เสาหลักสำคัญของอัลอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  9800

 

เสาหลักสำคัญของอัลอิสลาม

 

เรียบเรียงโดย อบูชีส


 

        การละหมาดจัดได้ว่า เป็นเสาหลักสำคัญของอัลอิสลาม เป็นการงานแรกที่เราจะถูกสอบสวนในวันกิยามะห์ เป็นสื่อในการติดต่อของบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้า เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าใครคือผู้ศรัทธาและใครคือผู้ปฏิเสธ ใครเป็นผู้ยอมจำนน ใครเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอก ล้วนแล้วแต่แยกแยะได้จากการละหมาดของเขา  ดังที่อัลลอฮ์ตะอาลาทรงตำหนิบรรดาผู้ที่ละทิ้งและละเลยต่อการละหมาดไว้ว่า


(( -59دْخُلُونَ الْجَنَّةَ وَلا يُظْلَمُونَ شَيْئًا))[مريم:آمَنَ وَعَمِلَ صَالِحًا فَأُوْلَئِكَ يَفَخَلَفَ مِنْ بَعْدِهِمْ خَلْفٌ أَضَاعُوا الصَّلاةَ وَاتَّبَعُوا الشَّهَوَاتِ فَسَوْفَ يَلْقَوْنَ غَيًّا إِلَّا مَنْ تَابَ وَ60]
 

 

"ภายหลังจากพวกเขา ชนรุ่นชั่วก็ได้สืบต่อมา พวกเขาได้ทิ้งละหมาด และปฏิบัติตามความใคร่ ต่อมาพวกเขาก็จะประสบความหายนะ"

 

ท่านนะบีมุฮัมมัด   ได้กล่าวไว้ว่า
 

" العهد الذي بيننا وبينهم الصلاة فمن تركها فقد كفر " ( رواه أحمد والترمذي والنسائي وابن حبان والحاكم
 

"พันธสัญญาที่ซึ่งระหว่างเรากับพวกเขา คือ การละหมาด ดังนั้นใครทิ้งมันแน่นอนว่าเขาได้ปฏิเสธแล้ว"

 

        การละหมาดเป็นอิบาดะห์ที่สำคัญมาก โดยที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงสั่งใช้ให้ท่านนบี  ขึ้นไปรับบัญชาด้วยตัวของท่านเอง แตกต่างจากอิบาดะห์อื่นๆที่ส่งผ่านสื่อกลางมาคือ ท่านญิบรีล อะลัยฮิสลาม และเป็นสิ่งแรกที่บ่าวนั้นจะถูกสอบสวนในวันกิยามะห์ ในวันที่ไม่มีร่มเงาใดๆนอกจากร่มเงาของอัลลอฮ์ ตะอาลา และยังมีตัวบททั้งจากอัลกุรอานและฮะดิษมากมายที่กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องละหมาด


การละหมาดนั้นสำคัญไฉน ?

         สิ่งที่หลายๆคนยังไม่ทราบถึงความสำคัญของการละหมาด หรือลืมความสำคัญของมันก็คือ ปัจจัยที่จะทำให้ละหมาดของเรานั้นสมบูรณ์ ซึ่งมีหลายต่อหลายครั้งที่ได้เห็นพี่น้องละหมาดในมัสยิด หรือในสถานที่หนึ่งที่ใด ก็จะได้เห็นว่า มีพี่น้องบางคนละหมาดเหมือนไก่จิกข้าว หมายถึง ละหมาดเร็วเหลือเกิน จึงทำให้นึกถึงคำสอนของท่านนบี ขึ้นมาทันที ที่ท่าน ได้กล่าวว่า


(( أسوأ الناس سرقة الذي يسرق من صلاته. قالوا يا رسول الله :وكيف يسرق من صلاته ؟ قال : لا يتم ركوعها ولا سجودها))


"คนลักขโมยที่เลวที่สุดคือ คนขโมยละหมาดของเขา 
 

พวกเขาต่างกล่าวว่า โอ้ร่อซูลุลลอฮ์ เขาจะลักขโมยละหมาดของเขาได้อย่างไร? 
 

ท่านนบี  ตอบว่า คือละหมาดที่รุกัวะอ์และสุญูดไม่สมบูรณ์"

         ดังนั้นประเด็นสำคัญจากฮะดิษบทนี้ทำให้รู้ว่า คนที่จะลักขโมยอะไรนั้นแน่นอนว่า เขาต้องทำให้บรรลุผลอย่างรวดเร็วโดยที่เขานั้นต้องเร่งรีบ กลัวว่าเจ้าของทรัพย์จะมาเห็น ฉันใดก็ฉันนั้นคนที่ขโมยละหมาดก็คือ คนที่รีบเร่งละหมาดจนขาดความสงบและหยุดนิ่งในแต่อิริยาบทของการละหมาดนั้นๆ ส่วนว่าเขาจะละหมาดโดยมีสมาธิหรือไม่นั้น  สองประเด็นนี้ที่นักวิชาการได้แยกแยะเอาไว้ คือ ข้อแตกต่างระหว่างการมีสมาธิในการละหมาดและความสงบในแต่ละอิริยาบทในการละหมาด ว่า ละหมาดนั้นจะใช้ได้ หรือใช้ไม่ได้เลย

 

ประเด็นแรก ความคุชัวะอ์ หรือ สมาธิในการละหมาด

         ฮะดิษบทแรกนี้นักวิชาการส่วนใหญ่วิเคราะห์ว่า หากขาดความคุชัวะอ์หรือสมาธิในการละหมาดนั้นไม่ทำให้ละหมาดนั้นเสีย และไม่ต้องกลับมาละหมาดใหม่ แต่ว่าจะทำให้ผลบุญลดน้อยลงไปตามแต่ความมีสมาธิในการละหมาดนั้น ดังที่ท่านนบี กล่าวไว้ว่า



ها ، ثُمنها، قال صلى الله عليه وسلم : (( إن الرجل لينصرف ، وما كتب له إلا عُشر صلاته ، تُسع[رواه أبو داود والنسائي سُبعها ، سُدسها ، خُمسها ، ربُعها ، ثُلثها ، نُصفها ))

        "แท้จริงคนๆหนึ่งที่เสร็จสิ้นจากการละหมาด เขาจะไม่ได้รับการบันทึกใดๆจากการละหมาดของเขาเลย เว้นแต่ หนึ่งส่วนสิบจากการละหมาดของเขา หรือหนึ่งส่วนเก้า หรือหนึ่งส่วนแปด หรือหนึ่งส่วนเจ็ด หรือหนึ่งส่วนหก หรือหนึ่งส่วนห้า หรือหนึ่งส่วนสี่ หรือหนึ่งส่วนสาม หรือหนึ่งส่วนสอง"


         จากจำนวนเหล่านี้มิได้หมายความว่า ผลบุญของการละหมาดนั้นถูกจำกัดแต่เพียงเท่านี้ แต่ความหมายของฮะดิษหมายถึงการลดหลั่นของผลบุญแล้วแต่สมาธิของผู้ละหมาด หากละหมาดอย่างมีสมาธิเขาอาจจะได้ผลบุญเต็มเปี่ยม หากขาดสมาธิในการละหมาด เขาอาจจะไม่ได้ผลบุญอะไรเลยจากการละหมาด ดังนั้นอุลามะห์ส่วนใหญ่เห็นว่า การมีสมาธินั้นเป็น สิ่งที่ชอบให้มีในการละหมาด และส่งเสริมให้กระทำ หมายรวมว่า หากไม่มีสมาธิในการละหมาดนั้นไม่ทำให้ละหมาดนั้นเสีย แต่ผลบุญก็จะลดหายไป แล้วแต่ความสงบและมีสมาธิดังที่ท่านร่อซูลได้กล่าวเอาไว้


ประเด็นที่สอง ฏุมะนีนะห์ การหยุดนิ่งอยู่ครู่หนึ่งก่อนเปลี่ยนอิริยาบถในการละหมาด

     ดังที่ท่านนบี  ได้กล่าวกับผู้ที่ทำการละหมาดคนหนึ่งที่ละหมาดของเขาขาดความสงบนิ่งและไม่เคร่งครัดว่า


عن أبي هريرة أن النبي صلى الله عليه وسلم دخل المسجد فدخل رجل فصلى ثم عليه النبي صلى الله عليه وسلمجاء فسلم على النبي صلى الله عليه وسلم فرد عليه السلام فقال ارجع فصل فإنك لم تصل فصلى ثم جاء فسلم على النبي صلى اللهيره وسلم فقال ارجع فصل فإنك لم تصل ثلاثا فقال والذي بعثك بالحق فما أحسن غتى فعلمني قال إذا قمت إلى الصلاة فكبر ثم اقرأ ما تيسر معك من القرآن ثم اركع حى مئن راكعا ثم ارفع حتى تعتدل قائما ثم اسجد حتى تطمئن ساجدا ثم ارفع حتتطتطمئن جالسا ثم اسجد حتى تطمئن ساجدا ثم افعل ذلك في صلاتك كلها


          จากอบี ฮุรอยเราะห์ แท้จริงท่านนบี ได้เข้ามาในมัสยิด และได้มีชายอีกคนหนึ่งได้เข้ามาเพื่อทำการละหมาด หลังจากเสร็จสิ้นจากการละหมาด เขาได้มาให้สลามแก่ท่านนบี

ท่านนบี  ได้ตอบสลามแก่เขา และท่านนบีได้กล่าวแก่ชายคนนั้นว่า ท่านจงไปละหมาดใหม่ แท้จริงท่านยังไม่ได้ละหมาด 

ชายคนนั้นก็ได้ไปละหมาดใหม่ และกลับมาให้สลามท่านนบีอีกครั้ง 

ท่านนบี ก็ได้กล่าวแก่ชายคนนั้นอีก ว่า ท่านจงกลับไปละหมาดใหม่ แท้จริงท่านยังไม่ได้ละหมาด และได้สั่งใช้ให้ชายคนนั้นไปละหมาดใหม่ถึงสามครั้ง 

จนเขาได้พูดกับท่านนบี   ว่า

     “โอ้ศาสนฑูตของอัลลอฮฺ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงส่งท่านมาพร้อมกับสัจธรรม ฉันไม่สามารถทำการละหมาดให้ดีกว่านี้ได้แล้ว ขอให้ท่านได้โปรดสอนฉันด้วย”
 

ท่านนบี  ได้กล่าวว่า

“เมื่อท่านจะทำการละหมาด ให้ท่านทำน้ำละหมาดอย่างดี จากนั้นให้ท่านหันหน้าไปทางกิบลัตและกล่าวตักบีร
 

และท่องซูเราะฮฺที่ท่านจดจำได้จากอัลกุรอ่าน เมื่อท่านทำการก้มรุกัวะ ก็ให้ท่านก้มลงด้วยความนอบน้อม
 

จากนั้นเมื่อท่านยกศรีษะขึ้นก็ให้ท่านยืนจนตัวตรงเสียก่อน ค่อยทำการก้มลงสุญูดด้วยการก้มกราบที่นอบน้อม
 

เมื่อท่านจะลุกขึ้นนั่งก็ให้นั่งจนตัวตรงและมีความนอบน้อม ก่อนที่ท่านจะทำการก้มสุญูดอย่างนอบน้อมอีกครั้ง

จากนั้นจึงลุกขึ้นจนตัวตรง และจงกระทำเช่นนี้ตลอดจนกว่าจะเสร็จสิ้นจากการละหมาด”

         จากฮะดิษบทนี้นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า การนิ่งสงบในอิริยาบถของการละหมาดนั้น เป็นรุกุ่น ที่ขาดไม่ได้ในการละหมาด หากขาดรุกุ่นนี้ก็จะทำให้ละหมาดนั้นโมฆะ ดังที่ท่านนบี  ได้สั่งให้ชายคนดังกล่าว ละหมาดใหม่ถึงสามครั้ง จนท้ายที่สุดท่านนบี  ก็ได้สอนการละหมาดที่ถูกต้องให้ชายคนนั้น โดยที่เน้นให้ทุกอิริยาบทในการละหมาดนั้นมี ความสงบนิ่งเป็นหลักสำคัญ


         ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่จะทำให้การละหมาดของเรานั้นสมบูรณ์และถูกตอบรับ ณ ที่อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ไม่เข้าเฝ้าอัลลอฮ์เหมือนกับถูกบังคับ แต่จงเป็นเหมือนดั่งการละหมาดของผู้ศรัทธา ที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงยกย่องคนเหล่านั้นไว้ว่า


قد أفلح المؤمنون الذين هم في صلاتهم خاشعون) المؤمنون 2-1)

"แน่นอนบรรดาผู้ศรัทธาได้ประสบความสำเร็จแล้ว บรรดาผู้ที่พวกเขาเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนในเวลาละหมาดของพวกเขา"