ปฏิบัติตัวอย่างไรกับผู้ทำอุติกรรม
  จำนวนคนเข้าชม  3943

 

ปฏิบัติตัวอย่างไรกับผู้ทำอุติกรรม

 

แปลและเรียบเรียงโดย อบูชีส

 

คำถาม 

 

คนที่ยึดมั่นในซุนนะห์จะปฏิบัติตัวอย่างไรกับผู้ที่กระทำอุติกรรมในศาสนา ? อนุญาตให้ออกห่างจากเขาหรือไม่ ?


 

คำตอบ 

 

          อุติกรรมแบ่งออกเป็นสองชนิด  บิดอะห์ขั้นปฏิเสธ และบิดอะห์ที่ระดับต่ำกว่านั้น และทั้งสองชนิดนั้นจำเป็นต่อเราที่จะเรียกร้องพวกเขาบรรดาผู้ที่พาดพิงยังอิสลามและกระทำสิ่งที่เป็นอุติกรรมที่ถึงขั้นปฏิเสธ หรือระดับต่ำกว่านั้นสู่สัจธรรม โดยที่เราไม่โจมตีสิ่งที่พวกเขากระทำอยู่ เว้นแต่เมื่อเรารู้ว่าเขาเย่อหยิ่งต่อการยอมรับสัจจธรรม เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสไว้ว่า


وَلاَ تَسُبُّواْ الَّذِينَ يَدْعُونَ مِن دُونِ اللّهِ فَيَسُبُّواْ اللّهَ عَدْوًا بِغَيْرِ عِلْمٍ

 

"และพวกเจ้าจงอย่าด่าว่า บรรดาที่พวกเขาวิงวอนขอ อื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮ์เป็นการละเมิด โดยปราศจากความรู้"


 

          ดังนั้นอันดับแรก เราจะเรียกร้องพวกเขาสู่สัจธรรม ด้วยกับการชี้แจงสัจธรรม และชี้แจงด้วยกับหลักฐานต่างๆ และสัจธรรมนั้นจะเป็นที่ยอมรับแก่ทุกคนที่มีปัญญาเฉียบแหลม ถ้าพบว่าเขาปฏิเสธและเย่อหยิ่ง ดังนั้นเราจะชี้แจงสิ่งผิดพลาดของพวกเขา บนการชี้แจงข้อผิดพลาดโดยไม่โต้เถียงกับพวกเขา เป็นการงานที่จำเป็น

 

          ส่วนการหลีกห่างออกจากพวกเขา ขึ้นอยู่กับอุตริกรรมของพวกเขา ดังนั้นเมื่ออุตริกรรมที่กระทำถึงขั้นปฏิเสธ ก็จำเป็นต้องออกห่าง แต่เมื่อยังไม่ถึงระดับนั้น แท้จริงเราควรหยุดการออกห่างจากพวกเขา และหากการหลีกห่างจากพวกเขาเป็นประโยชน์เราก็ทำ หากไม่มีประโยชน์เราก็ยังไม่ทำ ดังกล่าวเป็นรากฐานของผู้ศรัทธาดังคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า

"لا يحل لرجل مؤمن أن يهجر أخاه فوق ثلاث"،

 

"ไม่เป็นที่อนุมัติให้คนใดทะเลาะ(หลีกห่าง)จากพี่น้องของเขาเกินสามวัน"

          ดังนั้นผู้ศรัทธาทุกคน ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนที่ฝ่าฝืน ก็ไม่อนุญาตให้หลีกห่างออกจากเขา หากว่าการหลีกห่างไม่มีประโยชน์ แต่เมื่อการหลีกห่างยังประโยชน์เราก็หลีกห่างจากเขา เพราะแท้จริงการหลีกห่างในขณะดังกล่าวนั้นเป็นยารักษา ส่วนการหลีกห่างที่ไม่มีประโยชน์หรือจะเป็นการเพิ่มการฝ่าฝืนและการละเมิด ดังนั้นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ในมัน การทิ้งมันนั่นแหละคือสิ่งที่มีประโยชน์


       บางคนกล่าวว่า ตอบโต้กับสิ่งดังกล่าวว่า แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หลีกห่างออกจากกะอับ บุตรของมาลิก และเพื่อนทั้งสองของเขาที่ไม่เข้าร่วมสงครามตะบูก ?

คำตอบ 

          แท้จริงสิ่งที่ได้รับจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และคำสั่งให้ซ่อฮาบะห์ออกห่างจากพวกเขา แท้จริงแล้วการหลีกห่างออกจากพวกเขามีประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ แน่นอนว่ามันทำให้พวกเขาได้ยืนหยัดในสิ่งที่พวกเขาได้ยึดมั่นบนมัน จนกระทั่งท่านกะอ์บ บุตรของมาลิก ร่อฏิยัลลลอฮุอันฮู่ มีหนังสือฉบับหนึ่งจากกษัตริย์ฆ็อซซาน (ต้องการเย้ยหยันมุสลิม ผู้แปล)ซึ่งเขียนว่า 

          "เขาได้ยินมาว่า เพื่อนของเจ้า (หมายถึงท่านนบี) ได้ตีตัวออกห่างท่าน และท่านก็ไม่ได้อยู่ในบ้านที่มีความสบาย และถูกเหยียดหยาม และความจริงเราต้องปลอบใจท่าน"
 

 

         ท่านกะอ์บด้วยกับความอึดอัดและปวดใจอยู่แล้วถึงกับเดินเอากระดาษนั้นไปโยนในเตาเพื่อเผาทิ้ง พวกเขาทั้งหลายได้รับประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่จากการถูกละทิ้ง(คือการเตาบัต) และผลลัพธ์ที่ไม่มีผลลัพธ์ใดๆ จะเทียบเท่านั้นก็คือ อัลลอฮ์ตะอาลาได้ประทานอายะห์อัลกุรอานที่ถูกอ่านไปจนถึงวันกิยามะห์

          "แท้จริงอัลลอฮ์ทรงอภัยโทษให้แก่ท่านนะบี ชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศ้อรแล้ว ซึ่งเขาเหล่านั้นได้ปฏิบัติตามเขา (นะบี)ในยามคับขันหลังจากที่จิตใจของชนกลุ่มหนึ่งในพวกเขา เกือบจะหันเหออกจากความจริง

แล้วพระองค์ก็ทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา แท้จริงพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาอยู่เสมอ

 

          อัลลอฮ์ทรงอภัยโทษให้แก่ชายสามคน (คือ กะอุบ์ อิบนุมาลิก มุรอเราะฮ์ อิบนุ อัรร่อบีอ์ และฮิลาล อิบนุอุมัยยะฮ์) ที่ไม่ได้ออกไปสงคราม จนกระทั่งแผ่นดินได้คับแคบแก่พวกเขาทั้ง ๆ ที่มันกว้างใหญ่ไพศาล

และตัวของพวกเขาก็รู้สึกอึดอัดไปด้วย แล้วพวกเขาก็คาดคิดกันว่าไม่มีที่พึ่งอื่นใดเพื่อให้พ้นจากอัลลอฮ์ไปได้ นอกจากกลับไปหาพระองค์

แล้วพระองค์ก็ทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้กลับเนื้อกลับตัวสำนักผิดต่อพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์ นั้นคือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตาเสมอ"

 (อัตเตาบะห์ 117-118)