นักดะวะฮ์ต้องรู้จักการนำเสนอที่ดี 24-26
  จำนวนคนเข้าชม  2907

ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ  30 ประการ 

 

เขียนโดย : อาอิฏบินอับดิลลาฮฺอัลก็อรนีย์
 

แปลและเรียบเรียงโดย : อาจารย์ อับดุลฆอนี บุญมาเลิศ

 

 

ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ ประการที่ 24-26

 

24. ต้องผ่อนปรนไปตามขั้นตอนของการเผยแพร่

        นักดะอฺวะฮฺควรจะเริ่มปฏิบัติประเด็นที่สำคัญก่อนอื่น  ขณะเดียวกันจะต้องไม่เร่งรีบทำพร้อมกันหลายประเด็น ในบางครั้งที่มีนักดะอฺวะฮฺบางคนไปถึงชนบทในบางหมู่บ้าน  แล้วนำเสนอประเด็นเรื่องอิสลามทั้งหมดให้พวกเขาโดยทำการคุฏอบะฮฺวันศุกร์เพียงครั้งเดียว ซึ่งไม่ใช่แบบอย่างในการที่จะนำเสนอในครั้งเดียวทุกเรื่อง  ดังนั้นสมควรต้องทำด้วยความสุขุมรอบคอบค่อย ๆ ทยอยนำเสนอทีละประเด็นในแต่ละครั้ง และพยายามให้ความรู้แก่พวกเขา  เช่น  ประเด็นเรื่องของหลักการเตาฮีด เรื่องการทำการละหมาด และประเด็นเรื่องของฮิญาบ ซึ่งจัดเป็นการบรรยายในการอ่านคุฏอบะฮฺ  หรือเป็นบทเรียนอบรมครั้งหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องของเตาฮีด และครั้งต่อไปนำเสนอเรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ เช่น การทำชิริก การทำไสยศาสตร์ การสวมฮิญาบ การรักษาเวลาละหมาด สิทธิของเพื่อนบ้าน เพราะถ้านำเสนอหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน  จะทำให้ผู้รับฟังไม่สามารถจดจำได้หมด

         ท่านร่อซูล  เคยส่งมุอ๊าซ บิน อะญัล ไปยังเมืองเยเมน ท่านได้พูดแก่ มุอ๊าซว่า “สิ่งแรกที่ท่านจะต้องเชิญชวนพวกเขานั้น คือ ให้พวกเขาปฏิญาณว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” และฉันนี้คือ ร่อซูลของอัลลอฮ์

          เมื่อพวกเขาเชื่อฟังตามเจ้าแล้ว ก็จงบอกพวกเขาว่า แท้จริงอัลลอฮฺ  นั้น ทรงกำหนดการทำการละหมาด ให้พวกเขาปฏิบัติวันนึ่งกับคืนหนึ่งห้าเวลา”

       ที่กล่าวไปนั้น  สมควรที่นักดะอฺวะฮฺ จะทำการนำเสนอคำสอนให้กับประชาชนให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลาและโอกาส  ท่านอย่าได้ไปยังคนที่ทิ้งละหมาดแล้วบอกให้เขาไว้เครา!! จะมีประโยชน์อันใดกับอิสลามด้วยการเลี้ยงเคราถ้าไม่ได้ละหมาด !!!

      และอย่าได้นำเสนอในเรื่องที่ไม่สำคัญ  โดยละเลยประเด็นสำคัญไปอย่างสิ้นเชิงท่านต้องร่วมกันกำหนดเรื่องที่จะนำเสนอให้แน่วแน่พยายามนำเสนอหลาย ๆ วิธีหลายช่องทางที่แตกต่างกันไป บางครั้งก็ใช้วิธีการอบรมสั่งสอน และในบางครั้งก็ด้วยการกล่าวคุฏอบะฮฺ หรือในบางครั้งก็ด้วยความนอบน้อม จนครบทุกช่องทางและทุกวิธีการ

        บางคนชอบเรียนรู้คำสั่งสอนจากการฟังคุฏอบะฮฺวันศุกร์ แต่ไม่ได้ผลจากการฟังบทเรียน บางคนชอบที่จะนั่งเรียนไม่ถนัดการฟังคุฏอบะฮฺ หรือในบางครั้งอาจจะใช้วิธีการเขียนจดหมายถึงพวกเขา บางทีก็ใช่วิธีการสื่อสารแนะนำกันทางโทรศัพท์ ในบางครั้งก็ต้องส่งนักดะอฺวะฮฺไปหาพวกเขา  ดังนั้นจะเห็นว่าการนำวิธีการใหม่ ๆ ที่นิยมกันในขณะนี้ ถ้าจำเป็นต้องนำมาใช้เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพราะความชั่วร้ายเลวทรามได้วิวัฒนาการไปไกล  อันเนื่องจากการใช้เครื่องมือทันสมัยอำนวยความสะดวกรวดเร็ว สร้างความเสียหายแพร่ไปทั่ว

        อัลลอฮฺ  ทรงเล่าเรื่องราวของคนเลวว่า พวกเขามีทรัพย์สินจำนวนมาก ทุ่มเทใช่จ่ายไปโดยการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

“...แล้วพวกเขาก็จะบริจาคมันไปภายหลังทรัพย์สินนั้นก็จะกลายเป็นความเสียใจแก่พวกเขา

แล้วพวกเขาก็จะได้รับความปราชัยด้วย และบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้นพวกเขาจะถูกต้อนไปสู่นรกญะฮันนัม”
 

(อัลอัมฟาล / 36)

        ดังนั้น นักดะอฺวะฮฺ จะต้องไม่ท้อแท้แม้ว่าจะมีเครื่องมือสื่อสารน้อยไม่ทันสมัย แท้จริงแล้วท่านร่อซูล  นั้น  เคยเป็นที่ประจักษ์มาแล้วจากเหตุการณ์ในอดีตรอบ ๆ ตัวท่านที่อยู่ในคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งมีกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ชื่อกิสรอ (โคสโร) และ กอยศ็อร (ซีซาร์) พวกเขามีทุกสิ่งครบถ้วนสมบูรณ์มหาศาล ในขณะที่ท่านร่อซูล  อยู่ในบ้านที่ทำมาจากดินและใช้สือเผยแพร่แบบง่าย ๆ เท่านั้น แต่เพราะความบริสุทธิ์จริงใจ อัลลอฮฺ  จึงได้ประทานความสำเร็จให้ท่านบรรลุเป้าหมายตามที่มุ่งหวัง ทำให้ศาสนาอิสลามได้ขจรขจายไป ตั้งแต่ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก


 

25. แสดงตนให้ผู้คนได้รับรู้ถึงสถานะของพวกเขา

        สมควรที่นักดะอฺวะฮฺต้องแสดงตนให้ผู้คนทั้งหลายรู้จักสถานะตามความเหมาะสมของพวกเขาแต่ละคน  แม้จะไม่เท่าทียมกัน  ผู้รู้ก็มีสถานะของผู้รู้ ครูก็มีสถานะอย่างครู ผู้พิพากษาก็มีสถานะอย่างผู้พิพากษา ดังที่ อัลกุรฺอานได้ระบุไว้ว่า
 

“...แน่นอนกลุ่มชนแต่ละกลุ่มย่อมรู้แหล่งน้ำดื่มของตน...”
 

 (อัลบาเกาะเราะฮฺ / 60)
 

        เนื่องจากผู้คนทั้งหลายไม่ได้อยู่ในสถานะเดียวกันหมด กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการแบ่งแยกชนชั้น  หากแต่ว่าเป็นเรื่องของสถานะภาพทางสังคม  มารยาทของอิสลามมีข้อแตกต่างกัน อันเนื่องจากสถานะไม่เท่ากัน คนประเภทหนึ่งก็อย่างหนึ่ง คนอีกประเภทหนึ่งก็อีกอย่างหนึ่ง ในบางคนจะไม่พอใจนอกจากที่ต้องอยู่ข้างหน้า  บางคนเมื่อท่านได้เข้าไปกอดเขาก็จะรู้สึกถึงการสวมกอดที่ต่างกันไป

        ดังนั้น  การที่จะให้บุคคลมีสถานะตรงตามสภาพความเป็นจริงของพวกเขานั้น เป็นเคล็ดลับที่นักดะอฺวะฮฺจำเป็นต้องนำมาใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้คน  ดังเช่นที่ท่านนบี  ได้กระทำให้บุคคลนั้นอยู่ตรงกับสถานะของพวกเขา  ตามที่มีรายงานอยู่ในศ่อเฮี้ยะหฺมุสลิมเป็นฮะดีษศ่อเฮี้ยะหฺซึ่งเป็นคำบอกเล่าของท่านหญิงอาอีชะฮฺ


26. นักดะอฺวะฮฺจำต้องทบทวนตัวเองตลอดเวลา และจะต้องสำรวมสมาธิมุ่งสู่ อัลลอฮฺ


          นักดะอฺวะฮฺมีความจำเป็นที่จะต้องทบทวนตนเองเสมอ ด้วยการระมัดระวังการบรรยายของตนให้ดีที่สุดในการดะอฺวะฮฺ  เพราะเมื่อเขาพูดก็จะมีผู้รับฟัง  และจะต้องทบทวนตนเองในเรื่องของความรู้ที่มีอยู่นั้นว่า ตนเองได้ปฏิบัติตามที่กล่าวนั้นแล้วหรือยัง ? ตนเองนั้นได้ทำตามที่ได้ถูกใช้แล้วหรือยัง ? ประการต่อมาก็ให้ขอความคุ้มครองช่วยเหลือจากพระเจ้า แต่ละครั้งที่พูดก็ต้องมุ่งหัวใจสู่อัลลอฮฺ  ตั้งแต่แรกเริ่มและในทุกครั้งของบทเรียน โดยขอต่ออัลลอฮฺ  ให้ทรงเอื้ออำนวยเปิดหัวใจให้ได้รับแสงสว่างนำทางให้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่งให้แก่  นักดะอฺวะฮฺ ดังฮะดีษที่ว่า

 “โอ้อัลลอฮฺ  ขอพระองค์ท่านเท่านั้น  ที่ข้าพระองค์จะมีชัยชนะ  และด้วยพระองค์ท่านเท่านั้น  ที่ข้าพระองค์จะทำการต่อสู้

และด้วยกับพระองค์ท่านเท่านั้นที่ข้าพระองค์จะใช้ความพยายาม”

นักวิชาการส่วนใหญ่  เมื่อพวกเขาต้องการที่จะทำการสั่งสอนผู้คนพวกเขาจะขอดุอาอฺอย่างนั้น และบางรายงานก็จะขอดังนี้ :-

  “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงเปิดทางให้กับข้าพระองค์ จากการเปิดของพระองค์ด้วยเถิด”

และบางรายก็ขอว่า

“โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอย่าได้ปล่อยข้าพระองค์ไว้กับตัวข้าพระองค์ตามลำพังแม้เพียงพริบตาเดียวเลย มิฉะนั้นข้าพระองค์ก็จะล่มสลาย”

       ฉะนั้น  ผู้ที่เชื่อมั่นตัวเองว่ามีความสามารถด้วยตัวเอง  มีความเชี่ยวชาญ  มีพลังสมองและเรือนร่างของตน ถ้าเชื่อมั่นหลงในตัวเองจนเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาจนถึงทางตันในแนวทางต่าง ๆ ก็ขาดสะบั้นลง ซึ่งไม่มีใครจะช่วยเขาได้นอกจากอัลลอฮฺ  เท่านั้น

        ดังนั้น  นักดะอฺวะฮฺที่จะต้องขึ้นมิมบัรในวันศุกร์  จำเป็นต้องสำรวมจิตใจมุ่งสู่อัลลอฮฺ  ขอพรจากพระองค์ทรงช่วยเหลือเราในถ้อยคำที่เขาจะพูดปราศรัย  ทั้งถ้อยคำและสำนวนการพูด และขอต่อพระองค์ในการที่จะให้ทางนำแก่เขาในขณะที่ปราศรัย  และขอต่อพระองค์ให้การพูดนั้นเกิดประโยชน์ต่อผู้ฟัง  ขอต่อพระองค์ทางเปิดหัวใจให้สว่างไสวในการพูด เพราะถ้าอัลลอฮฺ  ทางประสงค์ เขาก็จะสามารถพูดได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ถ้าพระองค์ไม่ประสงค์เขาก็จะพูดติดขัด หรือในบางครั้งพูดแล้วทำให้เกิดความสับสนกับตนเองและผู้ฟัง หรือพูดโดยไม่คล่องแคล่วหรือพูดอย่างผิด ๆ จนนำพาออกไปนอกเรื่องราวของศาสนา 

         ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอต่ออัลลอฮฺ  ให้ช่วยปกป้องคุ้มครองให้ตนเองมีความเชื่อมั่นและมีความมั่นคง ผู้ใดก็ตามเมื่ออัลลอฮ์  ทรงปกป้องคุ้มครองแล้ว  เขาก็จะได้รับความคุ้มครอง และผู้ใดที่อัลลอฮฺ  ทรงให้เขาตกต่ำเขาก็ต้องต่ำต้อย



 

ที่มา อัลอิศลาห์สมาคม