ดูอาอ์ที่ประเสริฐ
  จำนวนคนเข้าชม  11626

 

ดูอาอ์ที่ประเสริฐ

 

แปลโดย อบูซิรีน อับดุลอะซิซ หมัดหลี

 

(اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا عَمِلْتُ، وَمِنْ شَرِّ مَا لَمْ أَعْمَلْ))([1]).

 

" โอ้อัลลอฮ์  ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากความชั่วร้ายที่ฉันได้กระทำเเละ ความชั่วที่ฉันมิได้กระทำมัน "

 

         นี่คือดุอาอ์ ที่ประเสริฐบทหนึ่ง ที่รวบรวมไว้ด้วยการของความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ ให้พ้นจากความชั่ว ซึ่งครอบคลุมไปยังความชั่วที่บ่าวกระทำ เเละความชั่วที่ยังไม่กระทํา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน เเละอนาคต

 

 

อธิบาย

 

"ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ จากความชั่วร้ายที่ฉันได้กระทำ"

 

        คือ จากความชั่วร้าย หรือ ความชั่วที่ฉันกระทำมัน ที่เป็นสาเหตุให้ฉันถูกลงโทษในโลกดุนยาหรือ อาคีเราะห์ หรือ การกระทำสิ่งที่จำเป็นจะต้องได้รับการอภัยโทษ(จากบรรดาความดีงาม หรือถึงการละทิ้งสิ่งที่เป็นวายิบ-การละทิ้งวายิบถือว่าเป็นบาป)

 ดั้งนั้นการของความคุ้มครองนี้จึงครอบคลุมไปยังทุกๆความชั่ว เเละบาปที่ผ่านมาในอดีต 

 

        ท่านรอซู้ล  ขอความคุ้มครอง ทั้งๆที่ท่านเป็นคนมะซูม(ถูกคุ้มครองให้พ้นจากบาป) เพื่อเป็นการจำนนต่อการเกรงกลัวอัลลอฮฺ  การให้ความยิ่งใหญ่เเละความเกรียงไกรต่อพระองค์ เเสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องพึงพาต่อพระองค์ในทุกๆเวลา ทุกๆสถานการ เเละเพื่อเป็นการสอนวิธีเเละรูปเเบบในการขอดุอาอ์ เพื่อที่จะถูกนำเป็นเเบบอย่างต่อไป

ท่านรอซู้ล  นั้นอาม้าลของท่านทั้งในอดีตเเละอนาคต ทั้งหมดล้วนเเล้วเป็นเเต่ความดีงามทั้งสิ้น

"เเละความชั่วที่ฉันมิได้กระทำมัน"

          คือ จากความดีงามต่างๆ หมายถึง ความชั่วที่เกิดเนื่องจากการละทิ้งสิ่งที่เป็นวายิปโดยไม่ปฎิบัติมัน หรือ หมายถึง ความชั่วที่ฉันยังไม่ปฎิบัติมันในตอนนี้จากบาปหรือความผืดต่างๆ โดยขอให้พระองค์ปกป้องฉันให้ฉันรอดพ้นเเละอย่าได้ปฎิบัติมันเลยในอนาคต จากการกระทำที่พระองค์มิทรงพอพระทัย หรือเป็นเหตุให้พระองค์ทรงกริ้วโกรธ  เเละบทการขอความคุ้มครองนี้ได้ครอบคลุมไปยังทุกๆความชั่ว มากหรือน้อย เล็กหรือใหญ่ ทั้งในปัจจุบันเเละอนาคตที่จะมาถึง

 

วัลลอฮุอะลัม

 

 






([1]) مسلم، كتاب الذكر والدعاء والتوبة والاستغفار، باب التعوذ من شر ما عمل، ومن شر ما لم يعمل، برقم 2716.


 شرح النووي على مسلم، 9/ 50.


 قول الألباني رحمه اللَّه، انظر: شرح الأدب المفرد للعوايشة،2/367

 فيض القدير، 2/ 17 بتصرف يسير.