป็นต้น " 

(เทปบันทึกเสียงภายใต้หัวข้อ "เหตุใดเรากลัวการวิจารณ์ – ลิมาซา นะคอฟุ้ล นักดฺ" ของซันมาน2 เอาดะห์ สามารถดาวน์โลดได้จากหลายเว็บไซด์ที่โน้มเอียงและสนับสนุนทางแนวคิดแบบอิควาน ฯ อะก่อบาต อะลา ฏ่อรีกิด ดุอาด เล่ม ๒ หน้า ๔๐๘)


 

ขบถต่ออำนาจรัฐแม้จะเป็นมุสลิม

มุฮำหมัดรอชิด กล่าวว่า "การขบถต่อผู้นำที่อธรรมเป็นแบบอย่างของคนยุคเก่า" จากหนังสือ อัลมะซาร ของมุฮำหมัดรอชิด

          อับดุลเลาะห์นาเศี๊ยะห์อะละวาน นักคิดนักเขียนของอิควานฯ กล่าวว่า "บรรดามุสลิม ไม่อาจก่อตั้งระบบปกครองได้ ... จากการปฏิวัติทางทหาร คงไม่เหลือทางเลือกเบื้องหน้าพวกเขาที่จะแก้ปัญหาในทางปฏิบัติที่สมเหตุสมผลได้ เว้นแต่จะต้องอาศัยวิธีการมวลชนปฏิวัติ" 

(อะก่อบาต อะลา ฏ่อรีกิด ดุอาด เล่ม ๒ หน้า ๔๐๘)

 

          ที่กล่าวมาแล้วนี้เป็นเพียงตัวอย่างแนวคิดความเชื่อของผู้นำกลุ่มอิควานฯ ทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะค้านกับแนวทางของซะลัฟหรือบรรพชนในยุคต้นๆ อิสลาม แม้ว่าพวกเขาจะมีเจตนาดีเพียงใดก็ตาม พวกเขาก็ไม่อาจบรรลุเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้เพราะทิศทางและ วิธีการไม่เป็นไปตามแบบอย่างของบรรพชนที่ดีทั้งหลาย การรวมคนโดยไม่แยกแยะความถูกผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องหลักการศรัทธาเชื่อมั่น เพื่อหวังเป็นฐานสู่การสร้างระบบค่อลีฟะห์ ไม่ใช่แนวทางของบรรดานะบีและร่อซู้ลของอัลเลาะห์ 

          ศาสนาอิสลามตามที่บรรดานะบีของอัลเลาะห์ นำมาประกาศสอนนั้น คือการเรียกร้องผู้คนไปสู้การเคารพกราบไหว้อัลเลาะห์ ปราศจากการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์ และเรียกร้องไปสู่การปฏิบัติตามศาสดาของอัลเลาะห์โดยไม่โต้แย้งด้วยเหตุผลใดๆ นั่นคือรากฐานอันมั่นคงที่จะสร้างความสามัคคีและมีพลังอย่างแท้จริง หาใช่การรอมชอมในเรื่องผิดๆ โดยอาศัยหลักที่ว่า แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง หลักการดังกล่าวนี้หาใช่หลักการที่มาจากอัลเลาะห์ และไม่ใช่คำสอนของศาสดาใดๆ ของอัลเลาะห์ อีกทั้งไม่มีบรรพชนในยุคต้น อิสลามท่านใดสอนไว้เช่นนั้น