การกล่าวปฏิญาณตนทั้งสองเพียงพอหรือไม่ที่จะได้เข้าสวรรค์?
แปลและเรียบเรียง อบูชีส
คำถาม
ชายคนหนึ่งศรัทธาว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเป็นศาสนทูตของพระองค์ การกล่าวเพียงประโยคดังกล่าวเพียงพอที่จะเข้าสวรรค์หรือไม่ ?
คำตอบ
อิสลามนั้นไม่ใช่เพียงแค่การกล่าวปฏิญาณตนทั้งสองเท่านั้น หากแต่จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบของการปฏิญาณตนทั้งสองให้สมบูรณ์ จนกระทั่งผู้ที่พูดปฏิญาณออกมาจะถูกนับว่าเป็นผู้จำนนอย่างแท้จริง และเงื่อนไขสำคัญของอิสลาม คือ เชื่อมั่น กล่าวด้วยคำพูด และแสดงออกโดยการปฏิบัติ
عن عُبَادَةُ بْنُ الصَّامِتِ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( مَنْ قَالَ أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ وَأَنَّ عِيسَى عَبْدُ اللَّهِ وَابْنُ أَمَتِهِ وَكَلِمَتُهُ أَلْقَاهَا إِلَى مَرْيَمَ وَرُوحٌ مِنْهُ وَأَنَّ الْجَنَّةَ حَقٌّ وَأَنَّ النَّارَ حَقٌّ أَدْخَلَهُ اللَّهُ مِنْ أَيِّ أَبْوَابِ الْجَنَّةِ الثَّمَانِيَةِ شَاءَ
จากอุบาดะห์ บุตรของ ซอมิต กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า
"ใครก็ตามที่กล่าวว่า ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรค่าแก่การเคารพภักดี อย่างแท้จริง นอกจากอัลลอฮ์เพียงองค์เดียว โดยไม่มีภาคีใดๆต่อพระองค์ และมุฮัมหมัดนั้นเป็นบ่าวของพระองค์ และเป็นร่อซูลของพระองค์ และนบีอีซาเป็นบ่าวของพระองค์ และเป็นบุตรของบ่าว(หญิง)ของพระองค์ และเป็นพระดำรัสของพระองค์ที่ได้กล่าวแก่มัรยัม และเป็นดวงวิญญาณหนึ่งของพระองค์ และสวรรค์นั้นเป็นความจริง และนรกนั้นเป็นความจริง อัลลอฮ์ซุบฮานะฮูวะตะอาลา จะให้เขาเข้าสวรรค์จากประตูบานหนึ่งบานใดจากทั้ง แปดบาน ที่เขาต้องการ "
البخاري ( 3252 ) ومسلم ( 28 ) .
ท่านเช็ค อับดุรเราะห์มาน บุตรของ มุฮัมหมัด บุตรของ อัลดุลวะฮาบ ขออัลลอฮ์เมตตาท่านด้วยเถิด กล่าวไว้ว่า ฮะดิษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ว่า
" ใครก็ตามที่กล่าวปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรค่าแก่การภักดีอย่างแท้จริง นอกจากอัลลอฮ์ "
หมายความว่า : ใครก็ตามที่เปล่งคำพูดออกมาพร้อมทั้งรู้ถึงความหมายในสิ่งที่พูด และปฏิบัติในสิ่งที่เป็นเจตนารมณ์ของคำปฏิญาณ ทั้งภายนอกและภายใน(ในจิตใจและการปฏิบัติ) จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิญาณตนนั้นจะต้องมาจากความรู้ ความเชื่อมั่นอย่างแท้จริง รวมทั้งการปฏิบัติจากความมุ่งหมายของคำปฏิญาณตนนั้น ดังที่อัลลอฮ์ทรงตรัสไว้ว่า
(( فَاعْلَمْ أَنَّهُ لاَ إِلهَ إلاَّ الله))
"ฉะนั้นพึงรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรค่าแก่การกราบไหว้นอกจากอัลลอฮ"
محمد آية 19
ฮะดิษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมที่ท่านกล่าวไว้ว่า
( إِلاَّ من شهد بالحق وهم يعلمون )
"นอกจากผู้ที่ปฏิญาณตนด้วยความสัจจริงโดยที่เขานั้นรู้ดี"
ส่วนการกล่าวคำปฏิญาณตนโดยที่ไม่รู้ถึงความหมายของการปฏิญาณตนนั้น และไม่มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยม และไม่มีการปฏิบัติด้วยกับสิ่งที่เป็นเจตนารมณ์ของมัน
♦ : เจตนารมณ์ของมันก็คือ ความบริสุทธิ์จากการตั้งภาคีและความโปร่งใสต่อคำพูดและการกระทำ
♦ : คำพูดและการกระทำคือ พูดจากใจและลิ้น กระทำด้วยใจและร่างกาย หากปราศจากสิ่งดังกล่าว บรรดานักวิชาเห็นพร้องกันว่า ไม่ยังประโยชน์ใดๆทั้งสิ้นในการกล่าวมัน
ท่านกุรฏุบีย์ กล่าวไว้ใน “ المفهم على صحيح مسلم ” บทที่ว่าด้วยกับเรื่องนี้ ไม่เพียงพอต่อการกล่าวคำปฏิญาณแต่เพียงอย่างเดียว(โดยปราศจากการงาน) แต่ทว่าจำเป็นต้องมาจากความเชื่อมั่นอย่างลึกซึ้งของจิตใจ
คำอธิบายนี้เตือนให้ระวังถึงความเสื่อมเสียจากสำนักคิดสุดโต่งของพวกมุรญิอะห์(กลุ่มหนึ่งที่พาดพิงถึงอัลอิสลาม)ที่กล่าวกันว่า เพียงแค่กล่าวคำปฏิญาณตนก็เพียงพอแล้วต่อการมีอีหม่าน(ความศรัทธา โดยไม่ต้องมีการปฏิบัติ) และฮะดิษมากมายในบทนี้ก็บ่งชี้ถึงความเสื่อมเสียของแนวความคิดนี้ และเป็นที่รู้กันดีว่าแนวความคิดนี้เป็นการสร้างความเสื่อมเสียต่อผู้ยึดถือมัน เพราะเป็นการเห็นชอบต่อการประพฤติของพวกหน้าไหว้หลังหลอก เพราะการตัดสินว่าพวกหน้าไหวหลังหลอกมีอีหม่านนั้น ย่อมเป็นสิ่งโมฆะอย่างแน่นอน
ในฮะดิษนี้เช่นกันที่บ่งชี้ถึงความเสื่อมเสียของแนวความคิดของพวกมุรญิอะห์ ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
( من شهد ) ใครที่ยืนยันปฏิญาณ
"ดังนั้นการปฏิญาณจะไม่ถูกต้อง เว้นแต่จะต้องมีความรู้ ความเชื่อมั่น ความบริสุทธิ์ใจและความซื่อสัตย์"
فتح المجيد " ( ص 36 )
เงื่อนไขของ การปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การกราบไหว้นอกจากอัลลอฮ์นั้น มีเจ็ดประการ มิเช่นนั้นก็จะไม่ยังประโยชน์ใดๆต่อผู้กล่าวมัน เว้นแต่จะต้องนำมาปฏิบัติให้ครบถ้วน สรุปได้ดังต่อไปนี้
♥ ประการแรก ความรู้ ที่ปฏิเสธความไม่รู้ (โง่เขลา)
♥ ประการที่สอง ความเชื่อมั่นที่ปฏิเสธ ความคลางแคลงสงสัย
♥ ประการที่สาม การยอมรับ ที่ปฏิเสธ การต่อต้าน
♥ ประการที่สี่ การยอมจำนน ที่ปฏิเสธ การละทิ้ง
♥ ประการที่ห้า ความบริสุทธิ์ใจ ที่ปฏิเสธ การตั้งภาคี
♥ ประการที่หก ความสัจจริง ที่ปฏิเสธ การโกหก
♥ ประการที่เจ็ด ความรัก ที่ปฏิเสธ การรังเกียจ
เงื่อนไขของ การปฏิญาณตนว่า แท้จริงท่านนบี มุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ ก็คือ เงื่อนไขเดียวกับปฏิญาณตนต่ออัลลอฮ์นั่นเอง
والله أعلم