สาเหตุของการสุญูดสะหวี่
แปลและเรียบเรียงโดย... อ.อิสหาก พงษ์มณี
สาเหตุให้ต้องมีการสุญูดสะห์วี่นั้น แบ่งได้ดังนี้
1) เพิ่ม
(1) เพิ่มการกระทำ
(2) เพิ่มถ้อยคำ
2) ลด
(1) ลดการกระทำ
(2) ลดถ้อยคำ
3) ลืม
(1) ไม่มั่นใจในสิ่งหนึ่งใดเลย
(2) มั่นใจในบางสิ่งแต่ก็สงสัยในบางสิ่ง
กฏเกณฑ์ข้อที่หนึ่ง
“วาญิบใดๆ ในละหมาดหากถูกละเลยโดยหลงลืมและเลยที่ๆ ต้องกระทำ ให้ถือว่าวาญิบนั้นตกไปและให้สุญูดสะห์วี่แทน”
สิ่งที่เป็นวาญิบ (ต้องกระทำ) ในละหมาดตามที่นักวิชาการระบุไว้นั้นพอ สรุปได้ดังนี้คือ
1) การตัดบีรที่มิใช่ตักบีรครั้งแรก(ตักบีร่อตุ้ลเอี๊ยฮ์รอม)
2) การกล่าว “สะมิอัลลอฮุลิมันฮะมิดะห์” สำหรับอิหม่ามและผู้ละหมาด คนเดียว
3) การกล่าว “ร็อบบะนาวะละกัลฮัมดุ” สำหรับทุกคน
4) การกล่าว “ซุบฮาน่าร็อบบิยัลอะซีม” (กล่าวหนึ่งครั้งถือว่าเป็นวาญิบ และสามครั้งเป็นส่วนสมบูรณ์)
5) การกล่าว “ซุบฮาน่าร็อบบิยัลอะอฺลา” (กล่าวหนึ่งครั้งถือว่าเป็นวาญิบ และสามครั้งเป็นส่วนสมบูรณ์)
6) การกล่าว “ร็อบบิฆฟิรลี” (กล่าวหนึ่งครั้งถือว่าเป็นวาญิบและสามครั้ง เป็นส่วนสมบูรณ์)
7) การอ่าน “ตะชะห์ฮุด” ครั้งแรก 8) การนั่งเพื่อ “ตะชะห์ฮุด” ครั้งแรก
ผู้ที่ละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งที่เป็นวาญิบเหล่านั้น อาจเป็นไปได้สองลักษณะคือ โดยตั้งใจและโดยหลงลืม หากละทิ้งโดยตั้งใจละหมาดของเขาเสีย แต่ถ้าละทิ้ง เพราะความหลงลืมซึ่งเกิดขึ้นได้สองกรณีอีกเช่นกัน คือยังไม่เลยที่ๆ จะกระทำ หรือกล่าวสิ่งที่เป็นวาญิบนั้น ก็ให้กล่าวหรือกระทำสิ่งที่เป็นว่าญิบนั้นเสีย หรือถ้า เลยไปเล็กน้อยแต่ยังไม่เลยไปสู่อิริยาบถอื่น ก็ให้ย้อนกลับมากระทำ ในกรณีนี้ไม่ จำเป็นต้องสุญูดสะห์วี่แต่อย่างใด แต่ถ้าหากเลยไปสู่อิริยาบถอื่นแล้ว ก็ให้ทำต่อ ไปจนละหมาดครบจำนวนแล้วให้สุญูดสะห์วี่ก่อนให้สลาม หลักฐานก็คือฮะดีษ ในบทที่สี่ และรายงานดังต่อไปนี้
ท่านอัลมุฆีเราะห์ อิบนุ ชั๊วอ์บะห์ กล่าวว่า ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม
“เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดยืนขึ้นจากสองร็อกอะห์ (โดยมิได้นั่งตะชะฮุดแรก)หากยังมิได้ยืนตรงก็จงนั่งลง
แต่ถ้ายืนตรงแล้วก็ไม่ต้องนั่งลงแต่ให้สุญูด สะห์วี่สองครั้ง”
(อบูดาวู๊ด / 1036,อิบนุมาญะห์ / 1208,อะห์หมัด / 18248,อัลบัยฮะกี / 3661, ด้วยสายรายงานที่ฎ่ออีฟ เพราะทุก8 กระแสผ่านทางญาบิร อัลญะอัฟ และอัฏฏ่อฮาวีจากทางอิบรอฮีม อิบนุ ฏั๊วห์มาน ด้วยสายรายงานที่อศ่อเฮี๊ยห์)
ลืมการตะชะฮุดครั้งแรก
การลืมตะชะฮุด (คือการนั่งอ่านอัตตะฮิยาตู้ ฯ ใ นร็อกอะห์ที่สองหาก ละหมาดนั้นมีสามหรือสี่ร็อกอะห์) เป็นได้สองกรณีคือ
กรณีที่หนึ่ง ยืนขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ในร็อกอะห์ที่สาม ซึ่งหมายความว่า เลยที่ๆ จะอ่านตะชะฮุดแล้ว จะพูดอีกนัยหนึ่งคือหากยืนโดยสมบูรณ์แล้วก็ หมดเขตที่จะต้องอ่านตะชะฮุดครั้งแรก ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องนั่งลงเพื่ออ่านตะ ชะฮุดแต่อย่างใด !
กรณีที่สอง ขยับตัวเพื่อยืนขึ้นแต่การยืนนั้นยังไม่สมบูรณ์ก็ให้นั่งลงทันที เพื่ออ่านตะชะฮุดครั้งแรกนั้น นักวิชาการส่วนใหญ่มีความเข้าใจตรงกันว่าตะชะ ฮุดครั้งแรกเป็นวาญิบในละหมาด ดังนั้นวาญิบใดๆ ในละหมาดก็มีข้อตัดสิน (หุก่ม) เดียวกับตะชะฮุดครั้งแรกนี้ กล่าวคือให้เทียบวิธีปฏิบัติต่อวาญิบอื่นๆ จาก การปฏิบัติต่อการตะชะฮุดครั้งแรก มีรายงานบางกระแสที่ค้านต่อคำอธิบายนี้ แต่นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นรายงานที่อ่อน ตัวอย่างในทางปฏิบัติ
ตัวอย่างที่หนึ่ง ลืมตะชะฮุดครั้งแรกและเลยไปกระทำหรืออยูในอิริยาบถ อื่นแล้ว ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับมาทำตะชะฮุดนั้น เพียงแตให้สุญูดสะห์วี่ก่อนที่จะสลาม
ตัวอย่างที่สอง อิหม่ามก้มลงสุญูด โดยลืมกล่าวคำว่า “สะมิอัลลอฮุลิมัน ฮะมิดะห์” หากก้มลงไปสุดตัวแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องยืนขึ้นเพื่อกล่าวคำดังกล่าว เพราะคำกล่าวนั้นเป็นวาญิบของการละหมาด หากวาญิบใดพลาดที่จะกระทำ ในที่ๆ ของมัน ก็ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปทำอีก สิ่งที่ต้องทำคือให้สุญูดสะห์วี่ สองครั้งก่อนจะให้สลาม
ตัวอย่างที่สาม หากลืมบัสเบี๊ยห์ในรุกั๊วอ์หรือสุญูด โดยที่ผู้ละหมาดนึก ขึ้นได้หลังจากที่เลยไปสู่อิริยาบถอื่นแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปกล่าว ถ้อยคำเหล่านั้น เพียงแต่สิ่งที่ต้องทำคือให้สุญูดสะห์วี่สองครั้งก่อนให้สลาม
กฏเกณฑ์ข้อที่สอง
“รุกน์ (รุก่น)ใดๆ ในละหมาดหากถูกละเลยโดยหลงลืมต้องย้อนกลับมาทำ รุกน์นั้นและให้สุญูดสะห์วี่หลังสลามแล้ว”
กฎข้อนี้มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากฎข้อแรก เพียงแต่กฏในข้อแรก นั้นเกี่ยวข้องกับวาญิบาต (พหูพจน์ของคำว่าวาญิบะห์) ของละหมาดแต่กฎข้อที่ สองนี้เกี่ยวข้องกับอัรกาน (พหูพจน์ของคำว่ารุกน์) ของละหมาด นักวิชาการระบุว่าสิ่งที่เป็นอัรกานุศศ่อลาห์ (องค์ประกอบหลักของการ ละหมาด) มีดังนี้
1) การตักบีรครั้งแรก
2) การอ่านอัลฟาติฮะห์
3) การก้มรุกั๊วอ์
4) การเงยขึ้นจากรุกั๊วอ์
5) การสุญูด
6) การเงยขึ้นจากสุญูด
7) การนั่งระหว่างสองสุญูด
8) การความสำรวมและสงบนิ่ง
9) การตะชะฮุดครั้งสุดท้าย
10) การนั่งตะชะฮุดครั้งสุดท้าย
11) การให้สลามทั้งครั้ง
12) การเรียงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
13) การยืนหากสามารถยืนได้
นักวิชาการเห็นตรงกันในเจ็ดข้อแรกและเห็นแตกต่างกันในข้อที่เหลือ อัลอัรกานเหล่านี้ หากผู้ใดละเว้นโดยหลงลืมจะมีผลต่อเขาดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง การสุญูดสะห์วี่ไม่อาจทดแทนสิ่งดังกล่าวได้ กล่าวคือแม้ จะตั้งใจหรือหลงลืม ผู้ปฏิบัติต้องย้อนกลับมาทำให้ครบถ้วนในสิ่งที่ตนละทิ้งหรือ ละเว้นไม่ปฏิบัติ ซึ่งมีความแตกต่างจากวาญิบาตต่างๆ ดังที่กล่าวแล้ว
ประการที่สอง หากละเว้นการปฏิบัติในข้อหนึ่งข้อใดจากอัรกานของ ละหมาด จำเป็นต้องย้อนกลับไปกระทำรุกน์นั้น ๆ ให้ครบถ้วนแม้จะนึกได้เมื่อ ย้ายอิริยาบถไปอยู่ในรุกน์ถัดไปก็ตาม มีบางมุมมองเห็นว่าหากเริ่มปฏิบัติในรุกน์ ถัดไปแล้วกล่าวคือเปลี่ยนอิริยาบถไปสู่อิริยาบถอื่นโดยสมบูรณ์แล้ว ก็ให้นับร็อก อะห์ใหม่ทีกำลังปฏิบัติอยู่ แทนร็อกอะห์ที่ขาดรุกน์นั้น และหากผู้ใดย้อนกลับไป ทำในสิ่งที่ขาดในกรณีที่เปลี่ยนอิริยาบถแล้ว การละหมาดของเขาก็เสีย มุมมองนี้ มีผู้แย้งว่าเป็นมุมมองที่อ่อนทั้งในแง่ของหลักฐานและในแง่ของเหตุผล ซึ่งมีบท วิเคราะห์กว้างขวางมากขอเว้นจะไม่กล่าวถึงเพราะเกรงจะยืดยาว
ประการที่สาม การสุญูดสะห์วี่ในสภาพที่กล่าวนี้ ต้องสุญูดหลังจากให้ สลามแล้ว หลักฐานก็คือฮะดีษบทที่หนึ่ง และบทที่สอง
ตัวอย่างในทางปฏิบัติ
ตัวอย่างที่หนึ่ง ผู้ใดที่ให้สลามไปแล้ว แต่นึกได้ว่าละหมาดของเขายังขา ดอยู่ร็อกอะห์หนึ่งหรือสองร็อกอะห์ก็ตาม ให้เขาละหมาดส่วนที่ขาดให้สมบูรณ์ หลังจากนั้นก็ให้สลามและทำการสูญูดสะวี่สองครั้งพร้อมกับให้สลามอีกรอบหนึ่ง
ตัวอย่างที่สอง หากผู้ใดลืมรุกั๊วอ์หรือสุญูดโดยได้ยืนขึ้น ให้เขาย้อนกลับ ไปทำสิ่งที่ละเว้นนั้นให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในทันที และกระทำสิ่งที่เหลือต่อจากนั้น ให้สมบูรณ์เพราะสิ่งที่กระทำแล้วหลังรุกน์ที่ถูกละเว้นนั้นไม่นับว่าถูกต้อง ทั้งนี้ เพราะขาดการเรียงลำดับ หลังจากนั้นก็ให้สลามแล้วสุญูดสะห์วี่สองครั้งและอีก สลามอีกรอบหนึ่ง
ตัวอย่างที่สาม กรณีที่ละเว้นการนั่งระหว่างสองสุญูด หากนึกขึ้นได้เมื่อ ยืนขึ้นแล้วก็ให้ย้อนกลับไปนั่งและสุญูดครั้งที่สองและสิ่งที่อยู่หลังสุญูดครั้งที่ สองจนเสร็จละหมาดแล้วให้สลาม หลังจากนั้นให้สูญูดสะห์วี่และสลามอีกรอบหนึ่ง