บิดอะหฺเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยก
เรียบเรียงโดย อ.อับดุลบารีย์ นาปาเลน
บิดอะหฺเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยก ตรงข้ามกับซุนนะหฺที่มีเเค่ทางเดียว ที่จะทำให้เกิดความสามัคคี เพราะบิดอะหฺออกมาจากความคิด และฮาวา(อารมณ์)ของคน มันจึงออกมาในรูปแบบที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป
ดังที่พระองค์ได้ทรงตรัสว่า
وَأَنَّ هَٰذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيمًا فَاتَّبِعُوهُ وَلَا تَتَّبِعُوا السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ ذَٰلِكُمْ وَصَّاكُم بِهِ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ ( 153 )
“ และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง
เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแตกแยกออกไปจากทางของพระองค์ นั่นแหละที่พระองค์ได้สั่งเสียมันไว้แก่พวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง “
(อัลอันอาม / ๑๕๓)
إِنَّ الَّذِينَ فَرَّقُوا دِينَهُمْ وَكَانُوا شِيَعًا لَّسْتَ مِنْهُمْ فِي شَيْءٍ إِنَّمَا أَمْرُهُمْ إِلَى اللَّهِ ثُمَّ يُنَبِّئُهُم بِمَا كَانُوا يَفْعَلُونَ ( 159 )
“ แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้ นเจ้า(มุฮัมมัด)หาใช่อยู่ในพวกเขาแต่อย่างใดไม่
แท้จริงเรื่องราวของพวกเขานั้น ย่อมไปสู่อัลลอฮ์แล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน “
(อัลอันอาม / ๑๕๙)
فَتَقَطَّعُوا أَمْرَهُم بَيْنَهُمْ زُبُرًا كُلُّ حِزْبٍ بِمَا لَدَيْهِمْ فَرِحُونَ ( 53 )
“ พวกเขาได้แตกแยกกันในเรื่องของพวกเขา(เป็นกลุ่มๆ) ระหว่างพวกเขากันเอง แต่ละฝ่ายก็พอใจในสิ่งที่ตนเองยึดถือ “
จนกระทั่งยุคนี้ พวกเขาก็แตกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มก็เห็นว่าตัวเองนั้นถูกต้อง และกลุ่มอื่นเป็นกลุ่มที่หลงผิด และยังประนามฝ่ายตรงข้าม จึงเกิดการทะเลาะวิวาทกัน และเกิดรบราฆ่าฟันกันในที่สุด ฉะนั้น การเงียบจากสิ่งที่บิดอะหฺ และไม่ช่วยกันห้ามปราม จึงเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความแตกแยกในสังคมมุสลิม หากเราย้อนมองกลับไปมองในยุคของศอฮาบะห์ และตาบีอีน ยุคแห่งความประเสริฐ พวกเขามีการยึดมั่นในซุนนะหฺ โดยปราศจากการกระทำบิดอะหฺแต่อย่างใด พระองค์อัลลอฮ์จึงให้พวกเขาสืบทอดในแผ่นดินนี้ จากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกตามที่พระองค์ทรงสัญญา
وَلَيَنصُرَنَّ اللَّهُ مَن يَنصُرُهُ إِنَّ اللَّهَ لَقَوِيٌّ عَزِيزٌ ( 40 ) الَّذِينَ إِن مَّكَّنَّاهُمْ فِي الْأَرْضِ أَقَامُوا الصَّلَاةَ وَآتَوُا الزَّكَاةَ وَأَمَرُوا بِالْمَعْرُوفِ وَنَهَوْا عَنِ الْمُنكَرِ وَلِلَّهِ عَاقِبَةُ الْأُمُورِ ( 41 )
“และแน่นอนอัลลอฮ์ จะทรงช่วยเหลือผู้ที่สนับสนุนศาสนาของพระองค์ แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงพลัง ผู้ทรงเดชานุภาพอย่างแท้จริง
บรรดาผู้ที่เราให้พวกเขามีอำนาจในแผ่นดิน คือบรรดาผู้ที่ดำรงการละหมาด และบริจาคซะกาต
และใช้กันให้กระทำความดี และห้ามปรามกันให้ละเว้นความชั่ว และบั้นปลายของกิจการทั้งหลายย่อมกลับไปหาอัลลอฮ์ “
(อัลหัจญ์ / ๔๐-๔๑)