ทำไมจึงมีการคิลาฟ(เห็นต่าง)ในเรื่องศาสนา
โดย … อ.อะสัน หมัดอะดัม
คำว่า คิลาฟียะฮ แปลว่า ขัดแย้ง ซึ่งความแตกต่างในวิชาการทางศาสนา หมายถึง การที่บุคคลมีความเห็นต่างกัน ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งมักจะเรียก ภาษาอาหรับว่า المسائل الخلافية หมายถึงปัญหา หรือประเด็นขัดแย้ง หรือมีความเห็นต่างกัน
การมีความเห็นต่างกันเป็นเรื่อง ธรรมดา และเป็น ธรรมชาติของมนุษย์ แต่ถ้ามนุษย์ในโลกนี้มีความเห็นตรงกันหมด มันจะเป็นสิ่งที่ผิดธรรมชาติ สำหรับปัญหาศาสนาที่มีความเห็นที่แตกต่างกันนั้น มีสาเหตุ พอสรุปได้ดังนี้
๑. เข้าใจตัวบทต่างกัน
๒. ความความรู้ไม่เท่ากันในเรื่องนั้นๆ หรือ บางคนได้รับหะดิษเกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่บางคนไม่ได้รับ
๓. การตีค่าของหะดิษในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไม่เหมือนกัน บ้างก็เชื่อว่า ฮะดิษเศาะเฮียะ(ถูกต้อง เชื่อถือได้) หรือบ้างก็เชื่อว่าเฎาะอีฟ (หลักฐานอ่อน ไม่น่าเชื่อถือ)
๔. ความเห็นไม่ตรงกันในประเด็นที่ไม่มีหลักฐานยืนยัน บ้างก็จำกัดที่หลักฐาน บ้างก็ใช้ความเห็นตัดสินว่าดีถึงแม้จะไม่มีหลักฐานก็ตาม
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
هموا يفة ظنوها صحيحة، وإما لآيات فوكثير من مجتهدي السلف والخلف قد قالوا وفعلوا ما هو بدعة ولم يعلموا أنه بدعة، إما لأحاديث ضعن ؤَاخِذْنَا إِمنها ما لم يُرد منها، وإما لرأي رأوه، وفي المسألة نصوص لم تبلغهم، وإذا اتقى الرجل ربه ما استطاع دخل في قوله: {رَبَّنَا لاَ تُ286نَّسِينَا أَوْ أَخْطَأْنَا} [البقرة:
ส่วนมากจากมุจญตะฮิด ยุคสะลัฟและเคาะลัฟ พวกเขาได้กล่าวและได้ทำบางสิ่งที่มันเป็นบิดอะฮ โดยที่เขาไม่รู้ว่า มันเป็น บิดอะฮ
อาจจะเป็นเพราะ บรรดาหะดิษเฎาะอีฟ ที่พวกเขาเข้าใจว่า เป็นหะดิษเศาะเฮียะ
อาจจะเป็นเพราะ บรรดาอายะฮ ที่ พวกเขาเข้าใจ ไม่เป็นไปตามความมุ่งหมายจากมัน
อาจจะเป็นเพราะความเห็นที่พวกเขาได้แสดงความเห็น
อาจจะเป็นเพราะในบางประเด็นปัญหา หลักฐานที่เป็นตัวบท ไม่ได้ถึงไปยังพวกเขา
และเมื่อคนนั้นยำเกรงต่อพระเจ้าของเขา ตามขีดความสามารถของเขา เขาก็เข้าอยู่ในคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า " โอ้พระผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดอย่าเอาผิดเราในสิ่งที่เราลืมหรือ ผิดพลาด"
( อัลบะเกาะฮเราะฮ /286 - มัจญมัวะอัลฟะตาวา 19/191 )
เพราะฉะนั้น การตามผู้รู้ต้องใช้สติปัญญาและเหตุผลในการตาม ไม่ใช่ตามแบบหูหนวกตาบอด หรือ ยึดติดกับผู้คนใดคนหนึ่ง แบบปิดหูปิดตา
ท่านอิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮ์เมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
ى الله مبني على اتباع كتاب الله، وسنة نبيه، وما اتفقت عليه الأمة، فهذه الثلاثة هي المعصومة، وما تنازعت فيه الأمة إلفدين الله ة، بل والرسول, وليس لأحد أن ينصب للأمة شخصًا يدعو إلى طريقته، يوالي عليها ويعادي، غير كلام الله ورسوله وما اجتمعت عليه الأمدع الذين ينصبون لهم شخصا أو كلاما يفرقون به بين الأمة، يوالون به على ذلك الكلام أو تلك السنة ويعادونهذا من فعل أهل الب
ดังนั้นศาสนาของอัลลอฮ วางอยู่บนรากฐาน บนการตามคัมภีร์ของอัลลอฮ และสุนนะฮ์ของนบีของพระองค์ และสิ่งที่ประชาชาติ(อุมมะฮ)ได้มีมติฟ้องกัน และ นี่คือรากฐานสามประการ มันคือสิ่งที่ได้รับการประกันจากความผิดพลาด และสิ่งที่ประชาชาติจะนำข้อขัดแย้งไปหาอัลลอฮและรอซูล และไม่อนุญาตแก่บุคคลใดเป็นผู้กำหนดบุคคลหนึ่งบุคคลใดให้แก่ประชาชาติ(อุมมะฮ) แล้วเรียกร้องไปสู่แนวทางของเขา และเป็นมิตรและเป็นศัตรูกันอยู่บนแนวทางอื่นจากคำพูดของอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์
แต่กรณีนี้(การกำหนดบุคคลให้ประชาติถือตาม) เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำของชาวบิดอะฮ ที่กำหนด บุคคลหนึ่ง บุคคลใด ให้แก่กลุ่มชน หรือกำหนด คำพูด(ทัศนะ)ใดที่ทำให้เกิดการแตกแยกระหว่างอุมมะฮ์ พวกเขาเป็นมิตรกันบนคำพูด(ทัศนะ)นั้น หรือเป็นศัตรูกันบนแนวทางนั้น - ฟะตาวาอิบนุตัยมียะฮ 20/64
การเห็นต่างในสังคมบ้านเรา ไม่เหมือนการเห็นต่างของอุลามาอฺยุคสะลัฟ เพราะพวกเขามีความเห็นต่าง แต่พวกเขาไม่แตกแยก ไม่เป็นศัตรูกัน ไม่เหมือนมุสลิมไทยในยุคปัจจุบัน ปัญหาคิลาฟียะฮที่เกิดในสังคมบ้านเรา ส่วนใหญ่เป็นปัญหาการยึดมัซฮับ เหนือตัวบทที่เป็นหลักฐานจากอัลกุรอ่านและหะดิษ กล่าวคือ ไม่ว่า อัลกุรอ่านและหะดิษ จะเศาะเฮียะอย่างไร แต่ถ้าไม่ตรงกับมัซฮับของฉัน หรือ คำสอนครูของฉัน ฉันไม่รับ แบบนี้ เรียกว่า “เอาความเห็นไปขัดแย้งตัวบท” เป็นประเด็นคิลาฟียะฮที่ควรตำหนิเป็นอย่างยิ่ง
والله أعلم بالصواب