อะไรคือข้อห้ามสำหรับผู้มีความประสงค์จะทำกุรบาน?
แปลและเรียบเรียง อบูชีส
สำหรับผู้ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ เขาจำเป็นต้องทำอะไรในสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์ หมายความว่า เขาจะตัดเล็บ ตัดผม ขลิบหนวดได้ใหม และอนุญาตใหมที่เขาจะใส่เฮนน่า สวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ หรือต้องรอหลังจากเชือดกุรบาน?
อัลฮัมดุลิลละห์
เมื่อปรากฏการยืนยันว่าได้เข้าสู่เดือนซุลฮิจญะห์แล้ว และผู้ที่มีความประสงค์ที่จะทำกุรบาน ดังนั้นจึงเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับเขาที่จะทำการกำจัดขนออกจากร่างกายไม่ว่าในกรณีใดๆ หรือตัดเล็บ หรือดึงหนังส่วนใดของเขา แต่ไม่มีข้อห้ามจากการสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ การทาเฮนน่า ใส่เครื่องหอม และการเล้าโลมภรรยาหรือการร่วมหลับนอนกับนาง
กฏเกณฑ์นี้สำหรับผู้ที่จะทำกุรบานเท่านั้นไม่รวมถึงครอบครัวของเขา และไม่รวมถึงคนที่ได้รับมอบหมายให้เชือดด้วย ดังนั้นจึงไม่มีข้อห้ามใดๆจากสิ่งดังกล่าว แก่ภรรยาและลูกๆของเขา และผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เชือดแทน
ในกฎเกณฑ์นี้ไม่มีข้อแยกแยะในผู้ชายและหญิง ถึงแม้ว่าผู้หญิงคนหนึ่งประสงค์ที่จะทำกุรบานให้แก่นางเอง ไม่ว่าจะแต่งงานแล้วหรือยังไม่ได้แต่งงาน นางก็ถูกห้ามไม่ให้นำขนออกจากร่างกายไม่ว่าจะกรณีใด หรือตัดเล็บของนาง จากหลักฐานกว้างๆที่ถูกรายงานห้ามเอาไว้
และไม่ถูกเรียกว่า การครองเอียะห์รอม เพราะแท้จริงไม่มีการครองเอียะห์รอมเว้นแต่จะต้องอยู่ในพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์ ส่วนผู้ที่ครองเอียะห์รอมคือผู้ที่สวมใส่ชุดเอียะห์รอมและห้ามใส่เครื่องหอมและร่วมหลับนอนกับภรรยาและการล่าสัตว์ แต่ข้อห้ามทุกอย่างนั้นอนุญาตให้แก่ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะทำกุรบานหลังจากเข้าสู่เดือนซุลฮิจญะห์ ห้ามเฉพาะการดึงขน ตัดเล็บและหนังเท่านั้น
عن أم سلمة رضي الله عنها أن النبي صلى الله عليه وسلم قال : ( إِذَا رَأَيْتُمْ هِلَالَ ذِي الْحِجَّةِ وَأَرَادَ أَحَدُكُمْ أَنْ يُضَحِّيَ ، فَلْيُمْسِكْ عَنْ شَعْرِهِ وَأَظْفَارِهِ )
رواه مسلم ( 1977 )
จากอุมมุสะละมะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"เมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวเดือนซุลฮิจญะห์ โดยที่คนหนึ่งคนใดในหมู่ของพวกท่านต้องการเชือดอุฏฮียะห์(กุรบาน)
ดังนั้นให้เขางดจากการตัดผม(ขน) หรือตัดเล็บของเขา"
ในบางรายงานระบุว่า
"ดังนั้นเขาอย่าตัดผม(ถอนขน) และดึงหนังของเขาแต่อย่างใด"
คำว่า อัลบะชะเราะห์ หมายความว่า ผิวหนัง
บรรดาผู้รู้จากองค์กรฐาวรเพื่อการวิจัยและตัดสินปัญหาของประเทศซาอุ กล่าวว่า
ถูกวางบทบัญญัติไว้แก่ผู้ที่มีความประสงค์ที่จะทำกุรบานเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะห์ ที่เขานั้นจะต้องละเว้นจากการตัดผม หรือถอนขน ตัดเล็บ ดึงหนังส่วนหนึ่งส่วนใด จนกว่าจะทำการเชือดเสร็จสิ้น ดังที่มีรายงานมาจากญะมาอะห์ยกเว้นอิหม่ามบุคอรีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ จากอุมมิสะละมะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา แท้จริงท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
؛ لما روى الجماعة إلا البخاري رحمهم الله ، عن أم سلمة رضي الله عنها أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : ( إذا رأيتم هلال ذي الحجة وأراد أحدكم أن يضحي فليمسك عن شعره وأظفاره )
"เมื่อพวกท่านทั้งหลายเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะห์แล้ว โดยที่คนหนึ่งคนใดในหมู่ของพวกท่านมีความประสงค์จะเชือดกุรบาน ดังนั้นก็ให้เขานั้นละเว้นจากการตัดผม และตัดเล็บของเขา"
ولفظ أبي داود ومسلم والنسائي : ( من كان له ذِبح يذبحه فإذا أهل هلال ذي الحجة فلا يأخذنَّ من شعره ومن أظفاره شيئاً حتى يضحي )
และในสำนวนฮะดิษของอบีดาวูด และมุสลิม และนะซาอีย์
"ใครก็ตามที่เขามีสัตว์พลีที่จะเชือดทำกุรบาน เมื่อเขาเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะห์ดังนั้นเขาจงอย่าได้ตัดผม ตัดเล็บของเขาจนกว่า จะเชือดเสร็จ"
ไม่ว่าจะเชือดเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นเชือดแทน ส่วนผู้ที่มีผู้อื่นเหนียตทำกุรบานให้แก่เขา สำหรับเขาผู้นั้นไม่ถูกห้ามจากสิ่งดังกล่าว อันเนื่องจากไม่มีหลักฐานรายงานเอาไว้ และไม่ถูกเรียกว่าเป็นการครองเอียะห์รอม เพราะว่าผู้ทีครองเอียะห์รอมนั้น คือผู้ที่ครองเอียะห์รอมในพิธีฮัจย์และอุมเราะห์ หรือทั้งฮัจย์และอุมเราะห์
บรรดาอุลามะห์จากองค์กรฟัตวาของซาอุถูกถามจากฮะดิษ ที่ว่า
: ( من أراد أن يضحي أو يُضحَّى عنه فمن أول شهر ذي الحجة فلا يأخذ من شعره ولا بشرته ولا أظفاره شيئاً حتى يضحي )
"ผู้ใดที่ประสงค์จะทำกุรบาน หรือ ผู้อื่นเหนียตให้แก่เขา ดังนั้นเริ่มตั้งแต่วันแรกของเดือนซุลฮิจญะห์ ห้ามเขาตัดผม และตัดเล็บส่วนหนึ่งส่วนใด จนกว่าจะเชือด"
การห้ามนี้รวมถึงคนในครองครัวทั้งหมด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หรือ ห้ามเฉพาะผู้ใหญ่ ไม่รวมเด็ก?
เราไม่รู้จักสำนวนฮะดิษที่ผู้ถามได้ถามถึง แต่สวนสำนวนที่เรารู้มียืนยันจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คือ ที่มีรายงานมาจากญะมาอะห์ ยกเว้นอิหม่ามบุคอรีย์ จากอุมมุสะละมะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา แท้จริงท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
"เมื่อพวกท่านเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะห์ และคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านมีความประสงค์จะทำกุรบาน ดังนั้นเขาจงงดตัดผม และตัดเล็บของเขา"
และในสำนวนของอบีดาวูด และเป็นสำนวนของอิหม่ามมุสลิม และนะซาอีย์ เช่นกัน บันทึกไว้ว่า
"ใครที่มีสัตว์ที่จะเชือด(ทำกุรบาน) เมื่อปรากฏจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะห์ดังนั้นเขาก็จงอย่าได้ตัดผม และตัดเล็บของเขา จนกว่าจะเชือด"
สำหรับฮะดิษเหล่านี้บ่งชี้ถึงการห้ามตัดผม ตับเล็บ หลังจากเข้าสู่เดือนซุลฮิจญะห์แล้วจนกระทั่งเชือด
ดังนั้นสายรายงานแรกพูดถึง คำสั่งให้งด และรากฐานของคำสั่งคือ วาญิบ และเราไม่ทราบว่าจะมีตัวแปร(หลักฐานบทอื่น)ที่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจากรากฐานของมัน
สายรายงานที่สอง พูดถึง คำสั่งห้าม คือ ห้ามตัด และรากฐานของการห้าม คือฮะรอม และไม่มีตัวแปรใดมาเปลี่ยนความหมายเป็นอื่น ดังนั้นจึงชี้แจงได้ว่า ฮะดิษดังกล่าวนั้นเจาะจงสำหรับผู้มีความประสงค์จะทำกุรบานเท่านั้น สำหรับใครที่มีคนเหนียตจะทำให้แทนไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่ หรือ เด็ก ก็ไม่มีข้อห้ามสำหรับพวกเขาที่จะตัดเล็บ ตัดผม ถอนขนหรือดึงหนังแต่อย่างใด สืบเนื่องจากรากฐานเดิมของพวกเขาคือ อนุญาต และไม่พบว่ามีตัวบทใดมาคัดค้านกับสิ่งดังกล่าว
ไม่เป็นสิ่งที่ผิดแต่อย่างใดสำหรับผู้ไม่ประสงค์ที่จะทำกุรบานสำหรับผู้ไม่มีความสามารถ แต่ถ้าหากผู้ที่ทำกุรบานแล้วเขาได้ตัดเล็บ ตัดผม ถอนขน ดึงหนัง ก็ไม่จำเป็นต่อเขาที่จะจ่ายค่าทดแทนใดๆ แต่จำเป็นสำหรับเขา ที่จะต้องกลับเนื้อกลับตัวและขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ ตะอาลา
ท่านอิบนุ อัซมิน ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า
"ผู้ใดที่ประสงค์จะทำกุรบาน เมื่อปรากฏจันทร์เสี้ยวของเดือนซุลฮิจญะห์ ก็จำเป็นที่เขานั้นจะต้องงดการตัดผม ตัดเล็บจนกว่าจะเชือด ไม่ว่าจะโกน หรือขลิบ หรืออื่นจากดังกล่าว แต่ส่วนผู้ที่ไม่ประสงค์จะทำกุรบานก็ไม่จำเป็นใดๆสำหรับพวกเขา"
ท่านอิบนุกุดามะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า
"เมื่อปรากฏจันทร์เสี้ยวเดือนซุลฮิจญะห์ ดังนั้นก็ให้เขา(คนที่ประสงค์ทำกุรบาน) งดการตัดผม และตัดเล็บ หากเขาทำ เขาต้องขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ และไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนใดๆเป็นมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ ไม่ว่าเขาจะทำมันอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม"
ท่านอิหม่ามเชากานีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า
"เหตุผลในการห้าม(ตัดเล็บ ตัดผม ถอนขน ดึงหนัง) ก็คือ เพื่อให้ทุกส่วนของร่างกายคงอยู่เพื่อจะได้รับการปลดปล่อยให้พ้นจากไฟนรก"
ถูกกล่าวไว้เช่นกันว่า เป็นการทำให้คล้ายคลึงกับผู้ที่ครองเอียะห์รอม และทั้งสองแง่คิดนั้นถูกรายงานจากอิหม่ามนาวาวีย์ และยังมีรายงานจากกลุ่มนักวิชาการทางมัศฮับชาฟิอีย์ว่า มุมมองที่สองนั้นไม่ถูกต้อง เพราะว่าไม่ได้ห้ามให้ยุ่งเกี่ยวกับสตรี หรือไม่ให้ใส่น้ำหอม หรือห้ามสวมใส่เสื้อผ้า และอื่นๆเหมือนกับที่ผู้ที่ครองเอียะห์รอมถูกห้ามไว้
والله أعلم