نريمان آيا ما
นารีมาน อายามา
ชื่อ-นามสกุล นารีมาน อายามา อายุ 23 ปี เกิดที่ เมือง มักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ครอบครัวได้ย้ายมาจากจังหวัด สงขลา ประเทศไทย มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ประมาณ 40 กว่าปีมาแล้ว มีพี่น้อง 5 คน ชาย 2 คน หญิง 3 คน นารีมาน เป็นคนสุดท้อง ทั้งหมดเกิดและเติบโตที่มักกะฮ์ และพี่ชายทำงานอยู่ที่ซาอุดิอาระเบีย ส่วนพี่สาวได้แต่งงานกับชายชาวซาอุดิอาระเบีย
นารีมาน เรียนอยู่ปี่ที่ 3 มหาวิทยาลัย King Abdull Aziz University ณ เมือง Jeddah ภาควิชา ภาษาอังกฤษ English Language
อิสลามมอร์ได้มีโอกาสไปพบปะพี่น้องชาวไทย ที่อยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย จึงได้สัมภาษณ์ความเห็นมุมมองต่างๆ ของ นารีมาน มาให้มุสลิมะฮ์เมืองไทยได้เรียนรู้กัน นารีมาน เติบโตมากับสังคมอาหรับ มีวัฒนธรรมอาหรับ นิสัยแบบอาหรับ เรียนมหาวิทยาลัย ที่มีเพียง นารีมาน ที่เป็นคนไทยคนเดียวในมหาวิทยาลัยนั้น
คำถาม-คำตอบ
Islammore : เคยกลับเมืองไทยไหม ? และคิดอยากจะกลับเมืองไทยหรือเปล่า ?
นารีมาน อายามา : ไม่เคยกลับเมืองไทยเลย คิดอยากกลับเหมือนกันแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้กลับ อินชาอัลลอฮ์
Islammore : เคยได้ยินหรือจินตนาประเทศไทยว่าอย่างไร ?
นารีมาน อายามา : เคยดูใน T V เมืองไทยเป็นประเทศที่มีธรรมชาติสวยงาม นอกนั้นไม่ทราบค่ะ
Islammore : ในการเรียนที่มหาวิยาลัยมีกฏระเบียบอย่างไรบ้าง ?
นารีมาน อายามา : ที่มหาวิทยาลัยเป็นมหาลัยหญิงล้วน อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อาจารย์ผู้ชายจะสอนผ่านทาง V D O และมีการสอบถามเมื่อไม่เข้าใจผ่านทางโทรศัพท์ได้ทันที
การแต่งกายในมหาวิทยาลัย ผู้หญิงให้ใส่กางเกงขายาว กระโปรงยาว เสื้อมีแขน แต่งหน้าใส่เครื่องประดับได้ เมื่อออกนอกมหาลัยต้องใส่อาบายะแล้วจะปิดหน้าหรือเปิดหน้าก็ได้ ที่ Jeddah ไม่บังคับเรื่องปิดหน้า แต่ถ้าที่มักกะฮ์ ผู้หญิงซาอุดิส่วนมากจะปิดหน้า ส่วนผู้หญิงที่เป็นชนชาติอื่นบางคนจะเปิดหน้า การปิดหน้าจะทำให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
Islammore : มีการเรียนศาสนาอย่างไร ?
นารีมาน อายามา : มีการเรียนศาสนาจนถึง ม.6 ส่วนในมหาวิทยาลัยมีวิชาสอนเกี่ยวกับศาสนาเป็นวิชาพื้นฐานหลัก
Islammore : การให้ความสำคัญกับการเรียนศาสนา ?
นารีมาน อายามา : นักศึกษาที่ Jeddahจะให้ความสำคัญน้อยลง แต่ที่มักกะฮ์จะมีความเคร่งครัดมากกว่า
Islammore : วัฒนธรรมตะวันตกกับนักศึกษา ?
นารีมาน อายามา : ในมหาวิทยาลัยมีแฟชั่นหรือการเปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมตะวันตก แต่บางคนก็ปฏิบัติเคร่งครัดตามระเบียบทางศาสนา แล้วแต่พื้นฐานทางครอบครัว
Islammore : มีการเรียนการสอนอัลกุรอานและฮะดิษอย่างไร ?
นารีมาน อายามา : เป็นวิชาที่จำเป็นต้องเรียน มีเวลาในการเรียนอัลกุรอาน อาทิตย์ละ 3 คาบ และตนเองอ่านวันละ 2 หน้าทุกวัน ทุกครั้งที่อ่านจะเข้าใจความหมายในอัลกุรอาน ตอนนี้ นารีมาน สามารถจำกุรอานได้ทั้งหมด 10 ยุซ ตั้งแต่ อัลบะเกาะเราะฮ์ ถึง อัน อัมฟาล
Islammore : คิดอย่างไรกับผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้าน ?
นารีมาน อายามา : ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่นี่จะทำงาน เป็น ครูสอนเด็กอนุบาล ครูสอนอัลกุรอาน,อาจารย์ในมหาวิทยาลัย ,เป็นแพทย์ก็มีบ้างแต่น้อย.....ส่วนถ้าผู้หญิงที่ออกทำงานนอกบ้านถ้าเป็นสังคมของผู้หญิงเอง ในการทำงานมีแต่ผู้หญิง มีการค้าขายในหมู่ผู้หญิงด้วยกัน ก็ไม่เป็นไร ไม่เห็นด้วยถ้ามีการปะปนกันระหว่างชาย หญิง
Islammore : การศึกษาสังคมตะวันตก ?
นารีมาน อายามา : มีการเรียนสังคมและวัฒนธรรมตะวันตกในชั้นเรียน ไม่ค่อยได้ศึกษาในอินเตอร์เน็ตเท่าไรนัก
Islammore : มีความคิดเห็นอย่างไร เมื่อตะวันตกกล่าวหาว่าอิสลามกดขี่ข่มเหงผู้หญิง ?
นารีมาน อายามา : เพราะพวกเขามองไม่เห็นข้อดีของศาสนาอิสลาม ว่าทำไมถึงให้ผู้หญิงอยู่บ้านไม่ให้ออกนอกบ้าน ถ้าพวกเขาได้ศึกษาจะรู้ว่าเพราะอะไร
Islammore : ข้อดีของการคลุมฮิญาบ ?
นารีมาน อายามา : 1. เป็นคำสั่งจากอัลลอฮ์ 2. ป้องกันปัญหาวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน 3. ตามตัวอย่างของศอฮาบียะฮ์ 4. เป็นการป้องกันตนเองเพื่อความปลอดภัยของตนเอง
Islammore : ความภาคภูมิใจในความเป็นมุสลิมะฮ์ ?
นารีมาน อายามา : นารีมาม มั่นใจในศาสนาอิสลาม ไม่ว่าจะไปอยู่ในสังคมไหนก็ตาม จะแสดงความเป็นมุสลิม และไม่มีอะไรที่จะมาเปลี่ยนแปลงศาสนาของเราได้ และจะพยายามเพื่อเป็นส่วนหนึ่งให้คนหันมาเข้ารับศาสนาอิสลาม
Islammore : อยากจะบอกอะไรถึงมุสลิมะฮ์เมืองไทย ?
นารีมาน อายามา : อยากบอกตามที่ท่านนะบี มุฮัมมัด (ศล.) ได้บอกไว้ในฮะดิษ โดยท่านเน้นย้ำให้ยึดหลักการในคัมภีร์อัลกุรอาน และซุนนะฮ์ นะบีมุฮัมมัด(ศล.)อย่างเที่ยงตรง
Islammore ขอขอบคุณต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮุว่าตะอาลา ที่ได้ให้เรามาเจอกันและได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ เพราะเธออยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่เราอยู่ที่เมืองไทยเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะได้เจอกัน ถ้าไม่ใช่การกำหนดของพระองค์ที่มีไว้แล้ว อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ์ และเราอยากจะเจอกันอย่างนี้ทุกๆปี อินชาอัลลอฮ์ เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละที่ และมุมมองของคนไทยที่อยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียกับประเทศไทยในเมืองไทย ญาซากัลลอฮุค็อยร็อน
สลามุอลัยกุมวะเราะมะตุ้ลลอฮิวะบาร่อกาตุ
ล่ามโดย อับดุลซูโกด ตำภู
ترجمة : عبدالشكور تمفو