หลักสำคัญประการที่สอง
  จำนวนคนเข้าชม  5859

 

หลักสำคัญประการที่สอง

 

 

        คือการรู้จักศาสนาอิสลาม พร้อมหลักฐานที่อ้างถึง อิสลามคือการยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา ด้วยการให้เอกภาพแด่พระองค์ เชื่อฟัง ปฏิบัติตาม และไม่ตั้งภาคีเคียงคู่พระองค์ คำสอนนี้สามาถแยกแยะออกเป็นสามระดับด้วยกัน อันได้แก่ หนึ่งการยอมรับอิสลาม สองการศรัทธา และสุดท้ายคือการทำความดีทั้งมวล ซึ่งในแต่ละระดับนั้น มีหลักฐานจากโองการของอัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา

 

ลำดับที่หนึ่ง : การยอมรับอิสลาม

          การยอมรับอิสลามนั้นมีหลักย่อยอยู่ห้าประการด้วยกันคือ (หนึ่ง) การกล่าวคำปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ เท่านั้น และมุฮัมมัดนั้นเป็นศาสนฑูตของพระองค์ (สอง) ปฏิบัติการละหมาดอย่างสม่ำเสมอ (สาม) การจ่ายซะกาต (สี่) ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน (ห้า) สุดท้ายการทำฮัจญ์ ณ บัยตุลลอฮ์ อันบริสุทธิ์ยิ่ง

        และหลักฐานการกล่าวคำปฏิญาณนั้น อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา ทรงตรัสว่า

"อัลลอฮ์ ทรงยืนยันว่าแท้จริงนั้นไม่มีผู้ที่ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆ นอกจากพระองค์เท่านั้น และมลาอิกะฮ์ และบรรดาผู้ที่มีความรู้ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมนั้นก็ยืนยันว่าไม่มีผู้ควรได้รับการเคารพสักการะใดๆ นอกจากผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงปรีชาญาณเท่านั้น" (อะลาอิมรอน : 18)

        ความหมายนี้ก็คือ ไม่มีผู้ที่ได้รับการดคารพภักดีโดยชอบธรรม นอกจากอัลลอฮ์ องค์เดียวเท่านั้น เพราะคำว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใด" เป็นการปฏิเสธสิ่งที่ถูกสักการะ นอกเหนือจากอัลลอฮ์ทั้งหมด และคำว่า "นอกจากอัลลอฮ์ เท่านั้น" เป็นการเน้นถึงการเคารพภักดีซึ่งเป็นสิทธิของอัลลอฮ์แต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีผู้เสมอ(ภาคี)อื่นใด เหมาะสมแก่การภักดีเท่าเทียมพระองค์เลย

       และในทำนองเดียวกันก็ไม่มีภาคีอื่นใดร่วมกับพระองค์ในความเกียงไกร ครอบครองของพระองค์ อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา ได้ทรงขยายความคำปฏิญาณนี้โดยตรัสว่า

"และจงรำลึกถึงในขณะที่อิบรอฮีม กล่าวแก่บิดาของเขา และหมู่ชนของเขาว่า แท้จริงข้าขอปลีกตัวจากสิ่งที่พวกท่านสักการะนอกจาก(อัลลอฮ์) ผู้ทรงบังเกิดข้าเท่านั้น เพราะแท้จริงพระองค์จะทรงชี้แนะข้า และเขา(อิบรอฮีม)ได้ทำให้คำกล่าว (ชะฮาดะฮ์)คงอยู่ต่อไปในลูกหลานของเขา เพื่อว่าพวกเขาจะหวนกลับมา(สำนึกผิด)" (อัลซุครุฟ : 26-28)

         และทรงดำรัสอีกว่า

"จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด)ว่า โอ้ บรรดาผู้ได้รับคัมภีร์จงมาสู่ถ้อยคำที่เท่าเทียมกันระหว่างเรากับพวกท่าน คือเราจะไม่เคารพสักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น และเราจะไม่ยกสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นภาคีร่วมกับพระองค์ และพวกเราบางคนจะไม่ยึดถืออีกบางคนมาเป็นพระเจ้า นอกจากอัลอฮ์ และหากพวกเขาผินหลังให้ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่าแท้จริงพวกเรานั้นเป็นผู้น้อมตาม"(อะลาอิมรอน : 64)

         และหลักฐานที่บ่งชี้ถึงคำปฏิญาณที่ว่ามุฮัมมัดนั้นเป็นเราะซูล ของอัลลอฮ์ คือพระดำรัสของพระองค์ที่มีดังนี้

"แท้จริงมีเราะซูลคนหนึ่งจากพวกท่านเอง ได้มาสู่(ถ่ายทอด สัจธรรม)พวกท่าน และเป็นที่ลำบากใจแก่เขา ในสิ่งที่พวกท่านจะได้รับความทุกข์ยากเป็นห่วงเป็นไยต่อพวกท่าน เป็นผู้เมตตา กรุณา สงสาร ต่อบรรดาผู้ศรัทธา" (อัต เตาวบะฮ์ : 128 )

        และความหมายของการปฏิญาณว่ามุฮัมมัดเป็นศาสนฑูตของอัลลอฮ์ คือการเชื่อฟังท่าน ปฏิบัติตามในสิ่งที่ท่านปฏิบัติ และออกห่างจากสิ่งที่ท่านได้ห้ามปราม และไม่เคารพภักดีผู้ใดนอกจาก อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา เท่านั้น

         และหลักฐานการละหมาด การจ่ายซะกาต การขยายความการให้เอกภาพแด่อัลลอฮ์ คือ คำตรัสของพระองค์ทีว่า

"และพวกเขามิได้ ถูกบัญชาให้กระทำสิ่งอื่นใดนอกจากให้เป็นผูมีเจตนาบริสุทธิ์ ในการสักการะต่ออัลลอฮ์ เป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางอันเที่ยงตรง และดำรงการละหมาด ชำระซะกาตเหล่านี้คือศาสนาแห่งความเที่ยงตรง " (อัล บัยยินะฮ์ : 5)

         และหลักฐานการถือศีลอด คือดำรัสของพระองค์ที่ว่า

"โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ที่อยู่ก่อนหน้าพวกเจ้าแล้ว เอว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง" (อัลบะเกาะเราะฮ์ :183)

         และหลักฐานของการทำฮัจญ์นั้น พระองค์ทรงดำรัสว่า

"และสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ที่มีต่อมนุษย์นั้นคือการมุ่งสู่กะบะฮ์(เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ และอุมเราะฮ์)ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่มีความสามารถไปสู่ที่ดังกล่าวได้ และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮ์นั้นไม่ทรงพึ่งพาอาศัยประชาชาติใดๆ" (อะลาอิมรอน : 97)

 

ลำดับที่สอง : การศรัทธา 

        คือการศรัทธา ซึ่งมีทั้งหมดเจ็ดสิบกว่าแขนงด้วยกัน สุดยอดของการศรัทธาก็คือ การกล่าวคำปฏิญาณว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น" และที่ต่ำสุดก็คือ การขจัดสิ่งอันตรายให้หมดสิ้นไปจากถนนหนทาง และความละอายก็เป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธาด้วย

ส่วนหลักใหญ่ของการศรัทธานี้มีอยู่ หก หลักด้วยกันคือ (หนึ่ง)สรัทธาต่ออัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา (สอง) ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ (สาม)ศรัทธาต่อบรรดาเราะซูลของพระองค์ (สี่)ศรัทธาต่อคัมภีร์ต่างๆของพระองค์ (ห้า)ศรัทธาต่อวันปรโลก (หก)ศรัทธาต่อการกำหนดกฏสภาวะทั้งที่ดีและไม่ดี

        หลักฐานที่ระบุถึงการศรัทธาทั้งหกนี้คือ พระดำรัสของพระองค์ที่ว่า

"หาใช่คุณธรรมไม่การที่พวกเจ้าจะผินใบหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก แต่ทว่าคุณธรรมนั้นคือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ต่อวันปรโลก ต่อมลาอิกะฮ์ ต่อบรรดาคัมภีร์ และบรรดานะบีทั้งหลาย" (อัลบะเกาะเราะฮ์ :117)

        และหลักฐานของการกำหนดกฏสภาวะ คือคำตรัสของพระองค์ที่ว่า

"แท้จริงทุกๆสิ่งนั้นเราสร้างมันตามสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้" (อัลกอมัร : 9)

 

ระดับที่สาม : การทำความดี

         คือการทำคุณความดีทั้งหลาย(อัลอิฮซาน) ซึ่งสิ่งนี้มีหลักสำคัญอยู่เพียงหลักเดียว นั่นคือการที่ท่านแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา ประหนึ่งว่าท่านเห็นพระองค์ และแม้นว่าท่านมองไม่เห็นพระองค์(ด้วยตา)ก็จริงอยู่ แต่พระองค์นั้นทรงทอดพระเนตรเห็นท่าน

        หลักฐานที่บ่งชี้ถึงสิ่งที่กล่าวข้างต้นนี้ คือพระดำรัสของพระองค์ที่ว่า

"แท้จริงอัลลอฮ์นั้น ทรงอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่ยำเกรง และบรรดาผู้ที่ปฏิบัติคุณความดี" (อันนัฮล์ : 128)

        และทรงกำชับอีกว่า

"และเจ้าจงมอบหมายต่อพระผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงเมตตาเสมอ ผู้ที่ทรงมองเห็นเจ้าขณะที่เจ้ายืนอยู่ และการเคลื่อนไหวของเจ้าในหมู่ผู้สุญูด แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน และผู้ทรงรอบรู้เสมอ" (อัล ชุอ์รออ์ : 217-220)

        และทรงมีพระดำรัสอีกว่า

"และเจ้าไม่อยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และเจ้ามิได้อ่านส่วนใดส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน และพวกเจ้ามิได้กระทำการงานใด เว้นแต่เราได้เป็นพยานแก่พวกเจ้า ในขณะที่พวกเจ้ากำลังหมกมุ่นอยู่กับเรื่องนั้น"(ยูนุส : 61)

        และหลักฐานจากซุนนะฮ์คือ ฮะดิษญิบรีล จาก อุมัร อิบนุ ค็อฏฏ้อบ ขออัลลอฮ์ได้โปรดพึงพอใจท่านด้วย มีความว่า :

         ในขณะที่เรานั่งอยู่ ณ ที่ท่านนะบี  ก็มีชายคนหนึ่ง สวมเสื้อผ้าขาวโพน มีผมดำขลับโผล่เข้ามาหาพวกเขา โดยที่ไม่มีร่องรอยของการเดินทางปรากฏให้เห็น ไม่มีผู้ใดจากพวกเรารู้จักเขาเลย แล้วเขาเข้ามานั่งชิดกับท่านนะบี  โดยหัวเข่าของเขาทั้งสองประชิดกับหัวเข่าของท่านนะบี  และฝ่ามือทั้งสองข้างของเขา วางไว้บนตักของท่านนะบี  และกล่าวว่า :

        โอ้ มุฮัมมัด จงบอกฉันถึงอิสลามซิ ? แล้วท่านนะบี  ได้กล่าวว่า อิสลามคือการที่ท่านปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และปฏิญาณว่ามุฮัมมัดเป็นศาสนฑูตของพระองค์ ดำรงการละหมาด จ่ายซะกาต ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน ทำฮัจญ์ ณ กะบะฮ์ หากท่านมีความสามรถเดินทางไปถึงได้

         แล้วเขาก็กล่าวว่า ท่านพูดถูกต้องแล้ว เราจึงรู้สึกฉงนต่อเขานักที่เขาเป็นผู้ถาม และหลังจากนั้นเขาก็เป็นผู้ย้ำอีกว่า พูดนั้นถูกต้องแล้ว

         หลังจากนั้นเขาก็กล่าวอีกว่า จงบอกแก่ฉันเกี่ยวกับการศรัทธาซิ ท่านนะบี  ก็กล่าวว่า คือการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และบรรดามลาอิกะฮ์ของพระองค์ และบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ และบรรดาเราะซูลของพระองค์ และวันปรโลก และการกำหนดสภาวะทั้งดีและร้าย

         แล้วเขากล่าวอีกว่าท่านจงบอกฉันเกี่ยวกับการทำคุณความดีทั้งปวงซิ ท่านเราะซูล  ก็ตอบว่า คือการที่ท่านเคารพภักดี (ทำอิบาดะฮ์) ต่ออัลลอฮ์ประหนึ่งว่า ท่านมองเห็นพระองค์ และแม้นว่าท่านมองไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นท่าน

         และแล้วเขาจึงกล่าวอีกว่า ท่านจงบอกแก่ฉันถึงวันปรโลกซิ ท่านเราะซูล  จึงตอบว่า ผู้ถูกถามไม่ได้รู้ดีไปกว่าผู้ถามเลย และเขาก็ล่าวอีกว่า ท่านจงบอกฉันถึงเครื่องหมายต่างๆของมันซิ ท่านเราะซูล  จึงตอบว่า ทาสจะคลอดลูกออกมาเป็นนาย และท่านจะได้เห็นผู้เดินเท้าเปล่า เปลือยกาย ขอทาน เลี้ยงแกะ แข่งขันกันสร้างตึกสูง

         และท่านอุมัรบอกต่ออีกว่า เราได้พักอยู่นานเหมือนกัน หลังจากนั้นท่านเราะซูล  ก็ได้กล่าวว่าโอ้อุมัร ท่านทั้งหลายทราบไหมว่าผู้ถามคือใคร ? เขาจึงตอบว่า อัลลอฮ์ และเราะซูล  ของพระองค์เท่านั้นที่รู้ ท่านจึงกล่าวว่า เขาผู้นี้คือญิบรีลได้มาสู่พวกท่าน เพื่อสอนกิจศาสนาให้แก่พวกท่านทั้งหลาย (มุสลิม)

 


พิมพ์และเผยแพร่โดย กระทรวงศาสนกิจ ศาสนสมบัติ เผยแพร่และแนะนำ

ด้วยทุนทรัพย์ของ มูลนิธิอิบรอฮีม บินอับดุลอะซีซ อัลบารอฮีม , ซาอุดิอาระเบีย

ติดตามต่อ...หลักสำคัญประการที่สาม