การละเล่นตาราง(ลูกเต๋า)
  จำนวนคนเข้าชม  7301

 

การละเล่นตาราง(ลูกเต๋า)


 

แปลและเรียบเรียง โดย อ. กิสมัต ปาทาน

 

คำถาม

 

อะไรคือข้อตัดสิน(ฮุก่ม) การละเล่นตาราง(ลูกเต๋า) ?


 

คำตอบ

 

        ไม่อนุญาตให้เล่น ด้วยกับสิ่งที่ถูกเรียกว่า ตาราง ซึ่งมีลูกเต่าควบคุมการเล่นของตารางดังกล่าว และการเล่นนี้ ฮะรอม(ต้องห้าม) มันถูกห้ามอย่างรุนแรง


لما روى مسلم (2260) عن بريدة رضي الله عنه أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : ( مَنْ لَعِبَ بِالنَّرْدَشِيرِ فَكَأَنَّمَا صَبَغَ يَدَهُ فِي لَحْمِ خِنْزِيرٍ وَدَمِهِ

 

มีบันทึกใน มุสลิม จาก บุร็อยดะห์ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ท่านรอซูลลุ้ลลอฮ ซ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

 "ใครที่เล่น ลูกเต๋า เปรียบเสมือนเขาได้ย้อมมือของเขาด้วยเนื้อและเลือดของ สุกร"

 

** ลูกเต๋า คือ ก้อนที่เขียนบนมันด้วยกับตัวเลข และนำมันมาเล่น มันถูกเรียกว่า ลูกเต๋า


 

        อิหม่าม นะวะวีย์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้กล่าวไว้ใน ชัรหฺ มุสลิม ว่า อุลามาอฺกล่าวว่า ลูกเต๋า หะดีษนี้ เป็นหลักฐาน สำหรับมัสฮับ ชาฟิอีย์ และ ญุมฮูร(บรรดานักวิชาการส่วนมาก) ในการห้าม การเล่นลูกเต๋า  และความหมายของ "การย้อมมือด้วยเนื้อของสุกร" ในสภาพ กินจากสิ่งทั้งสอง (เนื้อหมู,เลือดหมู) คือ การเปรียบเทียบเนื้อของหมู และการห้ามกินมันทั้งสอง

 

      บันทึกอบูดาวุดเลขที่ 4938 และ อิบนุมาญะห์ 3762 จากอบี มูซา อัลอัชอะรีย์ แท้จริงท่านรอซูลุ้ลลอฮ ซ็อลล็อลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

 

"ใครที่เล่นลูกเต๋า แน่แท้ เขาได้ฝ่าฝืนอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์" 

เชคอัลบานีย์เป็นหะดีษหะซัน ใน ศอเฮียะห์ อบีดาวุด  และบันทึกโดยอะห์หมัด เลขที่หะดีษ 19519 ด้วยกับถ้อยคำที่ว่า 

"ใครที่เล่นก้อน(สี่เหลี่ยม) เเน่แท้เขาฝ่าฝืน อัลลอฮ และรอซูลของพระองค์" 

       อิหม่ามอัรนาอูฎ บอกว่า หะซัน ในตะห์กีก มุสนัด ของอิหม่ามอะห์หมัด และบรรดาหะดีษเหล่านี้บงถึง การห้าม เล่น ลูกเต๋า และทุกๆการเล่นที่มีลูกเต๋าในการเล่นนั้น มันหะรอม(ต้องห้าม) และไม่มีข้อผ่อนผันในการเล่นดังกล่าวด้วย

         ท่านอิบนุกุดามะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวไว้ใน อัลมุฆนีย์ (10/171) บทที่ว่าด้วยกับการละเล่นต่างๆ : ทุกการละเล่น ที่มีการเดิมพัน คือสิ่งที่ต้องห้าม ไม่ว่าเล่นอะไรก็ตาม มันคือการพนันที่ซึ่งอัลลอฮ์ ตะอาลา สั่งใช้ให้ออกห่างจากมัน และใครที่ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า การเป็นพยานของเขาก็จะไม่ถูกยอมรับ และสิ่งที่ไม่มีการเดิมพัน ก็คือการเล่นที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด จากมันก็มีทั้งที่เป็นสิ่งต้องห้าม และสิ่งที่อนุญาติ ส่วนสิ่งที่ต้องห้ามนั้นก็คือ การเล่นด้วยกับลูกเต๋า และนี่คือ ทัศนะของอบูฮะนีฟะห์ และส่วนมากจากบรรดาสานุศิษย์ของอิหม่ามชาฟิอีย์

      แน่นอนว่าท่านซัยละอีย์ ได้ถ่ายทอดว่า "เป็นมติเอกฉันท์ของปรวงปราชญ์ว่ามันคือสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) การละเล่นด้วยกับลูกเต๋า"

 ตับยีน ฮะกออิ๊ก (6/32)

        ในฟะตาวา อัลลุจนะห์ เล่ม15 หน้า210 "ไม่อนุญาติ สำหรับการเล่นด้วยกับลูกเต๋า แม้ว่าจะปราศจากค่าตอบแทน(เงิน) โดยเฉพาะเมื่อมันทำให้ออกห่างจากการละหมาดในเวลาของมัน ดังนั้นจำเป็น(วาญิบ)ที่จะต้องทิ้งการเล่นดังกล่าว เพราะแท้จริงมัน เป็นสิ่งที่ไร้สาระที่ต้องห้าม(หะรอม)"

 

วัลลอฮุอะอลัม 

 

ที่มา http://islamqa.info/ar/95409