อิสลามได้ส่งเสริมให้ทำความดีต่อต่างศาสนิก
เรียบเรียงโดย อับดุลบารีย์ นาปาเลน
มีหลายโองการที่อัลลอฮ์ ได้สั่งให้ทำดีกับผู้ปฏิเสธศรัทธา และจากซุนนะห์ของท่านนบี ที่ได้ทำดีต่อพวกเขา ถ้าพวกเขาเหล่านั้นมิได้เป็นศัตรูต่อบรรดาผู้ศรัทธา โดยมีเป้าหมายที่สูงส่ง เพื่อหวังให้พวกเขาหันมาเข้ารับนับถือศาสนาของอัลลอฮ์ หรือมีความรักและมีมุมมองที่ดีต่ออิสลามและมุสลิม และถือเป็นวิธีการที่สำคัญในการเพยแพร่อิสลาม เพราะพวกเขาก็คือลูกหลานอาดัมเหมือนกับเรา
แต่จะมีเงื่อนไขว่า การกระทำอันนั้นจะต้องไม่ทำให้เราต้องเสียอีหม่าน หรือไปทำในสิ่งที่เป็นข้อห้าม หรือไม่ทำให้ศาสนาอิสลามเสียเกียรติลง และไม่ถึงขั้นยึดเอาพวกเขามาเป็นมิตรและเป็นที่รัก ดั่งมีข้อห้ามในหลายๆโองการ เพราะการที่ไปรักพวกเขาจะนำพาไปสู่การรักต่อศาสนาของพวกเขาด้วย หรือนำเอาศาสนาของพวกเขามาผสมผสานกับอิสลาม ตรงนี้จึงเป็นกรอบและขอบเขตที่ต้องป้องกันเอาไว้
ในความหมายโดยรวมที่พระองค์ได้สั่งให้ทำความดีต่อผู้ปฏิเสธ ดั่งในโองการที่ว่า
" وَقُولُوا لِلنَّاسِ حُسْناً "
“ และพวกท่านทั้งหลาย จงพูดจาแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยดี”
(ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 83)
ในความหมายของ เพื่อนมนุษย์ คือ มนุษย์ทุกคน แม้ผู้ที่เป็นกาเฟรก็เข้ารวมอยู่ด้วย
" لَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُمْ مِنْ دِيَارِكُمْ أَنْ تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ "
“อัลลอฮฺมิได้ทรงห้ามพวกเจ้า เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้เข่นฆ่า(เพราะต่อต้าน)พวกเจ้าในเรื่องศาสนา
และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า
ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม”
(ซูเราะฮฺ อัล-มุมตะหินะฮฺ อายะฮฺที่8)
พระองค์ห้ามเป็นมิตรด้วยหากพวกเขาเป็นศัตรูต่อบรรดาผู้ศรัทธา ดั่งที่พระองค์ได้กล่าวหลังจากนั้นว่า
" إِنَّمَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ قَاتَلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَأَخْرَجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ وَظَاهَرُوا عَلَىٰ إِخْرَاجِكُمْ أَن تَوَلَّوْهُمْ وَمَن يَتَوَلَّهُمْ فَأُولَٰئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ ( 9 )
“แต่ว่าอัลลอฮทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา และขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า และช่วยเหลือให้ขับไล่พวกเจ้า
ในการที่พวกเจ้าจะผูกมิตรกับพวกเขาและผู้ใดผูกมิตรกับพวกเขา ชนเหล่านั้นพวกเขาเป็นผู้อธรรม “
( อัมมุมตะฮินะหฺ / ๙)
ในซุนนะห์ของท่านนบี ท่านนบี จะทำดีให้เกียรติแก่ผู้ที่ท่านหวังว่าพวกเขาจะมาเข้ารับอิสลาม นั่นก็เป็นความหวังดีต่อพวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้รับความสำเร็จในโลกนี้และโลกหน้า
“และเรามิได้แต่งตั้งสูเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อเป็นเมตตาสำหรับสากลโลก”
ครั้งหนึ่งท่านนบี ไปเยี่ยมผู้ป่วย จากที่เขาเคยมารังแก่ท่าน แต่ท่านนบี ก็ไม่ถือสา และกลับให้อภัยแก่เขา
عَنْ أَنَسٍ، أَنَّ غُلَامًا، مِنَ الْيَهُودِ كَانَ مَرِضَ فَأَتَاهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَعُودُهُ فَقَعَدَ عِنْدَ رَأْسِهِ، فَقَالَ لَهُ: أَسْلِمْ فَنَظَرَ إِلَى أَبِيهِ، وَهُوَ عِنْدَ رَأْسِهِ، فَقَالَ لَهُ أَبُوهُ: أَطِعْ أَبَا الْقَاسِمِ فَأَسْلَمَ، فَقَامَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، وَهُوَ يَقُولُ: «الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي أَنْقَذَهُ بِي مِنَ النَّارِ»
“จากท่านอนัส เล่าว่า แท้จริงมีเด็กชายจากชาวยิวท่านหนึ่ง ได้ล้มป่วย แล้วท่านนะบี ได้ มาเยี่ยมเขา โดยที่ท่านได้นั่งใกล้ศีรษะของเขาแล้วกล่าวว่า "จงเข้ารับอิสลามเถิด"
จากนั้นเขาได้มองไปยังพ่อของเขา (เพื่อขอความคิดเห็น) พ่อของเขากล่าวว่า "จงเชื่อฟังอบุลกอเซ็ม"(หมายถึงท่านนบี ) แล้วเขาก็รับอิสลาม
ต่อจากนั้นท่านนะบี ได้ลุขขึ้นยืนเแล้วกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ที่พระองค์ทำให้เขารอดพ้นจากไฟนรก ด้วยมือของฉัน ”
(รายงานโดย อาบีดาวูด / ๓๐๙๕)
บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาชาวมักกะหฺ ที่พวกเขาเคยทำร้ายท่านนบี ต่างๆนาๆ ทั้งๆที่ท่านมีความสามาถที่จะแก้แค้น หลังจากที่พิชิตเมืองมักกะหฺ แต่ท่านกลับให้อภัยพวกเขา และหวังให้พวกเขามารับนับถือต่อศาสนาที่แท้จริง ท่านจึงปล่อยตัวพวกเขาไป
" اذْهَبُوا فَأَنْتُمُ الطُّلَقَاءُ "
“ จงกลับไปเถิด ท่านทั้งหลายคือผู้ถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระแล้ว “
(รายงานโดย อัลบัยฮากีย์ ใน อัซซุนัน)
จากเป้าหมายของอิสลาม คือต้องรักษาเกียรติยศของศาสนาให้สูงส่ง ส่วนผู้ใดที่ทำลายเกียรติของศาสนานี้ก็ถือได้ทำสิ่งที่ค้านกับหลักการ
"พระองค์คือ ผู้ทรงประทานเราะซูลของพระองค์ด้วยการชี้นำทางและศาสนาแห่งสัจธรรม
เพื่อจะให้มันได้มีความสูงส่งเหนือศาสนาทั้งมวล ถึงแม้พวกตั้งภาคีจะเกลียดชังก็ตาม "
(อัซซ๊อฟ / ๙)
ด้วยเหตนี้ที่ท่านนบี เลือกที่จะให้อภัยแก่หัวหน้าผู้กับกลอก อิบนูอุบัย บินซาลูล ที่หลายๆครั้ง เขาผู้นี้ได้ก่อปัญหา และทำความเสื่อมเสียให้แก่อิสลามและมุสลิม แต่ที่ท่านไม่สั่งให้สังหารเขาเพราะผลร้ายที่ตามมามีมากกว่าผลดี อนึ่งก็หวังว่าเขาอาจจะมีอีหม่านที่แท้จริง และรักษาชื่อเสียงของศาสนา เพื่อมิให้ผู้คนเพ่นหนีออกจากอิสลาม
قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «دَعْهُ لاَ يَتَحَدَّثُ النَّاسُ أَنَّ مُحَمَّدًا يَقْتُلُ أَصْحَابَهُ»
ท่านนบี ได้กล่าว "จงปล่อยเขาเถิด เพื่อมิให้ผู้คนกล่าวกันว่า มูฮำมัดฆ่าเพื่อนของเขาเอง “
( รายงานโดย บุคอรีย์และมุสลิม )
แม้กระทั้งกับศัตรู ท่านนบี ยังได้ปฏิบัติต่อเขาอย่างสุขุมและนิ่มนวล นั่นก็เพื่อเชิดชูหน้าตาของศาสนาอิสลาม
“ มีชาวยะฮูด(ชาวยิว)ได้มาหาท่านนบี แล้วพวกเขากล่าวว่า อัสซามมูอาลัยกุม
(อัสซามเป็นคำ ที่คล้ายกับอัสสลาม แต่ความหมายของมันคือ ความวิบัต ประโหยคทั้งหมดจึงแปลว่า ขอความวิบัติจงมีแด่พวกท่าน)
ท่านนบี ได้กล่าวว่า "และขอให้ประสบแด่พวกท่านเช่นเดียวกัน"
ท่านหญิงอาอีชะฮ์ จึงกล่าวว่า "ขอความวิบัติจงมีแด่พวกท่าน แล้วความสาบแช่งของอัลลอฮและความโกรธกริ้วของพระองค์จงมีแด่พวกท่านด้วย “
ท่านนบี ได้กล่าวกับนางว่า "ใจเย็นๆ โอ้ อาอีชะฮ์ โปรดใช้ความนิ่มนวล และจงระวังเรื่องของความรุนแรง หรือ ความน่าเกลียด"
นางจึงกล่าวว่า “ ท่านไม่ได้ยินอีกหรือ ว่าพวกเขาได้กล่าวอะไร “
ท่านนบี กล่าวว่า “ แล้วเธอไม่ได้ยินในสิ่งที่ฉันได้กล่าวหรือ ฉันได้กล่าวตอบให้แก่พวกเขาแล้ว และดุอาของฉันที่ได้ขอให้แก่พวกเขาจะถูกตอบรับ แต่ดุอาของพวกเขาที่ได้ขอให้แก่ฉันจะไม่ถูกตอบรับ “
(รายงานโดยบุคอรีย์ / ๖๔๐๑ )
และมีรายงานว่า
«يَا عَائِشَةُ إِنَّ اللهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ فِي الْأَمْرِ كُلِّهِ»
“โอ้ อาอิชะฮ์ เอ๋ย พระองค์อัลลอฮ์ พระผู้ทรงอ่อนโยน ทรงรักความสุภาพอ่อนโยนในทุกกิจการงาน”
(รายงานโดยบุคอรีย์ / 6927 )
และท่านนบี เคยกล่าวว่า
«لَا يَكُون الرِّفْق فِي شَيْء إِلَّا زَانَهُ ، وَلَا يُنْزَع مِنْ شَيْء إِلَّا شَانَهُ»
“ความอ่อนโยนจะไม่ปรากฏในสิ่งหนึ่งสิ่งใด นอกจากมันจะเป็นการประดับประดาแก่สิ่งนั้น
และมันจะไม่ถูกนำออกจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด นอกจากสิ่งนั้นจะมีความน่าเกลียด”
(รายงานโดยมุสลิม / 6767)