ความสำคัญของการอบรมลูกๆในอิสลาม
แปลโดย อบูชีส
บรรดาเด็กๆดังที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานนั้นคือ เครื่องประดับแห่งชีวิตในดุนยา พระองค์อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
"ทรัพย์สมบัติและลูกหลานคือ เครื่องประดับแห่งการดำรงชีวิตในโลกนี้"
(กะฮ์ฟี่ 46)
พวกเขาคือความโปรดปรานที่ควรแก่การขอบคุณ พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
"และข้าได้ทำให้เขามีทรัพย์สมบัติอย่างล้นเหลือ และลูกหลานอย่างพรั่งพร้อม และข้าได้ทำให้เขาสุขสบายอย่างราบรื่น"
(มุดดัรซิร 12-15)
และในขณะเดียวกันพวกเขาก็คือความรับผิดชอบที่จำเป็นจะต้องเอาใจใส่พวกเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่พวกเขา อัลลอฮ์ตรัสไว้ว่า
"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน มีมะลาอิกะฮฺผู้แข็งกร้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา "
(อัตตะฮ์รีม 6)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ว่า
"พวกเจ้าจงสอนตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าด้วยกับความดี"
ท่านอิบนิอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ่ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ กล่าวว่า
“ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และทุกคนในหมู่พวกท่านต้องถูกสอบสวนต่อความรับผิดชอบของเขา"
♣ ผู้นำเป็นผู้รับผิดชอบและต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา
♦ สามีเป็นผู้รับผิดชอบในครอบครัวของเขา และเขาต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา
♦ ภรรยาเป็นผู้รับผิดชอบในครอบครัวของสามีของนาง และนางต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของนาง
♦ ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบในทรัพย์สินของผู้จ้าง และเขาต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา
♦ ชายคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบในทรัพย์สมบัติของบิดาของเขา และเขาต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา
ดังนั้น ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และทุกคนต้องถูกสอบสวนในความรับผิดชอบของเขา”
(บันทึกโดยอิมามบุคอรียฺและมุสลิม)
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ผู้ปกครองไม่ได้ให้ของขวัญใดกับลูกที่จะดีไปกว่ามารยาทที่ดีงาม"
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้อีกว่า
"แท้จริงอัลลอฮ์จะถามทุกคนที่มีความรับผิดชอบจากสิ่งที่เขาได้รับผิดชอบดูแลมัน ว่าเขาดูแลรักษาหรือปล่อยปละละเลย?
จนกระทั่งมาถามผู้ชายถึงคนในครอบครัวของเขา"
จากซะฮัล บินสะอั๊ด ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ่ กล่าวว่า ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
“ฉันและผู้อุปการะเด็กกำพร้า จะได้อยู่ในสวรรค์เช่นนี้” และท่านรอซูลได้ชูนิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้นแล้วแยกออกจากกัน
(ดูในบุคอรีย์ เล่ม 10 หน้า 365)
จากท่านอนัสร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ่ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"บุคคลใดที่ดูแลลูกสาวสองคนจนกระทั่งทั้งสองเติบใหญ่ในวันกิยามะห์ฉันกับเขาจะอยู่เช่นทั้งสองนี้ และท่านก็ได้ชูนิ้วทั้งสองขึ้นมา"
จากท่านหญิงอาอิชะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ได้มีผู้หญิงคนหนึ่งมาหาฉันพร้อมกับลูกสาวทั้งสองของนางเพื่อมาขอ แต่ฉันไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากอินทผลัมเม็ดเดียว ดังนั้นฉันจึงให้นางไป นางก็แบ่งให้แก่ลูกทั้งสองของนาง และนางก็ไม่ได้กินมัน จากนั้นนางก็ลุกออกไป ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็เข้ามา ฉันก็บอกเรื่องนี้กับท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านก็กล่าวว่า
“ใครก็ตามที่ถูกทดสอบด้วยกับบรรดาลูกสาวด้วยกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดและเขาก็ทำดีกับพวกนาง บรรดาลูกสาวของเขาก็จะเป็นม่านกั้นปกป้องเขาจากไฟนรก”
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"ใครก็ตามที่ดูแลบุตรสาวสามคน และอบรมพวกนางเป็นอย่างดี
และจัดการแต่งงานให้แก่พวกนาง และทำความดีแก่พวกนาง สำหรับเขาคือสรวงสวรรค์"
ตัวบททั้งหลายและยังมีอีกมากมายที่บ่งถึงความประเสริฐของการอบรมลูกหลาน มันคือแขนงหนึ่งจากการอบรมบุคคลที่อิสลามพยายามตระเตรียมและสร้างเขาขึ้นมาเพื่อที่จะให้เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่งที่เป็นบุคคลที่ยังประโยชน์ เป็นมนุษย์ที่ดีในการดำรงชีวิต แต่ทว่ามันคือจุดประสงค์สำคัญแห่งการแต่งตั้งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังที่อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
"พระองค์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งร่อซูลขึ้นคนหนึ่งในหมู่ผู้ไม่รู้จักหนังสือจากพวกเขาเอง
เพื่อสาธยายอายาตต่าง ๆ ของพระองค์แก่พวกเขา และทรงทำให้พวกเขาผุดผ่อง"
* * (อัสตัซกียะห์) การขัดเกลา ก็คือ การอบรม และที่ยิ่งใหญ่ที่สูด ทว่าสูงส่งที่สุด ก็คือการอบรมบุคคลให้รู้จักการข้อเท็จจริงในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ บริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ และปลอดภัยจากการตั้งภาคี
* * ท่านอิบนุกะซีร ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ได้กล่าวเกี่ยวกับดำรัสของอัลลอฮ์ ตะอาลาที่ว่า “และทรงทำให้พวกเขาผุดผ่อง” ก็คือ การขัดเกลาพวกเขาจากมารยาทที่ต่ำทราม และหัวใจที่สกปรก และการปฏิบัติที่ป่าเถื่อน
(تفسير القرآن العظيم لابن كثير 1/196. ـ.)
และด้วยกับสิ่งนี้บรรดานักวิชาการต่างก็ให้ความสำคัญกับการอบรมเยาวชน และสิ่งที่ชี้ให้เห็นชัดเจนก็คือ บรรดาบทประพันธ์ และหนังสือต่างๆของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความสำคัญของการอบรม หรือ การอธิบายถึงแนวทางและผลลัพธ์ต่างของการอบรมบ่มนิสัยเยาวชน
ท่านอิหม่ามฆ่อซาลีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์กล่าวไว้ว่า
“เด็กน้อยคือหน้าที่ของผู้เป็นพ่อแม่ และหัวใจของเขานั้นบริสุทธิ์ดั่งอัญมณีที่เลอค่า ไร้เดียงสา ปราศจากรอยจารึกและรอยขีดเขียนใดๆ เขาได้พบกับรอยจารึกและเอนเอียงไปสู่ทุกๆสิ่งที่โน้มน้าวเอาเขาไป
ดังนั้นหากเขาคุ้นเคยและถูกสอนความดี เขาก็เติบโตอยู่บนความดี และผู้ที่เป็นผู้ปกครองของเขา ครูของเขา ผู้อบรมเขา ก็มีความสุขทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์
และหากเขาเคยชินอยู่กับความไม่ดี ถูกปล่อยปละละเลยเฉกเช่นกับการปล่อยของสัตว์ ความเสียใจ ความวิบัติ และความผิดก็ตกอยู่บนความรับผิดชอบของที่รับผิดชอบและผู้ปกครองเขานั่นเอง ”
( إحياء علوم الدين 3/72.)
และท่านก็ได้กล่าวไว้อีกว่า :
"เช่นเดียวกันกับร่างกาย ในจุดเริ่มต้น ยังถูกสร้างไม่สมบูรณ์ แท้จริงแล้วมันจะสมบูรณ์และแข็งแรงได้ด้วยกับการพัฒนาการความเจริญเติบโต และการอบรม ด้วยกับอาหาร เช่นเดียวกับจิตใจที่เริ่มแรกก็ไม่สมบูรณ์ แท้ที่จริงมันจะสมบูรณ์ได้ด้วยกับการอบรม บ่มเพาะมารยาท อาหารของมันก็คือ ความรู้”
( إحياء علوم الدين 3/61.)
ทว่าแท้ที่จริงการจ่ายค่าเลี้ยงดูครอบครัวและลูกหลานเป็นอิบาดะห์ ดังที่อัลลอฮ์ตรัสไว้ว่า
"และหน้าที่ของพ่อเด็กนั้นคือปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครื่องนุ่งห่มของพวกนางโดยชอบธรรม"
( سورة البقرة 233 )
พระองค์ทรงตรัสอีกว่า
"ควรให้ผู้มีฐานะร่ำรวยจ่ายตามฐานะของเขา
ส่วนผู้ที่การยังชีพของเขาเป็นที่คับแค้นแก่เขาก็ให้เขาจ่ายตามที่อัลลอฮฺทรงประทานมาให้แก่เขา
อัลลอฮฺมิได้ทรงให้เป็นที่ลำบากแก่ชีวิตใด เว้นแต่ตามที่พระองค์ทรงประทานมาแก่ชีวิตนั้น"
( سورة الطلاق 7 )
พระองค์ทรงตรัสอีกว่า
"และอันใดที่พวกเจ้าบริจาคจากสิ่งใดก็ดีพระองค์จะทรงทดแทนมัน"
سورة سبأ39.
จากอบีฮุร็อยเราะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"หนึ่งดีนารที่ท่านได้ใช้จ่ายมันในหนทางของอัลลอฮ์
หนึ่งดีนารที่ท่านใช้จ่ายในการปล่อยทาส และ
หนึ่งดีนารที่ท่านบริจาคทานให้แก่คนยากจน และ
หนึ่งดีนารที่ท่านจ่ายให้แก่ครอบครัวของท่าน
การบริจาคที่ผลบุญยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ ที่ท่านได้จ่ายให้แก่ครอบครัวของท่าน"
ท่านรอฆิบ อัลอัศฟะฮานี กล่าวว่า แท้จริงอัลมันซูร ถูกส่งไปยังผู้ต้องขังจากบะนีอุมัยยะห์
มีคนกล่าวกับพวกเขาว่า "สิ่งใดที่รุนแรงที่สุดที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตของพวกท่านในการถูกกักขังนี้ ?"
พวกเขากล่าวว่า “เราพลาดจากการอบรมลูกๆของเรา”
تربية الأولاد في الإسلام، عبد الله ناصح علوان، 2/499-5.
ที่มา : http://www.alukah.net