คุณค่าความประเสริฐของการเตาบะฮ์
มุหัมมัด บิน อับดุรเราะห์มาน อัน-นูชาน : เขียน
1. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้อัลลอฮ์รัก
อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงชอบบรรดาผู้สำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว และทรงชอบบรรดาผู้ที่ทำตนให้สะอาด”
(อัลบะกอเราะ :22)
2. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุของการได้รับชัยชนะ
อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
“และพวกกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์เถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ”
(อันนูร :31)
3. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุของการตอบรับอามั้ล และได้รับการอภัยโทษจากความผิดทั้งหลาย
อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
“และพระองค์คือผู้ทรงรับการขออภัยโทษจากปวงบ่าวของพระองค์ และทรงอภัยจากความผิดทั้งหลาย”
(อัช-ชูรอ :25)
อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
"และผู้ใดกลับเนื้อกลับตัวและกระทำความดี แท้จริงเขากลับเนื้อกลับตัวเข้าหาอัลลอฮ์อย่างจริงจัง "
(อัล-ฟุรกอน :71)
4. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้ได้เข้าสวรรค์ และรอดพ้นจากไฟนรก
อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า
“ภายหลังจากพวกเขา ชนรุ่นชั่วก็ได้สืบต่อมา พวกเขาได้ทิ้งละหมาด และปฏิบัติตามความใคร่ ต่อมาพวกเขาก็จะประสบความหายนะ เว้นแต่ผู้ขอลุแก่โทษและศรัทธา และกระทำความดี ชนเหล่านั้นจะได้เข้าสวนสวรรค์และพวกเขาจะไม่ได้รับความอธรรมแต่อย่างใด”
(มัรยัม:59-60)
5. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุของการได้รับอภัยโทษ และได้รับความเมตตาจากอัลลอฮ์
อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
“และบรรดาผู้ที่กระทำสิ่งที่ชั่ว แล้วสำนึกผิดกลับตัวหลังจากนั้น และศรัทธาแล้วไซร้ แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้น หลังจากนั้น แล้ว แน่นอนย่อมเป็นผู้ทรงอภัยโทษทรงเอ็นดูเมตตา”
(อัล-อะรอฟ:153)
6. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้ความชั่วถูกเปลี่ยนเป็นความดี
อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า
“และผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาจะได้พบกับความ ผิดอันมหันต์ การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้น เป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้น อย่างอัปยศ
เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัวและศรัทธาและประกอบการงานที่ดี เขาเหล่านั้นแหละ อัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนความชั่วของพวกเขาเป็นความดี และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ ”
(68 -70)
7. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุของการได้รับทุกๆความดีงาม
อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า
“และหากพวกเจ้า สำนึกผิด และกลับตัว มันก็เป็นสิ่งดีแก่พวกเจ้า"
(เตาบะฮ์ : 3 )
"และหากพวกเขาสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว ก็เป็นสิ่งดีแก่พวกเขา”
(เตาบะฮ์ : 74)
8. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุที่จะได้มาซึ่งอีหม่านและรางวัลอันยิ่งใหญ่
อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า
“นอกจากบรรดาผู้ที่สำนึกผิดกลับตัว และปรับปรุงแก้ไข และยึดมั่นต่ออัลลอฮฺ และได้มอบการอิบาดะฮ์ของพวกเขาให้แก่อัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง ชนพวกนี้แหละจะร่วมอยู่กับบรรดาผู้ศรัทธาและอัลลอฮฺจะทรงประทานแก่ผู้ศรัทธาทั้งหลายซึ่งรางวัลอันยิ่งใหญ่”
(อัน-นิซาอฺ :146 )
9. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุของการประทานความบะรอกะจากฟากฟ้า และการได้รับการเพิ่มพูนพลังเป็นทวีคูณ
อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า
“และโอ้กลุ่มชนของฉันเอ๋ย ! จงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่าน แล้วจงกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ พระองค์จะส่งเมฆ(น้ำฝน) มาเหนือพวกท่าน ให้หลั่งน้ำฝนลงมาอย่างหนัก และจะทรงเพิ่มพลังเป็นทวีคุณให้แก่พวกท่าน และพวกท่าน และพวกท่านอย่าผินหลังโดยเป็นผู้กระทำผิด”
(ฮูด:52)
10. การเตาบะฮ์ เป็นสาเหตุที่ทำให้มลาอีกะขอดุอาฮฺแก่ผู้ที่เตาบะฮ์
อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า
“บรรดาผู้แบกบัลลังก์ และผู้ที่อยู่รอบ ๆ บัลลังก์ ต่างก็แซ่ซ้องสดุดีด้วยการสรรเสริญพระเจ้าของพวกเขา และศรัทธาต่อพระองค์ และอภัยโทษให้แก่บรรดาผู้ศรัทธา
ข้าแต่พระเจ้าของเรา พระองค์ท่านทรงแผ่ความเมตตาและความรอบรู้ไปทั่วทุกสิ่ง ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยแก่บรรดาผู้ลุแก่โทษ และดำเนินตามแนวทางของพระองค์ท่าน และทรงคุ้มครองพวกเขาให้พ้นจากการลงโทษแห่งไพนรก”
(ฆอฟิร :7)
11. การเตาบะฮ์ เป็นการเชื่อฟังอัลลอฮฺ
อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า
“และอัลลอฮฺ ทรงปรารถนาที่จะอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า”
(อัน-นิซาอ์:27)
เพราะผู้ที่เตาบะฮ์กระทำสิ่งที่อัลลอฮฺทรงรักและพอพระทัย
12. แท้จริงอัลอฮฺทรงดีใจการที่บ่าวคนหนึ่งได้เตาบะฮ์ตัว
ท่านรอซูล ได้กล่าวว่า
“อัลลอฮฺทรงดีใจต่อการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของบ่าวของพระองค์ในขณะที่เขาทำการกลับตัว (เตาบะฮฺ) ยิ่งกว่าคนหนึ่งคนใดในกลุ่มพวกท่านซึ่งได้นั่งอยู่บนสัตว์พาหนะของเขาในแผ่นดินที่ว่างเปล่าไกลโพ้น แล้วมันก็หลุดหนีไปโดยที่อาหารและน้ำดื่มติดไปด้วย เขาหมดหวังที่จะได้เจอมันอีก แล้วเขาก็ไปลงนอนใต้ร่มเงาไม้ในสภาพที่หมดหวังจะเจอกับพาหนะของเขา และในขณะที่เขาอยู่ในสภาพนั้น ทันใดนั้นมันก็มายืนปรากฏอยู่ต่อหน้าเขา แล้วเขาก็จับเชือก และได้กล่าวเนื่องจากความดีใจอย่างที่สุดว่า โอ้อัลลอฮฺพระองค์เป็นบ่าวของฉัน และฉันเป็นพระเจ้าของพระองค์ เขาพูดผิดอันเนื่องจากความหลงดีใจอย่างที่สุด”
(บันทึกโดย มุสลิม และ อัล-บุคอรีย์)
อบูมุฮัยมิน อับดุลมุหฺซิน บิน ฏอลิบ บิน อิดรีส อัล-มุนซีรีย์ : ถอดความ
ที่มา : http://www.saaid.net/rasael/538.htm