เชื่อโชคลางเป็นบาปใหญ่
เรียบเรียงโดย อบูชีส
ความเชื่อของมุสลิมคือ ไม่ว่าจะสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดีที่มาประสบกับเราล้วนแล้วแต่มาจากอัลลอฮ์ทั้งสิ้น ซึ่งความเชื่อเกี่ยวกับคำทำนายทายทัก โชคลาง ของขลัง ฮวงจุ้ย ล้วนแล้วแต่เป็นความเชื่อของญาฮิลียะห์ ที่อิสลามได้ยกเลิกและต่อต้านอย่างรุนแรง แต่ก็ยังคงหลงเหลือมาในยุคปัจจุบัน ด้วยกับความอุตสาหะพยายามของชัยฏอนในการเผยแพร่ให้ผู้คนหลงไหล และออกจากจากความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวที่ท่านนบี ได้นำมาเผยแผ่ให้แก่เรา เพื่อจะดึงผู้คนที่หลงผิดไปอยู่กับพวกมันมากทีสุดในนรกญะฮันนัม
ดังนั้นชัยฏอนจึงอาศัยหนทางแห่งความเชื่อในการดึงมนุษย์ให้หลงผิดในทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ในสังคมมุสลิมยังหลงงมงายกับความเชื่อโชคลางดังกล่าวอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งใครที่มาเตือนด้วยกับหลักการที่ถูกต้อง ถึงกับต้องตัดขาดกันเลยทีเดียว
ในความจมปลักอยู่กับสิ่งงมงายดังกล่าว ได้มีคนถามผู้รู้เกี่ยวกับปัญหา ท่านเชคตอบคำถามดังกล่าวไว้ว่า
คำถาม : สำหรับคนที่มีความเชื่อ หรือเชื่อลางร้าย หรือทำนายทายทัก หรือสงสัยว่าจะส่งผลเสียให้เกิดแก่เขา เช่นเจ็บไข้ได้ป่วย หรืออื่นๆ จากบางวัน หรือบางเดือน หรือบางตัวเลข และเวลาต่างๆ หรืออื่นจากนี้ หรือจากการเข้าบ้านนั้นจะเป็นอย่างนั้น สวมเสื้อสีนี้จะเป็นอย่างนี้ อนุญาติหรือไม่ ?
คำตอบ : ทั้งหมดที่พูดมาไม่อนุญาติทั้งสิ้น ทว่ามันเป็นประเพณีของชาวญาฮิลียะห์ที่งมงาย(ยุคก่อนอิสลามจะมา) เมื่ออิสลามมาเพื่อปฏิเสธและล้มเลิกมัน แน่นอนว่าหลักฐานมากมายชัดเจนว่าได้ห้ามสิ่่งดังกล่าว เพราะมันคือการตั้งภาคี และมันไม่มีผลใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือให้โทษ เพราะไม่มีผู้ที่ให้ หรือไม่ให้ ผู้ให้ประโยชน์ หรือให้โทษ นอกจากอัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น
พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
"และหากว่าอัลลอฮ์ ทรงให้ความเดือดร้อนอย่างหนึ่งอย่างใดประสบแก่เจ้า แล้วก็ไม่มีผู้ใดจะเปลื้องมันได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น
และหากพระองค์ทรงให้ความดีอย่างหนึ่งอย่างใดประสบแก่เจ้า แท้จริงพระองค์นั้นทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง"
ในฮะดิษ อิบนิ อับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่มา แท้จริง ท่านนบี กล่าวว่า
"หากประชาชาตินี้รวมตัวกันในการที่จะให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าด้วยสิ่งใด พวกเขาก็ไม่ให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าได้ เว้นเสียแต่ว่า อัลลอฮ์ได้บันทึกสิ่งนั้นไว้ให้แก่เจ้าแล้ว และหากประชาชาตินี้รวมตัวกันในการที่จะให้เกิดโทษแก่เจ้าด้วยกับสิ่งใด พวกเขาก็ไม่อาจให้เกิดโทษแก่เจ้าได้ เว้นแต่อัลลอฮ์จะบันทึกสิ่งนั้นไว้ให้แก่เจ้าแล้ว ปากกาถูกยกแล้ว และน้ำหมึดก็แห้งแล้ว"
จากอบีฮุร็อยเราะห์ แท้จริงท่านนบี กล่าวว่า
"ไม่มีโรคระบาด ไม่มีลางร้าย ไม่มีนกฮูก และไม่มีเดือนซอฟัร"
ในบางรายงาน "และไม่มีดวงดาว (เชื่อดวงดาว) และไม่มีภูติผีปีศาจ"
(บันทึกโดยบุครีย์และมุสลิม)
ท่านนบี ได้ห้ามการเชื่อลางร้าย และได้กล่าวไว้ในฮะดิษ และบอกว่าแท้จริงแล้วมันไม่มีจริงและไม่มีผลร้ายใดๆ ทว่ามันคือความเข้าใจผิดและจินตนาการที่เลวร้ายเท่านั้น และคำกล่าวของท่านนบี ที่ว่า "และไม่มีเดือนซอฟัร" ท่านนบี ได้ห้ามในสิ่งที่บรรดาชนในยุคญาฮิลียะห์ได้เชื่อว่าจะเกิดลางร้ายขึ้นในเดือนซอฟัร(เดือนที่สองในปฏิทินอิสลาม) พวกเขากล่าวกันว่ามันคือ"เดือนแห่งความโชคร้าย" และท่านนบี ก็ได้ห้ามสิ่งดังกล่าวและยกเลิกมัน
และท่านก็ได้กล่าวว่า เดือนซอฟัร เหมือนเดือนอื่นๆจากเดือนทั้งหลาย ไม่มีผลใดๆในการได้รับความดีหรือผลักไสความชั่ว เช่นเดียวกันกับวัน เดือน ปีทั้งหลายก็ไม่แตกต่าง ซึ่งปรากฏว่าชาวญาฮิลียะห์นั้นเชื่อลางร้ายในวันพุธ เชื่อว่าจะเกิดลางร้ายเกี่ยวกับการแต่งงานในเดือนเชาวาล(เดือนที่สิบ)แบบเจาะจง
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ กล่าวว่า
ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ได้ทำการแต่งงานกับฉันในเดือนเชาวาลและร่วมหอกับฉันในเดือนเชาวาล
ดังนั้น ณ ท่านนบี แล้วจะมีภริยาของท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์คนใดเล่าจะโชคดีไปกว่าฉัน
อุรวะฮ์กล่าวว่า ท่านหญิงอาอิชะฮ์ชอบที่จะให้บรรดาสตรีของนางเข้า(เรือนหอ)ในเดือนเชาวาล"
รายงานโดยมุสลิม (2551)
และนี่ก็เหมือนกันกับ ลางร้ายของพวกรอฟิเฎาะ ที่เรียกว่า อัลอะชะเราะห์ และความโกรธเกลียดของพวกเขาต่อวันนี้ และการเป็นศัตรูต่อพวกเขา คือ สิบคนที่ได้รับข่าวดีว่าเป็นชาวสวรรค์จากซอฮาบะห์ของท่านนบี นี่คือความโง่และสติปัญญาที่เบาบางของพวกเขา และคำพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ท่าน อิบนุตัยมียะห์ได้เขียนไว้มากมายในหนังสือของท่าน (อัลมินฮาจ) ในการตอบโต้พวกรอฟิเฎาะห์
เช่นเดียวกันกับบรรดาผู้ที่เชื่อในเรื่องดวงดาว เอามาอนุมานเข้ากับวันเวลา และรู้สึกว่าจะได้รับลางร้าย และเวลานั้นดี เวลานี้ไม่ดี ข้อตัดสินดังกล่าวในเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับดวงดาวนั้นไม่ได้ถูกปิดบังเลยแม้แต่น้อยจากหลักการของอิสลามว่าเป็นเรื่องที่ต้องห้าม และมันคือสิ่งหนึ่งจากการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ และคำพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมากมาย ทุกเรื่องราวที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมของชาวญาฮิลียะห์ ซึ่งบทบัญญัติอิสลามได้ปฏิเสธและยกเลิกมันโดยสิ้นเชิง
ท่านอิบนุก็อยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า โชคลาง คือ ลางร้ายที่มาจากการมองเห็น หรือได้ยิน ดังนั้นเมื่อมนุษย์ถูกใช้งาน และเขาก็กลับมาจากการเดินทาง (ไปๆมาๆด้วยกับการเชื่อโชคลาง) หรือ ปฏิเสธที่จะทำมันอันเนื่องจากลางร้าย แน่นอนว่าเขาติดกับดักของการตั้งภาคีแล้ว ทว่าเขานั้นได้พึ่งพิงและเขาได้ถอนตัวออกจากการมอบหมายต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา และเปิดประสู่ความหวาดกลัว และผูกพันกับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ และลางร้ายจากสิ่งที่เขาเห็น หรือ ได้ยิน ตัดขาดออกจากจุดยืนที่ว่า
{إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ} فاتحة 6
"เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ"
{فَاعْبُدْهُ وَتَوَكَّلْ عَلَيْهِ} هود 123
"ดังนั้นจงภักดีต่อพระองค์ และมอบหมายต่อพระองค์"
، {عَلَيْهِ تَوَكَّلْتُ وَإِلَيْهِ أُنِيبُ} هود 88
"แด่พระองค์ฉันขอมอบหมายและยังพระองค์เท่านั้นฉันกลับไปหา"
หัวใจของเขาก็กลายเป็นว่าถูกแขวนไว้กับสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮ์ ทั้งด้านเคารพภักดี และการมอบหมาย และก็จะมาทำลายหัวใจและความศรัทธา และเขายังคงมุ่งเป้าหมายไปสู่ลางร้าย และเขับเคลื่อนไปทุกทิศทางที่ชัยฏอนก็มีอำนาจเหนือเขา มันเป็นผู้ที่ทำลายศาสนาและดุนยา กี่มากน้อยแล้วที่ได้รับความวิบัติด้วยสาเหตุดังกล่าว และขาดทุนทั้งดุนยาและอาคิเราะห์ และหลักฐานห้ามจากโชคลางและลางร้ายเป็นที่รู้จักกันดีและมีอย่างมากมาย
จากคำฟัตวาจากท่านเชคก็ได้ชี้ชัดแล้วว่า การเชื่อเรื่องโชคลางเป็นหนึ่งจากการตั้งภาคีที่นับว่าเป็นบาปที่พระองค์อัลลอฮ์จะไม่อภัยโทษให้แก่เขาเป็นอันขาด ดังที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า
"แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้น สำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์
และผู้ใดให้มีภาคีขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาก็ได้อุปโลกน์บาปกรรมอันใหญ่หลวงขึ้น"
(นิสาอ์ 48)
และถ้าหากเราจะศึกษาจริงๆ เราก็จะพบว่า การเชื่อโชคลางนั้นเป็นหลักคำสอนของศาสนาอื่น ที่ไม่ใช่ศาสนาอิสลามอย่างแน่นอน