การกระตุ้นให้มุสลิมดำเนินอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง
วิธียืนหยัดให้ม่ันคงในศาสนาของอัลลอฮฺ
มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด
หก การกระตุ้นให้มุสลิมดำเนินอยู่บนแนวทางที่เที่ยงตรง
แนวทางหน่ึงเดียวที่ถูกต้อง ซ่ึงจําเป็นสําหรับผู้ศรัทธาจะต้องดําเนินตามนั้น คือแนวทางของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ ซึ่งคือแนวทางของกลุ่มชนแห่งชัยชนะและรอดพ้น เป็นกลุ่มชนที่มีหลักศรัทธาที่บริสุทธ์ิและมีแนวทางท่ีเที่ยงตรง โดยพวกเขาจะยึดม่ันในทางนํา(สุนนะฮฺ)ของท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม และหลักฐาน(ท่ีถูกต้องและชัดเจน)เป็นหลัก ซ่ึงมันต่างจาก(แนวทางของ)บรรดาศัตรูของอัลลอฮฺ โดยสิ้นเชิง รวมทั้งเป็นส่ิงที่แยกพวกเขาออกจากหมู่ชนผู้หลงผิดทั้งหลายอีกด้วย
หากว่าท่านต้องการท่ีจะรู้ถึงคุณค่าในสภาพของการยืนหยัดได้อย่างมั่นคง ก็จงพิจารณาและถามตัวเองเถิดว่า “ด้วยเหตุอันใดเล่า ท่ีกลุ่มชนรุ่นก่อนๆ และคนรุ่นหลังต้องตกอยู่ในความหลงผิดและความโง่เขลากันอย่างมากมาย พวกเขาไม่สามารถทําให้เท้าของพวกเขายืนหยัดในแนวทางอันเท่ียงตรงได้ และการเสียชีวิตของพวกเขาก็หาได้อยู่ในร่องรอยของแนวทางดังกล่าว ไม่อาจจะมีกลุ่มหนึ่งจากหมู่พวกเขาที่ท้ายที่สุดก็ได้พบกับแนวทางอันเที่ยงตรง แต่นั่นก็ภายหลังจากช่วงอายุส่วนใหญ่ ของพวกเขาได้ผ่านพ้นไป โดยช่วงเวลาท่ีมีคุณค่ายิ่งในชีวิตของพวกเขาโดนเผาผลาญไปเสียมากแล้ว”
ท่านจะพบอีกว่าบางคนในหมู่พวกเขาเหล่านั้นได้หันเห ตัวเองออกจากความหลงผิดและสิ่งอุตริกรรมอย่างหนึ่ง แต่ก็หันเหสู่ความหลงผิดและส่ิงอุตริกรรมอีกอย่างหนึ่ง จากที่เคยคลั่งไคล้ในแนวคิด ฟัลฺสะฟะฮฺ (ปรัชญา) ก็หันเหสู่แนวคิดของ อิลมุกะลาม (วิชาที่ใช้แนวทางหลักตรรกะหรือสติปัญญาเป็นหลักในการอธิบายหลักอะกีดะฮฺและเตาฮีด) จากท่ีเคยมีแนวคิดมุอ์ตะซิละฮฺก็หันไปสู่ความหลงผิดแบบ ตะหฺรีฟ (บิดเบือน) จากท่ี เคยชอบ ตะอ์วีลฺ (ตีความ) ก็หันสู่แนวคิดของการ ตัฟวีฎ์ (การ ยุติที่จะไม่พูดถึงความหมายของพระนามและคุณลักษณะ ของอัลลอฮฺ) หรือจากแนวทาง(เฎาะรีเกาะฮฺ)หนึ่ง ของศูฟีย์ก็หันสู่อีกแนวทางหนึ่งของมัน
ด้วยเหตุนี้บรรดาผู้ที่ทําสิ่งอุตริกรรมทั้งหลายจึงมักจะนําตัวเองสู่ความสับสนและความวุ่นวายของชีวิต จงดูเถิดว่า บรรดาผู้ที่มีแนวคิดอย่างอิลมุกะลาม เขาถูกปิดกั้นจากการได้อยู่ ในสภาพของการยืนหยัดอย่างมั่นคงในขณะท่ีเขากําลังใกล้จะตายเช่นไรบ้าง นักวิชาการสะลัฟในยุคแรก ๆ ของอิสลามคนหน่ึงได้กล่าวว่า
“กลุ่มชนท่ีจะมีความสับสนลังเล(ชักก์)มากท่ีสุดในช่วงท่ีเขาใกล้จะตายก็คือกลุ่มชนท่ีมีแนวคิดอย่าง อิลมุกะลาม”
ทว่า จงพิจารณาและใคร่ครวญเถิดว่า เคยมีหรือไม่ บรรดาผู้ท่ีหันเหตัวเองออกจากแนวทางของอะฮฺลุสสุน นะฮฺวัลญะมาอะฮฺ ด้วยความไม่พอใจหรือรังเกียจในแนวทางนี้ หลังจากท่ีเขาได้รู้ ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และดําเนินตามแนวทางนี้แล้ว ? อาจจะมีบางคนท่ีหันเหตัวเองออกจาก แนวทางของอะฮฺลุส สุนนะฮฺวัล ญะมาอะฮฺ ด้วยสาเหตุเพียงเพื่อตอบสนองอารมณ์ใคร่ของตนหรือไม่ก็เพราะความคลุมเครือที่เข้ามาครอบงําความคิดที่อ่อนแอของตัวเขาเอง แต่ไม่มีใครที่หันเหออกจากแนวทางนี้เนื่องจากเขาได้พบเจอกับแนวทางท่ีถูกต้องชัดเจนกว่าหรือเพราะเขาได้พบว่าแนวทางนี้มีความหลงผิดอยู่
ในเร่ืองนี้เราสามารถจะยืนยันได้ด้วยการพิจารณาในเหตุการณ์ที่ ฮิร็อกลฺ (เฮราคลิอุส) ได้ถามท่านอบู สุฟยาน เกี่ยวกับบรรดาผู้ท่ียอมรับตามแนวทางท่านนบีมุหัมมัด
ซ่ึงเฮราคลิอุสได้ถามท่านอบูสุฟยานว่า “เคยมีบ้างไหม? ที่บางคนในหมู่ผู้ศรัทธาได้หัน เหอออกจากศาสนาของเขา เน่ืองจากเขาไม่มีความพอใจ หรือรังเกียจในศาสนาทั้งๆ ท่ีเขาได้เข้าสู่ศาสนาอิสลาม นั้นแล้ว ?”
ท่านอบู สุฟยาน จึงตอบว่า “ไม่เคยมีให้เห็น”
หลังจากนั้น เฮราคิลอุสจึงกล่าวว่า “เช่นนั้น แหละ คือ สภาพท่ีแท้จริงเม่ือความศรัทธาได้เข้าไปฝังอยู่ในหัวใจ ของคนคนหน่ึงแล้ว”
(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ ดู ฟัตหุลบารี 1/32)
เราเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้งว่า มีแกนนําหลายคนของแนวคิดบิดเบือนทั้งหลาย ท่ีหันเหตัวเองจากแนวคิดที่อุตริกรรม อย่างหนึ่งไปสู่แนวคิดอุตริกรรมอีกอย่างหนึ่ง หลังจากนั้นอัลลอฮฺ ก็ทรงให้ทางนําแก่เขาได้ละทิ้งแนวทางท่ีหลงผิดทั้งหลายและหันตัวเองสู่แนวทางของอะฮฺลุสสุนนะฮฺวัลญะมาอะฮฺ ด้วยความรู้สึกไม่พอใจในแนวทางเดิมที่เขาเคยยึดมั่น แต่ทว่าเราเคยได้ยินเรื่องราวท่ีตรงข้ามกันบ้างหรือไม่ ?
ดังนั้นหากว่าท่านต้องการอยู่ในสภาพของการยืนหยัดอย่างมั่นคง ท่านก็จงดําเนินตามแนวทางของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายเถิด
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ / islamhouse