การผ่าตัดแปลงเพศ
  จำนวนคนเข้าชม  8898

การผ่าตัดแปลงเพศ


แปลและเรียบเรียงโดย อ.อาบีดีน  พัสดุ


จุดมุ่งหมายของการผ่าตัดชนิดนี้ : คือการผ่าตัดซึ่งเสร็จสิ้นโดยการเปลี่ยนจากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือจากเพศหญิงเป็นเพศชาย


     ♥ ในประเภทแรก  คือเปลี่ยนจากเพศชายเป็นเพศหญิง โดยการตัดอวัยวะของเพศชาย (อวัยวะเพศ)และอัณฑะ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการสร้างช่องคลอด และทำให้เต้านมทั้งสองโตขึ้น

     ♥ ในประเภทที่สอง  คือการเปลี่ยนจากเพศหญิงเป็นเพศชาย โดยการตัดเต้านมทั้งสองข้างทิ้ง และปิดช่องสืบพันธ์ของผู้หญิง และทำการสร้างอวัยวะของเพศชาย (อวัยวะเพศ)

ดังนั้น ผู้เข้ารับการผ่าตัดในทั้งสองประเภทนี้ จะต้องยินยอม รับการรักษาด้านบุคลิกภาพ และการรักษาด้วยฮอร์โมนบางชนิด


          การผ่าตัดชนิดนี้ เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ช่วงปีหลังๆมานี้ ในประเทศตะวันตกที่ปฏิเสธศรัทธา และสรุปได้ว่า สาเหตุที่เป็นแรงจูงใจต่อบรรดาผู้ป่วยเหล่านี้  คือที่มีการกล่าวกันว่า  "พวกเขารู้สึกรังเกียจเพศที่พวกเขาถูกให้กำเนิดมา" ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยหลายๆอย่างด้วยกัน

           ดังเช่นที่แพทย์บางท่านได้กล่าวไว้  ช่วงเวลาในวัยเด็กของพวกเขา ได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง และคนป่วยเหล่านี้ไม่ได้รับการจัดแจงเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม ที่แบ่งแยกระหว่างเพศของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นในด้านที่เปิดเผยให้เห็น หรือในด้านความเป็นจริง ดังเช่นลักษณะของกะเทย

 

          จุดยืนของบทบัญญัติอิสลาม ที่มีต่อการผ่าตัดชนิดนี้ ถือว่าการผ่าตัดชนิดนี้เป็นที่ต้องห้ามในบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม อันเนื่องจากเหตุผลต่างๆ ต่อไปนี้


     1. เนื่องจากคำดำรัสของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ได้เล่าถึงอิบลีส - อัลลอฮฺทรงสาปแช่งมัน –

(ولآمرنهم فليبتكن آذان الأنعام ولآمرنهم فليغيرن خلق الله )

"และแน่นอนยิ่ง ข้าพระองค์จะใช้พวกเขา แล้วแน่นอน พวกเขาก็จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อัลลอฮฺทรงสร้าง"


ในด้านการใช้เป็นหลักฐาน :

           อายะห์อัลกุรอ่านอายะห์นี้ชี้ถึงข้อห้ามในการเปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ โดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ (ประโยชน์ที่ศาสนาอนุมัติให้กระทำได้) และในการผ่าตัดชนิดนี้ มีการเปลี่ยนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ โดยไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดขึ้นมาเลย โดยที่แพทย์ได้ผ่าตัดอวัยวะเพศชายและลูกอัณฑะ ในการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนจากเพศชายเป็นเพศหญิง หรือทำการตัดเต้านมทั้งสองข้างออก และปิดช่องสืบพันธ์ของสตรี ในการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนจากเพศหญิงเป็นเพศชาย

 

     2. ปรากฏในฮาดีษซอเฮี้ย จากฮาดีษ อับดุลลอฮฺ บินอับบาส (ขออัลลอฮฺทรงพอพระทัยท่านทั้งสอง) ซึ่งท่านได้ กล่าวว่า :

" لعن رسول الله صلى الله عليه وسلم المتشبهين من الرجال بالنساء ، والمتشبهات من النساء بالرجال "

“ท่านร่อซู้ล  ได้สาปแช่ง บรรดาชายที่เลียนแบบผู้หญิง และบรรดาผู้ หญิงที่เลียนแบบผู้ชาย” .


ในด้านการใช้เป็นหลักฐาน :

          ฮาดีษบทนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อห้ามในการที่ผู้ชายเลียนจะแบบผู้หญิง และผู้หญิงเลียนแบบผู้ชาย และท่านนะบี ได้สาปแช่งผู้ที่กระทำการดังกล่าว และการผ่าตัดชนิดนี้ เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ การได้มาซึ่งการกระทำที่ต้องห้าม ซึ่งถือว่าเป็นบาปใหญ่ อันเนื่องจากว่า ชายคนหนึ่ง เมื่อเขาต้องการที่จะทำการผ่าตัดแปลงเพศ แท้จริงสิ่งแรกที่เขาประสงค์และก่อนสิ่งอื่นใด นั่นก็คือการทำให้เหมือนผู้หญิง และผู้หญิงก็เช่นเดียวกัน

ท่านฮาฟิซ อิบนี่ ฮายัร -ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน- ได้กล่าวในการอธิบายฮาดีษบทนี้เอาไว้ว่า

         “ ฮิกมะห์ ( เหตุผล) ของผู้ที่เลียนแบบ : คือการทำให้สิ่งนั้นออกไปจากลักษณะที่อัลลอฮฺทรงวางหรือทรงกำหนดเอาไว้ ซึ่งได้ชี้ถึงความหมาย ในการสาปแช่งบรรดาผู้ที่ต่อผม ด้วยกับคำพูดของท่านร่อซู้ล  ที่ว่า

“ المغيرات خلق الله” บรรดาผู้ที่เปลียนแปลงการสร้างของอัลลอฮฺ"

          การทำให้ออกซึ่งท่านฮาฟิซ อิบนี่ฮายัร กล่าวถึงนั้น อยู่(มัสอาละห์)ในเรื่องที่ค้นคว้าหาข้อชี้ขาดด้วยหลักฐานทางศาสนาโดยการผ่าตัดประเภทนี้ ดังนั้นการผ่าตัดแปลงเพศ นำไปสู่สิ่งที่ต้องห้ามในด้านการเลียนแบบ เพราะฉะนั้น การกระทำการผ่าตัดแปลงเพศ ถือเป็นการช่วยเหลือกันในเรื่องของความผิดบาป จึงเป็นสิ่งที่ต้องห้ามตามบทบัญญัติของศาสนา

 

     3. การผ่าตัดชนิดนี้ เป็นการผ่าตัดที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งที่ต้องห้ามในบทบัญญัติของศาสนาเป็นสิ่งที่อนุมัติ โดยมิได้รับการอนุญาตจากผู้ที่วางบทบัญญัติ (อัลลอฮฺ) โดยที่ในการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะมีการเปิดเผยบริเวณที่เป็นเอาเราะห์ ส่วนต่างๆของร่างกายที่ผู้หญิงและผู้ชายจำเป็นจะต้องปกปิดตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม และมีการเปิดเผยเอาเราะห์หลายๆครั้ง

          แท้จริงได้มีหลักฐานทางบทบัญญัติของศาสนา บ่งชี้ว่าการเปิดเผยลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่ต้องห้าม และจะไม่พบในการผ่าตัดแปลงเพศ(เพราะการผ่าตัดจะต้องเปิดเผยทุกส่วนให้แพทย์ได้เห็นโดยไม่มีความจำเป็น หรือไม่ได้เป็นโรคที่จะต้องรักษา) ซึ่งความจำเป็นที่จะเป็นข้อยกเว้นในการเปิดเผยเอาเราะห์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องคงไว้ซึ่งข้อห้ามในการเปิดเผยเอาเราะห์ และข้อห้ามในสิ่งที่จะนำไปสู่การเปิดเผยเอาเราะห์เช่นกัน

 

    4. ได้มีการยืนยันจากแพทย์เฉพาะทางบางท่านว่า การผ่าตัดชนิดนี้มิได้มีแรงผลักดันหรือแรงจูงใจที่เป็นที่ยอมรับได้ ในทางการแพทย์ และแท้จริงมันคือความต้องการที่เป็นการละเมิดต่อการกำหนดของอัลลอฮฺ และฮิกมะห์ของพระองค์ ซึ่งเป็นการแบ่งแยกเพศของมนุษย์ทั้งชายและหญิง

 

     5. ท่านอิหม่าม อัลกุรตูบี่ -ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน- กล่าวว่า

           “ไม่มีการขัดแย้งกันระหว่างฟุกอฮาอฺ (นักวิชาการทางด้านนิติศาสตร์อิสลาม) เมืองฮิยาซ และฟุกอฮาอฺ เมืองกูฟะห์ ว่าการตอนลูกหลานอาดำนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อนุมัติ และไม่อนุญาต เพราะเป็นการมุสละห์” (มุสละห์ คือการลงโทษหรือการประจานโดยการตัดจมูกหรือตัดหู หรือตัดอวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกาย)

         ดังนั้น เมื่อข้อห้ามนี้เกี่ยวข้องกับการตอน ซึ่งในการตอนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ของอวัยวะนั้นๆ ดังนั้นจะเป็นอย่างไรถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ ? จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า มันย่อมเป็นสิ่งที่สมควรกว่าในการถูกห้ามมิให้กระทำ

 

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงไม่อนุญาตให้แพทย์และผู้ร้องขอไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง ในการที่จะผ่าตัดแปลงเพศ  ! !

วัลลอฮุ ตะอาลาอะอลัม

 

 

ที่มา :     أحكام الجراحة الطبية والآثار المترتبة عليه‏